กัณฑ์ที่ ๑๘ โอวาทปาติโมกข์ (สมาธิเบื้องต่ำและสมาธิเบื้องสูง)

วันที่ 18 มค. พ.ศ.2561

กัณฑ์ที่ ๑๘
โอวาทปาติโมกข์  (สมาธิเบื้องต่ำและสมาธิเบื้องสูง)

มรดกธรรม , พระมงคลเทพมุนี , ประวัติย่อ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี , สด จนฺทสโร , หลวงปู่วัดปากน้ำ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , สด มีแก้วน้อย , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , วัดปากน้ำ , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , สมาธิ , กัณฑ์ , ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด , คำสอนหลวงปู่ , หลวงพ่อสดเทศน์ , เทศนาหลวงพ่อสด , พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี , พระผู้ปราบมาร , ต้นธาตุต้นธรรม , พระเป็น , อานุภาพหลวงพ่อสด , เทปบันทึกเสียงหลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระของขวัญ , ทานศีลภาวนา , โอวาทปาติโมกข์ , กัณฑ์ที่ ๑๘ โอวาทปาติโมกข์ (สมาธิเบื้องต่ำและสมาธิเบื้องสูง)

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ (๓ ครั้ง)

กถญฺจ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา
เหฏฺฐิเมนปิ ปิยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา
อุปริเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา
กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สามธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา
เอวํ โข เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตาฯ
กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขโต ภควตา

อิธ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชมฺปีติสุขํ ปฐมํ อุปสมฺปชุช วิหรติ วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ สามธิชมฺปีติสุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหารติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ตติยํ ฌามํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ
สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพ ว โสมเนสูส โทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทธิ์ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรตีติ เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา ติฯ

              ณ บัดนี้  อาตมภาพจักได้แสดง ในเรื่องสมาธิซึ่งเป็นลำดับ อนุสนธิมาจากศีล  ศีลแสดงแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำและโดยปริยายเบื้องสูง ส่วนสมาธิเล่าก็จักแสดงโดยปริยายเบื้องต่ำโดยปริยายเบื้องสูงดุจเดียวกัน ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นนั้น จุแปลความเป็นสยามภาษา พอเป็นเครื่องประคับประคองสนองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่านผู้พุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า เริ่มต้นแห่งพระธรรมเทศนา ในเรื่องสมาธิ เป็นลำดับไป

                  มีคำปุจฉาวิสัชชนาด้วยพระองค์เองว่า
    กถญฺจ สมาธิ สมมฺทกฺขาโต ภควตา    สมาธิที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสแล้วเป็นไฉน?

    เหฏฐิเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา    สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำบ้าง

    อุปริเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา    สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงบ้าง

   กถญฺจ เหฏฐิเมน ปริยาเยน สามธิ สมฺมทกุขาโต ภควตา  สมาธิที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสแล้ว โดยปริยายเบื้องต่ำนั้นเป็นไฉนเล่า?

    อิธ อริยสาวโก    อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้

    โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธิ    กระทำสละอารมณืเสียแล้ว ลภติ สมาธิย่อมได้ซึ่งสามธิ

    ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตนฺติ    ย่อมได้ซึ่งความที่แห่งจิตเป็นหนึ่ง

    เอวํ โข เหฏฐิเมน ปริยาเยน สามธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตาฯ  อย่างนี้แหละสามธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ

   กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สามธิ สมฺมทกฺขโต ภควตา    สมาธิที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสแล้ว โดยปริยายเบื้องสูงเป็นไฉนเล่า

    อิธ ภิกฺขุ    ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้

    วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกฺสเลหิ ธมฺเมหิ    สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน ความเพ่งที่หนึ่งเป็นไปด้วยกับวิตก วิจาร ปีติ และสุขเกิดแต่วิเวก

    วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ   อวิตกฺกํ อวิจารํ  วิตกิวิจารานํ วูปสมาย     สงบเสียซึ่งวิตก วิจาร ความตรึกตรองนั่นสงบเสียได้

    สมฺปสาทนํ เจตโส     จิตผ่องใสในกายใน    

    เอโกทิภาวํ     ถึงซึ่งความเป็นเอกอุทัย เข้าถึงซึ่งทุติยฌาน ความเพ่งที่สอง ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ สุขเกิดแต่วิเวก

    วิเวกชํ     มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกดังนี้ อย่างนี้แหละเป็นฌานที่ ๒

    ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วหรติ จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ             ปราศจากความปีติ

    อุเปกฺขโก สุขวิหารีติ     มีสุขหึ่ง มีสติเป็นอุเบกขาอยู่

    สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ     เสวยความสุข ด้วยนามกาย

    อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก     อันพระอริยะทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่าเข้าถึงซึ่ง ตติยฌาน ความเพ่งที่สาม มี สติเฉยเป็นอุเบกขา

    อุเปกฺขโก สติมา     สุขวิหารีติเสวยสุขอยู่มีสติอยู่เป็นอุเบกขามีสติเป็นอุเบกขาอยู่ ซื่อว่าเข้าถึงซึ่ง ตติฌาน เป็นความเพ่งที่สาม อย่างนี้แหละ

    สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺจสฺส จ ปหานา ปุพฺเพว โสมนสฺสโททนสฺสานํ อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทธิ จตุตฺถํฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติสุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา     ละสุข ลุทุกข์เสียได้แล้ว

    ปุพฺเพว โสมนสฺสโททนสฺสานํ อตฺถํคมา     สงบสุขทุกข์อันมีในก่อนเสีย สงบความดีในเสียใจอันมีในก่อนเสียได้

    อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทธิ     เข้าถึงซึ่งจติตถฌาน ความเพ่งที่สี่ ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ มีสติเป็นอุเบกขาเฉยอยู่ มีสติบริสุทธิ์เป็นอุเบกขาอยู่อย่างนี้แหละ สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสแล้ว โดยบริยายเบื้องสูง

               นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเพียงเท่านี้   ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบาย  ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ในสมาธิสืบต่อไป เป็นข้อที่ลึกล้ำคัมภีรภาพนัก แต่สมาธิจะแสดงโดยปริยายเบื้องต่ำก่อน

                  สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ ถือเอาความตามพระบาลีนี้ว่า 
    อิธ อริยสาวโก     แปลว่าพระอริยสาวกในพระธรรมวินัย

    โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา     กระทำให้ปราศจากอารมณ์ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ อารมณ์ทั้ง ๖ ไม่ได้เกี่ยวแก่ใจเลยเรียกว่า ปราศจากอารมณ์

    สภติ สามธิ      นั่นแหละสามธิละ ได้สามธิในความตั้งมั่น
    ลภติ จิตฺตสฺสเสกคฺคตํ     ได้ซึ่งความที่แห่งจิตเป็นหนึ่ง หรือได้ความที่แห่งจิตเป็นธรรมชาติหนึ่ง ไม่มีสองต่อไป นี่ส่วนสมาธิโดยเบื้องต่ำ

                  สมาธิโดยปริยายเบื้องสูงบาลีว่า
                 อิธ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ  ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้     สงัดแล้วจากกามทั้งหลายสงัดแล้วจากอกุศลทั้งหลาย เข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน ความเพ่งที่หนึ่งเป็นไปด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา วิตก ความตรึกถึงฌาน วิจาร ความตรองในเรื่องฌาน เต็มส่วนของวิจารแล้วชอบใจอิ่มใจ ปีติ ชอบอกชอบใจปลื้มอกปลื้มใจ เรียกว่า ปีติ สุข มีความสบายกายสบายใจ เกิดแต่วิเวก วิเวกชมฺปิ ประกอบด้วยองค์๕ ประการ วิตก วิจาร ปีติ สุข เกิดจากวิเวก ก็เข้าเป็นองค์๕ ประการนี้ปฏมฌาน ทุติยฌานเล่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมาย สงบวิตก วิจาร เสียได้ ความตรึก ความตรอง ตรวจตราไม่มีสงบวิตกวิจารเสียได้ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เข้าถึงซึ่งทุติยฌาณ  ความเพ่งที่สองระคนด้วยองค์ ๓ ประการคือ ปีติ สุข เกิดแต่วิเวกเหมือนกัน นี่เข้าถึงทุกติยฌาน

                 ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ ปราศไปจากความปีติ ไม่มีปีติ เข้าถึงซึ่ง ตติยฌาน ความเพ่งที่สาม ระคนด้วยองค์ ๒ ประการคือ สุข เกิดแต่วิเวก หรือ สุข-เอกัคคตา อย่างนี้ก็ได้ เพราะเกิดแต่วิเวกระงับสุข สุขสฺส จ ปหานาทุกฺขสฺส จ ปกานา ละสุขละทุกข์เสียได้ หรือดับความดีใจเสียใจอันมีในก่อนเสียได้ เข้าถึง จตุตถฌาน ความเพ่งที่สี ระคนด้วยองค์ ๒ ประการมีสติบริสุทธิ์เฉย อยู่สองประการเท่านั้นที่จับตามวาระพระบาลี ได้ความอย่างนี้ นี่เป็นปริยัติแท้ ๆ ยังไม่เข้าถึงทางปฏิบัติ

                ส่วน สามธิในทางปฏิบัติเป็นไฉน? ในทางปฏิบัติละก็มีรสมีชาตดีนัก สมาธิในทางปฏิบัติว่าโดย ปรยายเบื้องต่ำ-เบื้องสูงแบบเดียวกัน 

                อริยาสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ นี่สมาธิในทางปฏิบัติ  กระทำอารมณ์ทั้ง ๖ รูปารมณ์ สัททารมณ์ รสรมณ์ คันธารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมรมณ์ ไม่ให้ติดกับจิต หลุดจากจิตทีเดียว เหลือแต่จิตล้วนๆ ไม่มีอารมณ์เข้าไปแตะทีเดียว เหมือนอะไร? เหมือนคนที่เวลานอนจะใกล้หลับ เมื่อยังไม่หลับมีอารมณ์เข้าไปติดอยู่

                  รูปารมณ์บ้าง นึกถึงอดีตบ้าง ปัจจุบันบ้าง อนาคตบ้าง  สัททารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต  คันธารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต รสรมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต โผฏฐัพพารมณ์บ้าง ที่เป็นของเก่าของใหม่ ของปัจจุบัน

                หรือธรรมารมณ์บ้างที่เกิดอยู่ในเดี๋ยวนั้น ที่ล่วงไปแล้ว และที่จะเกิดต่อไป อารมณ์เหล่านี้แหละวุ่นอยู่กับใจ ติดอยู่กับใจ เปลื้องจากกันไม่ได้ ไม่หลับนอน ตลอดคืนยันรุ่งก็ไม่หลับ เพราะอารมณ์มันเข้าไปติดกับใจ มันไปเกี่ยวข้องกับใจ มันไปบังคับใจเสีย นอนไม่หลับ มันไม่หลุด เมื่อไม่หลุดเช่นนี้ละก็เรียกว่า สละอารมณ์ไม่ได้

                 เมื่อสละอารมณ์ได้ ในทางปฏิบัติ ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์เลย ใจหลุดจากอารมณ์เหมือนอะไร? เหมือนไข่แดงกับไข่ขาวอยู่ด้วยกันจริงๆ แต่ว่าไม่เกี่ยวกัน ไข่แดงมีเยื่อหุ้มอยู่นิดหนึ่ง บางๆ ไม่เกี่ยวกับไข่ขาวด้วย ไข่ขาวหุ้มอยู่ข้างนอกไม่ติดกัน รสชาดของไข่แดงก็รสหนึ่ง รสชาดของไข่ขาวก็รสหนึ่ง ไม่เข้ากันอยู่คนละทางเห็นปรากฏทีเดียว

                เห็นที่ไหนอยู่ทีไหนจึงเป็นทางปฏิบัติ? เห็นปรากฏชัดอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่นั่นแหละ แต่ส่วนจิตที่เป็นสมาธิก็อยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละไม่ใช่จิตดวงเดียว ในกลางดวงจิตมีวิญญาณ แต่ดวงจิตอยู่ในกลางดวงจำ ดวงจำอยู่ในกลางดวงเห็น แต่ว่าพูดถึงจิตดวงเดียวแล้วก็ จิตไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์ทีเดียว อารมณ์ไม่เข้าไปแตะทีเดียวนิ่งหยุดดิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ แล้วผู้ปฏิบัติของตัวก็เห็น ใครเห็น? เป็นทางปฏิบัติ กายมนุษย์ละเอียดมันเห็น ไม่ใช่กายมนุษย์คนหยาบนี่ กายมนุษย์ละเอียดที่มันฝันออกไป กายมนุษย์นั้นแหละมันเห็น มันอยู่ในกลางดวงนั่นแหละ มันเห็นดวงจิตบริสุทธิ์สนิทหลุดจากอารมณ์ดังนี้ ไม่มีอารมณ์เข้าไปเกี่ยวข้องเลยทีเดียว เป็นดวงจิตใสเหน่งอยู่นั่นแหละ เหมือนไข่แดง แต่ว่ามันไม่ใสอย่างไข่แดงหรอก ใสเหมือนกระจกส่งเงาหน้า ใสเหน่งทีเดียว ตากายมนุษย์ละเอียดมันเห็น เพราะว่ามันก็รุ้ว่าดวงจิตของมนุษย์เวลานี้ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์ทั้ง ๖ เลย อารมณ์ทั้ง ๖ ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวเลยหลุดจากกันหมด เห็นอย่างนี้เรียกว่า โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธิ มันก็นิ่ง นี่แน่นอนอยู่กับดวงจิตมั่นไม่คลาดเคลื่อน ดวงจิตนั่นก็ซ้อนอยู่กับดวงจำ ดวงเห็น ดวงวิญญาณก็ข้อนอนในกลางดวงจิตนั้นแหละ ทั้ง ๔ อย่างนี้ซ้อนไม่คลาดเคลื่อนกันเป็นจุดเดียวกันนั่นและ ไม่ลั่นลอดจากกันเป็นก้องเดียวชิ้นเดียวกันอันเดียวทีเดียว เห็นชัด ๆ อย่างนี้เรียกว่า สมาธิในทางปฏิบัติแท้ ๆ  อย่างนี้เรียกว่าได้สมาธิ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ได้ถึง เอกคฺคตา ได้ถึงซึ่งความเป็นหนึ่ง จิตดวงนั้นแหละถึงซึ่งความเป็นหนึ่งทีเดียว ไม่มีสอง ไม่มีเขยื้อนแน่นแน่วหรือนอย่างกับน้ำที่ใส่ไว้ในแก้วตั้งไว้ในที่มั่น ไม่มีลมพัดมาถูกต้องเลยไม่เขยื้อนเลยทีเดียวอยู่ทีเดียว หยุดอยู่กับที่ทีเดียว นั้นได้ชื่อว่า จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งทีเดียว จิตถึงซึ่งความเป็นหนึ่งขนาดนั้น นั่นได้สมาธิอย่างนี้เรียกว่าได้สมาธิแล้ว แต่ว่าสมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ อย่างนี้สมาธิเบื้องต่ำ ไม่ใช่สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง

               สมาธิท่านวางหลักมาก ไม่ใช่จิตแน่นเท่านี้ ไม่ใช่แต่จิดปราศจากอารมณ์ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งเท่านี้สมาธิท่านวางหลักไว้ถึง ๔๐ ยกเป็นปริยายเบื้องสูงเสีย ๘ เหลืออีก ๓๒ นั้นก็เป็นที่ทำสมาธิเหมือนกันมาเป็นสมาธิฝ่ายนอกพระศาสนา ไม่ใช่ในนะ สมาธิข้างนอก แต่ว่าเห็นข้างนอกแล้งก็น้อมเข้าไปข้างใน ถ้าสมาธิตรงข้างในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนูษย์เช่นี้ละก็ ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนานั้น

               สมาธินอกพุทธศาสนาออกไปน่ะ ที่พระพุทธเจ้ารับรองอนุโลมเข้ามา ในพระพุทธศาสนานั่น ๑๐ อศุภ ๑๐ อนุสติ ๑๐ เป็น ๓๐ แล้ว อาหารปฏิกุลสัญญา จตุธาตุววัตถานเป็น ๓๒ นี่สมาธิโดยกายเบื้องต่ำทั้งนั้น ไม่ใช่สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ถึงจะทางปริยัติก็ดี ทางปฏิบัติก็ดี ว่าโดยปริยายเบื้องต่ำ สมาธิกโดยทางปริยัติแบบเดียวกัน สมาธิโดยทางปฏิบัติแบบเดียวกัน

                 แต่ว่า สมาธิโดยทางปริยัติไม่เห็น ผู้ทำสมาธิไม่เห็น นั่นสมาธิในทางปริยัติ ถ้าสมาธิในทางปฏิบัติผู้ถึง เห็นทีเดียว เห็นปรากฏชัดทีเดียว นั่นสามาธิในทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัด เห็นปรากฏชัดดังนั้น    ส่วนสมาธิโดยปริยายเบื้องสูงต้องพูดถึงฌาน จิตที่เป็นดวงใส ที่เห็นเป็นดวงใสอยู่นั่นแหละ ผู้ปฏิบัติเข้าถึงซึ่งสมาธิโดยปริยายเบื้องสูงต่อไปได้ ใจต้องหยุดนิ่งกลางดวงจิตที่ใสนั่น ต้องหยุดนิ่งทีเดียวพอหยุดส่วนเข้าเท่านั้นแหละ ก็เกิดเป็นฌานขึ้นกลางดวงจิตที่หยุดนั่น กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์กลางดวงจิตที่หยุดนั่น นิ่งหนักเข้า ๆ  พอถูกส่วนเข้าก็เข้ากลางของหยุดนั่น เข้ากลางของหยุดพอถูกส่วนขนาดถึงที่เข้า เป็นดวงผุดขึ้นมา เป็นดวงผุดขึ้น ๆ กลางนั่นแหละ ดวงใหญ่ไม่ใช่ดวงย่อย วัดผ่าเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ วา (๘ศอก) หนาคืบหนึ่ง กลมเป็นปริมณฑล กลมรอบตัว วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา หนาคืบหนึ่ง ใสเป็นกระจกคันฉ่องสองเงาหน้า ถ้าดวงนั้นผุดขึ้นมา มีกาย ๆ หนึ่ง กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละนั่งอยู่กลางดวงนั้น

               เมื่อกายมนุษย์ละเอียดขึ้นนั่งอยู่กลางดวงนั้นแล้ว นี่เนื่องมาจากดวงนั้นนะ ใจของกายมนุษย์ละเดียดหยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด เห็นดวงจิตของตัวอีก นี่เป็นสมาธิทำไว้แล้วน่ะว่าไม่ใช่ดวงจิตมนุษย์คนโน้น เป็นดวงจิตของกายมนุษย์ละเอียด เห็นปรากฏทีเดียว มันก็นั่งนิ่งอยู่ กายมนุษย์ละเอียดก็เอาใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงจิตของตัวนั่น อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนี่ขึ้นมาเสียชั้นหนึ่งแล้ว พ้นจากกายมนุษย์หยาบขึ้นมาแล้ว

               กายมนุษย์ละเอียดก็นั่งอยู่กลางดวงฌาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๘ ศอก (๒วา) กลมรอบตัวเป็นวงเวียนหนาคืบหนึ่ง จะไปไหนก็ไปได้แล้ว เข้าฌานแล้ว กายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานแล้ว เมื่อเข้าฌานเช่นนั้นแล้วก็คล่องแคล่ว จะไปไหนก็คล่องแคล่ว เมื่อเข้าฌานเข้ารูปนั้นแล้ว เกิดวิตกขึ้นแล้วว่านี่อะไร? รูปพรรณสันฐานเป็นอย่างนี้ไม่เคยพบเคยเห็น เกิดวิตกขึ้น ตรึกตรองทีเดียว ลอกคราบลอกคูดู วิจารก็เกิดขึ้นเต็ม วิตกก็ตรวจตราสีสรรวรรณะ ดูรอบเนื้อรอบตัว ดูซ้ายขวาหน้าหลัง ดูรอบตัวอยู่ ตรวจตราแน่นอนแล้ว เป็นส่วนของความตรวจตราแล้ว เกิดปีติชอบอกชอบใจปลื้มอกปลื้มใจ เบิกบานสำราญใจ เต็มส่วนของปีติเข้ามีความสุขกายสบายใจ เมื่อสุขกายสบายใจแล้วก็นิ่งเฉยเกิดแต่วิเวก ใจวิเวกวังเวงนิ่งอยู่กลางดวงนั่น นี่เต็มส่วนของอางค์ฌานอย่างนี้ กายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานแล้ว อย่างนี้เรียกกายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานอยู่กลางดวงนั่น นี่สมาธิในทางปฏิบัติเป็นอย่างนี้ แต่ว่าชั้นสูงไป เมื่อตัวอยู่ในฌานนี้ยังใกล้กับของหยาบนัก

                เราจะทำให้สูงขึ้นไปกว่านี้ ใจกายละเอียดก็ขยาย ใจขยายจากปฐมฌานของกายมนุษย์ละเอียด ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูยน์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดกลางกายนั่น หยุดนิ่งอยู่กลางดวงจิตที่เห็นใสนั่น นิ่งหนักเข้า นิ่งหนักเข้า นิ่งหนักเข้า พอถูกส่วนเข้าเกิดขึ้นมาอีกดวงเท่ากัน นี่เรียกว่า ทุติยฌาน พอเกิดขึ้นอีกดวงหนึ่งแล้วละก็ กายทิพย์ทีเดียว กายทิพย์ละเอียดทีเดียวเข้าฌานไม่ใช่กายทิพย์หยาบละ กายทิพย์ละเอียดเข้าฌานอีกแบบเดียวกับกายมนุษย์ละเอียด การทิพย์ละเอียดก็เข้าฌาน อาศัยกายทิพย์หยาบเข้าฌานทีเดียว นั่งอยู่กลางดวงอีก แบบเดียวกันชนิดเดียวกัน นั่งอยู่กลางดวงอีก ทีนี้ไม่มีวิตกวิจาร ละวิตกวิจารเสียแล้ว เหลือแต่ปีติของอกชอบใจ มันดีกว่าเก่า ใสสะอาดดีกว่าเก่ามากปลื้มอกปลื้มใจ เมื่อปลื้มอกปลื้มใจเช่นนั้นเต็มส่วนของความปีติก็เกิดความสุขขึ้น เต็มส่วนของความสุขเข้าใจก็นิ่งเฉย นิ่งเฉยอยู่ในอุราเรียกว่าอุเบกขานิ่งเฉย อยู่กลางนั่น นี่กายทิพย์ละเอียดเข้าฌานแล้ว กายทิพย์ละเอียดก็นึกว่าใกล้ต่อกายมนุษย์ละเอียด ที่ละเอียดกว่านี้มีอีก

               ใจกายทิพย์ละเอียดก็ขยายจากฌานที่สอง  ใจก็นิ่งอยู่กลางดวงจิตของตัวเก่าต่อไปอีก  ของกายทิพย์ละเอียดต่อไปอีก กลางดวงจิตนั่น พอถูกส่วนเข้าฌานก็ผุดขึ้นมาอีกดวงหนึ่งเท่ากัน ดวงเท่ากันแต่ใสกว่านั้น ดีกว่านั้ วิเศษกว่านั้น คราวนี้กายรูปพรหมขึ้นมาแล้ว กายรูปพรหมละเอียดก็เข้าฌานนั่น แต่ว่าอาศัยกายรูปพรหมหยาบนั่งนิ่งอยู่กลางดวงของตติยฌาน ในนี้ไม่มีปีติ เป็นสุข เอกคฺคตา ก็นิ่งเฉยอยู่กับสุขนั่น มีองค์สองเต็มส่วนรับความสุขของตติยฌานนั่นพอสมควรแล้ว กายรูปพรหมละเอียดก็นึกว่าละเอียดกว่านี้มีอีก

                ใจกายรูปพรหมละเอียดก็ขยายจิตจากตติยฌาน   นิ่งอยู่ในกลางดวงจิตของตัวนั่นใสอยู่นั้น กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ถูกส่วนเข้า ผุดขึ้นมาอีกดวงหนึ่งเป็นดวงที่สี่ เข้าถึง จตฺตถฌาน เข้าถึงจตฺตถฌานอาศัยกายอรูปพรหมหยาบ และกายอรูปพรหมละเอียดเข้าจตฺตถฌาน กายอรูปพรหมละเอียดก็เข้าจตฺตถฌานไป เมื่อเข้าจตฺตถฌานหนักเข้าเป็นอุเบกขากายอรูปพรหม เมื่อเข้าฌานนี้มีแต่ใจเฉยอยู่ มีสติบริสุทธิ์อยู่เท่านั้น มีสติเฉยบริสุทธิ์เป็นสองประการ พอถูกหลักฐานดีแล้ว เมื่อเข้าสู่รูปฌานแน่นอนดังนี้แล้ว ใจกายอรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด อยู่ศูนย์กลางดวงจตฺตถฌานนั่น จะเข้าอรูปฌานต่อไป เข้าอากาสนัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญาตนฌานต่อนี้ไปใช้กายรูปพรหมละเอียดไม่ได้ ใช้กายอรูปพรหม ใช้กายอรูปพรหมกายเดียวเข้าฌานเหล่านั้น นี่เป็นฌานในภพ ไม่ใช่ฌานนอกภพ ฌานทั้ง ๔ ประการนี้แหละเป็นสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง โดยทางปฏิบัติดังกล่าวมานี้ ปฏิเวธ ที่รากฏชัดตามส่วนของตน ๆมารู้เห็นตามความเป็นจริงนั้น เป็นตัวปฏิเวธทั้งนั้น เมื่อข้าถึงฌานที่หนึ่งก็เป็นตัวปฏิเวธอยู่แล้ว เข้าถึงฌานที่สองก็เป็นตัวปฏิเวธอยู่อีก รู้เห็นปรากฏชัด เมื่อเข้าถึงฌานที่สามก็เป็นปฏิบเวธอีก ปรากฏชัดด้วยตาของตัว เขาฌานที่สี่ก็เป็นปฏิเวธอีก เป็นปฏิเวธทั้งกายมนุษย์เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียดก็เป็นปฏิเวธอยู่อีก เข้าถึงกายรูปพรหมก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหม เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียดก็เป็นฏิเวธของกายรูปพรหมละเอียด ส่วนอรูปพรหมเป็นของละเอียด ส่วนจตฺตถฌานก็เป็นของละเอียดแต่ว่าเกี่ยวกัน ที่จะเข้าอรูปฌานต้องเริ่มต้นแต่รูปฌานนี้ พอเข้าอากาสานัญจายตรฌานก็ใช้กายอรูปพรหมอย่างเดียวเท่านั้น อย่างนี้แลสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง

                แสดงมาโดย ปริยัติ ปฏิเวธ พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดแก่ท่านเจ้าภาพและสาธุชน จงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมุติยุติธรรมิกถา โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.066843469937642 Mins