แหล่งกำเนิดอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

วันที่ 14 กพ. พ.ศ.2560

 แหล่งกำเนิดอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

   แต่เดิมนักโบราณคดีสันนิษฐานว่าประวัติศาสตร์ของอินเดียเริ่มต้นก่อนยุคพุทธกาลประมาณพันปี
แต่เมื่อมีการขุดพบเมืองหลายเมืองบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุซึ่งเป็นต้นกำเนิดอารยธรรมของอินเดีย
ในกาลต่อมา ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของอินเดียจึงต้องย้อนไปอีกนับพันปี จนสันนิษฐานว่า
ชุมชนแห่งแรกที่มีขีดความเจริญของความเป็นอารยธรรม เริ่มต้นขึ้นในราว 2,800 ปีก่อนพุทธกาล
ในยุคสำริด (Bronze Age ) และชุมชนแห่งนี้เองที่เรียกว่า "อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ" ( Indus Civilization ) ซึ่งคาดว่าเป็นอารยธรรมยุคเดียวกันกับอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ในลุ่มแม่น้ำไทกริส และยูเฟรติส
และอารยธรรมอียิปต์ในลุ่มแม่น้ำไนล


   คำว่า "สินธุ" หรือ "สินธู" ในภาษาสันสกฤตหมายถึงสายน้ำหรือแม่น้ำ ชื่อของแม่น้ำสินธุ
ถ้าเขียนเป็นตัวอักษรโรมันคือ ส่วนชาวเปอร์เซียซึ่งเป็นเพื่อนบ้านทางตะวันตกของอินเดียออกเสียง
ไม่ได้ จึงแทนเสียง  ด้วยเสียง  ชื่อของแม่น้ำนี้จึงกลายเป็นสินดู (Hindu) ต่อมาชาวอังกฤษเข้ามา
ปกครองอินเดียจึงเรียกว่า  เป็นการเรียกตามชาวกรีกโบราณ ซึ่งยืมรูปภาษาที่มีพื้นฐานการใช้มา
จากชาวเปอร์เซีย โดยมีการตัดตัว  ในคำว่าสินดู (Hindu) ทิ้งแล้วสร้างคำขึ้นมาเป็นคำว่า "อินดุ "
(Indus) และ "อินเดีย" (India) โดยคำแรกใช้เรียกชื่อของแม่น้ำส่วนคำหลังใช้เรียกชื่อประเทศ
ทั้งที่แต่เดิมประเทศอินเดียมีชื่อที่เรียกกันจนคุ้นเคยว่า 
"ภารตวรรษ" (Bharatavarsa)
ซึ่งเป็นพระนามของปฐมกษัตริย์แห่งอินเดียตามคัมภีร์มหาภารตะ (Mahabharata) ที่ชาวอินเดียนับถือ นอกจากจะเรียกว่าภารตวรรษแล้ว อินเดียยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า ฮินดูสถาน" (Hindustan)
มาจากภาษาที่ชาวเปอร์เซียเรียกขานดินแดนแห่งนี้

   อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุหรือที่รู้จักกันในแวดวงของนักโบราณคดีว่า "อารยธรรมฮารัปปา" 
(Harappa Civilization) ถูกค้นพบโดยบังเอิญเมื่อปี คศ.1856 ระหว่างการสำรวจเส้นทาง
เพื่อสร้างทางรถไฟสายละฮอร์ - มุลตานในปากีสถาน
จากนั้นเซอร์จอห์น มาร์แชลล์ 
( Sir John Marshall ) นักโบราณคดีชาวอังกฤษจึงเข้ามาทำการสำรวจอย่างจริงจัง จนกระทั่ง
ขุดพบซากเมืองโบราณสองแห่งที่ซ่อนตัวอยู่ในเนินดินมหึมาริมแม่น้ำสินธุ คือ เมืองฮารัปปา
(Harappa) ในรัฐปัญจาบ (Panjap) และเมืองโมเนโจ ดาโร (Mohenjo daro)
ในรัฐสินธ์ (Sind)สันนิษฐานว่าเมืองทั้งสองเป็นเมืองศูนย์กลาง หรือเป็นอู่อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
แม้ว่าต่อมายังมีการค้นพบที่ตั้งของเมืองต่างๆ อีกกว่า 2,500 แห่ง

   จากการขุดสำรวจเมืองที่ทำกันซ้ำแล้วซ้ำอีกลึกถึงสิบเมตร เป็นที่น่าแปลกใจว่าบริเวณ
เมืองดังกล่าวเป็นนครโบราณอันรุ่งเรือง เป็นอารยธรรมเมืองที่มีลักษณะเฉพาะตัว คือมีการ
วางผังเมืองเหมือนกัน การตัดถนนที่เป็นรูปแบบเดียวกัน บ้านเรือนก่ออิฐที่มีขนาดและรูปร่างของ
ก้อนอิฐเหมือนกัน กำแพงเมืองและป้อมปราการที่แข็งแรง มียุ้งฉาง อ่างน้ำ ระบบท่อระบายน้ำ
ถนนน้อยใหญ่ล้วนปูอิฐเชื่อมต่อกันอย่างดีประดุจตาข่าย

   นักโบราณคดีจึงลงความเห็นว่า เมืองแรกสุดในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุสร้างขึ้นเมื่อ
ประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว และเชื่อว่าเมืองเหล่านั้น คงมีรัฐบาลกลางที่รวมอำนาจอยู่ที่ศูนย์กลาง
และมีศิลปวิทยาการที่เจริญก้าวหน้าในระดับหนึ่งแล้ว แต่ไม่พบหลักฐานที่เป็นตัวเขียนหรือ
ตัวอักษรจารึกใดๆ ทำให้การกำหนดอายุของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุทำได้ยากยิ่ง แต่ก็พอจะ
อนุมานเทียบเคียงได้จากซากสิ่งก่อสร้างและวัตถุที่ขุดค้นพบตามวิธีการของนักโบราณคดีเท่านั้น

   อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุจะสิ้นสุดลงเมื่อไรไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด นักโบราณคดีจึงอนุมานว่า
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุแห่งนี้คงเจริญรุ่งเรืองอยู่นานประมาณ 1,000 ปีก่อน ที่จะเสื่อมสลายลง
อย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ บ้างก็สันนิษฐานว่าอาจมีสาเหตุมาจากแม่น้ำสรัสวดี
ทางตอนเหนือที่แห้งเหือดไปจนกลาย ภาพเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้ง ทำให้ผู้คนจำต้องละทิ้ง
ถิ่นฐานเดิมแล้วอพยพไปหาแหล่งทำกินแห่งใหม่


GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010003487269084 Mins