นิสัยที่ดีของลูกมาจากไหน?

วันที่ 31 สค. พ.ศ.2560

นิสัยที่ดีของลูกมาจากไหน?,วาไรตี้,บทความประจำวัน

 

นิสัยที่ดีของลูกมาจากไหน?
   

       ถ้าหากถามว่า การเลี้ยงลูก คือ อะไร ? คำตอบที่สั้นที่สุด คือ การเพาะนิสัยดีๆ ให้แก่ลูกนิสัยดีๆ ที่ควรเพาะให้แก่ลูกนี้ มีอะไรบ้าง คำตอบ คือ นิสัยขั้นพื้นฐาน ๓ อย่าง ได้แก่ ไม่โง่ ไม่แสบ ไม่แล้งนํ้าใจ


       ทำไมนิสัยสามอย่างนื้ จึงเป็นพื้นฐานของคนดี ?

     เพราะคุณธรรมทั้งสามอย่างนี้ เป็นเหมือนฐานรากรองรับคุณธรรมความดีอื่นๆ ที่จะพัฒนาให้งอกเงยขึ้นมาในภายหลัง ให้สามารถเติบโตต่อไปได้อย่างตลอดรอดฝัง อุปมาเหมือนกับที่นาดี ย่อมอุดมไปด้วยแร่ธาตุอาหารที่ดี เมื่อนำเมล็ดพันธุข้าวกล้ามาหว่านลงไป ต้นข้าวย่อมงอกงาม เติบโตมาไห้ผลผลิตที่เป็นเมล็ดข้าวที่สมบูรณ์ และมากมาย ฉันได ความไม่แลบ ไม่โง่ ไม่แล้งนํ้าไจ ก็เป็นนาดีที่เหมาะแก่การงอกงามของคุณธรรมต่างๆในตัวฉันนั้น

    ด้งนั้น โจทย์ในภาคปฏิบัติของการเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี ก็คือ ทำอย่างไรลูกของเรา หลานของเราจึงจะมีนิสัยไม่แสบ ไม่โง่ ไม่แล้งน้ำใจ ?

    การจะหาบทฝึกให้ลูกของเรามืคุณสมบัติดังกล่าวนั้น ต้องบอกว่าไม่ไข่เรื่องง่าย แต่เพราะปู่ย่าตายายของเราค้นคว้าเรื่องนี้กันมาอย่างหนัก ทุ่มเทศึกษาจนกระทั่งมาพบบทฝึกความไม่แสบ ไม่โง่ ไม่แล้งนํ้าไจในพระพุทธศาลนานี้เอง

   พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่สอนให้บุคคลมุ่งมั่นฝึกฝนตนเองให้ประเสริฐ จนกระทั่งบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล ผู้หลุดพ้นจากความชั่วบาปทั้งปวงอย่างสิ้นเชิง

    ด้วยเหตุนี้ ทันทีที่ลงมือศึกษาพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะหลักธรรมข้อได หรือหมวดธรรมชุดไหนก็ตาม เราเหมือนกับถูกตั้งคำถามโดยอัตโนมัติว่า "คุณธรรมข้อนั้น จะเกิดขึ้นในตัวเราได้อย่างไร"

    จากจุดนี้เอง จึงกลายมาเป็นบทฝึกนิสัยคน ที่เริ่มต้นด้วยคำถามง่ายๆ แต่ตอบยากว่า

    "นิสัยของคนเรา เกิดขึ้นมาได้อย่างไร !?"

     ในพระพุทธศาสนามีคำตอบว่า นิสัยของคนเกิดจาก "การยํ้าคิด ยํ้าพุด ยํ้าทำ"

     ถ้ายํ้าคิด ยํ้าพูด ยํ้าทํไในทางที่ถูก ที่ดี ได้ "นิสัยดี" เป็น "คนดี"

     ถ้ายํ้าคิด ยํ้าพูด ยํ้าทำในทางที่เลว จะได้ "นิสัยเลว" เป็น "คนเลว"

     เมื่อปูย่าตายายของเราจับหลักการฝึกคนตรงนื้ใด้ก่อนแล้ว ท่านก็ชี้ประเด็นต่อมาว่า

     ตลอดชีวิตของมนุษย์นี้ ยํ้าคิด ยํ้าพุด ยํ้าทำอยู่กี่เรื่อง อะไรบ้าง ?

     คำตอบคือ มีอยู่ ๒ เรื่อง

     ๑) ปัจจัย ๔ ได้แก่
     ปัจจัยที่ ๑ อาหารการกิน

     เช่น ตั้งแต่เกิดจนตาย คนทุกคนต้องยํ้าคิด ยํ้าพูด ยํ้าทำในเรื่องกินก่อนทั้งนั้น เช่น พอตื่นเช้า ก่อนออกไปทำงาน หรือไปเรียนหนังสือ ก็คิดแล้วว่า วันนี้จะกินอะไรดี หรือแม้แต่พระท่าน พอรุ่งเช้าขึ้นมา ท่าน
ก็ต้องคิดว่า จะไปบิณฑบาตที่ไหนดี
   
    ปัจจัยที่ ๒ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม
   เช่นพอตื่นเช้าขึ้นมา ทุกๆ วันก็จะต้องคิดว่า วันนี้จะแต่งตัวอย่างไรดี หรือเวลาไปห้างสรรพสินค้าผ่านร้านเสือผ้า ก็อดคิดไม่ได้ว่า เราจะชื้อเสือตัวไหนดี
   
   ปัจจัยที่ ๓ เรื่องที่อยู่อาศัย
   เช่น ถ้าฝนตก แดดจ้า เราก็ต้องคิดว่าจะไปหลบฝนหลบแดดที่ไหนดี หรือถ้าตกกลางคืนง่วงนอนขึ้นมา เราก็คิดว่า คืนนี้เราจะไปนอนที่ไหนดี

   ปัจจ้ยที่ ๔ เรื่องการรักษาสุขภาพ
   เช่น ถ้าเจ็บปวยไข้ไม่สบายขึ้นมา ก็ต้องคิดว่า กินยาอะไรจึงจะหายหรือไปหาหมอรักษาที่ไหนดี

   ปัจจัย ๔ จึงเป็นเรื่องแรกที่คนเรายํ้าคิด ยํ้าพูด ยํ้าทำอยู่ทุกวัน

  ๒) หน้าที่การงานที่ตนเองรับผิดชอบ
  เช่น ถ้ามีหน้าที่เป็นคุณพ่อคุณแม่ สิงที่ยํ้าคิด ยํ้าพูด ยํ้าทำ จนตลอดชีวิตก็คือ งานเลี้ยงลูก เป็นห่วงว่าลูกจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นต้น
  ตลอดชีวิตของคนเรา จึงยํ้าคิด ยํ้าพูด ยํ้าทำอยู่สองเรื่องนี้คือปัจจัย ๔ และหน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบ ส่วนเรื่องอื่นๆ นอกจากนี้ ยํ้าไม่มากเท่าไร

   การให้นมของแม่ก็เพาะนิสัยให้ลูกได้
 พอจับหลักตรงนี้ได้แล้ว แทบไม่น่าเชื่อว่า แค่การให้นมแม่ที่แตกต่างกัน ก็เพาะนิลัยลูกให้แตกต่างกันได้ เพราะว่า ในขณะที่เด็กกินนม ถ้าคุณพ่อคุณแม่ให้ลูกน้อยยํ้าคิด ยํ้าพูด ยํ้าทำในทางที่ดี ลูกจะได้นิสัยดี แต่ถ้าลูกยํ้าคิด ยํ้าพูด ยํ้าทำในทางที่เลว ลูกจะได้นิลัยเลว
        ยกตัวอย่างเด็ก ๓ คน ที่ได้ร้บการให้นมจากคุณแม่ในลักษณะที่ต่างกัน ก็มีผลทำให้นิสัยออกมาไม่
เหมือนกัน

      คนที่ ๑ ให้นมไม่ตรงเวลา
      ในการป้อนนมให้ลูก คุณแม่ก็จะมีวิธีการให้นมอยู่ ๒ แบบ คือ
     ๑) เอานมใส่ขวดให้ลูกดูด ๒) เลี้ยงลูกด้วยนํ้านมของตัวเอง

     แต่ไม่ว่าคุณแม่จะให้นมด้วยวิธีไหนก็ตาม เมื่อถึงเวลาให้นม คุณแม่ไม่ให้ อาจจะติดอะไรก็ตาม เช่น คุณแม่อาจจะยังไม่ค่อยมีฐานะดี เลยต้องไปทำงานเป็นลูกจ้าง งานกำลังยุ่ง ปลีกตัวเอานมมาให้ลูกกินไม่ได้ เมื่อถึงเวลากินนม แต่เกิดไม่ได้กินด้วยความหิวจัดไม่รู้จะทำอย่างไร ลูกก็อ้าปากร้องตังลั่นอยู่ไนเปล ต้องรอให้ผ่านไปครึ่งชั่วโมง ค่อนชั่วโมงคุณแม่จึงค่อยมีเวลามาป้อนนมให้ลูกได้

    ถามว่า ถ้าคุณแม่ทำอย่างนั้นเป็นประจำอยู่ทุกวันๆ จะเกิดอะไร ขึ้นกับเด็กคนนี้ ?
   นิสัยแรก คือ นิสัยเจ้าโทสะ มักโกรธ เกิดขึ้นแล้ว !!
   โดยมีคุณแม่เป็นผู้เพาะนิสัยเจ้าโทสะนี้ไห้แก่ลูก
  ถ้าไม่รีบแกไข ต่อไปข้างหน้า พอเด็กแค่หัดคลานได้เท่านั้น หยิบอะไรได้ จะกระชากขาดหมด เช่น ถ้าไปหยิบอะไรของพี่สาวได้ จะกระชากขาดติดมือมาเลยหรือบางทีไปเห็นตุ๊กตาของคนอื่นกำลังเล่นอยู่ เกิดอยากเล่นบ้าง ก็จะตรงไปกระชากขาดติดมือมาเลย

    ทำไมเด็กคนนี้ ถึงได้เจ้าโทสะโมโหร้าย กลายเป็นเด็กที่ไม่น่ารักไป ก็เพราะว่าคุณแม่เป็นคนเพาะนิสัยให้ ถึงเวลากินไม่ให้กินอยู่เป็นประจำ เด็กต้องออกแรงร้อง ต้องเกรี้ยวกราดถึงจะได้กิน เมื่อคุ้นกับการแสดงอารมณ์เกรี้ยวกราดตั้งแต่อยู่ในเปลจึงได้กิน นิสัยมักโกรธจึงเกิดขึ้นมา

    หรือว่าบางทีคุณแม่ไม่ได้ยากจนหรอก แสนจะรํ่ารวย แต่ว่ากำลังติดเล่นไพ่อยู่ พอได้ยินลูกร้องกินนม แทนที่คุณแม่รีบไป แต่เปล่าหรอกคุณแม่กลับเกรี้ยวกราด ตะโกนตวาดลูกในเปลว่า  

    "วู้ย มืปากร้องก็ร้องไปเถอะ ฉันกำลังจั่วไพ่มันๆ อยู่ร้องได้ก็ร้องไป"

    เพียงแค่นี้ คุณแม่ก็ได้เพาะนิสัยเจ้าโทสะเกิดขึ้นในตัวลูกแล้ว

   ถ้าไม่แก้ไขต่อไปข้างหน้า เมื่อโตขึ้น เด็กคนนี้จะเป็นอย่างไร ?

   คำตอบก็คือ เด็กคนนี้จะมีนิลัยเลวๆ อยู่ว่า เวลาอยากได้อะไร ถ้าไม่ได้ จะต้องใช้กำลัง อาละวาด เข้าแย่ง ชิง ต่อย ดี ปล้นของคนอึ่นมาให้ได้ เท่ากับว่าคุณแม่ได้ลูกเสือดุๆมาตัวหนึ่ง

  ทำไมนิสัยถึงได้แย่อย่างนี้ คุณแม่เพาะนิสัยเจ้าโทสะให้ตั้งแต่กินนมไม่ตรงเวลา

  เด็กคนที่ ๒ ให้นมตลอดเวลา

   สำหรับการให้นมของเด็กคนที่ ๒ นี้ แตกต่างจากเด็กคนแรก คือไม่ว่าจะถึงเวลากิน หรือไม่ถึงเวลากินก็ตาม คุณแม่ หรือพี่เลี้ยงก็แสนดีเหลือเกิน ชงนมใส่ขวดไว้เรืยบร้อย แล้วก็เอาใส่ปากเด็กไว้ ๒๔ ชั่วโมง ล้าลูกหิวเมื่อไร ก็จะมีนมให้ลูกดูดเองทันที และถึงแม้ว่าลูกจะไม่หิวแต่นํ้านม ก็จะไหลลงทัองของลูกเอง

   เป็นอันว่า ถึงลูกไม่หิว ลูกก็ต้องกิน ถ้าลูกหิวเมื่อไหร่ ก็ออกแรงดูดนมฟับๆ เอง พอกินจนพุงกาง แล้วก็นอนหลับปุย เด็กคนนี้จะโตว้นโตคืน ตัวอ้วนกลม อารมณ์ดี ไม่ร้องโยเยเลย

   ถามว่า พอโตขึ้นมาอีกหน่อย เด็กคนนี้จะมีนิสัยเป็นอย่างไร ?

   คำตอบคือ เด็กจะขี๊เกียจ !!

   เท่ากับว่า คุณแม่ได้ลูกหมูมาเลี้ยงไว้ตัวหนึ่ง ถึงบทที่คุณแม่จะเข็นให้เอาดีอย่างไร จะเข็นไม่ขึ้น เพราะขนาดเวลาปกติคุณแม่เรียกเท่าไหร่ ลูกก็ยังไม่หือไม่อีอ ถึงเวลาได้คิดขึ้นมา คุณแม่อยากจะให้ลูกกระตือ-
รือล้น แต่พอจะไปเร่งอะไรลูก ก็เร่งไม่ขึ้น แกจะเฉื่อยแฉะ ไม่เอาไหน

   แม้โตขึ้นมา เด็กนั่งกินข้าวอยู่ เพื่อนมาแกล้งเขกกบาล เด็กก็ยังหัวเราะแหะๆ แล้วก็กินข้าวต่อได้ กินแล้วก็นอน ก็เลยได้ลูกหมูขึ้เกียจมาหนึ่งตัว

   ถามว่าใครเพาะนิสัยไห้เด็ก ? แม่
   เพาะนิสัยด้วยอะไร ? นม

   การให้นมลูก ก็เพาะเป็นนิสัยคนได้อย่างหนึ่งเหมือนกัน

   เมื่อเอาภาพของเด็กที่เลี้ยงมาด้วย ๒ วิธีนี้มาเทียบกัน เราจะพบว่า ในขณะที่เด็กคนแรกกินนมไม่ตรงตามเวลา คุณแม่จะได้ลูกเสือดุๆมาตัวหนึ่ง หรือได้สุนัขบ้ามาตัวหนึ่ง ส่วนเด็กคนที่สอง คุณแม่เอานมใส่ปากไว้ ๒๔ ข้วโมง คุณแม่ก็จะได้ลูกหมูมาตัวหนึ่ง อารมณ์ดี กินแล้วก็ร้องอู๊ดๆๆ พอร้องเสร็จแล้ว ก็นอนต่อ พอตื่นขึ้นมา ก็สุกมากินใหม่วนเวียนไปอย่างนี้

   คนที่ ๓ให้นมเป็นเวลา
  
   เรามาดูเด็กคนที่สาม เมื่อถึงเวลากินนม คุณแม่ก็ให้กิน ถ้าไม่ถึงเวลากินนม คุณแม่ก็ไม่ให้กิน เท่ากับว่า คุณแม่ในมที่ป้อนให้ลูก เพาะนิสัยอีกอย่างขึ้นมาให้ลูกแล้ว
  
   ถามว่า เมื่อเด็กคนนี้โตขึ้นมาแล้ว จะมืนิสัยเป็นอย่างไร ?

   คำตอบก็คือ นิสัยตรงต่อเวลา ตัวของเด็กแทบจะเป็นนาฟิกา ถ้าไม่ถึงเวสากิน จะไม่สนใจเรื่องกิน ถ้าถึงเวลาจะกินแล้ว ต้องได้กิน ถ้าไม่ได้กิน เด็กจะถามคุณแม่เลยทีเดียว แต่ถ้าคุณแม่ให้กินเรียบร้อยแล้ว เด็กจะดี เรืยบร้อย ก็เท่ากับคุณพ่อคุณแม่เพาะนิสัยตรงเวลาเอาไวีให้ลูก
   
   แล้วยิ่งถ้าฝึกทำอะไรเป็นเวลาอย่างนี้ ตั้งแต่เวลากินก็ตรงเวลา เวลาถ่ายก็ตรงเวลา ท้องไส้ของเด็กก็จะปรกติหมด สุขภาพก็จะดี นิสัยของเด็กก็จะมีระเบียบวินัย แล้วเด็กก็จะไปของเขาได้ดี

   เพราะฉะนั้น ถ้าให้เด็กยํ้าคิด ยํ้าพูด ยํ้าทำ อย่างไร ก็จะได้นิสัยอย่างนั้น

จากเหตุผลตรงนี้เอง ที่ทำ ให้ปูย่าตายายของเราสาวไปจนกระทั่งพบว่านิสัยของคนเรา เพาะขึ้นมาได้จากการยํ้าคิด ยํ้าพูด ยํ้าทำตั้งแต่นอนแบเบาะเลยทีเดียว

   "คำข้าว" ของพ่อแม่ก็เพาะนิสัยลูกได้

    มาดูตอนเด็กโตขึ้นมาอีกหน่อย ตอนที่เมื่อเด็กเริ่มหัดกินข้าว

    คุณแม่บางคนเอาข้าวใส่จานมาแล้ว ก็ขยำข้าวและกับข้าวให้เข้ากันเป็นเนี้อเดียว มีทั้งผัก เนี้อ ไข่ ตามหลักโภชนาการได้ครบบริบูรณ์ อาจจะอร่อยหรือไม่อร่อยก็ไม่รู้ แต่เน้นว่า ต้องมีสารอาหารครบสูตร และพอเหมาะกับอายุของลูก พอคุณแม่ขยำให้กิน นอกจากเด็กเลือกกินไม่ได้แล้ว ยังจะต้องกินจนหมดด้วย

    ส่วนลูกของคุณแม่อีกคนหนึ่งไม่อย่างนั้น อยากจะกินอะไรก็เลือกเอา คุณแม่มีให้กินทุกอย่าง อยากกินหมูก็ได้กินหมู อยากกินไก่ ก็ได้กินไก่ อยากกินผักก็ได้กินผัก แม้ที่สุดไม่อยากกินผัก ชอบกินขนม
คุณแม่ก็มีขนมมาให้กินเยอะเลย

    ถามว่าเด็กสองคนนี้ พอโตขึ้น นิสัยและสุขภาพร่างกายจะเหมือนกันหรือไม่ ?

   ไม่เหมือน

   เด็กที่ชอบกินเนี้อ ไม่ชอบกินผัก ก็จะขาดสารอาหารจากผักทำให้โตไม่เต็มส่วน

   ส่วนเด็กที่ชอบกินผัก ไม่ชอบกินเนี้อ ก็จะขาดสารอาหารจากเนี้อ ทำให้โตไม่เต็มส่วนอีกเช่นกัน

   ส่วนเด็กที่ไม่ชอบกินผัก ไม่ชอบกินเนี้อ ไม่ชอบกินหมู ไม่ชอบกินไข่ จะกินแต่ขนม คือคุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนํ้าตาล ลูกจะไม่โต ถึงแม้คุณพ่อคุณแม่จะรวย แต่ลูกจะดูก๊องแก๊ง ไม่แข็งแรง เพราะว่าเด็กกินอาหารไม่ครบหลักโกชนาการ เพราะฉะนั้น ถึงแม้เกิดเป็นลูกคนรวย มีของกินตั้งเยอะ แต่คุณพ่อคุณแม่ให้กินไม่ครบ ก็มีสิทธี์เป็นโรคขาดสารอาหารได้

  ขณะที่ลูกของคุณแม่อีกคนหนึ่ง ไม่ได้เป็นคนรํ่ารวย คุณแม่ก็เลยต้องขยำๆ ข้าวให้กินโดยเน้นหลักโภชนาการไว้ก่อน เมื่อเด็กเลือกกินไม่ได้เด็กจะตัวโตเบ้อเร่อ โตได้เต็มส่วนกับอายุของเด็ก

  ถ้าเราดูในแง่นิสัยจากการกินของเด็กสองคนนี้ ก็จะพบว่า

 เด็กที่คุณแม่ต้องขยำให้กิน เน้นถูกหลักโภชนาการไม่ตามใจลูก คุณแม่เพาะนิสัยกินง่าย อยู่ง่าย ไม่เจ้าอารมณ์ ให้แก่ลูก

  ส่วนเด็กที่อยากจะกินอะไร คุณพ่อคุณแม่ก็มีให้กินทุกอย่าง ไม่เน้นหลักโภชนาการ คุณแม่เพาะนิสัยเอาแต่ใจตัว เป็นคนเจ้าอารมณ์ให้แก่ลูก

  เท่านี้ยังไม่พอ การเพาะนิสัยเกรงใจหรือไม่เกรงใจคนอื่นของลูกนั้นจะเพาะขึ้นมาอย่างไร ?

  คำตอบคือเพาะขึ้นมาจากการสืกมารยาทในการเคี้ยวอาหารของเด็ก

  เด็กคนไหนตั้งแต่เล็ก คุณแม่ก็ปล่อยให้เคี้ยวด้งจั๊บๆ เหมือนกับหมูเด็กคนนี้จะไม่รู้จักเกรงใจใคร

  แต่ส่วนเด็กอีกคน คุณแม่สอนว่า "ลูกอย่าเคี้ยวดังเป็นหมู หุบปากเคี้ยวนะลูก" เด็กคนนี้จะรู้จักเกรงใจคนอื่น

  เพราะฉะนั้น นิสัยที่ดีมีเหตุมีผลของเด็ก ก็มาจากข้าวแต่ละคำ นํ้าแต่ละอึกที่เลี้ยงอย่างถูกวิธี ขณะเดียวกันนิสัยเลวๆ เจ้าอารมณ์ของเด็ก ก็มาจากข้าวแต่ละคำ นํ้าแต่ละอึกที่เลี้ยงผิดวิธีนั่นเอง

 

จานที่ลูกกินข้าวก็เพาะนิสัยดี-ชั่วให้ลูกได้
 ถ้าเด็กโตขึ้นมาอึกนิดหนึ่ง คนหนึ่งกินข้าวแล้วล้างจาน แต่อีกคนหนึ่งกินข้าวแล้ว ไม่ล้างจาน นิสัยจะเป็นอย่างไร?

    เด็กคนที่กินแล้วล้างจานจะมีนิสัยรับผิดชอบ

    ส่วนเด็กที่กินแล้วไม่ล้างจาน กินทิ้งกินขว้าง เด็กคนนี้จะไม่รับผิดชอบ พอโตขึ้นมา ใครไปทำงานด้วยจะต้องตามเก็บตามเช็ดจนสายต้วแทบขาด เพราะทำอะไรไว้แล้วจะทิ้งๆ ขว้างๆ ไม่รับผิดชอบ 

    นิสัยรับผิดชอบและไม่รับผิดชอบ ถูกตั้งโปรแกรมในตัวเด็กมาจากแถวๆนี้ คือ ปัจจัย ๔ นั้นเอง

    โดยสรุปว่า นิสัยดี-ชั่วต่างๆ ของเด็ก ได้รับการเพาะมาจากคุณพ่อคุณแม่ และอุปกรณ์ในการเพาะนิสัย ก็คือข้าวแต่ละคำ นํ้าแต่ละอึก ที่ส่งผลเป็นนิสัยเด็กและสันดานของคน นึ่คือสิงที่ไม่น่าเชื่อ แต่นิสัยของคนได้เกิดขึ้นมาอย่างนี้

    พ่อแม่ด้องยํ้าดีด ยํ้าพูด ยํ้าทำในหางดีให้ลูกดู

    ด้วยหลักการเกิดนิสัยคนดังกล่าวนี้ ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะไปฝึกนิสัยดีๆ ให้แก่ลูกผ่านปัจจัย ๔ และผ่านงานต่างๆในบ้านนั้น คุณพ่อคุณแม่จะต้องเริ่มสำรวจตัวเองแล้วว่า

    ๑) เรามีนิสัยดีและไม่ดีอะไรบ้าง
    ๒) นิสัยดีและไม่ดีเหล่านั้น ได้จากการยํ้าคิด ยํ้าพูด ยํ้าทำในเรื่องปัจจัย ๔ และเรื่องงานของเราอย่างไร
    ๓) เราจะยํ้าคิด ยํ้าพูด ยํ้าทำอย่างไร ให้เป็นคน ไม่แสบ ไม่โง่ ไม่แล้งนํ้าใจ จะได้เป็นต้นแบบที่ดีให้ลูกดู
    ๔) เราจะเอาปัจจัย ๔ และงานบ้าน ฝึกลูกอย่างไรให้ไม่แสบ ไม่โง่ ไม่แล้งนํ้าใจ

     มิฉะนั้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่สำรวจตัวเองไม่ระวังการยํ้าคิด ยํ้าพูดยํ้าทำให้อยู่ในทางดี นิสัยไม่ดีจะเกิดขึ้นมาในตัว แล้วก็จะเอานิสัยไม่ดีไปติดลูก ทำให้ลูกพลอยนิสัยไม่ดีตามไปด้วย แล้วคุณพ่อคุณแม่ก็จะ
ต้องมาเสียอกเสียใจในภายหลัง และก็พาลไปโทษลูกว่า "ลูกไม่รักดี"

     ดังนั้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากจะให้ลูกเป็นคนดี ก็ต้องคิด พูด ทำในสิงที่ไม่แสบ ไม่โง่ ไม่แล้งนํ้าใจให้ลูกดู ลูกจึงจะมีคุณสมบัติของคนดีตามมานั่นเอง

    โดยสรุป เมื่อเราจับหลักการบ่อเกิดนิสัยคนได้ว่า
    ๑) ถ้ายํ้าคิด ยํ้าพูด ยํ้าทำในทางดี ได้นิสัยดี เป็นคนดี
    ๒) ถ้ายํ้าคิด ยํ้าพูด ยํ้าทำในทางเลว ได้นิสัยเลว เป็นคนเลว
    

    ก็มาถึงประเด็นที่ว่า คุณพ่อคุณแม่จะฝึกให้ลูกยํ้าคิด ยํ้าพูด ยํ้าทำ อย่างไร ลูกจึงจะได้นิสัยไม่แสบ ไม่โง่ ไม่แล้งนํ้าใจขึ้นมา

    

   

 

จากหนังสือ    
เลี้ยงลูกอย่างไร ให้เมืองไทยได้เยาวชนดี

   

  

     

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0011858344078064 Mins