มรรค ผล นิพพาน
เมื่อเรารู้จักหลักจริงดังนี้แล้วให้ปฏิบัติไปตามแนวนี้ ถ้าผิดแนวนี้ จะผิดทางมรรคผลนิพพาน อะไรเป็นมรรค อะไรเป็นผล อะไรเป็นนิพพาน
มรรคผลนิพพาน กายธรรมอย่างหยาบ กายธรรมโสดาอย่างละเอียด สกิทาคาอย่างละเอียด อนาคาอย่างละเอียด อรหัตอย่างละเอียด นั่นแหละเป็นตัวผล นั่นแหละมรรค นั่นแหละผล
แล้วนิพพานล่ะ ธรรมที่ทำให้เป็นกายโคตรภู โสดา สกิทาคา อนาคา อรหัต พอถึงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตก็ถึงนิพพานกัน นิพพานอยู่อย่างนี้
ถ้าไม่มีธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต ก็ไปนิพพานไม่ได้ ธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม ตัวนิพพานเป็นวิราคธาตุวิราคธรรม เขาก็ดึงดูดกัน พอถูกส่วนเข้าก็ดึงดูดกันรั้งกันไปเอง
เหมือนมนุษย์โลกนี้
คนมั่งมีเขาก็เหนี่ยวรั้งคนมั่งมีไปรวมกัน
คนยากจนก็เหนี่ยวรั้งคนยากคนจนไปรวมกัน
นักเลงสุรามันก็เหนี่ยวรั้งนักเลงสุราไปรวมกัน
นักเลงฝิ่นมันก็เหนี่ยวรั้งนักเลงฝิ่นไปรวมกัน
ภิกษุก็เหนี่ยวพวกภิกษุไปรวมกัน
สามเณรก็เหนี่ยวพวกสามเณรไปรวมกัน
อุบาสกก็เหนี่ยวพวกอุบาสกไปรวมกัน
อุบาสิกาก็เหนี่ยวพวกอุบาสิกาไปรวมกัน
มีคล้ายๆ กันอย่างนี้ แต่ที่จริงที่แท้เป็นอายตนะสำคัญ
อายตนะดึงดูด เช่น โลกายตนะ อายตนะของโลก ในกามภพ อายตนะ ของกามมันดึงดูดให้ข้องอยู่ในกาม คือ กามภพ
รูปภพ อายตนะรูปพรหมดึงดูด เพราะอยู่ในปกครองของรูปฌานอายตนะดึงดูดให้รวมกัน
อรูปภพ อายตนะของอรูปพรหม อรูปฌานดึงดูดเข้ารวมกัน
อตฺถิ ภิกฺขเว สฬายตนํ นิพพานเป็นอายตนะอันหนึ่ง
เมื่อหมดกิเลส แล้วนิพพานก็ดึงดูดไปนิพพานเท่านั้น
ให้รู้จักหลักจริงอันนี้ก็เอาตัวรอดได้
จากพระธรรมเทศนาเรื่อง "อาทิตตปริยายสูตร
๒๕ สิงหาคม ๒๔๗๖