วิวัฒนาการ การสร้างวัด (ตอนที่ ๓)

วันที่ 20 พค. พ.ศ.2560

 

วิวัฒนาการ การสร้างวัด (ตอนที่ ๔),วาไรตี้,บทความประจำวัน

 

วิวัฒนาการ การสร้างวัด (ตอนที่ ๓)

     เมื่อพระภิกษุรูปอื่นได้ทราบข่าวนั้นแล้ว หลังจากเรียนกรรมฐานจากพระบรมศาสดาแล้ว ก็กราบทูลลาไปปาเพ็ญเพียรที่วัดปาแห่งนั้น เมื่อไปถึงที่นั่น ภิกษุรูปหนึ่งก็นึกถึงคำรํ่าลือเรื่องการหยั่งรู้วาระจิตของมหาอุบาสิกา จึงคิดในใจว่า "วันนี้เราเหน็ดเหนึ่อยกับการเดินทางยิ่งนัก หากอุบาสิกานี้ส่งคนมาช่วยกวาดทำความสะอาดวิหารก็จะเป็นการดี" มหาอุบาสิกาทราบวาระจิตนันแล้วก็ส่งคนไปทำความสะอาดตามความดำริของภิกษุรูปนั้น

     ส่วนพระภิกษุอีกรูปหนึ่งมีความกระหายอยากจะดึ่มนํ้า ก็นึกในใจว่า "หากได้นํ้าละลายนํ้าตาลกรวดก็จะเป็นการดี" มหาอุบาสิกาทราบวาระจิตนั้นแล้ว ก็ได้ส่งให้คนนำนํ้านั้นไปให้ เมื่อพระภิกษุรูปนั้นดื่มนํ้าแล้ว ก็คิดว่า "ถ้าพรุ่งนี้ได้ฉันข้าวยาคูในตอนเช้าก็จะเป็นการดี" พอวันรุ่งขึ้น มหาอุบาสิกาก็ส่งคนให้นำข้าวยาคูไปถวาย หลังจากดื่มข้าวยาคูแล้ว ก็คิดว่า "หากได้ของขบเคี้ยวก็จะเป็นการดี" มหาอุบาสิการู้วาระจิตนั้นแล้ว ก็ส่งคนให้นำของขบเคี้ยวไปถวายอีก ภิกษุรูปนั้นได้ของขบเคี้ยวแล้ว ก็ยังไม่หายสงสัย คิดอีกว่า "หากโยมอุบาสิกานำโภชนาหารเลิศรสมาถวายด้วยตัวเองก็จะเป็นการดี" มหาอุบาสิกาทราบความประสงค์ของพระภิกษุผู้เป็นเสมีอนบุตรของตนนั้นแล้ว ก็สังให้บริวารถือโภชนาหารไปยังวิหาร จากนั้นก็ถวายโภชนาหารเลิศรสนั้นด้วยมือของตัวเอง

    ภิกษุรูปนั้นขบฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ก็ยังไม่สินสงสัย จึงสอบถามว่า "มหาอุบาสิกา ท่านทราบวาระจิตของเราหรือ" มาติกามาตามิได้กล่าวแสดงคุณวิเศษของตนโดยตรง กสับกล่าวด้วยถ้อยคำถ่อมตนว่า "ธรรมดาผู้คนทั้งหลายที่รู้วาระจิตของผู้อื่น ย่อมท่าอย่างนั้นได้"

     เมื่อภิกษุรูปนั้นได้ยินเช่นนั้น ก็คิดขึ้นว่า "ธรรมดา ปุถุชนเช่นเรา ย่อมมีจิตเผลอไผลคิดถึงอารมณ์อันไม่งามบ้าง หากจิตของเราคิดในเรื่องที่ไม่สมควร อุบาสิกานี้ก็จะล่วงรู้ เราย่อมตกอยู่ในสภาพเหมีอนดั่งโจรที่ถูกจับกระชากมวยผมพร้อมด้วยของกลางเราควรหนีไปจากที่นี้ดีกว่า" เมื่อคิดเช่นนั้น ก็กล่าวลามหาอุบาสิกาออกจากวัดป่าแห่งนั้นทันที

     ภิกษุรูปนั้นเมื่อกสับถึงวัดเชตวนารามแล้ว ก็เข้าไปกราบพระบรมศาสดา ภิกษุรูปนั้นจึงเล่าถึงความเป็นผู้หยั่งรู้วาระจิตของมหาอุบาสิกาให้ฟ้งทุกประการและสารภาพอย่างตรงไปตรงมาว่าตนไม่อาจอยู่ในที่นั้นได้ พระบรมศาสดาจึงทรงแนะนำว่า "การฝึกจิตที่ข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ย่อมเป็นการดี เพราะจิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนำสุขมาให้"จากนั้นก็ทรงให้กำสังใจ และล่งภิกษุรูปนั้นกลับไปปาเพ็ญเพียรยังหมู่บ้านนั้นอีกครั้ง

     ภิกษุรูปนันก็เชื่อฟ้งคำสังสอนของพระบรมศาสดาอย่างเคร่งครัด ตามรักษาจิตไว้ภายใน ไม่ยอมเปิดช่องให้ความคิดแบบฆราวาสวิสัยแทรกซึมเข้ามาได้ ฝ่ายมหาอุบาสิกาหยั่งรู้วาระจิตนันแล้ว ก็รู้ว่าภิกษุผู้บุตรของตนตามรักษาจิตอยู่ในโอวาทของพระบรมศาสดา จึงตั้งใจอุปัฏฐากด้วยอาหารเลิศรสให้เป็นที่สบายผ่านระยะเวลาไปเพียง ๒-๓ วัน เท่านัน พระภิกษุรูปนั้นก็บรรลุอรหัตผลที่ว้ดป่าแห่งนั้นนั่นเอง นับเป็นวัดป่าที่มีพระอรหันต์บังเกิดขึ้นอีกรูปหนึ่ง ในระยะเวลาอันรวดเร็ว

      ด้งนั้น ด้วยการอาด้ยเหตุ ๒ ประการได้แก่ หนึ่ง คือ กำลังศรัทธาของ ชาวหมู่บ้านมาติกคาม ที่ช่วยกันดูแลรักษาลังฆารามให้ยังคงสภาพความเป็นวัดปาที่น่ารื่นรมย์เหมาะแก่การป่าเพ็ญเพียรอยู่เสมอ

        สอง คืออาศัยการอุปัฏฐากด้วยอาหารเป็นที่สบายของมาติกามาตา มหาอุบาสิกาผู้หยั่งรู้วาระจิตของ

ภิกษุ

        นับจากนั้นเป็นต้นมา วัดป่ามาติกคาม จึงกลายเป็น "สังฆารามแห่งการผลิตพระอรหันต์" ให้บังเกิดขึ้นในโลกนี้อย่างต่อเนึ่องไม่ขาดสาย จนกลายเป็นต่านานที่เล่าขานกันมาถึงยุคนี้ และเป็นต้นแบบของมหาอุบาสิกาผู้อุปการะพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองด้วย"พระอริยสงฆ์" อย่างแท้จริง

สรุป
         การกำเนิดของการศึกษาเรื่อง วิวัฒนาการของการสร้างวัดในยุคพุทธกาล ได้สะท้อนให้ชาวพุทธยุคปัจจุบันได้เห็นว่า วัดทั้งสามประเภท ได้แก่ วัดเพื่อการเผยแผ่ วัดเพื่อการศึกษา วัดเพื่อการบรรลุธรรม ล้วนต้องพื่งพาอาด้ยอุปการะเกื้อกูลซึ่งกันและกันพระพุทธศาสนาจึงจะมีความเป็นปีกแผ่นมั่นคงเป็นหนึงเดียวกันวัดย่อมไม่ร้างจากพระ ญาติโยมย่อมไม่ร้างจากการท้าบุญ โลกย่อมไม่ร้างจากพระอรห้นต์ นี่คือ "สามประสานแห่งความมั่นคงของพระพุทธศาสนา" ที่ชาวพุทธทุกยุคทุกสมัยต้องการอย่างแท้จริง โดยไม่อาจขาดวัดไดวัดหนี่งไปได้เลย แม้แต่ประเภทเดียว

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.033219766616821 Mins