โอวาทปาฏิโมกข์ ๑

วันที่ 31 กค. พ.ศ.2560

โอวาทปาฏิโมกข์ ๑

 

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) , พระผู้ปราบมาร , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , หลวงปู่สด , หลวงพ่อสด , ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกาย , ตามรอยพระมงคลเทพมุนี , วิสุทธิวาจา , ประวัติหลวงพ่อสด , ประวัติพระมงคลเทพมุนี , รวมพระธรรมเทศนา หลวงพ่อวัดปากน้ำ ,  สมาธิ , วิปัสสนา , สัมมาอะระหัง , โอวาทปาฏิโมกข์

 

(ปัญญาเบื้องต่ำ และปัญญาเบื้องสูง)

๔ มีนาคม ๒๔๙๗ 

นโม.....
กถญฺจ ปญฺญา สมฺมทกฺขาโต.....

 

                        พระพุทธศาสนา มีศีลเป็นเบื้องต้น สมาธิ เป็นท่ามกลาง ปัญญา เป็นเบื้องปลาย เป็นลำดับในการเทศนาของพระพุทธองค์

                        แต่ในวิสุทธิมรรค อัฏฐังคิกมรรค พระองค์ทรงแสดงปัญญาไว้เป็นเบื้องต้น เป็นปฐมเทศนาธัมมจักกัปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ ซึ่งชำนาญดีแล้วในเรื่องศีล สมาธิ แต่ไม่คล่องทางปัญญา

                        "คำว่าปัญญานี้น่ะ ไม่ใช่เป็นของง่าย ถ้าให้ฟังไป ๑๐๐ ปี ว่าปัญญาน่ะอะไร  รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร  โตเล็กเท่าไหน อยู่ที่ไหน กลม แบน ยาวรี สี่เหลี่ยม อย่างไรกัน เอาเถอะหมดทั้งประเทศไทย ถ้าว่าเข้าดังนี้ละก็ไม่รู้เรื่องกันทีเดียวแหละ ได้ยันกันป่นปี้"

                        ปัญญาที่พระพุทธองค์ตรัสแล้วโดยเบื้องต่ำ คือ ปรมัตถปิฎก ซึ่งเป็นข้อสำคัญทางปัญญา (วินัยปิฎก เป็นศีลสุตตันตปิฎก เป็น สมาธิ) มีพระมหากัสสปะกระทำปฐมสังคายนา

                        อิธ อริยสาวโก ปญฺญวา โหติ อริยสาวกในธรรมวินัย ของพระตถาคตเจ้านี้ย่อมเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้มาตามพร้อมแล้วด้วยปัญญาอันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิดดับ

                        พระพุทธเจ้าทรงยกอริยสาวก เป็นตำรับตำราว่า อิธ อริยสาวโก ก็เพราะพระอริยสาวกมีปัญญาความรู้ความเห็นที่แน่นอนแล้ว ยกพระสาวกตั้งแต่โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล   จำพวกนี้ เป็น "อริยสาวก"

                        ต่ำลงมา เป็นผู้มีธรรมกาย เรียก "สาวกชั้นโคตรภู" ปรารถนาจะออกจากโลกเข้าเป็นอริยสาวกแต่ยังอาจกลับมาเป็นปุถุชนสาวก

                        พวกไม่มีธรรมกาย เป็น "ปุถุชนสาวก" ยังหนาด้วยกิเลส ปญฺญวา โหติ เป็นผู้มีปัญญา เป็นอย่างไร

                        ศีล สมาธิปัญญา เป็นคำที่กล่าวด้วยกัน แต่ไม่ค่อยมีการแสดงเรื่องปัญญา

                        ศีลสำหรับปราบปรามความชั่วทางกาย ไม่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดในกาม

                        สมาธิสำหรับปราบปรามความชั่วทางใจ ไม่ให้เกียจคร้าน ลอกแลก เหลวไหล

                        "ปัญญาที่จะแสดงต่อไปนี้เป็นตัวสำคัญนัก แต่ว่าไม่ค่อยจะได้แสดงที่วัดปากน้ำนี่สมภารผู้เทศน์นี้ได้มาจำพรรษาอยู่วัดปากน้ำนี้ ๓๗  พรรษาแล้ว แต่ว่าในทางปัญญาไม่ค่อยแสดงมากนัก แสดงในศีล สมาธิเป็นพื้นไปที่นี้ตั้งใจจะแสดงทางปัญญา"

                        ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคมีพร้อมแล้ว อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความเกิดดับปัญญาที่รู้ความเกิดดับนั่นเป็นตัวสำคัญปัญญามีแต่รู้ ไม่ใช่เห็น

                        "เมื่อถึงพระอริยบุคคลแล้วเป็นธรรมกายแล้ว ถ้ามารไม่ขวางนะ ความเห็นของตาไปแค่ไหน ความรู้ของทางปัญญาก็ไปแค่นั้น ความจำก็ไปแค่นั้น ความคิดก็ไปแค่นั้น"


ความรู้มาจากไหน

                        ใจ ประกอบด้วยความรู้ ความคิด ความจำ ความเห็น หยุดเข้า ซ้อนเป็นจุดเดียว เรียกว่า "ใจ"

                        ดวงรู้  ซ้อนในดวงคิด ดวงคิด ซ้อนอยู่ในดวงจำ ดวงจำ ซ้อนอยู่ในดวงเห็นเป็นชั้นๆ

                        ที่ตั้งของเห็น จำ คิด รู้ อยู่ในศูนย์กลางกายมนุษย์ เป็น "ดวงธรรม"ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ได้                            ถ้าธรรมดวงนั้นมีอยู่ มนุษย์ก็ไม่ดับ ถ้าดวงธรรมผ่องใสมนุษย์ก็รุ่งโรจน์

                       ดวงธรรมนี้ที่เป็นที่ตั้งของเห็น จำ คิด รู้  ซ้อนกัน ๔ ดวงเป็น "ใจ" ถ้า "ใจหยุด" เป็นจุดเดียวท่านยืนยันเป็น " สมาธิ"

                       สมาหิตํ  จิตตั้งมั่น หยุดเป็นจุดเดียวกัน รู้ตามความจริงทีเดียว


สมาธินี่แหละเป็นต้นของปัญญา

                       เข้าถึง สมาธิก่อน แล้วมีปัญญาปัญญาเป็นของละเอียดมาก เข้าถึง "ดวงปัญญา" เรียกว่า เป็น "ผู้มีปัญญา"


ธรรมในพระพุทธศาสนา มี ๕ ดวง องค์ ๑๐

                       องค์ ๑๐ คือ มรรคมีองค์   รวมกับสัมมาญาณัง และสัมมาวิมุตติ

                       องค์ ๘  ย่อลงมาเป็น ศีล สมาธิปัญญา

                       องค์ ๑๐ ย่อลงมาเป็น ศีล สมาธิปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ (๕ ดวง)


ศีล

                        ศีลอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายนั่นแหละ อยู่เป็นชั้นๆ เข้าไปตั้งแต่กายมนุษย์ถึง กายพระอรหัตละเอียด เพราะเป็นที่ตั้งของดวงทั้ง ๕ทั้ง ๑๘  กาย

                         ศีล สมาธิปัญญา จึงอยู่กลางดวงธรรมนั้นๆ

                         ดวงศีล อยู่กลางดวงธรรมกายมนุษย์

                         ดวง สมาธิ อยู่กลางดวงศีล

                         ดวงปัญญา อยู่กลางดวง สมาธิ

                         ดวงวิมุตติ อยู่กลางดวงปัญญา

                         ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ อยู่กลางดวงวิมุตติ

                         กายมนุษย์ละเอียด อยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ

                         ทุกกายเดินแบบเดียวกัน ๑๘  กาย ถึงกายอรหัตละเอียด ดังนั้นทางไปนิพพานคือ ต้องไปในทางศีล สมาธิปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ


ปัญญา

                          ดวงปัญญาของมนุษย์ ขนาดดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ของกายต่างๆ โตไปเป็นลำดับ ดวงปัญญา ของกายธรรมใหญ่โตมาก แต่ธรรมดวงนั้นของปุถุชนมัว คล้ายเลือกๆ ไม่ได้เป็นปัญญาที่เป็นแก่น

                          "ปุถุชนใช้ปัญญาผิวๆ เผินๆ ตัวเองก็ไม่เห็นปัญญา ไม่รู้จักว่ามันอยู่ที่ไหนและก็ไม่รู้จักว่า รูปพรรณสัณฐานมันเป็นอย่างไร เพราะไม่เห็น เพราะทำไม่เป็น"

                          พระอริยสาวก เป็นผู้มีปัญญา ประสงค์ดวงปัญญาดวงนี้นั่นเอง

                          "มาตามพร้อมแล้วด้วยปัญญา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิดดับ"

                          ปัญญามองดูแต่ความเกิดดับเท่านั้น เพราะหมดทั้งสากลโลก มีแต่เกิดกับดับเท่านั้นเห็นอย่างไร ก็รู้อย่างนั้น รู้ชัดทุกสิ่งตั้งแต่ต้นจนปลาย เรียกว่า "ปัญญา"

                           "ตั้งต้นแต่มนุษย์ถึงรูปพรหม อรูปพรหมเห็นไม่ถนัดนักหรอก เห็นรัวๆ ไม่ชัดนักเพราะเป็นของ ละเอียด เห็นความเกิดดับ จริงๆตามนุษย์เรานี่ก็เห็น เอาไปเผาไฟเสียออกย่ำแย่เชียวทิ้งน้ำ ฝังดิน เกิดดับๆทั้งนั้นแหละ หมดทั้งสากลโลก ตึกร้านบ้านเรือน ต้นไม้ภูเขาสิ่งที่เห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู ได้ทราบด้วยจมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดดับหมดทั้งนั้น รู้ชัดทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่ต้นจนปลายนี้เรียกว่าปัญญา"

                            แต่ว่ารู้ด้วยปัญญาอย่างนี้ เป็นปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ


ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูง

                            อิธ ภิกฺขุ ผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้

                            อิทํ ทุกฺขนฺติ  รู้ตามความเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความดับทุกข์ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

                             หมดทั้งก้อนกาย เป็น "ทุกข์" แท้ๆ เพราะ เกิด แก่ เจ็บ ตาย

                             กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นเหตุให้เกิด

                             นิโรธ ดับเหตุให้เกิด

                             มรรค เข้าถึงซึ่งมรรค คือ เดินทางศีล สมาธิปัญญา


เข้าถึงความดับ

                             ดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา คือเข้าถึงศีล สมาธิปัญญา เดินไปสู่มรรค

                             เมื่อหลุดจากกายมนุษย์หยาบ เดินไปทางศีล สมาธิปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะทุกๆ กาย

                             เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด จนถึงกายทิพย์ หมดจากอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ

                             ถึงกายรูปพรหม ละโลภะ โทสะ โมหะทั้งหยาบละเอียด

                             ถึงกายอรูปพรหม หมดราคะ โทสะ โมหะ

                             เข้าถึงกายธรรม พ้นจากกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย

                             ถึงกายธรรมพระโสดาสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส หมด

                             กายธรรมพระ สกทาคาหยาบละเอียด หมดจากกามราคะ พยาบาทอย่างหยาบ

                             กายธรรมพระอนาคาหยาบละเอียดหมดจากกามราคะ พยาบาท อย่างละเอียดหมด เหลือแต่ รูปราคะ อรูปราคะ  มานะ อุทธัจจะ อวิชชา

                             กายพระอรหัตหยาบละเอียด หมดกิเลส เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม ไม่ใช่ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งอีกต่อไป แค่นี้หมดทุกข์ เพราะดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

                             ศีล สมาธิปัญญา ของพระอรหันต์วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๐ วา เท่ากันหมด เป็นโลกุตตระอย่างสูง เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมทีเดียว ทางปัญญานี่แหละให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.03045916557312 Mins