หนึ่งในล้านวิธี ในการเข้าถึงธรรมกาย

วันที่ 06 มิย. พ.ศ.2560

  หนึ่งในล้านวิธี ในการเข้าถึงธรรมกาย,วาไรตี้,บทความประจำวัน

 

      หนึ่งในล้านวิธี ในการเข้าถึงธรรมกาย
      
       เมื่อ ๘๐ กว่าปีที่ผ่านมา หลวงพ่อวัดปากนํ้า ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนุทสโร) ท่านได้อุทิศชีวิตปฏิบัติธรรมจนค้นพบวิชชาธรรมกาย ณวัดโบสถ์ (บน) บางคูเวียง แล้วท่านก็ได้ศึกษาค้นควัาวิชชาธรรมกายจนพบว่าในกลางกายของมนุษย์ทุกๆคน มีพระรัตนตร้ยอยู่ภายใน นั่นคือ พุทธรัตนะดธรรมรัตนะ และส้งฆรัตนะ

     พุทธรัตนะก็คือ ธรรมกาย กายที่เป็นผ้รู้ ผู้ตื่น ผ้เบิกบานแล้ว มีอย่ภายในตัวของมนุษย์ทุกคน มีคำยืนยันเป็นหล้กฐานเอาไว้ในพระไตรปิฎก ทั้งฉบ้บของเถรวาท มหายาน วัชรยาน แต่ในพระไตรปิฎกไม่ได้กล่าวไวัว่าธรรมกายมีลักษณะเป็นอย่างไร จนกระทั้งหลวงพ่อวัดปากนํ้าท่านได้เข้าถึงและก็บอกว่า ธรรมกายมีลักษณะคล้ายๆ ก้บพระพุทธรูป หรือพระพุทธปฏิมากรที่จำลองออกมา แต่งดงามกว่ามาก เป็นพระแก้วใสบริสุทธ มีเกตุดอกบัวตูม ประกอบด้วย ลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ นั่นแหละคือ พระธรรมกาย

     เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีพระธรรมกายอย่ภายใน จะรู้ได้ต่อเมื่อเข้าถึงเข้าถึงแล้วก็ไปเห็น เมื่อไปเห็นก็รู้เมื่อรู้ก็หายสงลัย แล้วทำอย่างไรเราจึงจะเข้าถึงจะเข้าถึงได้ ก็ต้องให้โอกาสตัวเองที่จะศึกษาสิ่งเหล่านี้ โดยทำใจให้เป็นกลางไม่ใช่เชื่ออย่างงมงาย หรือไม่เชื่อจนดื้อรั้น ให้ทำตัวทำใจเหมือนนักวิทยาศาสตร์ เหมือนผู้รู้ บัณฑิตและนักปราชญ์ทั้งหลาย คือวางใจเฉยๆ เหนือความเชื่อและความไม่เชื่อ แล้วให้โอกาสตัวเองได้ศึกษาอย่างแท้จริง

     โดยดึงใจที่แวบไปแวบมา ให้กลับมาหยุดนิ่งอยู่ภายใน ในตำแหน่งที่ถูกต้อง คือศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อันเป็นจุดเริ่มตันแห่งอริยมรรค เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางสายกลางที่จะนำไปสู่อายตนนิพพาน ทางที่พระสัมมาล้มพุทธเจ้าและพระอรห้นต์ทั้งหลายท่านเสด็จไป ต้องนำใจที่มีปกติซัดส่ายไปมาให้มาอยู่ ณ ตำแหน่งตรงนี้ตลอดเวลาจนกระทั้งถูกส่วน พอถูกส่วนใจก็จะเคลื่อนเข้าไปสู่ภายใน ภาษาบาลีเขาใช้คำว่า คมน (คะมะนะ) แปลว่าเคลื่อนเข้าไป แล่นเข้าไปไตรสรณคมน์ ก็คือเคลื่อนใจแล่นเข้าไปหารัตนะภายใน เพราะฉะนั้นการเข้าถึงพระธรรมกาย พิสูจน์ไต้ด้วยการฝึกใจให้หยุดนิ่ง

     แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เราทำถูกวิธีในเบื้องต้นแล้วเพื่อจะได้ปฏิบัติก้นต่อไปให้เข้าถึงรัตนะทั้ง ๓ ภายในกายของเรา เราจะรู้ได้โดยเมื่อใจหยุดนิ่ง ดีแล้วจะมีดวงธรรมเบื้องต้นบ้งเกิดขึ้น ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่าเรามาถูกทางแล้วถ้าเดินทางต่อไปก็จะถึงที่หมาย

      วิธีทำใจให้หยุดมาสู่ที่ตั้งตรงฐานที่ ๗ มีเป็นล้านวิธี คือน้บวิธีไม่ถ้วน แต่ย่อลงมาเหลือเพียงแค่ ๔๐ วิธี ที่มีในวิสุทธิมรรค ให้เลือกเอาว่าจะเอาวิธีไหนก็ได้ที่จะธีเกใจให้หยุดนิ่ง เช่น เราจะเริ่มต้นจากการพิจารณาอสุภะ (ซากศพ) ก็ได้ หรือกำหนดลมหายใจ หายใจเข้าภาวนาว่า "พุท" หายใจออกภาวนาว่า "โธ"อย่างที่เขาเรียกว่า อานาปานสติอย่างนี้ก็ได้ หรือบางคนชอบทำใจนิ่งๆ เฉยๆไม่อยากคิดอะไรก็ได้ หรือบางคนจะระลึกนึกถึงศีลที่ตนรักษาได้บริสุทธิ์บริบูรณ์อย่างนี้ก็เข้าถึงได้เหมีอนกัน

      ไม่ว่าเราจะเลือกปฏิบัติในวิธีใดก็ตาม เมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆ พอใจสบายใจหยุดถูกส่วนเข้าก็หล่นวูบเข้าไปสู่ภายใน พบดวงธรรมภายใน ถ้าดำเนินจิตไปเรื่อยๆก็จะเข้าถึงพระรัตนตรัยเช่นเดียวกัน

       เพราะฉะนั้น วิธีที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัยนั้นมีหลายวิธี แต่ทุกวิธีมีอารมณ์เดียว คือต้องอารมณ์ดี อารมณ์สบาย แต้วก็ต้องหยุดนิ่ง ใจที่ปกติชอบแวบไปแวบมา ต้องนำกลับมาหยุดนิ่งอยู่ภายใน ทุกวิธีเหมือนกันตรงนี้ แตกต่างกันแต่เพียงวิธีการภายนอก พอหยุดถูกส่วนก็วูบเข้าไปจนกระทั่งเข้าถึงพระรัตนตรัยภายในอันเป็นที่พึ่งที่ระลึกสูงสุดของพวกเราทุกคน

        เพราะฉะนั้นใครที่เคยใช้คำว่าหลวงพ่อวัดปากนั้าก็ดี หลวงพ่อธ้มมชโยก็ดีสอนตาม "แนววิชชาธรรมกาย" หรือ "วิธีธรรมกาย" ขอให้แกัคำใหม่นะ ไม่ใช่ใช้อย่างนั้น จริงๆ แล้วเป็น "วิธีเข้าถึงธรรมกาย" วิธีหนึ่ง โดยใช้คำภาวนาว่า"สัมมา อะระห้ง" แล้วก็ฝึกใจให้หยุดนิ่งเฉยๆ หรือจะกำหนดนิมิตเป็นดวงแกัวเป็นองค์พระ เพึ่อเป็นกุศโลบายให้Iจมีที่ยึดที่เกาะ เพึ่อไปถึง ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ที่แห้จริง พอใจหยุดนิ่งถูกส่วนแล้ว จะภาวนาหรือไม่ภาวนาอะไรเลย จะกำหนดหรือไม่กำหนดอะไรก็แล้วแต่ พอไปสู่เบ้าหลอมเดียวกัน คือศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ก็ตกศูนย์วูบลงไป แล้วก็เข้าถึงดวงธรรม เห็นกายในกาย จนกระทั่งเข้าถึงพระธรรมกายในที่สุด
 
       หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญท่านเข้าไปถึงอย่างนี้ พอเข้าถึงธรรมกาย แล้วท่านจึงรู้ว่าธรรมกายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับคำว่า"ตถาคต" "พระพุทธเจ้า" แล้วท่านก็ค้นพบต่อไปอีกว่า การดับขันธปรินิพพานคือดับขันธ์ ๕ ในกายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหมข้นธ์ทั้งหลายดับหมด ถอดออกหมดเป็นชั้นๆเข้าไปทีเดียว เหลือแต่ธรรมกายปรากฏอยู่ในอายตนนิพพาน

        ตรงนี้ที่เป็นข้อถกเถียงกัน ซึ่งหลวงพ่อจะค้างเอาไว้สำหรับให้บัณฑิต นักปราชญ์ ได้ใปศึกษาไปค้นคว้าว่ามีจริงหรือไม่จริง ถ้าเราทำถูกวิธีและทำจริงจังก็ต้องเจอ ถ้าทำไม่ถูกวิธีหรือทำไม่จริงไม่จ้งก็ไม่เจอ คำ ว่า "ไม่เจอ" กับคำว่า"ไม่มี" นั้นไม่เหมือนกัน ไม่เจอเพราะเราทำไม่ถูก ถ้าทำถูกก็ต้องเจอ

 

 

 

 

วันอาทิตย์ที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๒

จากหนังสือ แม่บท เดินทางข้ามวัฏสงสาร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0029725193977356 Mins