บันไดขั้นที่ ๓๘ จิตเกษม

วันที่ 14 มิย. พ.ศ.2560

  บันไดขั้นที่ ๓๘  จิตเกษม,วาไรตี้,บทความประจำวัน

 

บันไดขั้นที่ ๓๘  จิตเกษม

      ทันทีที่ลืมตามาดูโลก เราก็ต้องผจญภัยชนิดที่พร้อมจะเอาให้ถึงตายอยู่ทุกวินาที เหมือนว่ายน้ำอยู่กลางทะเลมหาโหดที่มืดมิดอยู่ตลอดเวลา

      ภัยในโลกนี้ แบ่งออกเป็น ๒ บ่ระเภท
     ๑. ภัยภายใน ใครก็หลีกเลี่ยงไม่ได้
    เบื้องหน้า มีมรณภัย คือ ภัยจากความตายรออยู่

    เบื้องหลัง มีชาติภัย คือ ภัยจากการเกิดรออยู่   

    เบื้องซ้าย มีชราภัย คือภัยจากความแก่รออยู่

    เบื้องขวา มีพยาธิภัย คือภัยจากความเจ็บรออย่

    ๒. ภัยภายนอก มีนับไม่ถ้วน เช่น
        ภัยจากคน ได้แก่ ผัวร้าย เมียเลว ลูกชั่ว นายชัง เพื่อนพาล
        ภัยจากธรรมชาติ ได้แก่ นํ้าท่วม ไฟไหม้ แผ่นดินไหว
        ภัยจากบาปกรรมตามทัน ได้แก่ การถูกตามล้างตามผลาญด้วยเคราะห์กรรมทุกรูปแบบ   
       

     ภัยทั้ง ๒ ประเภทนี้ ตามล้างตามผลาญ แม้ตายแล้วก็ไม่ปล่อย จนกว่าจะปฏิบัติครบทุกมงคลให้หมดกิเลส จึงจะปลอดภัยอย่างแท้จริง เรียกว่า จิตเกษม

      จิตเกษม แปลว่า ปลอดภัย พ้นภัย สิ้นกิเลส นิพพาน
      หมายถึง สภาพจิตที่หมดกิเลสผูกมัด ทำ ให้คล่องตัว ไม่ติดชัด ไม่อึดอัดอีกต่อไป ไม่มีภัยใดๆบีบคั้นบังคับได้อีก จึงมีความสุขอย่างแท้จริง

       เหตุที่คนทั่วไปจิตไม่เกษมเพราะถูกกิเลสมัดเอาไว้จนดิ้นไม่หลุด ตายแล้วก็เกิด เกิดแล้วก็ตาย
       กิเลสที่ผูกมัดเราไว้นี้ เรียกว่า สังโยชน์

       สังโยชน์ แปลว่า เครื่องผูก หมายถึง กิเลสที่ผูกใจสัตว์หรืออกุศลธรรมที่ผูกมัดสัตว์ให้เวืยนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารทุกข์อุปมาเหมือนเชือกที่ผูกเทืยมสัตว์ติดไว้ภับรถ มี ๑๐ ประการ

        แบ่งออกเป็น ๒ หมวดใหญ่ คือ

        หมวดที่ ๑ สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นกิเลส หรือเครื่องผูกขั้นหยาบ มี ๕ ประการ คือ

        ๑. สักกายทิฎฐิ คือ ความยึดมั่นในตัวตนว่าเป็นเราเป็นเขา เพราะยังไม่รู้จักกายในกาย โดยเฉพาะยังไม่รู้
จักธรรมขันธ์ ได้แก่ ความเห็นที่ยังติดแน่นในสมมติว่าเป็นตัวตน เราเขา เป็นมั่นเป็นนี่ ไม่เห็นสภาพ
ความจริงที่สัตว์บุคคลกลายเป็นเพียงองค์ประกอบต่างๆ มาประชุมกันเท่านั้น ทำ ให้มีความเห็นแก่ตัว
ในขั้นหยาบ และถูกกระทบกระทั่ง บีบคั้น เป็นทุกข์ได้รุนแรงเพราะความเห็นผิดนั้น ๆ

       ๒. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยในคุณของพระรัตนตรัยตลอดจนมรรคผลนิพพาน และเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เพราะยังไม่เข้าถึงธรรมขันธ์ ทำให้ไม่มั่นใจในการดำเนินชีวิตด้วยมรรคมีองค์ ๘

      ๓. สีลัพตปรามาส คือ การลูบคลำศีลพรต มีความยึดถือผิดพลาดไปว่า ความบริสุทธิ์หลุดพ้นกิเลสนั้น
สามารถทำได้ด้วยการปฏิบัติตาม ข้อบัญญัติ แบบแผนศีลพรตนอกพระทุทธศาสนา หรือถือปฏิบัติตามพระพุทธศาลนา แต่ปฏิบัติเพียงเพื่อถือความขลัง ความศักดิ์ลิทธิ้ มิได้ทำอย่างจริงจัง

     ๔. กามราคะ คือ ความกำหนัดในกาม ความติดใจในกามคุณทั่ง ๕ ได้แก่ รูป เลืยง กลิ่น รส สัมผัส

    ๕. ปฏิฆะ คือ ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดงุ่นง่านใจ

    หมวดที่ ๒ สังโยชน์เบื้องสูง เป็นเครื่องผูกขั้นละเอียด มี ๕ ประการ

    ๖. รูปราคะ คือ ความติดใจในรูปธรรมอันละเอียดประณีตเช่น ติดใจในอารมณ์สุขแห่งอรูปฌาน พอใจในรส
ความสุข ความสงบของสมาธิขั้นรูปฌาน ติดใจปรารถนาไปเกิดเป็นรูปพรหมในรูปภพ

    ๗. อรูปราคะ คือ ความติดใจในอรูปธรรม เช่น ความติดใจในอารมณ์สุขอันเกิดจากอรูปฌาน เมื่อติดใจ
หลงใหลในความสุขขั้นนี้เลียแล้ว จิตก็ไม่อาจขยับขึ้นไปถึงธรรมขันธ์ได้ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะใจยังไม่
หยุดอยู่ในศูนย์กลางกายอย่างแท้จริง

    ๘. มานะ คือ ความถือตัวทนงตน หรือสำคัญตนผิดอันเป็นเหตุให้เกิดการดูหมื่น เช่น เห็นว่าสูงกว่าเขา ตา
กว่าเขา

 ๙.อุทธัจจะ คือ ความฟ้งซ่านแห่งจิตอันสืบเนื่องมาจาก ยังไม่สามารถควบคุมความคิดของตนได้อย่างสมบูรณ์เพราะยังมีอวิชชาหลงเหลืออยู่ เป็นความฟ้งช่านที่ทำให้จิตกระเพื่อมน้อยๆ ต่างกับอุทธัจจะในนิวรณ์๕
ชึ่งทำให้ใจกระเพื่อมมาก

 ๑๐. อวิชชา คือ ควานมืด ความไม่รู้จริง ไม่รู้เท่าทันสภาวะไม่เข้าใจปัญหาการเวียนว่ายตายเกิดอันลึกซึ้ง ไม่รู้แจ้งในอริยสัจ ๔

     พระพุทธองค์ไม่ทรงอธิบายว่า ใครสร้างโลก ใครเป็นคนแรกในโลก เราเกิดเป็นคนชาติแรกตั้งแต่เมื่อไร และใครเป็นคนสร้างกิเลส โดยการให้เหตุผลว่าคนที่ถูกยิงด้วยธนู ไม่ยอมเสียเวลาหาว่า ใครเป็นคนยิง ยิง
มาจากไหน ใกล้ไกล ชายหรือหญิง ฯลฯ แต่จะรีบรักษาอาการก่อน หายแล้วค่อยว่ากัน

     ชาวโลกถูกกิเลสเผาไม่ปลอดภัยก็เช่นกัน หาทางปราบกิเลสให้ปลอดกัยก่อนดีกว่า เมื่อดับกิเลสได้แล้ว ปัญหาเหล่านั้น ก็ไม่ยากจนเกินไป

     ในการปราบกิเลส ต้องทำกันตลอดชีวิต ถ้าชาตินี้ไม่หมด ชาติหน้าปราบต่อ วันใดวันหนึ่ง ชาติใดชาติหนึ่งต้องหมดจนได้

     วิธีปราบกิเลสง่ายๆ คือ ปฏิบัติมงคลทั้ง ๓๗ บทข้างต้นนั้นเรื่อยมาไม่ลดละ ผลสุดท้าย ก็จะเข้าถึงความเป็นพระอริยบุคคลพ้นจากการผูกมัดให้เวียนตายด้วยกิเลส พ้นจากการรุมทำร้าย ให้ทุกข์ทรมานจากกิเลส ซึ่งเแบ่งออกเป็น ๔ ระดับ คือ

      ๑. พระโสดาบัน คือ ท่านผู้บรรสุธรรมภายในได้โสดาปัตติผลแล้ว เป็นผู้ถึงกระแสนิพพานแล้ว เที่ยงต่อการที่จะหมดกิเลส แต่ต้องเวียนเกิดในสุคติภพ เพื่อทำความเพืยรต่ออีกไม่เกิน ๗ ชาติ จะเป็นพระอรหันต์

      ๒. พระสกทาคามี คือ ท่านผู้บรรลุธรรมภายในได้พระสกทาคามีผลแล้ว ถึงกระแสนิพพานแล้ว เที่ยงต่อการหมดกิเลส จะกลับมาเกิดในโลกนี้เพื่อทำความเพียร ต่ออีกเพียงชาติเดียว ก็หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์

      ๓. พระอนาคามี คือ ท่านผู้บรรลุธรรมภายในได้พระอนาคามีผลแล้ว เป็นผู้ไม่เวียนกลับมาเกิดในโลกนี้อีก
แต่อาสวะกิเลสละเอียดยังไม่หมด จะไปทำความเพียรต่อที่พรหมโลกชั้นปัญจสุทธาวาส แล้วจึงปรินิพพานในภพนั้นๆ เมื่อเป็นคฤหัสถ์ จะไม่ยินดีในกามารมณเลย และรักษาศีล ๘ เป็นนิจ

    ๔. พระอรหันต์ คือ ท่านผู้บรรลุธรรมภายในเป็นพระอรหัตตผลแล้ว ผู้หมดกิเลส หมดทุกข์โดยสิ้นเชิง
ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป เมื่อขันธ์ ๕ ดับแล้ว ธรรมขันธ์จะไปปรากฏอยู่ในอายตนะนิพพาน
เช่นเดียวกับธรรมขันธ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสุขตลอดไป

        การเป็นพระอรหันต์นั้น เพราะว่า บรรลุวิชชา ๓ ที่สามารถขจัดสังโยชน์เบื้องตํ่าและเบื้องสูงอันเป็นเครื่องผูกมัดให้เวียนว่ายตายเกิดไต้หมดสินเชือไม่เหลือเศษ ทำให้จิตเกษมหมดกิเลสถาวร ชีวิตมืความปลอดภัย เป็นสุขแท้จริงอยู่ตลอดเวลา

      วิชชาในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง หมวดวิชาที่เรียนในโรงเริยน

      วิชชา ๓ คือ ความรู้แจ้ง ความรู้พิเศษ เป็นศัพท์เฉพาะทางศาสนา หมายถึงความรู้แจ้ง ซึ่งเหตุผลอันลึกซึ้งด้วยปัญญาได้แก่ ญาณ คือ ความหยั่งรู้ ซึ่งเกิดจากการทำสมาธิสุดยอดเข้าถึงธรรมขันธ์ภายใน คือ

     ๑. บุพเพนิวาสนุสติญาณ คือ ญาณเป็นเหตุระลึกถึงขันธ์ ที่อาศัยอยู่ไนกาลก่อนได้ ระลึกชาติตนเองได้

    ๒.จุตูปปาตญาณ คือ ญาณกำหนดรู้การจุติและการอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทิพยจักขุญาณ

    ๓.อาสวักขยญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ ได้แก่
ความตรัสรู้นั่นเอง

      เพราะฉะนั้น การปราบกิเลสไห้ลิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ หลุดพ้นจากความเป็นบ่าวเป็นทาสของกิเลส จิตเกษม ได้พบกับความสุขที่แท้จริงของชีวิต หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เข้าถึงฝั่งพระนิพพาน เป็นมงคลสูงสุดของชีวิต เป็นพระอรหันตนิ ต้องบำเพ็ญเพียรจนกระทั่งจิตเกษมได้ด้วยวิชชา ๓ นั่นเอง


 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0026294151941935 Mins