ฝึกนิสัยรักการปฏิบัติมรรคมีองค์ 8

วันที่ 02 มิย. พ.ศ.2560

ฝึกนิสัยรักการปฏิบัติมรรคมีองค์ 8
 

สูตรสำเร็จการสร้างบารมีเป็นทีม , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , ฝึกนิสัยรักการปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 , ธรรมะ , มรรคมีองค์ 8 , นิสัย

       ทำอย่างไรเราจึงจะมีนิสัยรักการปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 อย่างทุ่มชีวิตเป็นเดิมพัน 

       คนที่จะมีนิสัยรักการปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ได้นั้น

1) เขาต้องได้ต้นแบบที่ดี คือ ได้ครูดีที่มีนิสัยปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 อย่างทุ่มชีวิตเป็นเดิมพัน

2) เขาต้องได้หลักสูตรที่ดี คือ มีเนื้อหาความรู้ที่ถูกต้องครบถ้วนชัดเจนลุ่มลึกในการปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 แต่ละข้อ

3) เขาต้องเอาจริงในการฝึกตน คือ ต้องทุ่มชีวิตศึกษาความรู้และถ่ายทอดเอานิสัยที่ดีจากครูมาสู่ตนเองให้ได้

4) เขาต้องได้รับวิธีการสอนที่ดี คือ ครูมีความสามารถในการใช้กิจวัตร การศึกษาและภารกิจของหมู่คณะเป็นบทฝึกนิสัยทำความดีอย่างทุ่มชีวิตเป็นเดิมพันให้แก่ลูกศิษย์ได้

    เมื่อองค์ประกอบ 4 ประการนี้ครบถ้วนแล้วสถานที่แห่งนั้นย่อมกลายเป็นโรงเรียนฝึกขุนพลนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างยอดเยี่ยม โดยสามารถปลูกฝังนิสัยรักการปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ให้เกิดขึ้นได้ตามลำดับดังนี้ คือ


1) เป็นผู้มีความเข้าใจถูกเป็นสัมมาทิฏฐิ ว่า "นิสัยสำคัญกว่าความรู้วิชาการ"

       ทำไมนิสัยจึงสำคัญกว่าความรู้ ?

   เพราะความรู้วิชาการเป็นเพียงอุปกรณ์ให้คนทำความชั่วหรือทำความดีเท่านั้น ถ้าคนนิสัยดีก็ใช้ความรู้วิชาการนั้นไปทำความดี ถ้าคนนิสัยชั่วก็ใช้ความรู้วิชาการนั้นไปทำความชั่ว

       บ้านเมืองใดมีคนนิสัยดีมาก บ้านเมืองนั้นย่อมมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง

       บ้านเมืองใดมีคนนิสัยชั่วมาก บ้านเมืองนั้นย่อมมีแต่ความล่มจม

      คนนิสัยดี คือ คิดดี พูดดี และทำดีเป็นปกติ ผลลัพธ์ก็คือได้ทั้งบุญและความสุขอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์ดี เป็นคนดี และได้เพื่อนที่ดีตามมา ความสำเร็จในชีวิตจึงรออยู่ข้างหน้า

      แต่คนนิสัยชั่ว คือ คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่วเป็นปกติ ผลลัพธ์ก็คือได้ทั้งบาปและความทุกข์อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความคิดทำลาย เป็นคนชั่ว และได้ศัตรูตามมา ความพินาศในชีวิตจึงรออยู่เบื้องหน้า

     คนสองคนจบดอกเตอร์เหมือนกัน คนหนึ่งมีนิสัยดี อีกคนมีนิสัยชั่ว สองคนนี้มีความรู้ทางด้านวิชาการเท่ากัน แต่สองคนนี้จะเอาความรู้ไปใช้ไม่เหมือนกัน เพราะความรู้เป็นเพียงอุปกรณ์ให้นิสัยนำไปใช้งานเท่านั้น

     มหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่งในเมืองไทยกำลังผลิตดอกเตอร์ให้จบปีละหลาย ๆ คน แต่มีมหาวิทยาลัยใดกล้ารับประกันว่า ดอกเตอร์ที่จบจาก ถาบันนั้น ๆ ไปแล้ว จะเป็นคนดีได้ทั้งหมด

      สำนักเรียนบาลีหลาย ๆ แห่งมีกำลังผลิตพระภิกษุให้จบ ป.ธ. 9 ปีละหลาย ๆ รูปแต่ถ้าไม่ปลูกฝังว่า ภาษาบาลีเป็นเพียงกุญแจดอกหนึ่งที่ใช้ไขตู้พระไตรปิฎก เพื่อจะเอาธรรมะมาฝึกนิสัยของตนเองให้ดีขึ้น แล้วจะเอานิสัยดีๆ ไปปราบกิเล ให้หมดสิ้น ผลที่ได้รับก็คือเรียนจบ ป.ธ. 9 เมื่อไร ก็สึกหาลาเพศออกไปเมื่อนั้น แล้วพระพุทธศาสนาจะมีพระภิกษุที่เป็นเสมือนขุนพลในการเผยแผ่ได้อย่างไร

    หลวงพ่อทัตตชีโวท่านตระหนักว่า นิสัยที่ดีนั้นสำคัญกว่าความรู้ จึงได้มาบวชติดตามรับใช้งานของพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย จนกระทั่งมีวัดพระธรรมกายให้สร้างบารมีร่วมกัน


2) เป็นผู้มีความคิดถูกเป็นสัมมาสังกัปปะ ว่า "การสอน คือ การถ่ายทอดนิสัยใฝ่รู้ใฝ่ดีใฝ่สร้างบารมีจากครูไปสู่ลูกศิษย์"

    สิ่งที่ควรระวังในการถ่ายทอดความรู้ ก็คือ การสอนไม่ใช่การบอกความรู้ เพราะการสอนกับการบอกนั้นมีจุดมุ่งหมายต่างกันโดยสิ้นเชิง

     คำว่า "สอน" ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Teaching"

     ส่วนคำว่า "บอก" ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Telling"

    จุดมุ่งหมายของการสอนธรรมะ คือ ต้องการให้ผู้เรียนสิ้นทุกข์ ซึ่งต้องถ่ายทอดนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่ดี ใฝ่สร้างบารมีจากครูไปสู่ลูกศิษย์ให้ได้

    แต่จุดมุ่งหมายของการบอกธรรมะ คือ การบอกให้ผู้เรียนรับทราบว่ากำลังพูดเรื่องอะไรอยู่เท่านั้น ยังไม่มีการถ่ายทอดนิสัยที่นำไปสู่การขจัดทุกข์แต่อย่างใด

     ปัญหาการศึกษาในยุคปัจจุบันนี้ ก็คือ ครูทำหน้าที่เพียงแค่บอกความรู้ แต่ยังไม่ได้ถ่ายทอดนิสัยใฝ่รู้ใฝ่ดีใฝ่สร้างบารมีให้แก่ลูกศิษย์ ตรงนี้เองถ้าหากไม่ได้ครูดีเป็นต้นแบบแล้วลูกศิษย์จะไม่มีทางได้นิสัยใฝ่รู้ ใฝ่ดี และใฝ่สร้างบารมีอย่างแน่นอน

    สมัยหลวงพ่อทัตตชีโวยังเรียนหนังสืออยู่ชั้น ม.7 - ม.8 ท่านได้ยินว่าวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มีทีมฝึกสมาธิชั้นเยี่ยมอยู่ที่นั่น ท่านจึงเดินทางไปที่วัดปากน้ำ ได้ทันเห็นพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เพียงแค่เห็นบุคลิกลักษณะที่ผ่องใสของท่านก็เชื่อว่าท่านเป็นบุคคลที่ทุ่มชีวิตเป็นเดิมพันในการทำภาวนาอย่างแน่นอน ต่อมาหลังจากพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำมรณภาพไปแล้ว ท่านเป็นนิสิตอยู่ ก็ได้มีโอกาสไปวัดปากน้ำอีกครั้งแต่คราวนี้เป็นการติดตามหลวงพ่อธัมมชโยมาพบกับคุณยายอาจาร์ยมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง วันแรกที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตชีโวได้พบกับคุณยายอาจารย์ ฯ ได้เห็นความเป็นอยู่ที่สะอาดสะอ้านของท่าน ได้เห็นศีลาจารวัตรของท่าน ได้ฝึกสมาธิกับท่านได้ฟังคำยืนยันว่านรก สวรรค์มีจริงจากท่าน ก็มั่นใจว่าท่านเป็นบุคคลที่ทุ่มชีวิตเป็นเดิมพันอย่างแน่นอน

     ตั้งแต่นั้นมาหลวงพ่อทัตตชีโวก็ไม่จากไปไหน อยู่เรียนธรรมะกับคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ที่วัดปากน้ำ ยอมให้ท่านเคี่ยวเข็ญอบรมนิสัยใจคอทุกอย่างเพื่อการเข้าถึงธรรม หลังจากนั้นคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงก็นำหมู่คณะมาสร้างวัดพระธรรมกาย วันที่ตัดสินใจจะสร้างวัดนั้น คุณยายอาจารย์ฯ ก็เรียกประชุม แล้วให้หลวงพ่อทัตตชีโวคำนวณว่าการสร้างวัดเกือบ 200 ไร่นั้น ต้องใช้เงินเท่าไร ท่านก็คำนวณเฉลี่ยได้ว่า ตกอยู่ที่ 5 แสนบาทต่อไร่ รวมเบ็ดเสร็จก็ต้องมีเงินเป็น 100 ล้าน จึงจะสร้างวัดได้เสร็จ

     หลวงพ่อทัตตชีโว ถามคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ขนนกยูงว่า ตอนนี้คุณยายอาจารย์ฯ มีเงินอยู่เท่าไร คุณยายอาจารย์ฯ ท่านก็หัวเราะหึ ๆ แล้วก็หยิบเงินในถุงกระดาษออกมานับได้ 3,200 บาท

      หลวงพ่อทัตตชีโวก็ถามว่า "ยาย เรามีเงินอยู่แค่นี้ แล้วจะสร้างวัดเสร็จหรือ ?"

      คุณยายอาจารย์ฯ ก็ตอบว่า "เสร็จสิคุณ"

      หลวงพ่อทัตตชีโวก็ถามว่า "เสร็จยังไง ยาย ?"

    คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ก็ถามว่า "ถ้าคุณจะสร้างคนดีสักคนหนึ่งต้องใช้เงินเท่าไหร่"

      หลวงพ่อทัตตชีโวก็ตอบว่า "หมดเงินเป็นร้อยล้าน ก็ยังไม่แน่ว่าจะสร้างคนดีได้สักหนึ่งคน"

      คุณยายอาจารย์ฯ ก็หัวเราะหึ ๆ แล้วก็ตอบว่า "ถ้าอย่างนั้น ยายสร้างวัดสำเร็จ"

      หลวงพ่อทัตตชีโวก็ถามอีกว่า "สำเร็จยังไง ยาย เรามีเงินแค่ 3,200 บาท "

    คุณยายอาจารย์ฯ ตอบชัดเจนว่า "ก็ยายมีพวกคุณเป็นคนดีอยู่สิบกว่าคน รวมกันแล้วยายก็มีพันกว่าล้าน แล้วทำไมจะสร้างวัดไม่สำเร็จ"

     แล้วคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ก็พิสูจน์ให้เห็นว่า การทุ่มชีวิตเป็นเดิมพันสร้างวัดนั้น ทำได้สำเร็จจริง ๆ

  นี่คือวิธีถ่ายทอดนิสัยใฝ่รู้นิสัยใฝ่ดีนิสัยสร้างบารมีอย่างชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพันให้แก่ลูกศิษย์ของคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง


     3) เป็นผู้มีนิสัยรักการพูดถูกเป็นสัมมาวาจา ว่า "การพูด" คือ การอธิบายคำนิยามหลักการ วิธีการ และผลการปฏิบัติให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงของหลักธรรมหรือเรื่องราวนั้น ๆ (ตามหลักวุฒิธรรม 4)


     4) เป็นผู้มีนิสัยรักการทำถูกให้เป็นสัมมากัมมันตะ ว่า "การทำถูกของครูผู้สอน คือต้องพัฒนานิสัยตนเองให้เป็นต้นแบบนิสัยใฝ่รู้ใฝ่ดีใฝ่สร้างบารมีให้แก่ศิษย์" มิฉะนั้นเขาย่อมไม่สามารถเป็นครูสอนศีลธรรมที่เป็นแสงสว่างให้แก่ชาวโลกได้


       5) เป็นผู้มีนิสัยรักการมีอาชีพถูกเป็นสัมมาอาชีวะ ว่า "อาชีพของนักบวช คือ การบวชถวายชีวิต เพื่อฝึกฝนตนเองตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด และฝึกลูกศิษย์ให้เป็นขุนพลนักเผยแผ่ที่มีความรักในพระพุทธศาสนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน" นี่คือความมั่นคงและยืนยาวของอายุพระพุทธศาสนา


     6) เป็นผู้มีนิสัยรักความเพียรถูกเป็นสัมมาวายามะ ว่า "ความพยายามถูก คือ ความพยายามในการแก้ไขนิสัยตนเองเพื่อความพ้นทุกข์ มุ่งตรงสู่พระนิพพาน"


      7) เป็นผู้มีนิสัยรักการระลึกถูกเป็นสัมมาสติ ว่า "ความระลึกถูก" คือ ความระลึกรู้ตัวในการรักษาใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ

     มีข้อคิดอยู่ว่า ยิ่งงานวัดขยายออกไปมากเท่าไร คนที่รักษาใจให้ผ่องใสยากที่สุดก็คือเจ้าอาวาส เพราะตื่นเช้าขึ้นมาก็มีเรื่องต้องตัดสินใจทุกวัน ต้องระมัดระวังรอบคอบต้องพิจารณาให้รู้ได้รู้เสียถึงผลกระทบที่จะตามมาจากการตัดสินใจแต่ละเรื่อง

    ยิ่งถ้างานของวัดขยายด้วยแล้ว การรักษาใจให้ผ่องใสยิ่งยาก แต่ก็พยายามรักษาใจให้ผ่องใสให้มากที่สุด มิฉะนั้นจะเกิดอาการรวนกันไปทั้งวัด

   วิธีการที่รับมือกับภาวะงานขยายที่เป็นสูตรสำเร็จที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ไว้ก็คือ เมื่องานขยายต้องระดมคน เมื่อระดมคนต้องระดมทุน เมื่อระดับทุนต้องระดมธรรม เมื่อระดมธรรมต้องมีสถานที่ที่พอเหมาะ เมื่อทำได้อย่างนี้จึงจะสร้างทีมงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ และผู้เป็นเจ้าอาวา ก็ชวนกันฝึกสมาธิรักษาใจให้ผ่องใสกันทั้งทีม อย่างนี้ถึงจะไปรอดเป็นหมู่คณะแล้วการกระทบกระทั่งก็จะน้อยลง


     8) เป็นผู้มีนิสัยรักการตั้งใจมั่นถูกเป็นสัมมาสมาธิ ว่า "ความตั้งใจมั่นถูก คือ การฝึกเก็บใจตนเองให้หยุดนิ่งอยู่ภายในตัว ไม่ใช่นอกตัว เพื่อความ งบสุขในปัจจุบัน และเพื่อการบรรลุธรรม" ซึ่งก็คือต้องหมั่นทำสมาธิภาวนานั่นเอง

     มรรคมีองค์ 8 นั้น จะครบถ้วน 8 ข้อหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ "สัมมาสมาธิ" ถ้าไม่ปลีกตัวออกมาลำพังเพื่อทำภาวนา มรรคมีองค์ 8 ก็ยากจะครบ เพราะฉะนั้น ตรงนี้ต้องใช้การแบ่งเวลา

    สาเหตุที่ต้องบริหารเวลาก็เพราะนอกจากภารกิจส่วนตัวแล้ว ยังมีภารกิจส่วนรวมของหมู่คณะอีกด้วย อยู่ด้วยกันแต่ไม่แบ่งงานกันทำ แล้วจะอยู่ด้วยกันได้อย่างไร เพราะยังต้องอาศัยวัดเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ยังต้องอาศัยญาติโยมเป็นกองเสบียง ถ้าไม่ช่วยกันดูแล ความสะดวกในการขจัดทุกข์ ทำพระนิพพานให้แจ้งไม่มีทางเกิด เพราะถ้าพระเอาแต่รับ ไม่มีตอบแทนกลับไป ญาติโยมก็รู้สึกว่าไม่ได้อะไรจากการมาวัด เพราะฉะนั้น ต้องทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน

      ประโยชน์ตน คือ ปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ขจัดทุกข์ ทำพระนิพพานให้แจ้ง

      ประโยชน์ท่านคือ ช่วยกันดูแลวัด และสอนการปิดนรก เปิดสวรรค์ มุ่งพระนิพพานให้แก่ญาติโยม

  วัดพระธรรมกายที่ก้าวมาถึงวันนี้ได้ ก็เพราะอาศัยการนั่งสมาธิเป็นหลักในการสร้างวัดทั้งการฝึกบุคลากรของวัด และเผยแผ่พระพุทธศาสนา

     ผู้ที่มาวัดพระธรรมกาย ไม่ว่าจะมาร่วมงานบุญ หรือมาสมัครบวช จะต้องได้นั่งสมาธิทุกคน ทำให้เขาจึงได้เกิดความซาบซึ้งใจในพระพุทธศาสนา เพราะว่าเขามาวัดแล้ว จิตใจของเขาได้รับความสบายจากการนั่งสมาธิ เขาจึงอยากมาวัดอีกส่งผลให้การจัดงานบุญใหญ่ของวัดแต่ละครั้ง จึงได้มีคนมาปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนหลักหมื่นหลักแสน แต่ว่าสงบเป็นระเบียบไม่วุ่นวาย

    นี่คือหลักการสำคัญของการฝึกมรรคมีองค์ 8 แบบเป็นหมู่คณะใหญ่ของวัดพระธรรมกายเป็นวิธีการขยายงานได้เร็วที่สุด เพราะการนั่งสมาธิเป็นวิธีการที่ทำให้ใจของทุกคน ไม่ว่าจะหลักแสนหรือหลักล้านก็ตาม ย่อมสามารถสัมผั ได้ถึงประโยชน์ของธรรมะได้ดีที่สุด รวดเร็วที่สุดตรงทางที่สุดนั่นเอง

    แต่อย่างไรก็ตาม ในการฝึกสมาธินั้น มีข้อควรระวังว่าสภาวะที่ใจจะเป็นสมาธิได้นั้นใจจะต้องหยุดนิ่งสนิทที่ศูนย์กลางกาย ชนิดที่เกิดเป็นดวงสว่างอยู่ในตัว เพราะศีลวัดกันที่ความสะอาด ปัญญาวัดกันที่ความสงบ แต่สมาธิวัดกันที่ความสว่าง และแน่นอนว่า ถ้าใจหยุดนิ่งถูกส่วนจนเข้าถึงดวงธรรมภายในเมื่อไร ทั้งความสะอาด ความสว่าง ความสงบ ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกันในดวงธรรมนั้น นี่คือสมาธิตัวจริง

     เพราะฉะนั้น จากการปลูกฝังนิสัยรักการปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 อย่างทุ่มชีวิตมาตามลำดับนี้เอง เมื่อได้รับการฝึกจากครูดีหลักสูตรดีวิธีการสอนดีและตัวเองก็รักดีมารอบแล้วรอบเล่า ความชำนาญในการปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 แต่ละข้อจึงยิ่งเพิ่มขึ้นมาตามลำดับ ๆ ๆ

    ในที่สุดแล้ว การปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ย่อมควบคุมใจได้เหนียวแน่นเต็มที่ และกลายเป็นนิสัยทำความดีอย่างทุ่มชีวิตเป็นเดิมพัน ก็ในเมื่อชีวิตนั้นยังพร้อมจะแลกกับธรรมะได้โดยไม่เสียดาย ใจย่อมมีความสะอาดสว่างสงบ แน่วแน่อยู่ในตัวสูง กำลังใจย่อมไม่มีวันหมด ทุกคำพูดย่อมมีแต่ความจริง ทุกการกระทำย่อมมีแต่ความจริง ไม่มีข้อแม้เงื่อนไขให้กับอุปสรรค ใด ๆ เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ การบรรลุธรรมที่ละเอียดประณีตย่อมเกิดขึ้นไปตามลำดับ ๆ ๆ อย่างแน่นอน

     เพราะฉะนั้น ความรู้พื้นฐานสำคัญของการสร้างทีมงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ประการที่ 4 ก็คือ ทุกคนต้องมีความเข้าใจถูกว่า ผู้ที่จะสามารถเข้าถึงธรรมภายในได้ ต้องตั้งใจปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 อย่างทุ่มชีวิตเป็นเดิมพัน โดยมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นแบบ
นั่นเอง

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 002 สูตรสำเร็จการสร้างบารมีเป็นทีม
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.019114069143931 Mins