กัณฑ์ที่ ๑๒ ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม

วันที่ 17 มค. พ.ศ.2561

กัณฑ์ที่ ๑๒
ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม

มรดกธรรม , พระมงคลเทพมุนี , ประวัติย่อ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี , สด จนฺทสโร , หลวงปู่วัดปากน้ำ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , สด มีแก้วน้อย , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , วัดปากน้ำ , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , สมาธิ , กัณฑ์ , ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด , คำสอนหลวงปู่ , หลวงพ่อสดเทศน์ , เทศนาหลวงพ่อสด , พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี , พระผู้ปราบมาร , ต้นธาตุต้นธรรม , พระเป็น , อานุภาพหลวงพ่อสด , เทปบันทึกเสียงหลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระของขวัญ , ทานศีลภาวนา , ธรรมธมฺโม , กัณฑ์ที่ ๑๒ ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม

นโมตสฺสภควโต อรหโต สมฺมาสมฮพุทธสฺส ฯ ( ๓ ครั้ง )

ธมฺโม หเวรกฺขติ ธมฺมจาร

ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ

เอสานิสงฺโสธมฺเม สุจิณฺเณ

น ทุคต คจฺฉติ ธมฺมจารีติ

                 ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถา แก้ด้วย ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม  ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย กว่าจะยุติการลงโดยสมควรแก่เวลา เริ่มต้นแห่งธรรมที่รักษา ผู้ประพฤติธรรม ตามวาระพระบาลีว่า

ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจาร       ธรรมนั้นแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธมฺโม สุจิณุโณ สุขมาวหาติ    ธรรมที่บุคคลสั่งสมไว้ดีแล้วนำความสุขมาให้
เอสานิสงฺโส ธมฺเม สุจิณฺเณ    ข้อนี้แหละเป็นอานิสงส์ในธรรมความประพฤติดี
น ทุคต คจฺฉติ ธมฺมจาร           ผู้ประพฤตธรรมดีเรียบร้อยไม่ไปสู่ทุคติ

             นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามได้ความเพียงแค่นี้ ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความว่า ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมนั้นเป็นไฉน? เพราะธรรมคือความดี จะขีดขั้นลงไปเพียงแค่ไหน ความดีไม่มีความชั่วเข้าเจือปนเลยนี้ก็เป็นโลกุตรธรรมแท้ ๆ ข้ามขึ้นจากโลก เป็นวิราคธาติวิราคธรรมแท้ ๆ ไม่เกี่ยวข้องด้วยสราคธาตุสราคธรรมทีเดียว นี้ส่วนหนึ่งคำว่าธรรมแยกออกเป็นหลายประการ ท่านแสดงไว้เป็นหลักเป็นประธานแก้ในศัพท์ว่า ธรรมธมฺโม คำว่า ธรรมนั้นแยกออกไปถึง ๔ คือ คุณธรรม เทศนาธรรม ปริยัติธรรา นิสัตตนิชีวธรรม แยกออกไปเป็น ๔

                 คุณธรรม   ให้ผลตามกาล   ฝ่ายดีก็ให้ผลเป็นสุข  ฝ่ายชั่วก็ให้ผลเป็นทุกข์  นี้ก็เป็นคุณธรรมฝ่ายดีฝ่ายชั่ว หรือดีฝ่ายเดียวให้ผลเป็นสุขฝ่ายเดียวนั้น ก็เรียกว่าคุณธรรม

                เทศนาธรรม  ที่พระองค์ตรัสเทศนา ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในเบื้องปลายท่านวางหลักไว้ ไพเราะในเบื้องต้นคือศิล บริสุทธิ์กายวาจาเรียบร้อยดีไม่มีโทษ ตลอดจนกระทั่งถึงดวงศีลไพเราะในท่ามกลางคือสมาธิ ตลอดจนกระทั่งถึงดวงสมาธิ ไพเราะในเบื้องปลายคือปัญญา ตลอดจนกระทั่งถึงดวงปัญญา  นี้ก็คือเทศนาธรรม

                ปริยัติธรรม  ข้อปฏิบัติอันกุลบุตรจะพึงเล่าเรียนศึกษา ตั้งต้นแต่นักธรรมตรี โท เอก เปรียญ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ หลักสูตรวางไว้ในประเทศไทย การศึกษาปริยัติมีเท่านี้ นี่ที่เรียกว่าปริยัติธรรม

              นิสัตตนิชีวธรรม  ยกเอารูปออกเสีย กับวิญญาณออกเสีย เหลือแต่ เวทนา สัญญา สังขารสามอย่างนี้ท่านจัดเป็นนิสัตตนิชีวธรรม ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่ชีวิต แสดงหลักไว้ดังนี้แสดงธรรมออกไปเป็น ๔ คือ  คุณธรรม เทศนาธรรม ปริยัติธรรม นิสัตตนิชีวธรรม แสดงสี่ดังนี้

              ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม  แต่คำว่าธรรมนี้ แสดงตามแบบปริยัติ ไม่ใช่หนทางปฏิบัติ แบบทางปฏิบัติ ศาสนามี ๓ ทาง คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ  ถ้าแบบทางปฏิบัติ คำว่าธรรมกล่าวถึงดวงธรรมทีเดียว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ เป็นดวงธรรมทีเดียว เป็นธรรมแท้ ๆ ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ มนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรฟมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด กายธรรม กายธรรมละเอียด กายโสดา กายโสดาละเอียด สกทาคา สาทาคาละเอียด อนาคา อนาคาละเอียด อรหัต อรหัตละเอียด เรียกว่า ธมฺโม นี่ทางปฏิบัติเป็นดวงใสบริสุทธิ์ ธรรมดวงนั้นเป็นธรรมสำคัญ ทว่าหลักก็ธรรมอันนั้น เป็นธรรมทีเดียว

                 ธรรมนั้นถ้าว่าจะแยกออกไป  ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ที่จะได้ธรรมดวงนั้นมา ต้องกล่าวเริ่มแรกมนุษย์หญิงชายทุกถ้วนหน้า ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต บริสุทธิ์สนิททั้งกายวาจาจิต ไม่มีผิดจากความประสงค์ของพระพุทธเจ้าอรหันต์เลย บริสุทธิ์สนิททั้งกายวาจาจิต ไม่ฆ่าสัตว์ แต่เวทนาปรานีต่อสัตว์ ลักทรัพย์สมบัติก็ไม่มี มีแต่ให้สมบัติของตนแก่คนอื่น ประพฤติล่วงผิดในกามก็ไม่มี หรือประพฤติล่วงอสัทธรรมประเพณีก็ไม่มี ดังนี้ สนิททีเดียว พูดจริงทุกคนไม่มีปด เสพสุรายาเมาเป็นที่ตั้งของความประมาท ไม่มีวัตถุที่ทำให้เมาเป็นที่ตั้งของความประมาทก็ไม่ใช้สอย ในศีลทั้ง ๕ นี้ตลอด ศีล๘ ศีล๑๐ ศีล๒๒๗ ตลอดสะอาดสะอ้านทั้งกาย กายก็ไม่มีร่องเสีย วาจาก็ไม่มีร่องเสีย ใจก็ไม่มีร่องเสีย ใช้ได้ทั้งกายวาจาใจ ตรงกับบาลีที่กล่าวไว้ว่า

สพฺพปาปสฺส อกรณํ    ชั่วด้วยกายวาจาใจไม่กระทำเป็นเด็ดขาด
กุสลสฺสูปสมฺปทา         ดีด้วยกายวาจาใจทำจนสุดสามารถ
สจิตฺตปริโยทปนํ         ทำใจของตนให้ผ่องใส

               อันนี้เมื่อบริสุทธิ์ทั้งกายวาจาใจ ไม่มีร่องเสียแล้ว นี้เรียกว่าธรรม โดยทางปริยัติ ยังไม่ใช่ทางปฏิบัติ ถ้ากลั่นเข้ามาถึงเจตนา ๆ ก็บริสุทธิ์ บังคับกายบริสุทธิ์ บังคับวาจาบริสุทธิ์ บังคับใจบริสุทธิ์นั่นก็เป็นทางปริยัติอยู่เลย ยังไม่ใช่ทางปฏิบัติ เข้าถึงทางปฏิบัติ เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์  สำเร็จมาจากบริสุทธิ์กายวาจาใจ สำเร็จมาจากบริสุทธิ์เจตนา เป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสเป็นกระจกส่องเงาหน้า เท่าฟองไข่แดงของไก่ นี้ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เป็นดวง ๆ ไปอย่างนี้

ธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์ละเอียด         โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง

ธรรมที่ทำให้เป็น กายทิพย์                      โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง

ธรรมที่ทำให้เป็น กายทิพย์ละเอียด           โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง

ธรรมที่ทำให้เป็น กายรูปพรหม                  โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง

ธรรมที่ทำให้เป็น กายรูปพรหมละเอียด      โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง

ธรรมที่ทำให้เป็น กายอรูปพรหม                โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง

ธรรมที่ทำให้เป็น กายอรูปพรหมละเอียด    โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่งเป็น ๘ เท่าฟองไข่แดงของไก่นั้นก็เรียกว่าเป็นธรรมทั้งนั้น

ธรรมที่ทำให้เป็น กายธรรม                       หน้าตักวัดผ่าเส้นศูนย์กลางกลมรองตัว

ธรรมที่ทำให้เป็น กายธรรมละเอียด            โตขึ้นไปอีก ๕ วา

ธรรมที่ทำให้เป็น กายโสดา                       ๕ วา กลมรอบตัว

ธรรมที่ทำให้เป็น กายโสดาละเอียด            ๑๐ วา กลมรอบตัว

ธรรมที่ทำให้เป็น กายพระสกทาคา             ๑๐ วา กลมรอบตัว

ธรรมที่ทำให้เป็น กายพระสกทาคาละเอียด  ๑๕ วา กลมรอบตัว

ธรรมที่ทำให้เป็น กายพระอนาคา                ๑๕ วา กลมรอบตัว

ธรรมที่ทำให้เป็น กายพระอนาคาละเอียด     ๒๐ วา กลมรอบตัว

ธรรมที่ทำให้เป็น กายพระอรหัต                  ๒๐ วา กลมรอบตัว

                 เป็นลำดับกันไปอย่างนี้ นั้นแหละเรียกว่า ธมฺโม ลึกอย่างนี้ นี่ทางปฏิบัติเห็นปรากฏชัด เข้าถึงธรรมดังกล่าวแล้วนี้ ตั้งแต่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ไป จนกระทั่งถึงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัตทีเดียว นั่นแหละคำที่เรียกว่าธมฺโมละ นั่นแหละ ธาตุธรรมอันนั้นแหละรักษาผู้ประพฤติธรรมละ ถ้าเป็นเข้าแล้วก็รักษาผู้นั้น ไม่ตกไปในที่ชั่ว อย่าทิ้งท่านก็แล้วกัน อย่าผละจากท่าน ถ้าห่างจากธรรมนั้นไม่รับรอง ถ้าติดอยู่กับธรรมนั้นรับรองทีเดียว ทั้งกายวาจาใจบริสุทธิ์ ไม่มีร่องเสียกัน เสียไม่มีกัน ถ้าว่าไปเสียเข้า ดวงธรรมนั้นเศร้าหมองขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ลงโทษเอาเจ้าของผู้ประพฤติผู้กระทำ ถ้าไม่ล่วงล้ำแต่อย่างหนึ่งอย่างใด สะอาดสะอ้านก็ใสหนักขึ้นทุกที ใจหยุดนิ่งหนักขึ้น ใสหนักขึ้น นั่นแหละ ธมฺโม ละคำที่เรียกว่าธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมดวงนั้น

               ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจาร ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมดวงนั้นเมื่อเข้าใจดังนี้แล้วจะแสดงต่อไป 

                ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ ธรรมดวงนั้นแหละ ถ้าว่าสั่งสมไว้ดีแล้วสะอาดหนักขึ้น เสมอตัวสะอาดหนักขึ้น เสมอตัวสะอาดหนักขึ้น ใสหนักขึ้น เสมอตัวใสไปแค่ไหน เสมอตัวไปแค่นั้น ใสหนักขึ้นไปแล้วเสมอตัวไปแค่นั้น ใสหนักขึ้นไปเสมอตัวไปแค่นั้นอีก อย่างขนาดอย่างนี้เรียกว่าสั่งสมดีจริง ธรรมอันบุคคลสั่งสมดีแล้ว

                สุขาวหา นำความสุขมาให้ ถ้าอยู่กับใครขนาดนี้ใจก็เบิกบานรื่นเริงบันเทิงชื่นแช่มแจ่มใส ไม่มีความทุกข์เศร้าหมองขุ่นมัวใด ๆ เพราะธรรมนั้นนำความสุขมาให้ นี่หลักของธรรมที่แสดงไว้แค่นี้

              เอสานิสงฺโส ธมฺเม สุจิณฺเณ  นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมประพฤติดี ประพฤติดีขนดนี้ก็ได้อานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดี ประพฤติดีขนาดนี้ก็ได้อานิสงส์แล้ว ก็เป็นสุขทีเดียว

                 น ทุคต คจฺฉติ ธมฺมจารึ   ประพฤติไปอย่างนั้น มั่นคงอย่างนั้น ไม่ไปสู่ทุคติ  ผู้ประพฤติเรียบร้อยเช่นนั้นดี สาอาดสะอ้านเช่นนั้น ไม่ไปสู่ทุคติเด็ดขาดทีเดียว ตายแล้วก็ไปสู่สวรรค์ เป็นมนุษย์อยู่ก็ไม่ได้รับทุคติมีแต่สุคติฝ่ายเดียว นี่แหละเลือกเอาเถอะ

              ให้รู้จักหลักจริงอย่างนี้ รู้จักหลักจริงอันนี้  เราเป็นภิกษุก็ดี  สามเณรก็ดี  อุบาสกก็ดี  อุบาสิกาก็ดี ประพฤติดีจริงตรงเป้าหมายใจดำ เห็นดวงแก้วใสเช่นนี้ไม่ค่อยจะได้ ภิกษุหรือสามเณรก็เลอะเลือนไป อุบาสก อุบาสิกาก็เหลวไหลไป ไม่อยู่กับธรรมอยู่เนืองนิตย์ ความสุขเราปรารถนานัก แต่ว่าความประพฤติไขว้เขวไปเสียอย่างนี้ อย่างนี้หลอกตัวเองนี่ ถ้าลงหลอกตัวเองได้มันก็โกงคนอื่นเท่านั้น ไม่ต้องไปส่งสัย

               หลอกตัวเองเป็นอย่างไร  ตัวอยากได้ความสุข  แต่ไปประพฤติทางทุกข์เสีย มันก็หลอกตัวเองอยู่อย่างนี้ละซิ ตัวเองอยากได้ความสุข แต่ความประพฤตินั่นหลอกตัวเองเสีย ไปทางทุกข์เสีย มันหลอกอยู่อย่างนี้นี่ ใครเข้าใกล้มันก็โกง โกงทุกเหลี่ยมนั่นแหละ ถ้าลงหลอกตัวเองได้มันก็โกงคนอื่นได้ ไว้ใจไม่ได้ทีเดียว เหตุนี้พุทธศาสนาท่านตรง ตรงตามท่านละก็มรรคผลไม่ไปไหน อยู่ในเงื้อมมือ อยู่ในกำมือทีเดียว พุทธศาสนาท่านตรง แต่ว่าผู้ปฏิบัติไม่ตรงตามพุทธศาสนา มันก็หลอกลวงตัวเอง โกงคนอื่นเท่านั้น นี่หลักจริงเป็นอย่างนี้ ให้จำไว้ให้มั่น

                  ท่านใดยืนยันอีกใน อคฺคปฺปสาทสุต ว่า

อคฺคโต เว ปสนฺนานํ           อคฺคํ ธมฺมํ วิชานตํ
อคฺเค พุทฺเธ ปสนฺนานํ        ทกฺขิเณยฺเย อนุตฺตเร,
อคฺเค ธมฺเม ปสนฺนานํ         วิราคูปสเม สุเข,
อคฺเค สงฺเฆ ปสนฺนานํ         ปุณฺญกฺเขตฺเต อนุตฺตเร,
อคฺคสฺม ทานํ ททตํ,           อคฺคํ ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ,
อคฺคํ อายุ จ วณฺโณ จ         ยโส กิตฺติ สุขํ พลํ,
อคฺคสฺส ทาตา เมธาวี         อคฺคธมฺมสมาหิโต,
เทวภูโต มนุสฺโส วา           อคฺคปฺปตฺโต ปโมทตึติ ฯ

                นี่วางหลักอีกหลักหนึ่ง แปลเป็นภาษาไทยว่า เมื่อบุคคลรู้จักธรรมอันเลิศ เลื่อมใสแล้วด้วยความเป็นของเลิศ เลิศอย่างไร? รู้จักธรรมอันเลิศนั้น  ธรรมอะไร?ธรรมอันเลิศ คือธรรมที่แสดงมาแล้วเป็นธรรมอันเลิศทั้งนั้น ถ้าว่าเลื่อมใสโดยความเป็นของเลิศ ไม่ปล่อยไม่วางไม่ละกันละเข้าถึงก็จด ไม่ปล่อยไม่วางกันละ จดไม่วางไม่ปล่อย วางกึกลงไปตั้งแต่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดเรื่อยเข้าไปจนกระทั่งได้ขึ้นไปถึงแค่ไหน ดวงไหนไม่ปล่อยไปละกันละ ใจจดอยู่กลางดวงนั่นแหละ ถ้าจดอยู่ขณะนั้นละก็ เลื่อมใสโดยความเป็นของเลิศละ ของเลิศก็ต้องไม่ปล่อย ถ้าปล่อยมันก้ไม่เลิศ ไม่ปล่อยกันละ คว้ากันแน่นทีเดียวดวงนั้น ตลอดตั้งแต่ดวงต้นจนกระทั่งถึงพวงพระอรหัต ได้แค่ไหนยึดแค่นั้น มั่นเป็นขั้น ๆ ไป เมื่อรู้จักธรรมอันเลิศ เลื่อมใสแล้วโดยความเป็นของเลิศ ทีนี้ก็เป็นชั้น ๆ ไป

                 อคฺเค พุทฺเธ ปสนฺนานํ ทกฺขิเณยฺเย อนุตฺตเร  เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ คือธรรมกายทีเดียว ธรรมกายโคตรภู ธรรมกายโคตรภูละเอียด ธรรมกายโสดา โสดาละเอียด ธรรมกายสกทาคา สาทาคาละเอียด ธรรมกายอนาคา อนาคาละเอียด ธรรมกายอรหัต อรหัตละเอียด นั่นแหละ ธรรมกายนั่นแหละพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ทกฺขิเณยฺเย อนุตฺตเร ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลอย่างยอดเยี่ยม ทักขิไณยบุคคลเป็นอย่างไร ถ้าใครได้ไปทำบุญทำกุศลกับท่านเข้าผลได้ในปัจจุบันทันตาเห็น ได้เป็นเศรษฐี คหบดีทีเดียว ได้เป็นกษัตริย์ เศรษฐีทีเดียว ได้สมบัติในปัจจุบันทันตาเห็นทีเดียว นั่นแหละเป็นทักขิไณยบุคคลอย่างยอดเยี่ยมอย่างนั้น

                  อคฺเค ธมฺเม ปสนฺนานํ    เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ

                 วิราคูปสเม สุเข        ซึ่งเป็นธรรมปราศจากยินดี สงบสุข สงบเป็นสุข นั่นแหละ ดวงนั้นตลอดขึ้นไปนั่นแหละ อคฺเค ธมฺเม ปสนฺนานํ เลื่อมใสในธรรมอันดีเลิศ ซึ่งเป็นธรรมอันปราศจากกำหนัด ยินดี สงบสุข เมื่อเข้าไปอยู่ในกลางดวงนั่นแล้ว หมดความกำหนัด ยินดี สงบ ระงับ เป็นสุขแสนสุขทีเดียว ทุกดวงไปตั้งต้นแต่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เมื่ออยู่กลางดวงนั้นแล้วความกำหนัดยินดีไม่มี สงบระงับเป็นสุขทีเดียว ถ้าว่าต้องการสุขละก็ไปอยู่นั่น ถ้าว่าต้องการทุกข์ละก็ออกมาเสียก็ได้รับทุกข์ ต้องการสุขก็เข้าไปอยู่กลางดวงธรรมนั่น ทุกดวงไปเป็นสุขแบบเดียวกันหมด ที่ปรากฏว่า วิราคูปสเม สุเข ซึ่งเป็นธรรมปราศจากยินดี สงบระงับเป็นสุข

                อคฺเค สงฺเฆ ปสนฺนานํ  เลื่อมใสในพระสงฆ์อันเลิศ ธรรมกายละเอียด กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมละเอียด นี่เป็นหมูของชน เป็นหมู่ของมนุษย์ ธรรมกายละเอียดของโคตรภู ธรรมกายละเอียดของโสดา ธรรมกายละเอียดของสกทาคา ธรรมกายละเอียดของอนาคา ธรรมกายละเอียดของพระอรหัต นี่แหละ อคฺเค สงฺเฆ ปสนฺนานํ เลื่อมใสในพระสงฆ์อันเลิศ

               ปุณฺณกุเขตฺเต อนุตฺตเร  ซึ่งเป็นบุญเขตอย่างยอด พระสงฆ์เป็นบุญเขตอย่างยอด ถ้าใครได้บริจาคกับพระสงฆ์ หรือได้ไปเลื่อมใสในพระสงฆ์เข้าก็ได้ผลปัจจุบัน ได้ผลเป็นมหัศจรรย์ทีเดียว เป็นทัก่ขิไณยบุคคลอย่างยอด

                  อคฺคสฺม ทานํ ททตํ  ได้ถวายทานในท่านผู้เลิศแล้ว

                อคฺคํ ปุณฺณํ ปวฑฺฒติ   บุญอันเลิศย่อมเจริญ  ได้ถวายทานในพระพุทธเจ้า ได้ถวายทานในธรรม ได้ถวานทานในพระสงฆ์ ในท่านผู้เลิศเหล่านั้น บุญอันเลิศย่อมเจริญ ได้สมบัติปัจจุบันทันตาเห็น ไม่อย่างนั้นละโลกนี้ไปแล้วก็ได้สมบัติในเทวโลก พรหมโลก สมมาดปรารถนา ได้ผลทีเดียว

                 อคฺคํ อายุ จ วณฺโณ จ ยโส กิตฺติ สุขํ พลํ  อายุ วรรณ อายุคือมีอายุยืนวรรณะผิวพรรณ วรรณแห่งร่างกายงดงาม เป็นของที่เลิศย่อมเจริญแก้เขาที่ได้ถวายทานนั้น ยศ เกียรติคุณ ความสุขและกำลังอันเลิศก็ย่อมเจริญแก่เขา

                 อคฺคสฺส ทาตา เมธราวี    ผู้มีปัญญาถวายทานแก่ท่านผู้เลิศแล้ว

                 อคฺคธมฺมสมาหิโต    ตั้งอยู่ในธรรมอันเลิศ

                 เทวภูโต มนุสฺโส วา    จะไปเกิดเป็นเทวดา หรือว่าจะไปเกิดเป็นมนุษย์

                อคฺคปฺปตฺโต ปโมทติ    ย่อมถึงเป็นผู้เลิศบันเทิงอยู่ เกิดเป็นเทวดาก็ได้เกิดในวิมานทีเดียว จะเกิดเป็นมนุษย์ก็เกิดในปราสาททีเดียว ถึงซึ่งความเป็ยผู้เลิศบันเทิงอยู่ ไม่ต้องทำไร่ไถนาค้าขายใดๆ เกิดในกองสมบัติทีเดียว นี่เป็นหลักยืนยันว่า ธรรมนั่นแหละย่อมรักษาผู้ประพฤติได้จริงอย่างนี้ ไม่คลาดเคลื่อน

                 อย่าไปต้องสงสัยอะไรเลย อย่าระแวงอะไรเลย ถ้าไม่สงสัยก็ให้มั่นอยู่ในธรรม จะทำอะไรก็ช่าง

                 ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์            ใสหรือไม่

                 ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด        ใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น

                 ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์            ใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น

                 ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด        ใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น

                 ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม        ใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น

                 ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด        ใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น

                 ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม        ใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น

                 ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด         ใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น

                 ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม            ใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น

               ตลอดกายธรรมละเอียด กายธรรมโสดา-โสดาละเอียด กายธรรมสกทาคา-สกทาคาละเอียด กายธรรม อนาคา-อนาคาละเอียด กายธรรมพระอรหัติ-อรหัติละเอียด นี่แหละเรียกว่า ธมฺมวิหารี  ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ หรือ สุขธมฺมวิหารี ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข  อยู่ในกลางดวงธรรมนั้น จะปฏิบัติให้ถูกหลักพระพุทธศาสนา หลักพระพุทธิศาสนาอยู่ในกลางดวงธรรมนั้น ไม่ได้อยู่ที่อื่น หลักพระพุทธศาสนาไม่มีอื่น มี ดวงศีล สมาธิ ปัญญา คือศีล สมาธิ ปัญญา  เมื่อจัดออกมาทางกายวาจาไปอีกเรื่องหนึ่ง จัดไปทางเจตนาก็อีกเรื่องหนึ่ง ถ้าจัดเข้าไปในดวงธรรมก็คือดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะทีเดียว  เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ใสบริสุทธิ์สนิท เมื่อเป็นมนุษย์ก็ปฏิบัติอยู่ในดวงธรรมดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะนั่น  ที่จะเข้าถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะต้องเข้าถึงดวงธรรมก่อน ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน หรือ ดวงหฐมมรรคหรือดวงเอกายมรรค เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ เหมือนกันและหยุดอยู่กลางดวงธรรมนั่นแหละ นี่จะปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาหละ  ปฏิบัติทางธรรมได้หลักแล้ว  ได้หลักศาสนาแล้ว ปฏิบัติทางธรรมต่อไป ปฏิบัติทางธรรมก็ต้องให้มั่นคง

                  ใจนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

                ใจหยุดอยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน     พอหยุดก็หยุดในกลางดวงของกลาง  กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล

                  หยุดอยู่กลางดวงศีลพอถูกส่วนเข้า ก็กลางของกลางใจที่หยุดนั่นแหละ ก็เข้าถึงดวงสมาธิ

                 หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ   พอหยุดเข้ากลางของหยุด  กลางของกลาง  กลางของกลาง  กลางของกลาง กลางของกลาง พอถูกส่วนเข้าก้เข้าถึงดวงปัญญา

                  หยุดอยู่กลางดวงปัญญา เข้ากลางของหยุด กลางของกลางถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงวิมุตติ

               หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ พอหยุดเข้าก็กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง พอหยุดถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ

                หยุดอยู่ศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้ากลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ก็เห็นกายมนุษย์ละเอียด ดำเนินไปก็จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็ยกายทิพย์ละเอียด

                  ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม รูปพรหมละเอียด

                  ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด

            ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม  กายธรรมละเอียด  เป็นลำดับนั้นไป ทั้ง ๑๘ กาย ถึงตลอด แบบเดียวกันนี้

                นี่ปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา  คือไปทางศีล สมาธิ ปัญญาปฏิบัติเข้าไปข้างใน  ถ้าปฏิบัติถอยออกมาข้างนอก ก็กาย วาจาบริสุทธิ์ ว่ากันเจตนาบริสุทธิ์ไปอีก กว้าง ๆ เป็นปริยัติ ไป  ถ้าปฏิบัติต้องเดินให้ตรงเข้าไปข้างใน  นั่นเป็นทางปฏิบัติ เมื่อเข้าถึงปฏิบัติแล้วก็ ปฏิเวธ เป็นชั้น ๆ เข้าไป

              เมื่อเข้าถึงกายมนุษย์หยาบนี้  เข้าไปในทางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าไปถึงกายมนุษย์ละเอียด พอถึงกายมนุษย์ละเอียดก็เป็นปฏิเวธอยู่แล้ว เห็นกายมนุษย์ละเอียดเข้าแล้ว นั่นเป็นตัวปฏิเวธอยู่แล้วตามส่วน  เข้าไปในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด  จนกระทั่งถึงกายทิพย์ก็เป็นปฏิเวธอยู่แล้ว  เห็นกายทิพย์เข้าแล้ว  เห็นกายทิพย์ละเอียดก็เป็นปฏิเวธ เห็นกายรูปพรหมก็เป็นปฏิเวธ  เห็นกายอรูปพรหมก็เป็นปฎิเวธ  เห็นกายอรูปพรหมละเอียดก็เป็นปฏิเวธเป็นชั้น ๆ เข้าไป  เข้าถึงกายธรรม  เข้าถึงกายธรรมก็เป็นปฏิเวธ  เข้าถึงกายธรรมละเอียดก็เป็นปฏิเวธ แบบเดียวกันนั่นแหละ  จะเป็นปฏิบัติไปอย่างไรก็ว่าไปเถอะปริยัติ  เมื่อเข้าถึงปฏิบัติแล้วก็เข้าถึงปฏิเวธเป็นลำดับไป  เข้าถึงโสดา โสดาละเอียด  สาทาคา  สาทาคาละเอียด อนาคา อนาคาละเอียด อรหัต อรหัตละเอียด เป็นลำดับไป ไม่เคลื่อนละ ไม่เคลื่อนหลัก  เอาหลักมาปรับดูเถอะ ปริยัติเอามาปรับดูเถอะ

                แต่ว่าผู้เรียนปริยัติ ผู้เรียนบาลี ท่านไม่เห็น  ท่าก็เรียนตามศัพท์ของท่านไป  เมื่อท่านเป็นท่าน ก็เรียนตามความเห็นของท่าน  นี่เรื่องนี้สำคัญเพราะเหตุนั้น  การปฏิบัติศาสนาหรือนับถือศาสนา  ถ้าว่าศึกษาไม่ได้หลักพระพุทธศาสนาแล้ว  จะนังถือไปสัก ๕๐ ปีก็เอาเรื่องไม่ได้ ถ้าได้หลักแล้วจึงจะเอาเรื่องได้ เพราะฉะนั้นวัดปากน้ำได้หลักแล้ว ต่อไปหมดประเทศไทยจะต้องถือเอาวัดปากน้ำนี่เป็นหลักทางปฏิบัติในทางปฏิบัติ  ส่วนปริยัติน่ะไม่ต้องเอาวัดปากน้ำ วัดปากน้ำต้องไปเอาเขามาอีก เอามาจากตำรับตำราที่เขาตั้งไว้เป็นหลักสูตรในประเทศไทย ถึงกระนั้นปริยัติวัดปากน้ำก็ไม่แพ้ฝั่งพระนคร  ชนะฝั่งพระนครหลายวัด  เหลือไม่กี่วัดที่จะล่วงล้ำไป  แต่ส่วนปฏิบัตินั้นชนะหมดทั้งประเทศไทย  วัดใดวัดหนึ่งสู้ไม่ได้ เพราะวัดใดวัดหนึ่งสั่งสมพวกมีธรรมกายมากไม่ได้เหมือนวัดปากน้ำ วัดปากน้ำสั่งสมมากเวลานี้  ขนาด ๑๐๐  ขาดเกินไม่มาก ทั้งอุบาสก อุบาสิกา พระ เณร ๑๐๐ ขาดเกินไม่มาก หรือจะกวาก็ไม่รู้  แต่ว่ายังไม่ได้สำรวจถี่ถ้วน แล้วจะสำรวจให้ดูว่ามีเท่าใด  มากอยู่แล้วพวกที่ปฏิบัติใช้ได้ทีเดียว  ที่ใช้ได้อย่างสูงนั้นผู้เทศน์ต้องคอยคุม ถ้าไม่คุมละก็ไปสูงไม่ได้ มารมันปัดลงต่ำเสีย มันแนะนำให้วางเป้าหมายใจดำเสีย  ไม่จดอยู่ที่เป้าหมายใจดำ ที่ผู้เทศน์คอยคุมไว้ละก็ถูกเป้าหมายใจดำ ตรงกันข้ามกับพวกพญามาร  ถ้าว่าไม่คุมไว้แล้วเป็นลูกศิษย์พญามารเสียแล้ว มารเอาไปใช้เสียแล้วอย่างนี้มาก  เหตุนั้นเมื่อมาพบของจริงเช่นนี้แล้ว  ทั้งพระทั้งเณรทั้งอุบาสาอุบาสิกา  ควรปล่อยชวิต ค้นเอาของจริง รักษาของจริงไว้ให้ได้  เมื่อได้แล้วละก็  จะยิ้มในใของตัวอยู่เสมไป  มีความเดือดร้อนใด ๆ เห็นว่าพระพุทธศาสนานี่เป็น นิยานิกะธรรม จริง นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้จริง ในปัจจุบันทันตาเห็นทีเดียว

                 เมื่อรู้จักหลักอักนี้ นี่แหละ ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจาร ธรรมย่อมรักษาผู้ที่ประพฤติธรรม  ธมฺโม  สุจิ ณฺโร สุขมาวหาติ  ธรรมนั่นแหละ  สั่งสมไว้ดีแล้ว  นำความสุขมาให้แท้ ๆ เหตุนี้แหละที่ได้ชี้แจงแสดงมาแล้วนี้ เพื่อเป็นปฏิการสนองประคองศรัทธา  ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่าน  ผู้พุทธบริษัท  ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต  บรรดาสโมสร ในสถานที่นี้ถ้วนหน้า  อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก้เวลา  เอเตน สจฺจวชฺเชน  ด้วยอำนาจความสัจที่อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานี้  สทา โส ตฺถึ ภวนฺตุ เต  ขอความสุขสวัสดีคงบังเกิดแด่ท่านทั้งหลาย บรรมามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า  อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก้เวลา  สมมติว่ายุติธรรมิกถาโดยอรรถนิยมความแต่เพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.05760543346405 Mins