วันน้ำของโลก

วันที่ 31 มีค. พ.ศ.2560

วันน้ำของโลก (World Day for Water)
22 มีนาคม ของทุกปี

วันน้ำของโลก , World Day for Water

ประวัติวันน้ำโลก

      โดยวันที่ 22 มีนาคมของทุกปีเป็นวัน World Water Day หรือ วันอนุรักษ์น้ำโลก  ซึ่วถือเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของมวลมนุษยชาติเลยทีเดียว เพราะมนุษย์เราต้องใช้ทรัพยากรนี้ในการดำรงชีวิต ทรัพยากรที่ว่านี้ก็คือ "น้ำ" นั่นเอง วันอนุรักษ์น้ำโลก มีจุดเริ่มต้นจากการประชุมเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิลในวันที่ 22 มีนาคมปี 1992 ที่มีเนื้อหาสำคัญโดยตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรน้ำของมนุษย์ จึงมีแนวคิดที่จะจัดกิจกรรมที่จะเป็นแผนแม่บทให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้เฝ้าระวังทรัพยากรน้ำในประเทศนั้น ๆ และในวันนั้นเองสมัชชาทั่วไปแห่งสหประชาชาติก็ได้ออกประกาศให้วันที่ 22 มีนาคมของทุกปีเป็นวัน World Water Day หรือ วันอนุรักษ์น้ำโลก

       เพื่อระลึกถึงความสำคัญของน้ำ เพราะน้ำเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในหมู่มวลมนุษยชาติในเรื่องการอนุรักษ์น้ำ ช่วยกันดูแล บำรุงรักษา การพัฒนาแหล่งน้ำ และจัดการทรัพยากรน้ำจืดอย่างยั่งยืนสำหรับอนาคต จากการที่น้ำจืดของโลกขาดแคลนมากขึ้น ในปี พ.ศ.2535 สมัชชาสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปีเป็น "วันน้ำของโลก" หรือ "World Day for Water" โดยเริ่มต้นในปี 2536 เป็นปีแรก และชักชวนให้ประเทศต่างรับเป็นวันสิ่งแวดล้อมของชาติ

      การเรียกร้องให้ประชาคมโลกใช้น้ำอย่างรับผิดชอบ เพื่อให้คนจนและคนรวยได้รับน้ำอย่างเท่าเทียมกัน ในราคาที่หาซื้อได้ และว่าสิ่งท้าทายของมนุษยชาติก็คือ การจัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์น้ำ คุณภาพของน้ำ และปริมาณน้ำนอกจากนี้จะต้องมีการสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นทั่วโลกว่า น้ำเป็นสิ่งสำคัญ และมีบทบาทในการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้นชาวโลกต้องยกระดับความรู้ในเรื่องการหมุนเวียนนำน้ำมาใช้ใหม่ และการเพิ่มสมรรถวิสัยต่อการจัดการทรัพยากรน้ำที่หายากนี้ ซึ่งทั้งหมดนี้ จะบรรลุผลได้ด้วยการดึงสติปัญญาของมนุษย์ออกมมาใช้ และส่งเสริมวัฒนธรรมการอนุรักษ์น้ำ


วันน้ำของโลก , World Day for Water

วันน้ำโลกของประเทศไทย

   เนื่องในวันน้ำโลก ประชาชนคนไทยก็หวังที่จะได้เห็นแหล่งน้ำต่างๆ ได้รับการปกป้อง ได้เห็นแหล่งน้ำสะอาดอยู่ในทุกๆ ที่  และได้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำที่เต็มไปด้วยอาหาร และสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำอย่างเต็มที่ แม้ความหวังเหล่านี้จะดูเป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถเป็นจริง แต่ถ้าทุกคนมีความหวังและช่วยกันแก้ไขปรับปรุง สิ่งดังกล่าวก็สามารถจะบรรลุผลเกิดขึ้นได้ไม่ยาก  

      ความมั่นคงทางอาหารยังไม่ได้จำกัดแค่ภาคการผลิตจากการเกษตร แต่ยังรวมถึงและยังเป็นสิ่งสำคัญที่สุด คือ อาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งคือความมั่นคงและมั่งคั่งที่แท้จริง สำหรับประเทศไทย อาหารตามธรรมชาติเหลืออยู่น้อยลงทุกที ทั้งด้วยการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่จากแหล่งอาหารหรือพื้นที่เพาะปลูกและป่าไม้ กลายเป็นที่ปลูกสร้างหรือพื้นที่เมือง ปัญหาป่าต้นน้ำถูกทำลายและพื้นที่ป่าลดลงก็กำลังเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้จะเป็นสิ่งผิดกฎหมายก็ตาม ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อทั้งแหล่งอาหารและแหล่งน้ำ ซึ่งแหล่งน้ำที่สำคัญ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง


วันน้ำโลกของต่างประเทศ

    เพื่อระลึกถึงความสำคัญของน้ำ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในหมู่มวลมนุษยชาติ ในเรื่องการอนุรักษ์น้ำ และการพัฒนาแหล่งน้ำ ตลอดจนดำเนินการตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมสหประชาชาติปี ที่ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา จัดโดยองค์การน้ำแห่งสหประชาชาติ ดังนั้น ในปี ค.ศ.1992 สมัชชาสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปีเป็น "วันน้ำโลก" เนื่องจากองค์การสหประชาชาติ ได้ตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และอาจก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำขึ้นได้ในอนาคต


นโยบายการจัดการแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน

          องค์การสหประชาชาติยังได้กำหนดนโยบายการจัดการแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน 5 ประการได้แก่

1. การจัดการให้พื้นที่ที่มีความต้องการใช้น้ำมากที่แตกต่างกันได้มีโอกาสใช้น้ำอย่างเท่าเทียมกัน

2. การอนุรักษ์แหล่งน้ำ โดยพัฒนาแหล่งน้ำให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อแหล่งน้ำ

3. การควบคุมดูแลการใช้น้ำจากแหล่งต้นน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณการใช้น้ำของแหล่งปลายน้ำ

4. การจัดการกับปัจจัยอื่นๆ โดยดูแลปัจจัยต่างๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อแหล่งน้ำ

5. การจัดการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเหมาะสม


สิ่งที่ควรทำต่อวันน้ำโลก

     เพื่อระลึกถึงความสำคัญของน้ำ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก อีกทั้งยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในหมู่มวลมนุษยชาติ ในเรื่องการอนุรักษ์น้ำอีกด้วย

การอาบน้ำ 
     การใช้ฝักบัวจะสิ้นเปลืองน้ำน้อยที่สุด รูฝักบัว ยิ่งเล็ก ยิ่งประหยัดน้ำและหากใช้อ่างอาบน้ำจะใช้น้ำถึง 110-200 ลิตร

การล้างมือ
     ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อนเวลาล้างมือ เพราะการใช้สบู่ก้อนล้างมือจะใช้เวลามากกว่าการใช้สบู่เหลว และการใช้สบู่เหลวที่ไม่เข้มข้น จะใช้น้ำน้อยกว่าการล้างมือด้วยสบู่เหลวเข้มข้น

การแปรงฟันและการโกนหนวด
     การใช้น้ำบ้วนปากและแปรงฟันโดยใช้แก้ว จะใช้น้ำน้อยกว่าการปล่อยให้น้ำไหลจากก๊อกตลอด ส่วนการโกนหนวด ให้ใช้กระดาษเช็ดก่อน จึงใช้น้ำ จากแก้วมาล้างอีกครั้ง แล้วล้างมีดโกนหนวดโดยการ จุ่มล้างในแก้ว จะประหยัดกว่าล้างโดยตรงจากก๊อก การใช้ชักโครก การใช้ชักโครกจะใช้น้ำมาก และเพื่อการประหยัด โถส้วมแบบตักราดจะสิ้นเปลืองน้ำน้อยกว่าแบบชักโครกหลายเท่า ตรวจสอบชักโครกว่ามีจุดรั่วซึม และไม่ใช้ชักโครกเป็นที่ทิ้งเศษอาหาร กระดาษ สารเคมีทุกชนิดเพราะจะทำให้สูญเสียน้ำจากการชักโครก เพื่อไล่สิ่งของลงท่อ

การซักผ้า และล้างจาน
      ขณะทำการซักผ้าไม่ควรเปิดน้ำทิ้งไว้ตลอดเวลา  ควรรวบรวมผ้าให้ได้ มากพอต่อการซักแต่ละครั้ง ทั้งการซักด้วยมือและเครื่องซักผ้า ส่วนจานควรใช้ผ้าเช็ดคราบสกปรกออกก่อน แล้วล้างพร้อมกันในอ่างน้ำ จะประหยัดเวลาประหยัดน้ำ และให้ความสะอาดมากกว่าล้างจากก๊อกโดยตรง  ไม่ปล่อย ให้น้ำไหลทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะจะเป็นการประหยัด ค่าน้ำได้มาก ซึ่งผู้ใช้น้ำส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมการใช้น้ำฟุ่มเฟือย ควรเปลี่ยน วิธีการใช้น้ำตามความเคยชิน มาเป็นการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.016644152005514 Mins