วันเอดส์โรค

วันที่ 31 มีค. พ.ศ.2560

วันเอดส์โรค (World AIDS Day)
วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี 

วันเอดส์โรค , World AIDS Day , HIV , AIDS , Red Ribbon , โรคเอดส์ , ยารักษาโรคเอดส์

      วันเอดส์โลก (World AIDS Day) วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์ยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อเอดส์ ซึ่งได้คร่าชีวิตของผู้ป่วยโรคนี้ไปกว่า 25 ล้านคนแล้วทั่วโลก

     วันเอดส์โลก (World AIDS Day) วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์ยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ โรคเอดส์เริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี พ.ศ. 2524 แต่ในขณะนั้นจะรู้จักเพียงเฉพาะกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น ต่อมามีการแพร่ระบาดโรคนี้ไปอย่างรวดเร็วและทั่วโลก จนมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากจนเป็นที่น่าตกใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา

      HIV ย่อมาจาก human Immunodeficiency Virus เชื้อไวรัสนี้เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ โดยเชื้อเอชไอวีจะเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรค ให้ต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ ที่เข้ามาในร่างกายเวลาที่เราเจ็บป่วย

      AIDS  ย่อมาจาก Acquired Immunodeficiency Syndrome (โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง) โรคเอดส์จะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายถูกเชื้อเอชไอวีบั่นทอนให้อ่อนแอลง จนถึงขั้นที่ร่างกายไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคต่างๆได้อีก จนเริ่มติดเชื้อ หรือเกิดเป็นโรคต่างๆ

      เป็นที่ทราบกันดีว่า โรคเอดส์เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ที่ยังไม่มียาตัวใดรักษาให้หายขาดได้ อีกทั้งยังเป็นโรคที่คร่าชีวิตมนุษย์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบโรคเอดส์มากที่สุด

   ดังนั้น จึงได้มีการพยายามหามาตรการเพื่อป้องกัน และหยุดยั้งโรคเอดส์ให้เป็นผลสำเร็จ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้วันที่ 1 ธันวาคมของทุกปี เป็น "วันเอดส์โลก" หรือ "World AIDS Day" ซึ่งเริ่มครั้งแรกในวันที่ 1 ธันวาคม 2531 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

           - เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงอันตรายจากการติดต่อของโรคเอดส์ และการเจ็บป่วยจากโรคเอดส์ 

           - เพื่อสร้างเสริมและสนับสนุนให้มีมาตรการการป้องกันโรคเอดส์ให้มากยิ่งขึ้นในสังคมทุกระดับ

           - เพื่อให้มีการจัดกิจกรรมต่อต้านต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง 

           - เพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับ และห่วงใยต่อผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อเอดส์

           - เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

วันเอดส์โรค , World AIDS Day , HIV , AIDS , Red Ribbon , โรคเอดส์ , ยารักษาโรคเอดส์

สัญลักษณ์วันเอดส์โลก

      สัญลักษณ์ของวันเอดส์โลก คือ โบสีแดง (Red Ribbon) เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันทั่วโลก เพื่อแสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่างผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี โพซิทีฟ (HIV-positive) กับผู้ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเอดส์ทั้งหลาย

       โรคเอดส์ (Acquired Immune Deficiency Syndrome) AIDS

A = Acquired หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นภายหลังไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิดหรือไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
I   = Immune หมายถึง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
D = Deficiency หมายถึง ความบกพร่อง ความเสื่อม
S = Syndrome หมายถึง กลุ่มอาการของโรค ซึ่งมีอาการหลายลักษณะตามระบบต่าง ของร่างกาย


ประวัติวันเอดส์โลก

     ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา มีผู้ป่วยโรคเอดส์เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ ทั้งๆที่เมื่อก่อนโรคเอดส์ ก่อตัวขึ้นในบางส่วนของโลกและเป็นอยู่ในหมู่ชนบางกลุ่มเท่านั้นแต่ในปัจจุบันมีการตรวจพบโรคนี้ทั่วโลก ซึ่งโรคเอดส์เริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี พ.ศ.2524

    จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคเอดส์มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่เริ่มมีโรคเอดส์เกิดขึ้นในประเทศไทยปี พ.ศ.2527 จนถึงปี พ.ศ.2533 แม้รัฐบาลจะประกาศเจตนารมณ์ที่จะแก้ไขปัญหาโรคเอดส์แต่ก็ยังมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมาก โดยมอบให้กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบและให้มีคณะกรรมการประสานงานเกี่ยวกับโรคเอดส์แห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน

     ซึ่งย้อนไปเมื่อ ปี พ.ศ.2524 มีการพบโรคเอดส์พบครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ป่วยเป็นชายรักร่วมเพศป่วยเป็นปอดบวมจากเชื้อ นิวโมซีสตีส แครินิอาย ทั้งที่เป็นคนแข็งแรงมากมาก่อน และไม่เคยใช้ยากดภูมิต้านทาน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติ พบว่าเซลล์ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง กับภูมิต้านทานไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ และทำให้เสียชีวิตในที่สุด และหากมีโรคแทรกซ้อน ก็จะทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้น

     สำหรับผู้ป่วยเอดส์รายแรกในประเทศไทย มีพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นชายอายุ 28 ปี เดินทางไปศึกษาต่อที่อเมริกา เริ่มมีอาการในปี พ.ศ.2526ได้รับการตรวจและรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในอเมริกา พบว่าปอดอักเสบ แพทย์ลงความเห็นว่าเป็นโรคเอดส์ จึงกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทย และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ทำให้มีการตื่นตัวเรื่องโรคเอดส์ และจากนั้นก็มีการแพร่เชื้อมาอีกหลายต่อหลายคน ด้วยวิธีการต่างๆ  ซึ่งแม้จะมีผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ให้เห็น จนกระทั่งผลร้ายแรง และไม่มียาที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่กระนั้น ก็ยังมีผู้คนยอมเสี่ยงแบบตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ จนกระทั่งได้รับเชื้อนี้


วันเอดส์โรค , World AIDS Day , HIV , AIDS , Red Ribbon , โรคเอดส์ , ยารักษาโรคเอดส์

โรคเอดส์ คืออะไร

      โรคเอดส์ (AIDS) หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Acquired Immune Deficiency Syndrome) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเซียนซีไวรัส (Human Immunodeficiency Virus) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า เอชไอวี (HIV) ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้กันต่ำลงเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกไวรัสทำลายและเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาซ้ำเติมในภายหลัง (เรียกว่าโรคฉวยโอกาส) เช่น วัณโรค ปอดบวม ติดเชื้อในระบบโลหิต เชื้อรา ฯลฯ


สายพันธุ์ของโรคเอดส์

          เชื้อไวรัสเอดส์มีหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์หลักดั้งเดิมคือ เอชไอวี-1 (HIV-1) ซึ่งแพร่ระบาดในแถบสหรัฐอเมริกา ยุโรป และแอฟริกากลาง, เอชไอวี-2 (HIV-2) พบแพร่ระบาดในแถบแอฟริกาตะวันตก นอกจากนี้ยังพบสายพันธุ์อื่น ๆ ที่กลายพันธุ์มาอีกมากมาย

          ในปัจจุบันทั่วโลก พบสายพันธุ์เชื้อเอชไอวี มากกว่า 10 สายพันธุ์ กระจายอยู่ตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยพบมากที่สุดที่ทวีปแอฟริกามีมากกว่า 10 สายพันธุ์ เนื่องจากเป็นแหล่งแรกที่พบเชื้อเอชไอวี และกระจายอยู่เป็นเวลานานกว่า 70 ปี สายพันธุ์ที่พบมากที่สุดคือในโลก คือสายพันธุ์ซี มากถึง 40% พบในทวีปแอฟริกา อินเดีย จีน รวมทั้งพม่า ส่วนในประเทศไทยพบเชื้อเอชไอวี 2 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์เอ-อี (A/E) หรืออี (E) พบมากกว่า 95% แพร่ระบาดระหว่างคนที่มีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง กับสายพันธุ์บี (B) ที่แพร่ระบาดกันในกลุ่มรักร่วมเพศ และผ่านการใช้ยาเสพติดฉีดเข้าเส้น 

          ขณะที่สายพันธุ์ซีเดี่ยว ๆ ยังไม่พบในประเทศไทย พบเพียงแต่สายพันธุ์อี-ซี ที่เป็นลูกผสมระหว่างสายพันธุ์อีในประเทศไทย และสายพันธุ์ซีจากทวีปแอฟริกา แต่ทั้งนี้ช่วงหลายปีก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่า ประเทศไทยพบผู้หญิงชาวไทย 2 คนติดโรคเอดส์สายพันธุ์ใหม่ เป็นเชื้อเอชไอวีผสมระหว่าง 3 สายพันธุ์ ได้แก่ เอ จี และดี เรียกว่า เอจี-ดี (AG/D) และเป็นเชื้อเอชไอวีผสม 3 สายพันธุ์ ได้แก่ เอ อี และจี เรียกว่า เออี-จี (AE/G) ซึ่งคาดว่าจะติดมาจากทวีปแอฟริกา ซึ่งสายพันธุ์ดังกล่าวจะมีความเข้มข้นในน้ำเมือกหรือสารคัดหลั่งมาก ทำให้ผู้สัมผัสติดเชื้อได้ง่าย และแพร่ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์จากทวีปอื่น 
 

วันเอดส์โรค , World AIDS Day , HIV , AIDS , Red Ribbon , โรคเอดส์ , ยารักษาโรคเอดส์

ระยะของโรคเอดส์

          เมื่อติดเชื้อเอดส์แล้ว จะแบ่งช่วงอาการออกเป็น 3 ระยะ คือ

          1. ระยะไม่ปรากฏอาการ (Asymptomatic stage) หรือระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ ในระยะนี้ผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ ออกมา จึงดูเหมือนคนมีสุขภาพแข็งแรงเหมือนคนปกติ แต่อาจจะเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ จากระยะแรกเข้าสู่ระยะต่อไปโดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 7-8 ปี แต่บางคนอาจไม่มีอาการนานถึง 10 ปี จึงทำให้ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อต่อไปให้กับบุคคลอื่นได้ เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ

      2. ระยะมีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ (Aids Related Complex หรือ ARC) หรือระยะเริ่มปรากฏอาการ (Symptomatic HIV Infection) ในระยะนี้จะตรวจพบผลเลือดบวก และมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นในเห็น เช่น มีไข้สูงเกิน 37.8 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลานานไม่ต่ำกว่า 3 เดือน, น้ำหนักตัวลดลงมากกว่า 4.5 กิโลกรัม หรือมากกว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวเดิมภายใน 2 เดือน, ต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่งติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน, มีเชื้อราในปากบริเวณกระพุ้งแก้ม และเพดานปาก, เป็นงูสวัด หรือแผลเริมชนิดลุกลาม และมีอาการเรื้อรังนานเกิน 1 เดือน โดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น มีไข้ ท้องเสีย ผิวหนังอักเสบ น้ำหนักลด เป็นต้น ระยะนี้อาจเป็นอยู่นานเป็นปีก่อนจะกลายเป็นเอดส์ระยะเต็มขั้นต่อไป

        3. ระยะเอดส์เต็มขั้น (Full Blown AIDS) หรือ ระยะโรคเอดส์ ในระยะนี้ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกทำลายลงไปมาก ทำให้เป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย หรือที่เรียกว่า "โรคติดเชื้อฉวยโอกาส" ซึ่งมีหลายชนิด แล้วแต่ว่าจะติดเชื้อชนิดใด และเกิดที่ส่วนใดของร่างกาย หากเป็นวัณโรคที่ปอด จะมีอาการไข้เรื้อรัง ไอเป็นเลือด ถ้าเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ Cryptococcus จะมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้อาเจียน หากเป็นโรคเอดส์ของระบบประสาทก็จะมีอาการความจำเสื่อม ซึมเศร้า แขนขาอ่อนแรง เป็นต้น ส่วนใหญ่เมื่อผู้เป็นเอดส์เข้าสู่ระยะสุดท้ายนี้แล้วโดยทั่วไปจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 1-2 ปี


วันเอดส์โรค , World AIDS Day , HIV , AIDS , Red Ribbon , โรคเอดส์ , ยารักษาโรคเอดส์

ยารักษาโรคเอดส์

        ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ มีแต่เพียงยาที่ใช้เพื่อยับยั้งไม่ให้ไวรัสเอดส์เพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่ไม่สามารถกำจัดเชื้อเอดส์ให้หมดไปจากร่างกายได้ ยาต้านไวรัสเอดส์ในปัจจุบันมี 3 ประเภทคือ

         1. Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) ได้แก่ AZT ddl ddC d4T 3TC ABC รับประทานยาต้านไวรัสเอดส์

         2. Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs) ได้แก่ NVP EFV

         3. Protease Inhibitors (Pls) ได้แก่ IDV RTV Q4V NFV 

         หากรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์แล้ว อาจมีผลข้างเคียงคือ คลื่นไส้อาเจียน มีผื่นตามผิวหนัง โลหิตจาง ฯลฯ ดังนั้นการรับประทานยาเหล่านี้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์


การป้องกันตัวเองจากโรคเอดส์

         เราสามารถป้องกันโรคเอดส์ได้โดย

1. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ที่มีเพศสัมพันธ์
2. รักเดียว ใจเดียว รักษาศีล 5
3. ก่อนแต่งงาน หรือมีบุตร ควรตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และขอรับคำปรึกษาเรื่อง โรคเอดส์ จากแพทย์ก่อน
4. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดใช้สารเสพติดทุกชนิด


กิจกรรมวันเอดส์โลก

    สถานการณ์ของโรคเอดส์กลับแพร่กระจาย มากขึ้นและกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หลายคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าโรคนี้เกิดเฉพาะในกลุ่มรักร่วมเพศ หรือกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดที่ใช้เข็มฉีดยาเข้าเส้นร่วมกัน แต่ในปัจจุบันโรคนี้ได้แพร่กระจายเข้าไปในกลุ่มอื่นๆ ด้วย การจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้นมาเพื่อเป็นการรณรงค์และให้ความรู้ และการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องโรคเอดส์ตามมา

จัดนิทรรศการ ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคเอดส์
      การจัดนิทรรศการ ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคเอดส์รวมถึงการจัดบอร์ด การรณรงค์โรคเอดส์ การสัมมนา ในเรื่อวิชาการความรู้ เกี่ยวกับ โทษของโรคเอดส์ และสาเหตุ รวมถึงการป้องกันให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์

จัดกีฬา ต้อต้านโรคเอดส์
      การจัดกีฬาต้อต้านโรคเอดส์ เพื่อให้ทุกคน หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพ และห่างไกลโรคร้าย และห่างไกลสิ่งที่จะทำให้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเอดส์ได้

กิจกรรมรณรงค์โรคเอดส์ 
      กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมบริการปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อHIV เกมส์ และถามตอบปัญหาอื่นๆมากมาย กรมอนามัย แจกถุงยางฟรี พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ เผยแพร่ข่าวสาร การให้ความรู้ การป้องกันเกี่ยวกับโรคเอดส์

เผยแพร่ข้อมูลในวันเอดส์โรค
      เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงอันตรายจากการติดต่อและการเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องปลอดภัย และทำการเสริมสร้างและสนับสนุนให้มีมาตรการการป้องกันให้มากขึ้นในสังคมทุกระดับ โดยจัดให้มีการจัดกิจกรรมต่อต้านต่างๆดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และเพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับและห่วงใยต่อผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อ เพื่อให้นักเรียนและประชาชนทั่วไปสามารถปฏิบัติตนในการดูแลตนเองและทราบถึงวิธีการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคเอดส์

     วัยรุ่นและเยาวชนไทยในวัยเรียนสมัยนี้ ขาดการรักนวลสงวนตัว กล้าได้ กล้าเสีย มากขึ้น โดยไม่คำนึงถึงปัญหาที่จะตามมาในภายหลัง ดังนั้น ผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียน สังคม มีหน้าที่ดูแล สอดส่องพฤติกรรมของนักเรียน และส่งเสริมให้นักเรียนได้รับความรู้ การปฏิบัติตนในการดูแลตนเอง และหาทางป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้อง

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.066310548782349 Mins