ปัญหาวัดร้าง (ตอนที่ ๒ )

วันที่ 23 พค. พ.ศ.2560

 

ปัญหาวัดร้าง (ตอนที่ ๒ ),วาไรตี้,บทความประจำวัน

 

ปัญหาวัดร้าง (ตอนที่ ๒ )

 ๔. เหตุแห่งความสิ้นสูญของพระพุทธศาสนา

      ในทางตรงกันข้าม ถ้าวัดใดก็ตาม ไม่ได้ทำหน้าที่ของตัวเองโดยเฉพาะไม่สามารถแจกจ่ายโลกุตรธรรมให้กับประชาชน วัดๆนั้นก็จะต้องกลายเป็น "วัดร้าง" อย่างแน่นอน
       เพราะเมื่อวัดไม่สามารถเป็นโรงเรียนสอนศีลธรรมได้แล้วประชาชนย่อมไม่ได้รับประโยชน์จากพระพุทธธรรมอย่างเต็มที่ความศรัทธาในพระรัตนตรัยย่อมไม่เกิดขึ้น ความศักดิ์สิทธิ์ของวัดย่อมไม่ปรากฏขึ้นในสายตาประชาชน ความรู้สืกว่าวัดเป็นดินแดนเพี่อการบรรลุธรรมย่อมไม่มีอีกต่อไปประชาชนย่อมรู้สึกว่าการทำนุบำรุงย่อมกลายเป็นความสินเปลืองโดยใช่เหตุ
       เมื่อเป็นเช่นนั้น ความรู้สึกว่าพระภิกษุเป็นผู้เอารัดเอาเปรียบสังคมก็จะตามมา การดูหมิ่นดูแคลนพระภิกษุด้วยถ้อยคำค่อนขอดต่างๆ นานาก็จะตามมา แล้วก็ปล่อยให้วัดร้างไปต่อหน้าต่อตา โดยไม่เหลียวแลอีกต่อไป
       ยิ่งกว่านั้น เมื่อความศรัทธาในพระธรรมคำสอนสิ้นไปประชาชนจะรู้สิกอีกว่า "การศึกษาทางธรรมเป็นเรื่องครํ่าครึล้าหลังกว่าการศึกษาทางโลก" ก็จะเลิกนับถือพระพุทธศาสนาหันไปบูชาเงินเป็นพระเจ้า ไข้เงินเป็นตัวกำหนดความถูก-ผิด ดี-ชั่วใช้เงินฟาดหัวเพี่อให้ได้สิงที่ต้องการ
       ผู้คนก็จะเกิดค่านิยมยอมทำทุกอย่างให้ได้เงินมาโดยไม่คำ นึงถึงศีลธรรม แม้แต่การทำมาหากินด้วยอบายมุข ซึ่งเป็นการเลี้ยงชีพอยู่บนความทุกข์ของคนอื่นก็ทำได้โดยไม่รู้สึกขัดเขินละอายแก่ใจ

       บรรยากาศของบ้านเมืองย่อมเต็มไปด้วยความฉาวโฉ่ การชุบซิบนินทา ยินดีกับการรับรู้เรึ่องผิดศีลผิดธรรมตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน และนั่นก็จะกลายเป็น "มิจฉาทิฏฐิ" คือ ความเข้าใจผิดใหญ่หลวงของประชาชน ว่า "พระธรรมอันเป็นเครื่องนำ ผองชนหลุดพ้นทุกข์ในวัฏสงสาร" ตํ่าต้อยด้อยค่ากว่า "การทำมาหากินและการใข้ชีวิตที่อังจมอยู่ในอบายมุข" ทั้งบ้านทั้งเมืองจึงไม่หลงเหลือบรรยากาศในการศึกษาธรรมะและปฏิบ้ติธรรมอีกต่อไป

      เมื่อบรรยากาศของการศึกษาปฏิบัติธรรมของ "เมืองพุทธ"หมดสิ้นไป ก็เท่ากับ "วัฒนธรรมชาวพุทธ" หมดสิ้นตาม "การทำทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา" ย่อมหมดสิ้นลง "ความเคารพในพระรัตนตวัย" ย่อมหมดสิ้นสมบูรณ์ และนั่นก็คือ ความสิ้นสูญของพระพุทธศาสนาด้งที่เกิดขึ้นกับอดีตเมืองพุทธในหลายๆประเทศที่ผ่านมา

      ด้งนั้น การที่ชาวพุทธปล่อยให้วัดร้างไปหนึ่งวัด ก็เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า วัดกำลังลดจำนวนลง พระภิกษุกำลังลดจำ นวนลง และชาวพุทธกำลังลดจำนวนลง เมื่อสถานการณ์ทุกวันนี้เป็นเช่นนี้ สิงใดคือหลักประกันว่า วัดทั้งสามหมื่นกว่าวัดทั่วประเทศจะไม่ร้างจนหมดสินไปจากผืนแผ่นดินไทย

๕. หัวใจแห่งความเจริญร่งเรืองของพระพุทธศาสนา

     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า "ความสื่อมและความเจริญของพระพุทธศาสนา" ขึ้นอยู่กับ "ความเคารพในธรรม" เพราะเมื่อขาดความเคารพในธรรมย่อมเท่ากับขาดความเคารพในคุณความดีทั้งปวงของพระพุทธศาสนา การศึกษาย่อมขาดสูญ การบรรลุธรรมย่อมขาดสูญ การปกป้องพระพุทธศาสนาย่อมขาดสูญความเคารพในธรรมจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะแม้แต่พระบรมศาสดาเมื่อตรัสรู้แล้ว ก็ยังต้องเคารพโลกุตรธรรมที่พระองค์ตรัสรู้แล้วต้วยพระองค์เองต่อไปดังนั้น เรื่องของความเคารพในธรรมนี้ จึงเป็นรากฐานทั้งหมดของพระพุทธศาสนาทีเดียว
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้โอวาทเรื่องความเคารพในธรรมไว้ ๓ ระดับ สำ หรับพระนวกะ พระมัชฌิมะ และพระเถระซึ่งมีภูมิรู้ภูมิธรรมและพรรษาแก่อ่อนกว่ากัน

     ๕.๑) โอวาทสำหรับพระนวกะ
             พระนวกะ คือพระบวชใหม่ที่มีอายุการบวชยังไม่ครบ๕ พรรษา ยังต้องฝึกถือนิสัยของบรรพชิต''เพื่อละทิ้งนิสัยของฆราวาส ซึ่งติดมาจากบ้านตั้งแต่ก่อนบวช ยังต้องอยู่ในการปกครองดูแลของพระอุปัชฌาย์อาจารย์ มีหน้าที่หลักคือการศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันรักษาตัวเอง มากกว่าเทศน์สอนผู้อื่น เรียกกันเข้าใจง่ายๆ ว่า "พระใหม่" หรีอ "พระนักเรียน"

           พระพุทธองค์ทรงให้โอวาทที่เหมาะแก่พระน้กเรียนไว้ว่า"ภิกษุหั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้...
           ๑. ฟังธรรมโดยเคารพ
           ๒. เรียนธรรมโดยเคารพ
           ๓. ทรงจำธรรมโดยเคารพ
           ๔. ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้วโดยเคารพ
        ๕. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ...... ย่อมเป็นไปเพี่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม" 

           ดังนั้น การปฏิบัติตามพระบรมพุทโธวาททั้ง ๕ ประการนี้ แม้พระภิกษุเพิ่งจะบวชใหม่ไดไม่นานนัก ก็ย่อมสามารถช่วยให้วัด ช่วยให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองได้ ญาติโยมเห็นพระใหม่
ตังใจอบรมฝึกฝนตนเอง ก็มีกำ ลังใจที่จะถวายปัจจัย ๔ เพิ่อบำรุงพระ บำ รุงวัด บำ รุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป การศึกษาพระธรรมวินัยของพระบวชใหม่ก็จะทำได้อย่างเต็มที่ ขณะ
เดียวกัน ญาติโยมก็จะรู้สืกว่า ปัจจัย ๔ ที่นำ มาถวายบำรุงนั้น ไม่เป็นสิงที่สูญเปล่าไปจากบุญกุศลที่ตนจะได้ร้บอย่างเต็มกำลังนั่นเอง

           นี่คือ ความเคารพในธรรมของพระนวกะที่ทำให้พระพุทธศาสนาเกิดความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญไม่หายไปแห่งพระสัทธรรม
          ๕.๒) โอวาทสำหรับพระมัชฌิมะ

                  พระมัชฌิมะ คือ พระภิกษุที่มีอายุการบวชครบ ๕พรรษาแล้ว แต่ยังไม่ถึง ๑๐ พรรษา หากเป็นผู้ฉลาดก็ให้อยู่ได้โดยไม่ต้องถือนิลัย แต่หากเป็นผู้ไม่ฉลาดก็ยังต้องให้ถือนิสัยอยู่กับอุปัชฌาย์อาจารย์จนตลอดชีวิต
           มีหน้าที่หลักคือ การคืกษาพระธรรมวินัย การฝึกเทศน์สอนตัวเอง การฝึกเทศน์สอนผู้อื่น ต้องขวนขวายแบ่งเบาภาระของหยู่คณะและพระอุปัชฌาย์อาจารย์ เรียกกันเข้าใจง่ายๆว่า"พระพี่เลี้ยง"

                   พระภิกษุมัชฌิมะที่เป็นผู้ฉลาดในพระวินัย จะต้องมีคุณสมบัติครบ ๖ ประการได้แก่
                   ๑) รู้จักอาบัติ
                   ๒) รู้จักอนาบัติ
                   ๓) รู้จักอาบัติเบา
                   ๔) รู้จักอาบัติหนัก
            ๕) จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารได้ดี จำ แนกได้ดีคล่องแคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะได้ดี
                  ๖) มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕

                     การที่พระมัชฌิมะมีคุณสมบัติเช่นนี้ ย่อมเป็นผู้รู้จักข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ตามพระธรรมวินัยของสงฆ์แล้ว ย่อมไม่ทำ ความลำบากให้กับพระอุปัชฌาย์อาจารย์ เพราะรู้จักรักษาตัวเองให้อยู่ในพระธรรมวินัยเป็นแล้ว จึงต้องฝึกค้นคว้า ฝึกเทศน์สอนฝึกเจริญภาวนา เพี่อให้มีความช่านาญในการกำจัดอาสวะกิเลสของตนต่อไป เพี่อจะได้ช่วยแบ่งเบาภาระของพระอุปัชฌาย์อาจารย์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างไกลออกไปอีกด้วย

                    พระพุทธองค์ทรงให้โอวาทที่เหมาะแก่พระพี่เลี้ยงหรือพระนักเทศน์ไว้ว่า

        "ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้...
         ๑. เรียนธรรม (หมายถึงการเรียนพระไตรปีฏก) คือสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
รติๅตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ...
         . แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
         ๓. บอกธรรมตามที่ตนได้สด้บมา ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
         ๔. ทำการสาธยายธรรมตามที่ตนได้สด้บมา ตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร
         ๕. ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจที่งธรรม ตามที่ตนได้สด้บมา ตามที่ตนได้เรียนมา...
... ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เอื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม" 

         ดังนั้นการปฏิบัติตามพระบรมพุทโธวาททั้ง ๕ประการนี้ ย่อมทำให้พระมัชฌิมะสามารถช่วยให้วัด ช่วยให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองได้ด้วยการขยันเล่าเรียนพระธรรมวินัยขยันเทศน์สอนตัวเอง สืกเทศน์สอนผู้อื่น และขยันช่วยแบ'งเบาภาระของหมู่คณะตลอดจนพระอุป้ชฌาย์อาจารย์ เช่น การช่วยเป็นพระพี่เลี้ยงให้แก่พระนวกะ เป็นต้น

        สาเหตุที่พระมัชฌิมะเป็นพระพี่เลี้ยงให้พระนวกะได้ก็เพราะเป็นผู้ที่สามารถดูแลตัวเองให้อยู่ในพระธรรมวินัย และปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีของพระภิกษุสงฆ์ได้อย่างถูกต้องแล้ว เช่น อาจาริยวัตร คือการอุปัฏฐากรับใช้ต่ออาจารย์อย่างถกต้องตามพระธรรมวินัย เป็นต้น

         ยกตัวอย่างเช่น การนุ่งห่มจีวร "การเดิน-การยืน-การนอน-การนั่ง-การล้างหน้า-การอาบนํ้า-การแปรงฟัน-การชักจีวร-การเก็บจีวร การบิณฑบาต-การขบฉัน-การดื่มนํ้า-การเคี้ยวอาหาร-การพูดคุย-การล้างบาตร-การรักษาบาตร การใช้เสนาสนะ-การปูอาสนะ-การล้างเท้า-การถอดรองเท้า-การวางตั่ง-การกวาดพื้น-การกวาดเพดาน-การกวาดช้างฝา-การปิดและการเปิดหน้าต่างในฤดูหนาว-การปิดและการเปิดหน้าต่างในฤดูร้อน การสำรวมอินทรีย์{ตา-หู-จมูก-ปาก-ลี้น-กาย-ใจ) -การถ่ายอุจจาระ-การปัสสาวะ-การบ้วนนํ้าลาย-การสนทนากับญาติโยม เป็นต้น

         แต่เนื่องเพราะพระมัชฌิมะยังมีอายุการบวชไม่ครบ ๑๐พรรษาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้เป็นพระอุปัชฌาย์หรีอเป็นพระอาจารย์ผู้ให้นิสัยของบรรพชิต เพราะยังต้องปมเพาะคุณสมบัติอื่นๆ ของการเตรียมตัวเป็นพระเถระเมื่ออายุพรรษาครบสิบเพี่มขึ้นอีกโดยเฉพาะความฉลาดในการคัดเลือกคนการให้อุปสมบท การอบรมคน การปกครองคน การเผยแผ่ เป็นต้น

        ดังนั้น การฝึกอบรมตนของพระมัชฌิมะตามโอวาทของพระพุทธองค์ทั้ง ๕ ข้อดังกล่าวนั้น ก็คือ การเคร่งครัดฝึกดูแลตัวเองให้อยู่ในพระธรรมวินัย สำ หร้บการฝึกค้นคว้าพระไตรปิฎก การฝึกเทศน์สอน การฝึกดูแลหมู่คณะ เพื่อเตรียมตัวเป็นพระเถระที่ดีในอนาคต ล้วนเป็นการเตรียมสร้างบุญอันยิ่งใหญ่ให้แก่ตนเองภายใตัร่มเงาพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น

       นี่คือ ความเคารพในธรรมของพระฟ้ชฌิมะที่ทำให้พระพุทธศาสนาเกิดความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่พายไปแห่งพระสัทธรรม

        ๕.๓) โอวาทสำหรับพระเถระ
                พระเถระ คือพระภิกษุผูใหญ่ที่มีอายุการบวชมากกว่า๑๐ พรรษาขึ้นไป ถ้ามีพรรษามากกว่า ๒๐ เรียกว่า พระมหาเถระ
                มีหน้าที่หลัก คือ เป็นผู้รักษาพระธรรมวินัย เป็นผู้ให้นิสัย ๔ แก่พระภิกษุบวชใหม่ เป็นผู้เผยแผ่พระธรรมคำสอนให้กว้างไกล เป็นผู้บรรลุธรรม เป็นผู้นำผองชนเจริญภาวนา เป็นผู้สร้างความสามัคคืในหมู่สงฆ์

                พระภิกษุผู้เป็นพระเถระที่หน้กแน่นในธรรมวิน้ยนั้นจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติครบ ๑๐ ประการ

       ๑. เป็นกตัญญ บวชมานาน (หมายถึงรู้เหตุผลต้นปลายของเรื่องราวต่างๆ ในพระธรรมวินัย การคณะสงฆ์การทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา นับตั้งแต่วันบวชมาไม่ตํ่ากว่าสิบพรรษา)
      ๒. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษ แม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
     ๓. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุดประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ครบถ้วน ทรงจำไวได้ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
   ๔. ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี จำ แนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ
      ๕. เป็นผู้ฉลาดในการระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น
      ๖. เป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมเป็นที่พอใจ มีปราโมทย์อย่างยิ่งในอภิธรรม และอภิวินัย
      ๗. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้
      ๘. เป็นผู้น่าเลื่อมใสในการก้าวไปและถอยกลับ เป็นผู้สำรวมดีในการนั่งในละแวกบ้าน
      ๙. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
      ๑๐. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง

     พระเถระที่มีคุณสมบัติทั้งสิบประการนี้ ย่อมสามารถเป็นหลักเป็นประธานให้แก่พระภิกษุนวกะและพระภิกษุมัชฌิมะที่อาศัยอยู่ในวัดนั้นได้ เพราะไม่ว่าใครเข้าไปอยู่ใกล้ ก็จะได้รับความเจริญก้าวหน้าในพระธรรมวินัย ได้ความเจริญก้าวหน้าในโลกุตรธรรมอันเป็นเครื่องนำตนพ้นจากทุกข์ และได้รับการฝึกอบรมให้เป็นชุนพลของกองทัพธรรมที่จะนำพระพุทธศาสนาแผ่ขยายออกไป
    แต่การจะมีคุณสมบัติทั้ง ๑๐ ประการนั้นได้ พระบรมศาสดาทรงให้โอวาทที่เหมาะสมกับการฝึกอบรมตนของพระเถระที่มีพรรษาสิบขึ้นไปไว้ว่า

   "ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้...
   ๑. ภิกษุเล่าเรียนพระสูตรที่เล่าเรียนมาดี ด้วยบทพยัญชนะที่สีบทอดกันมาดี แม้อรรถแห่งบทพยัญชนะที่สีบทอดกันมาดี ก็ชึ่อว่าเป็นการสืบทอดขยายความดี...
   ๒. ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำ ให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทนรับฟังคำพรํ่าสอนโดยเคารพ
  ๓. ภิกษุเป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ถ่ายทอดสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพเมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป สูตรไม่ขาดรากฐานมีที่พึ่งอาศัย
  ๔. ภิกษุเป็นเถระ ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม (หมายถึงละนิวรณ์ ๕ และบรรลุธรรมตั้งแต่ระดับปฐมฌานเป็นต้นไป) เป็นผู้นำ ในปวิเวก (หมายถึงนำผองชนเจริญภาวนา)ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คนรุ่นหลังพากันตามอย่างภิกษุเถระเหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรมเป็นผู้นำ ในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำ ให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง

  ๕. สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน มีอทเทสที่สวดร่วมกันอยู่ผาสุก เมื่อสงฆ์พร้อมเพรียงกัน จึงไม่มีการด่ากัน ไม่มีการบริภาษกันไม่มีการใส่ร้ายกัน ไม่มีการทอดทิ้งกัน หมู่คนที่ยังไม่เลื่อมใสในสงฆ์นั้นก็เลื่อมใส และหมู่คนที่เลื่อมใสแล้วก็เลื่อมใสยิ่งขึ้น... 

   ย่อมเป็นไปเพื่อความด่ารงมั่น ไม่เลื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม" 

    พระบรมพุทโธวาทนี้ ชี้ให้เห็นว่า พระภิกษุเถระยิ่งพรรษาสูงมากเท่าใดยิ่งต้องเป็นผู้นำในการบำเพ็ญภาวนามากเท่านั้นเพราะพระภิกษุเถระคือผู้แจกจ่ายโลกุตรธรรมให้แก่พระมัชฌิมะพระนวกะและประชาชนที่บำรุงเลี้ยงพระพุทธศาสนาด้วยปัจจัย ๔อย่างไม่ฝืดเคือง

    ตามปกติธรรมดาของคนเรานั้น การที่ใครจะแจกจ่ายสิ่งใดให้ผู้อื่นได้ ก็จะต้องเป็นผู้มีสิงนั้นก่อน การที่พระเถระจะเป็นผู้ให้โลกุตรธรรมแก่วัดแก่สังคมได้ พระเถระก็ต้องเป็นผู้มีโลกุตรธรรมนั้นก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่จะทอดทิ้งการกระทำความเพียรภาวนาไม่ได้เลยแม้แต่วันเดียว และพระพุทธองค์ก็ทรงรู้ดีว่า การไดีโลกุตรธรรมนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะอาสวกิเลสเป็นธาตุสกปรกที่ช่อนอยู่ในใจ ไม่สามารถมองเห็นตัวด้วยตาเปล่า แม้แต่พระบรมศาสดาเอง ก็ยังต้องปาเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน จึงจะกำจัดกิเลสได้เด็ดขาด บรรลุโลกุตรธรรม คือมรรคผล

   ดังนั้น การปฏิบัติตามพระบรมพุทโธวาททั้ง ๕ ประการชนิดอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันเทำนั้น จึงจะทำให้พระเถระสามารถเป็นผู้แจกจ่ายโลกุตรธรรมแก่สังคมได้ สามารถเป็นผู้นำพระม้ชฌิมะพระนวกะในวัดนั้นบรรลุโลกุตรธรรมได้ และสามารถนำประชาชนเข้าถึงโลกุตรธรรมได้
   นี่คือ ความเคารพในธรรมของพระเถระที่ทำให้พระพุทธศาสนาเกิดความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญไม่หายไปแห่งพระสัทธรรม

๖. ความเคารพในธรรมอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน

     นับตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว บุคคลที่จะบำาเพ็ญเพียรจนกระทั่งบรรลุโลกุตรธรรมได้นั้น ล้วนแต่ต้องผ่านการบำเพ็ญภาวนาตามหลักปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยความเคารพในธรรมอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันมาก่อนทั้งสิน เรื่มตั้งแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์สาวก พระสงฆ์สาวก เป็นต้น ดังมีบันทึกอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎกปรากฏเป็น"หนทางแห่งการบรรลุโลกุตรธรรม" มาถึงทุกวันนี้

๖.๑) การอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
       พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเล่าถึงการปาเพ็ญเพียรก่อนตรัสรู้ธรรมไวัใน "อุปัญญาตสูตร" ว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เรารูหั่วถึงธรรม ๒ ประการ ธรรม ๒ประการ อะไรบ้าง คือ

   ๑. ความไม่สันโดษเพียงแค่ฤศลธรรมทั้งหลาย
   ๒. ความไม่ท้อถอยในการปาเพ็ญเพียรภิกษุทั้งหลาย เราเริ่มตั้งความเพียรไม่ย่อหย่อนว่า

       "(แม้) จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสัรีระ (นื้) จงเหือดแห้งไปเถิด (ตราบใดที่เรา) ยังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียร"

         หลังจากนั้น พระบรมศาสดาก็ตรัสยืนยันผลแห่งการประกอบความเพียรอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันว่า

       "สัมโพธิญาณนั้นเราบรรลุได้ด้วยความไม่ประมาท''ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะที่ยอดเยี่ยม เราก็บรรลุได้ด้วยความไม่ประมาท"

           เมื่อพระบรมศาสดาตรัสยืนยันผลแห่งการบำเพ็ญเพียรของพระองค์จบลงอันเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ฟ้งแล้วก็ทรงแนะนำให้พระภิกษุลงมือปฏิบัติตามอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันว่า

           "แม้ถ้าเธอทั้งหลาย'พึงตั้งความเพียรไม่ย่อหย่อนว่า'จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียร'

               แล้วพระองค์ก็ทรงให้กำลังใจในการปฏิบัติด้วยว่า

           "ไม่นาน'นักก็จักทำให้แจ้งซึ่งประโยช'น์ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่ฤลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยี่งเองเข้าถึงอยูในปัจจุบันแน่แท้"

           นั่นก็หมายความว่า แม้แต่พระบรมศาสดายังทรงต้องบำ เพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน จึงทรงสามารถตรัสรู้โลกุตรธรรมด้วยต้วของพระองค์เองและนำมาสั่งสอนให้ชาวโลกตรัสรู้ตามพระองค์ไปได้

            ดังนั้น พระภิกชุเถระ พระม้ชฌิมะ พระนวกะในยุคปัจจุบัน ก็ด้องบำเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเช่นกัน จึงจะสามารถบรรลุโลกุตรธรรมได้เช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในครั้งพุทธกาล

      ๖.๒) การอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันของพระปัจเจกพุทธเจ้า
             พระบรมศาสดาตรัสเล่าประวัติการบำเพ็ญเพียรอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งใน ขัคควิสาณสูตร ไว้ว่า

             (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ตั้งความเพียรเพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง มีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน มีความพากเพียรมั่นคง เข้าถึงเรียวแรงและกำลังแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมีอนนอแรด

             พระสารีบุตร พระอัครสาวกเบื้องขวา ผู้เลิศด้วยปัญญาได้อธิบายพระพุทธพจน์น!ว้ในคัมภีร์จูฬนิเทส ว่า

               คำว่า ตั้งความเพียรเพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง หมายถึง การบำเพ็ญภาวนาเพี่อให้ได้ความสิ้นกิเลส บรรลุโลกุตรธรรมคืออมตนิพพาน

              คำว่า มีจิตไม่ย่อหย่อนไม่ประพฤติเกียจคร้านหมายถึง พระปัจเจกส้มพุทธเจ้าประคองจิตมุ่งมั่นว่า "ตราบใดที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ตราบนั้นเรา
จักไม่ลุกจากที่นั่งนี้" (ซึ่งก็คือการปาเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพ้นนั่นเอง)
              
              คำว่า มีความพากเพียรมั่นคง เข้าดึงเรี่ยวแรงและกำลังแล้ว หมายถึง เป็นผู้เต็มเปียมด้วยกุศลกรรม คือเป็นผู้มีความบริสุทธกาย ความบริสุทธวาจา และความบริสุทธใจแล้ว

               คำว่า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด หมายถึง ความสิ้นกิเลสด้วยการปฏิบัติริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางเอกสายเดียว ไม่มีทางอื่นเป็นสอง
 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0064714153607686 Mins