กัณฑ์ที่ ๒๙ ภัตตานุโมทนากถา

วันที่ 19 มค. พ.ศ.2561

กัณฑ์ที่ ๒๙
ภัตตานุโมทนากถา

มรดกธรรม , พระมงคลเทพมุนี , ประวัติย่อ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี , สด จนฺทสโร , หลวงปู่วัดปากน้ำ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , สด มีแก้วน้อย , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , วัดปากน้ำ , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , สมาธิ , กัณฑ์ , ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด , คำสอนหลวงปู่ , หลวงพ่อสดเทศน์ , เทศนาหลวงพ่อสด , พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี , พระผู้ปราบมาร , ต้นธาตุต้นธรรม , พระเป็น , อานุภาพหลวงพ่อสด , เทปบันทึกเสียงหลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระของขวัญ , ทานศีลภาวนา ,  ภัตตานุโมทนากถา , กัณฑ์ที่ ๒๙ ภัตตานุโมทนากถา

นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ  (๓  ครั้ง)

                โภชนํ  ภิกฺขเว  ททมาโน  ทายโก  ปฏิคาหกานํ  ปญฺจ  ฐานานิ  เทติ  กตมานิ  ปญฺจ  อายุ   เทติ  วณฺณํ  เทติ  ขํ  เทติ  พลํ  เทติ  ปฏิภารํ  เทติ  อายุ   โข  ทตฺวา  อายุสฺส  ภาคี  โหติ  ทิพฺพสฺส  วา  มนุสฺสสฺส   วา  วณฺณํ  ทตฺวา  ญฺณสฺส  ภาคี  โหติ  ทิพพฺพสฺส  วา  มนุสฺสสฺส  วา  สุขํ  ทตฺวา  สุขสฺส  ภาคี  โหติ  ทฺพสฺส  วา  มนุสฺสสฺส  วา  พลํ  ทฺวา  พลสฺส  ภาคี  โหติ  ทิพฺพสฺส  วา มนสฺสสฺส วา ปฏิภารํ  ทตฺวา  ปฏิภาณสฺส  ภาคี  โหติ  ทิพฺพสฺส  มนุสฺสสฺส วา โภชนํ  ภิกฺขเว  ททมาโน  ทายโก  ปฏิคาหกานํ  ปญฺจ  ฐานามิ  เทตีติ ฯ

                ณ บัดนี้อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถาว่าด้วย ภัตตานุโมทนากถา เฉลิมเพิ่มเติมศรัทธาของท่านทานบดี  พร้อมด้วยวงศาคณาญาติเนื่องด้วยสายโลหิต  และเนื่องด้วยความคุ้นเคย  ญาติสาโลหิตา  ญาติเนื่องด้วยสายโลหิตและเนื่องด้วยความคุ้นเคย  ญาติมี  ๒  อย่างเนื่องด้วยสายโลหิตเรียกว่า  สาโลหิตา  เนื่องด้วยความคุ้นเคยเรียกว่า  วิสฺสาสา  ปรมา  ญาติ  ญาติที่เนื่องด้วยความคุ้นเคยกันพระองค์ทรงสรรเสริญว่าเป็นญาติอย่างยิ่ง

                 วันนี้ เจ้าภาพพร้อมด้วยบุตรภรรยาวงศาคณาญาติ พากันมาบริจาคทานแก่พระภิกษุสามเณรตลอดจนอุบาสกอุบาสิกา  ตอนเช้าได้ถวายข้าวยาคูคือข้าวต้ม  เวลาเพลได้ถวายโภชนาหารพร้อมทั้งพยัญชนะอันสมควร  เวลาบ่ายนี้ให้มีพระธรรมเทศนา  น้อมนำปัจจัยไทยธรรมบูชาพระสัทธรรมเห็นสภาวะ  ฉะนี้ได้ชื่อว่าถวายทานแด่พระธรรม  เป็นอันว่าเจ้าภาพได้ถวายทานแด่พระพุทธเจ้า  มีรูปพระปฏิมากรเป็นประธาน  มีพระสงฆ์เป็นบริวาร  และได้ชื่อว่าถวายทานแด่พระธรรม  และได้ชื่อว่าถวายทานแด่พระสงฆ์ทั้งนี้เป็น  เนมิตกนาม พุทฺโธ  เป็นเนมิตกนามเกิดจากพุทธรัตนะ  ธมฺโม  เป็นเนมิตกนามเกิดจากธรรมรัตนะและ  สงฺโฆ  เป็นเนมิตกนามเกิดขึ้นจากสังฆรัตนะ  พุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  ทั้ง  ๓  นี้เป็นตัวแก่นสารของพระพุทธศาสนา

                 พุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  ทั้ง  ๓  นี้  อยู่ที่ไหน ?  อยู่ในตัวของเรานี่เอง  อยู่ในตัวตรงไหน?ในตอนศีรษะ  หรือว่าอยู่ในตอนเท้า  หรือว่าอยู่ในท่อนตัว  เอาคอออกเสีย  เอาขาออกเสียเหลือแต่ท่อนตัวจะอยู่ตอนขา  ตอนหัว  หรือว่าอยู่ตอนตัว  พระพุทธเจ้าอยู่ตรงกลางกาย  เรามีกลางมีศูนย์  ตรงสะดือนั่นเป็นศูนย์นั่นเรียกว่า  กลางกายสะดือทะลุหลัง  ขวาทะลุซ้าย  เหมือนเราขึงด้ายเส้นหนึ่งให้ตึง  ตรงกลางด้ายจดกันนั่นแหละเรียกว่า  กลางกั๊ก  ตรงกลางกั๊กเหนือสะดือขึ้นมา  ๒  นิ้ว  พระพุทธเจ้าอยู่ตรงนั้นตรงกลางกั๊กนั้น  ให้เอาใจไปหยุดนิ่งอยู่ตรงกลางกั๊กนั้น  พระพุทธเจ้าอยู่นอกใจหรือในใจ?  ให้เอาใจไปหยุดนิ่งอยู่ตรงนั้น  พอใจหยุดนิ่งก็เข้ากลางของใจที่หยุดนิ่งนั้นทีเดียว  ที่เขาว่าสรรค์ในอกนรกในใจ  พระก็อยู่ในใจ  พอใจหยุดนิ่งก็เข้ากลางของใจที่หยุดนิ่ง  กลางของกาง  กลางของกลาง กลางของกลาง  ซ้ายขวาหน้าหลังล่างบนนอกในไม่ไปทีเดียว  กลางของกลาง  กลางของกลาง  กลางของกลางหนักเข้า  พอหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้นจะเห็นทางที่จะเข้าไปถึงกายละเอียดเป็นชั้น  ๆ  เข้าไปจนถึง  พุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  เราต้องรู้  ถ้าไม่รู้เราจะระลึกถึง   พุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะไม่ถูก  ถ้ารู้จักเสียแล้วจะระลึกถึงพุทธรัตนะธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  ได้ถูกต้อง

               เมื่อเอาใจไปหยุดนิ่งอยู่ตรงศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น  กายมนุษย์  หยุดนิ่งหนักเข้า  ก็เข้ากลางของใจที่หยุดนิ่ง  กลางของกลาง  กลางของกบาง  กลางของกลาง  พอถูกส่วนเข้านั้น  ก็เห็นธรรมอีกดวงหนึ่งเท่าดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ใสบริสุทธิ์ดุจกระจกคันฉ่องส่องดูเงาหน้า  ใสแจ๋วทีเดียว  ใจก็หยุดนิ่งอยู่ตรงกลางดวงที่ใสนั้น  ตรงกลางดวงที่ใสนั่นแหละมี  ดวงศีล  พอเข้าไปถึงกลางดวงกำเนิดดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน  ก็เข้าถึงดวงศีล  ดวงเท่ากัน

                   หยุดอยู่กลางดวงศีลนั้น  กลางดวงกำเนิดดวงศีลนั้นมี  ดวงสมาธิ  ไปถึงถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงสมาธิ

                   หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ  นั่นแหละ  กลางของกลาง  กลางของกลาง  กลางของกลาง  หนักเข้าจะเข้าถึงดวงปัญญา  อยู่กลางดวงสมาธิ

                   หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั้น  พอถูกส่วนหนักเข้า  กางของกาง  กลางของกลาง  กางของกลาง  หนักเข้าเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ

               หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น  พอถูกส่วนเข้า  กลางของกลาง  กลางของกลาง  กลางของกลางหนักเข้าจะเข้าไปถึง  กายมนุษย์ละเอียด  พอเข้าไปถึงกายมนุษย์ละเอียดเท่านั้น   จะตกใจทีเดียวว่า  เจ้านี้ข้าไม่เคยเห็นเลย  เจ้าอยู่ที่นี่  เวลาเจ้าฝันออกไป  เวลาตื่นขึ้นมาก็ไม่เห็นเจ้า  ไม่รู้ว่าหายไปอยู่ที่ไหน  ข้าไม่รู้จักที่ของเจ้าว่าอยู่ทีไหน?  บัดนี้ข้ามาพบเจ้าเข้าแล้ว  อยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนี่เอง  กายมนุษย์ละเอียดที่ฝันออกไป

                 เมื่อพบเจ้าเวลานี้ก็ดีแล้ว  ไหนเจ้าลองฝันให้ข้าดูซิ  ฝันไปเมืองเพชรไปในเขาวัง  เอาเรื่องในเขาวังนั้นมาเล่าให้ฟังหน่อย  สักนาทีเดียวเท่านั้น  กายละเอียดฝันไปเอาเรื่องในเขาวังมาเล่าให้กายมนุษย์หยาบฟังแล้ว  และเจ้าลองฝันไปเอาเรื่องทางอรัญประเทศบ้าง  พระธาตุพนมบ้างมาเล่าให้ฟังบ้าง  สักนาทีเดียวเช่นกัน  กายมนุษย์ละเอียดก็ฝันไปเอาเรื่องพระธาตุพนมมาเล่าให้ฟังอีก  และไหนลองฝันไปเมืองเชียงใหม่  ไปเอาเรื่องดอยสุเทพมาเล่าให้ฟังอีก  ไปเมืองนครศรีธรรมราชฝันไปเอาเรื่องพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุมาเล่าให้ข้าฟังอีกเช่นกัน  นี่ฝันได้อย่างนี้  ฝันทั้ง  ๆ  ที่ตื่น  ๆ  ไม่ใช่ฝันหลับ  ๆ  ฝันอย่างนี้ประเดี๋ยวเดียวได้เรื่องหลายเรื่อง  ถ้าหลับฝันนานนักกว่าจะได้สักเรื่องหนึ่ง  หลายคืนจึงจะได้สักเรื่องหนึ่งบ้าง  บางทีไม่ฝันเสียเลย  บางทีก็ฝันบ่อยครั้งเอาแน่นอนไม่ได้  ให้รู้จักกายมนุษย์ละเอียดดังนี้  ถ้าเราเป็นเช่นนี้เราจะสนุกไม่น้อย  ถ้าเราเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด  เราก็จะฉลาดกว่าคนชั้นหนึ่ง  เพราะมนุษย์รู้เรื่องหยาบ  ๆ  เราเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียดเราจึงรู้เรื่องได้ละเอียดกว่า  เรื่องลี้ลับอะไรเรารู้หมด  เราไม่ตรวจดูได้หมดทีเดียว  ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืนไปตรวจดูได้  เอากายมนุษย์ละเอียดนี้ไปตรวจดู  ฝันไปเรื่อยตรวจดูทุก  ๆ  คน  ถ้าฝันตื่น  ๆ  ได้อย่างนี้ก็สนุกแน่  นี่ชั้นหนึ่งก่อน  นี่กายมนุษย์ละเอียด  ไม่ใช่พุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  ต้องเข้าไปอีก  ๙  กายจึงจะถึงกายพุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  นี่พึงรู้ว่า  กายมนุษย์ละเอียดอยู่ตรงกลางกายเราทีเดียวทีนี้เอาใจมนุษย์ละเอียด

                  หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด

                  ลึกเข้าไปอีก  กลางของกลางลึกเข้าไปอีก  พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน

                  หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงศีล

                  หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงศีลนั้น    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงสมาธิ

                  หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงสมาธิ    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงปัญญา

                  หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงปัญญา    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงวิมุตติ

                  หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงวิมุตติ    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ

                  หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  กายทิพย์  เลยกายมนุษย์ละเอียดไป  นี่คือ  กายฝันในฝัน  อีกกายหนึ่ง  ซึ่งละเอียดกว่ากายมนุษย์ละเอียดเรียกว่า  กายทิพย์


ใจกายทิพย์

     หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน
     หยุดอยู่กลาง  ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงศีล
     หยุดอยู่กลาง  ดวงศีล    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงสมาธิ
     หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงสมาธิ    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงปัญญา
     หยุดอยู่กลาง  ดวงปัญญา    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงวิมุตติ
     หยุดอยู่กลาง  ดวงวิมุตติ    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
     หยุดอยู่กลาง  ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  กายทิพย์ละเอียด  ต้องหยุดนิ่งทีเดียว  ไม่ไปทางอื่น  หยุดนิ่งที่เดียวเท่านั้น  หากเราไม่รู้จักฝันก็ไม่ถึง  คิดก็ไม่ถึง  คาดคะเนไม่ถูกกายทิพย์ละเอียดคือกายที่  ๔


ใจกายทิพย์ละเอียด

     หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด  หยุดนิ่งถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน
     หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงศีล
     หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงศีล    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงสมาธิ
     หยุดนิ่งอยู่กลาง  ดวงสมาธิ    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงปัญญา
     หยุดอยู่กลาง  ดวงปัญญา    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงวิมุตติ
     หยุดอยู่กลาง  ดวงวิมุตติ    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
     หยุดอยู่กลาง  ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  กายรูปพรหม  นี่หรือคือ  พระพุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  ไม่ใช่นี่เป็นกายรูปพรหม  กายที่  ๕


ใจกายรูปพรหม

     หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมถูกส่วนเข้าเห็น  ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน
     หยุดนิ่งอยู่กลาง   ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงศีล
     หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงศีล    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงสมาธิ
     หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงสมาธิ    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงปัญญา
     หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงปัญญา    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงวิมุตติ
     หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงวิมุตติ    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
     หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  กายรูปพรหมละเอียด  นี่กายที่  ๖  ยังไม่ใช่  พุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  เป็นกายในภพ  ยังเป็นกายในรูปภพอยู่


ใจกายรูปพรหมละเอียด

      หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาวงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียดถูกส่วนเข้าเห็น  ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน
      หยุดนิ่งอยู่กลาง   ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงศีล
      หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงศีล    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงสมาธิ
      หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงสมาธิ    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงปัญญา
      หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงปัญญา    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงวิมุตติ
      หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงวิมุตติ    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
      หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  กายอรูปพรหม  นี่ก็ยังไม่ใช่  พุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  เป็นเพียงกายอรูปพรหม  กายในอรูปภพเท่านั้น  กายที่  ๘


ใจกายอรูปพรหม

     หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม  ถูกส่วนเข้าเห็น  ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน
     หยุดนิ่งอยู่กลาง   ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงศีล
     หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงศีล    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงสมาธิ
     หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงสมาธิ    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงปัญญา
     หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงปัญญา    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงวิมุตติ
     หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงวิมุตติ    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
     หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ    ถูกส่วนเข้าก็ถึง  กายอรูปพรหมละเอียด  นี่ก็ยังไม่ใช่พุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะอีกเช่นกันเป็นกายอรูปพรหมละเอียด  เป็นกายที่  ๘  กายนี่ยังเป็นกายอยู่ในภพเหมือนกัน

                 กายมนุษย์  กายทิพย์  ๒  กายนี้อยู่  ๗  ชั้นคือ  มนุษย์ชั้นหนึ่ง  สวรรค์  ๖  ชั้น  เป็น  ๗  ชั้นด้วยกัน  กายมนุษย์  กายมนุษย์ละเอียด  กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด  ๔  กายนี้อยู่ในภามภพ  อีก  ๒  กายคือ  กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด  อยู่ในรูปภพ  ๑๖  ชั้นสูงขึ้นไปกว่ากามภพ  กายอรูปพรหมและกายอรูปพรหมละเอียดอยู่สูงกว่ารูปภพอีก  ๔  ชั้นคือ  อากาสานัญจายตนะ  วิญญานัญจายตนะ  อากิญจัญญายตนะ  เนวสัญญานา  สัญญายตนะ  นี่กายอรูปพรหมละเอียดอยู่ในชั้นนี้


ใจกายอรูปพรหมละเอียด
     หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด  ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน
     หยุดนิ่งอยู่กลาง   ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงศีล
     หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงศีล    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงสมาธิ
     หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงสมาธิ    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงปัญญา
     หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงปัญญา    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงวิมุตติ
     หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงวิมุตติ    ถูกส่วนเข้าก็เห็น  ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
     หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ    ถูกส่วนเข้าเท่านั้น  ก็เห็น  กายธรรม  รูปเหมือนพระปฏิมากรเกตุดอกบัวตูม  ใสเหมือนกระจกคันฉ่องส่องดูเงาหน้างดงามจริง  ๆ  หน้าตักไม่ถึง  ๕  วา  หย่อนกว่า  ๕  วา  ถ้ามีบารมีแรงกล้าแล้วเกือบถึง  ๕  วาทีเดียวนี่เรียกว่า  กายธรรมเป็นโคตรรอสูต  ไม่เป็นพระโสดา  พระสกทาคา  พระอนาคา  พระหรหัต  เป็นโคตรภูบุคคล  เป็นกายธรรมเท่านั้น  กายธรรมนี่แหละคือพุทธรัตนะเป็นกายที่  ๘

               กายที่  ๙  นี้  คือพุทธรัตนะนี้  ที่เราไหว้บูชาอยู่ทุกวันนี้  รูปมีเกตุตูมบ้าง  เรียบบ้าง  แหลมบาง  มีเกตุอย่างนี้  ไม่ใช่เหมือนคนอย่างนี้  คนเราไม่มีอย่างนั้น  พระสิทธัตถราชกุมารก็ไม่มีอย่างนี้  เมือนมนุษย์เรานี่เองพระสิทธัตถราชกุมาร  เมื่อครั้งโกมารภัจจ์แนะนำให้พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จไปในสำนักของพระบรมศาสดาครั้งนั้นพระองค์พร้อมถ้วยพระสงฆ์  ๕๐๐  รูป  อยู่ในอัมพติกาวาส  สวนมะม่วงของหมอ  โกมารภัจจ์  เวลาค่ำของวันกลางเดือนที่แสงดวงจันทร์สว่าง  ถือประทีปเสด็จไปด้วยพลช้างพลม้าครึกครื้นมากมาย  ครั้งไปถึงก็ลงจากหลังพระราชพาหนะ  เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา  พระเจ้าอชาตศัตรูได้เสด็จเข้าไปใกล้พระบรมศาสดาแสงก็สว่างไปรอบ  จึงได้ถามโกมารภัจจ์ว่า  พระศาสดาองค์ไหน?  ถ้าหากพระศาสดามีเกตุแหลม  ๆ  ตูม  ๆ  อย่างนี้  พระเจ้าอชาตศัตรูพระองค์เป็นกษัตริย์จะต้องไปถามโกมารภัจจ์ทำไม  นี่พระองค์ไม่รู้จักเหมือนกัน  พระองค์จึงได้ตรัสถามอย่างนั้น  โกมารภัจจ์กราบทูลว่า  พระพุทธเจ้าค่ะ  ผู้ประทับนั่งพิงเสากลางฝืนพระหักตร์ไปทางบูราพาทิศ  พระปฤษฎางค์จดอยู่ที่เสากลางนั้น  พระองค์นั้นแหละคือพระบรมศาสดาพระเจ้าอชาตศัตรูก็ทรงหมอบเข้าไปเฝ้าใกล้พระบรมศาสดา  พระเสโทไหลเต็มพระพักตร์และทั่วประวรกาย  ตรัสอะไรมิออก  ทรงสะหกสะท้านต่อพระบรมศาสดาเพราะพระองค์ได้กระทำปิตะฆาตฆ่าบิดา  คือพระเจ้าพิมพ์สารผู้เป็นบิดาของพระองค์เองไว้  พระองค์ไม่สบายพระทัย  ถ้าหากพระองค์ไม่ทรงทักทายปราศรัยก่อนแล้วพระเจ้าอชาตศัตรูผู้กำลังพระหฤทัยจะแตกทีเดียว พระองค์จึงทรงทักทายปราศรัย  กระทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูทรงสบายพระหฤทัยขึ้นแล้ว  พระองค์ทรงรับสั่งกับพระเจ้าอชาตศัตรูด้วยประการต่าง  ๆ  พระเจ้าอชาตศัตรูจะประสงค์อย่างไรก็ทรงตรัสอย่างนั้น  พระเจ้าอชาตศัตรูจะทรงถามอย่างไร  พระองค์ก็ทรงแก้ไขด้วยความถี่ถ้วนทุกประการ

                ที่พระเจ้าอชาตศัตรูไปเฝ้าพระบรมศาสดาก็เพื่อให้ทรงรู้จัก  เพราะพระพุทธเจ้าก็เหมือนกับพระสงฆ์ธรรมดาสามัญทั้งหลาย  พระสิทธัตถราชกุมาร  กายมนุษย์เป็นบุตรของพระเจ้าสุทไธทนะ  พระนางมายารูปพรรณสัณฐานก็เป็นมนุษย์ธรรมดาอย่างเรานี้เอง  มีพระกัจจายนะองค์เดียวนั้น  ที่มีรูปร่างเหมือนพระพุทธเจ้า  พระอานนท์ก็คล้ายคลึง  เพราะเป็นพระอนุชา  ผู้ที่เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า  เข้าไปหาพระกัจจายนะนั้นเสียก็มี  เข้าไปหาพรานนท์เสียก็มีมิใช่น้อย  ดังนั้นพระกัจจายนะจึงได้นิมิตกายของท่านให้เป็นคนท้องโตมีพุงพลุ้ยเสียด้วยฤทธิ์พระอรหัต  เพื่อให้แปลกไปจากพระบรมศาสดา  คนที่ไปเฝ้าพระบรมศาสดาจะได้จำไม่ผิด  พระมหากัจจายนะนี้มีบารมีมากเลยปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเหมือนกัน  แต่ว่าแล้วไม่ได้ทันตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า  ได้เป็นพระอรหันต์เสียก่อนในศาสนาของพระโคดมบรมครูนี้

                 กายมนุษย์จะเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ จะเป็นพระพุทธเจ้าได้ต้องเป็นธรรมกาย ธรรมกายเท่านั้นเป็นพระพุทธเจ้าได้  พระองค์ทรงรับสั่งด้วยพระองค์เองว่า  ธมฺมกาโย  อหํ  อิติปิ  เราตถาคตคือธรรมกาย  ธรรมกายนั้นเป็นพระพุทธเจ้า  เป็นพระตถาคตแท้  ๆ  ไม่ใช่อื่น

                อีกนัยหนึ่งในพระสุดดันตปิฎกแท้  ๆ  วางตำราไว้ว่า  เอตํ  โข  วาเสฎฐา  ธมฺมกาโยติ  ตถาคตสฺส  อธิวจนํ  ดูก่อนวาเสฎฐโคตรทั้งหลาย  คำว่าธรรมกาย  ธรรมกายนั้นเป็นตถาคตโดยแท้  ทรงรับสั่งอย่างนี้  ธรรมกายนั้นเอง  คือพระตถาคตเจ้า  ธรรมกายนั่นเองคือพุทธรัตนะ  เป็นกายที่  ๙  ของมนุษย์นี้  กายที่  ๙  ของมนุษย์นี้เป็น  พุทธรัตนะ  แล้ว

                ดวงธรรมรัตนะก็อยู่ศูนย์กลางกายพุทธรัตนะนั้น  สะดือทะลุหลังขวาทะลุซ้าย  กลางกั๊กทีเดียว  ข้างในวัดฝาเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย  กลมรอบตัว  ใสเกินกว่าใส  ใสเป็นแก้ว  จึงได้ชื่อว่าธรรมรัตนะ  ธรรมเป็นแก้วหรือแก้วธรรม  ดวงนั้นคือธรรมรัตนะ  ธรรมกายละเอียด  อยู่ในกลางดวงธรรมรัตนะนั้น  เหมือนพุทธรัตนะแบบเดียวกัน  แต่ว่าหน้าตัก  ๕  วา  สูง  ๕ วา  ใสหนักขึ้นไปอีกนั่นเรียกว่า  สังฆรัตนะ  รัตนะทั้ง  ๓  คือ  พุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  นี้คือ  พระพุทธศาสนาที่เรานับถือกราบไหว้บูชาอยู่  พุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  เป็นกายที่  ๑๐  เป็นกายนอกภพ  ออกจากภพไป

                  นอกจากนั้น  กายพุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  ทั้ง  ๓  นี้มีชั้น  โคตรภู  เข้าไปถึงพระโสดาอีกหน้าตัก  ๕  วา  สูง  ๕ วา  เกตุดอกบัวตูม

                ธรรมกายสังฆรัตนะในพระโสดาละเอียดนั้น  หน้าตัก  ๑๐ วา  สูง  ๑๐ วา  เกตุดอกบัวตูมก็มีพุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  เหมือนกัน

                ในกายพระสกทาคา  หน้าตัก  ๑๐  วา  ในกายพระสกทาคาละเอียด  หน้าตัก  ๑๕  วา  ก็มีพุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  เช่นเดียวกัน

                 ในกายพระนาดา  หน้าตัก  ๑๕ วา  กายพระอนาคาละเอียด  หน้าตัก  ๒๐  วา  มีพุทธรัตนะ  ธรรมรัตน  สังฆรัตนะ  แบบเดียวกัน

                 ในกายพระอรหัต  หน้าตัก  ๒๐ วา  กายพระอรหัตละเอียด  หน้าตัก  ๒๐ วา  มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเหมือนกัน  วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง  ๒๐  วา  กลมรอบตัว  ก็มีพุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  แบบเดียวกัน

                 เราเป็นพุทธศาสนิกชน  เริ่มต้นเราต้องรู้จักพุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  เหล่านี้ไว้ให้มั่นในขันธสันดาน  ถ้ารู้จักพุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  เหล่านี้ไว้แน่นอนแก่ใจแล้ว  ต่อจากนั้นเราถึงกระทำกิจอื่นต่อไป

                 เจ้าภาพผู้บริจาคทานวันนี้  ได้ชื่อว่าเป็นวัตรกิริยาของพุทธศาสนิกทั้งหลายคือ  ตามรักษาพระพุทธศาสนาไว้  ให้มั่นคงถาวรสืบไปเพราะเจ้าภาพได้บริจาคทานครั้งนี้  ด้วยกำลังทรัพย์ของตนที่อุตส่าห์เก็บรักษาไว้ด้วยกำลังกาย  กำลังวาจา  และกำลังใจ  จนสุดความสามารถของตน  ซ่อนเร้นด้วยความยากลำบากถึงจะอาบเหงื่อต่างน้ำ  เหงื่อไหลไคลย้อย  กว่าจะหาทรัพย์ได้มาบริจาคเท่าวันนี้  ก็ยอมกระทำเพราะความเคารพเลื่อมใสต่อพระพุทธศาสนา  พระพุทธศาสนาทั่วประเทศไทยหมดทั้งสากลพุทธศาสนา  ถ้าแม้แต่คนเดียวก็ไม่บริจาคทาน  ทุกคนปิดประตูบ้านประตูเรือนและปิดหม้อข้าวเสีย  ไม่บริจาคกันเลย  เพียงเดือนเดียวเท่านั้น พระเถรานุเถระจะประสงค์หาสักองค์หนึ่งก็แสนยาก  หาไม่พบกันเลย  เพราะทุกองค์ต้องสึกหมดอยู่ไม่ได้  ข้าวปลาอาหารไม่มีฉัน  พระภิกษุสามเณรจะอยู่ได้ก็เพราะอาหาร  เป็นปัจจัยสำคัญยิ่ง

                 เจ้าภาพผู้ถวายทานครั้งนี้ได้ชื่อว่า  เป็นศาสนูปถัมภ์  ได้ชื่อว่าเป็นกำลังของพระพุทธศาสนา  ได้ชื่อว่าทำพระศาสนาของพระศาสดาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป  เพราะตลอดวันตลอดคืนนี้พระภิกษุสามเณรฉันอาหารอิ่มเดียวนี้เท่านั้นมีอายุยืนไปได้  ๗  วัน  วรรณะผิวพรรณร่างกายก็เป็นไปได้  ๗  วัน  ความสุขเป็นไปได้  ๗  วันกำลังเป็นไปได้  ๗  วัน  และความเฉลียวฉลาดก็เป็นไปได้  ๗  วัน  ด้วยอำนาจข้าวอิ่นเดียวนี้  ทานของเจ้าภาพผู้ได้บริจาคแก่พระภิกษุสามเณรอุบาสกและอุบาสิกาครั้งนี้  ไม่ใช่เป็นทานธรรมดา  เป็นทานอันเลิศประเสริฐยิ่งเพราะได้ถวายทานถูกทักชิไณยบุคคลนั่นเอง  ทักชิไณยบุคคลไม่ใช่มีน้อย  ๆ  ในวัดปากน้ำนี้มีกว่า  ๑๕๐ คน  ทักขิไณยบุคคล  ๑๕๐ กว่านี้มีธรรมกาย

                   ทักขิไณยบุคคลนั้นมี  ๙  จำพวกคือ
                   พระอรหัตตผลจำพวกที่  ๑    เป็นทักขิไณยบุคคลชั้นสูงสุด    
                   พระอรหัตตมรรค    เป็นทักขิไณยบุคคลจำพวกที่ ๒  รองลำดับลงมา
                   พระอนาคามิผล    เป็นทักขิไณยบุคคลจำพวกที่ ๓
                   พระอนาคามิมรรค    เป็นทักขิไณยบุคคลจำพวกที่ ๔
                   พระสกทาคามิผล    เป็นทักขิไณยบุคคลจำพวกที่ ๕
                   พระสกทาคามิมรรค    เป็นทักขไณยบุคคลจำพวกที่ ๖
                   พระโสดาปัตติผล    เป็นทักขไณยบุคคลจำนวนที่ ๗
                   พระโสดาปัตติมรรค    เป็นทักขิไณยบุคคลจำพวกที่ ๘
                   โคตรภูบุคคล    เป็นทักขิไณยบุคคลจำพวกที่ ๙

                ทักขิไณยบุคคล  ๙  จำพวกนี้เป็นพระอริยบุคคล  ผู้ใดได้บริจาคทานถวายแก่พระอริยบุคคลนี้แล้วบุญกุศลย่อมยิ่งใหญ่ไพศาลเหลือจะนับจะประมาณ  เพราะพระอริยบุคคลผู้ควรซึ่งทานสมบัติเป็นเครื่องเจริญผลมี ๙  จำพวกดังกล่าวแล้วนั้น

              วันนี้ท่านเจ้าภาพได้บริจาคทาน  ถูกทักขิไณยบุคคลผู้มีธรรมดายมากด้วยกัน  บุญกุศลจึงยิ่งใหญ่ไพศาลไหลมาสู่สันดานของเจ้าภาพ  ติดอยู่ท่ามกลางศูนย์กลางที่ทำให้เป็นกายมนุษย์  ใสบริสุทธิ์เท่าพ่อไข่แดงของไก่อยู่ในกลางดวงนั้น  กลางดวงกายมนุษย์ก็ติดกัน-กลางดวงกายมนุษย์ละเอียดก็ติดกันอีกดวงหนึ่ง  เป็นบุญอีกดวงหนึ่ง  กลางดวงกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียดก็ติดกันทั้งนั้น  กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียดก็ติดกัน  กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียดก็ติดกัน  กายธรรม-กายธรรมละเอียดติดกัน  กายโสดา-กายโสดาละเอียดก็ติดอีกเหมือนกัน  กายสกทาคา-กายสกทาคาละเอียดก็ติดกัน  กายนาคา-กายนาคาละเอียดก็ติดกัน  กายพระอรหัต-กายพระอรหัตละเอียดก็ติดกันอีก  นับอสงไขยกายไม่ถ้วน  บุญบริจาคเพียงครั้งเดียวนี้  ติดเป็นดวง  ๆ  ไปขนาด  ๑,๐๐๐ วา  พระนิพพาน  เมื่อเจ้าภาพได้ถวายทานขาดจากใจเป็นสิทธิ์ของผู้รับ  ผู้รับจะใช้อย่างไรก็ใช้ได้  เพราะเป็นสิทธิ์ของตนแล้วขณะใดขณะนั้น  ปุญฺญาภิสนฺธา  บุญไหลมาติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ของเจ้าภาพ  ใสบริสุทธิ์ปราศจากมลทินทีเดียวเหมือนสวิตส์ไฟฟ้าวูบเดียว  ไฟก็ติดฉะนั้น

             ถ้าบุคคลทำบุญได้อย่างนี้แล้ว  ให้เอาใจไปจดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์  สะดือทะลุหลัง  ขวาทะลุซ้าย  กลางกั๊กนั้น  ให้เอาใจจดให้ถูกต้องตรงกลางดวงนั้น  เมื่อต้องทุกข์ภัยอย่างหนึ่งอย่างใด  ให้ระลึกนึกถึงดวงบุญที่ตนได้กระทำไว้  อย่าไประลึกนึกถึงสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ดวงบุญของตน

               พระสิทธัตถราชกุมาร  เมื่อครั้งทรงกระทำทุกรกิริยาใกล้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  พญามารู้ก็ลุกขึ้นผจญพระพุทธเจ้าที่ได้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์  พระองค์ทรงมองดูหมู่เทวดาที่ตามพิทักษ์รักษา  เพราะแต่ก่อนพระปัญจวัคคีย์คอยเฝ้าพิทักษ์รักษาพระองค์อยู่  แต่ได้ละพระองค์ไปเสียแล้ว  เหลือแต่หมู่เทวดาผู้ยังตามพิทักษ์รักษาเท่านั้น  ทรงดูเทวดาไปพบอยู่ที่ขอบจักรวาลโน้น  เพราะเกรงกลัวพญามาร  เหลือพระองค์แต่ผู้เดียวในขณะนี้  พระองค์จึงทรงระลึกนึกถึงแต่ในพระทัยว่าเราได้สร้างบารมีมาก็นับชาตินับภพไม่ถ้วนขอเอาบารมีเหล่านั้นต่อสู้ผจญกับพญามารนี้  จึงได้ทรงเปล่งอุทานว่า  อธิโภนฺโต  ทานสีลเนกฺขมฺมปญฺญาวิริยขนฺติสจฺจอธิฎฺฐานเมตฺตาอุเปกฺขาอุทานนฺติ  ทรงรับสั่งดังนี้พอขาดพระโอษฐ์เท่านั้น  นางพระธรณีก็ผุดขึ้นมากล่าวกับพระองค์ว่า  ขอพระองค์อย่ากรั่นพรึกต่อพญามาร  อย่าหวาดหวั่นครั่นคร้ามต่อพญามารเลย  ศึกพญามารครั้งนี้  หม่อมฉันขอปราบเอง  ปราบด้วยบารมีของพระองคี่ได้สร้างสมอบรมไว้  ได้หลั่งอุทกวารีให้ตกลงเหนือพื้นปฐพี  หม่อมฉันได้รอบรับไว้ด้วยมวยเกศ  จะได้หายไปแห่งหนึ่งแห่งใดก็หาไม่  ทุกหยดหยาดคงอยู่ในมวยเกศของหม่อมฉันนี้  นี้แหละจะเป็นเครื่องมือปราบพญามาร  ในครั้งนี้  ครั้นนางพระธรณีกล่าวบังคมทูลพระสิทธัตถราชกุมารดังนั้นแล้วน้ำในมวยผมปราดเดียว  กลายเป็นทะเลท่วมทับพญามารให้อันตรธานไป  คัสตราวุธกลายเป็นธูปเทียนบูชาพระบรมศาสดาไป  ได้ปรากฏอัศจรรย์  ดังนี้

                เมื่อเราบริจาคทานและตามระลึกถึงบุญอย่างนี้แล้ว   ภัยอันตรายอย่างหนึ่งอย่างใดทำอะไรไม่ได้  จะประกอบกิจการงานอย่างใด  ก็เกิดลาภ  และสักการะยิ่งใหญ่ไพศาล  ก็เพราะนึกถึงบุญนั้น  บุญย่อมนำผลสมบัติมาให้ในปัจจุบันนี้เทียว

                  ท่านยืนยันรับรองไว้ในพระบาลีว่า  การให้โภชนาหารอิ่มเดียว  ได้ชื่อว่า  ให้ฐานะ  ๕  ประการแก่ปฏิคาหก

    ปตมานิ  ปญฺจฐานานิ    ฐานะ  ๕  ประการเป็นไฉน?
    วายุ  เทติ    ชื่อว่าให้อายุประการหนึ่ง  คือให้อายุแก่ปฏิคาหกผู้รับทาน
    ปณฺณํ  เทติ    ชื่อว่าให้วรรณะความสวยงามความสดชื่นแห่งร่างกายประการหนึ่ง
    สุขํ  เทติ    ชื่อว่าให้ความสุขจแก่ปฏิคาหกประการหนึ่ง
    พลํ  เทติ    ชื่อว่าให้กำลังกาย  กำลังวาจา  กำลังใจ  แก่ปฏิคาหก  ประการหนึ่ง
    ปฏิภาณํ  เทติ    ชื่อว่าให้ความเฉลียวฉลดาแก่ปฏิคาหกประการหนึ่ง

ทั้ง  ๕  ประการนี้  มีบาลีรับรองในตอนท้ายอีกว่า
    วายุ โข  ทตฺวา  อายุสฺส  ภาคี  โหติ    ผู้ให้อายุย่อมมีอายุเป็นส่วนตอบสนอง
    วณฺณํ  ทตฺวา  วณฺณสฺส  ภาคี  โหติ    ผู้ให้วรรณย่อมมีวรรณะเป็นส่วนตอบแทน
    สุขํ  ทตฺวา  สุขสฺส  ภาคี  โหติ    ผู้ให้ความสุข  ย่อมมีความสุขเป็นส่วนตอบแทน
    พลํ  ทตฺวา  พลสฺส  ภาคี  โหติ    ผู้ให้กำลังย่อมมีกำลังเป็นส่วนตอบแทน
    วาณํ  ทตฺวา  ปฏิภาณสฺส  ภาคี  โหติ    ผู้ให้ความเฉลียวฉลาดย่อมีความเฉลียวฉลาดเป็นส่วนตอบแทน

               คุณสมบัติ  ๕  ประการคือ  อายุ  วรรณ  สุข  พละ  ปฏิภาณ  เป็นที่ปรารถนาของมหาชนหมดทั่วสากลโลกเพราะอายุใคร  ๆ  ก็ปรารถนาอยากจะให้มีอายุยืนอยู่ชั่วกาลนาน  วรรณผิวพรรณผ่องใสสดชื่น  ก็เป็นที่ดึงดูดนัยนาของหมู่สัตว์โลกให้มารวมอยู่ที่ผิวพรรณเหมือนกัน  ใคร ๆ ก็ปรารถนาอยากได้เช่นกัน  ความสุขกายสบายใจในอิริยาบถทั้ง  ๔  คือ  ยืน  เดิน  นั่ง  นอน  ทุกทิวาราตรีก็เป็นที่ปรารถนาอยากได้ของชนทุกถ้วนหน้า  ความเจริญด้วยกำลังกาย  กำลังวาจา  และกำลังใจ  สามารถในกิจการงานทุกสิ่งทุกอย่างตามหน้าที่ของตน  ก็เป็นที่ปรารถนาของคนทุก  ๆ  คน  ปฏิภาณความเฉลียวฉลาดในกิจการทั้งปวงใคร  ๆ  ก็ต้องการปรารถนา  แต่ถ้าไม่ได้ทำไว้แล้วต้องไม่ได้คุณสมบัติทั้ง  ๕  ประการนี้  ทุกคนต้องทำด้วยตนของตนเอง  จึงจะประสบและได้สมบัติเหล่านี้

                 คุณสมบัติ  ๕  ประการนี้  ถ้าสำเร็จด้วยผลทานการให้  ดังแสดงไว้ในทักขิณาวิภังคสูตร  แก้ถึงทานการให้เป็นปฏิปุคคลิกทาน  ซึ่งไม่ใช่สังฆทาน  เจ้าภาพผู้ถวายให้เป็นสังฆทานวันนี้

               ในปฏิปุคคลิกทานแสดงหลักไว้ว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ให้ท่านแก่สัตว์เดรัจฉานเพียงอิ่มเดียว  สมบัติบริบูรณ์ด้วย  อายุ  วรรณะ  สุขะ  พละ  ปฏิภาณะ  คอยตามสนองไปทุกภพทุกชาติไม่ได้ขาดสาย

                ถ้าให้แก่คนเลวทรามมนุษย์  พรานเบ็ดหรือพรานแห   ผู้มีมือซุ่มไปด้วยโลหิตใจอำมหิตบาปหยาบช้าให้อาหารเพียงอิ่มเดียว  เจ้าของทานผู้ให้อาหารแก่คนเช่นนั้นย่อมได้รับอานิสงส์คือ  อายุ  วรรณะ  สุขะ  พละ  ปฏภาณะ  ตามสนองไปทุกภพทุกชาติยิ่งใหญ่ไพศาลกว่าให้แก่พวกสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย  ในภพในชาติเหล่านั้น  ย่อมไม่ประสบความตายในปฐมวัยเสียก่อน  จะมีอายุไขยอยู่จนแก่เฒ่าตามวิบากสมบัติของตน นี่เรียกว่า  อายุ  ความมีผิวพรรณไม่แก่เฒ่าชรา  ยิ่งแก่เฒ่า  ยิ่งสวยงาม  หน้าตาไม่แก่น่าเกลียดเทอะทะ  ไม่แก่แบบเป็นที่อิดหนาระอาใจของบุตรหลาย  เป็นคนแก่แต่ใคร  ๆ  ก็อยากเข้าใกล้  ใคร ๆ  ก็ปรารถนาอยากพูดด้วย  ใคร  ๆ  ก็อยากลูบเนื้อคลำตัว  คนแก่เฒ่าชราสวยงามแบบนี้เรียกว่า  วรรณะ  ความสุขกายสบายใจในอิริยาบถทั้ง  ๔  คือ  ยืน  เดิน  นั่ง  นอน  ทุกทิวาราตรี  ไม่มีทุกข์ภัยเขจ้ามาเบียดเบียน  นี่เรียกว่า  สุขะ  ความมีกำลังกาย  กำลังวาจา  กำลังใจ  ตลอดอายุไขยเช่นเดียวกันนี่เรียกว่า พละ  ความมีปรีชาเฉลียวฉลดาเด็กเล็ก  ๆ  หนุ่ม  ๆ  สาว  ๆ  มีความเฉลียวฉลดาปานใด  เราแก่เฒ่าก็มีความเฉลียวฉลาดมากขึ้นไม่ถอยหลังลงมา  นี้ได้ชื่อว่า  ปฏิภาณะ

               หากสามารถให้ทานยิ่งขึ้นไปกว่านี้  คือ  ให้แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในศีล  เพียงอิ่มเดียวเท่านั้น  ไม่ต้องมากกว่านั้น  ได้บุญอานิสงส์มากมายยิ่งนัก  ก็หรือให้แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโคศีลธาตุ  บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโคศีลธาตุคือผู้มีศีลเหมือนโคเหมือนกระบือ  วัวควายเมื่อเจ้าของเปิดคอกออกจากคอกของมันแล้ว  มันก็ไปตามทางของมัน  พอถึงที่ทำเลเหมาะมีหญ้า  มันก็กินหญ้านั้นจนอิ่ม  แล้วมันก็เดินกลับมาคอกของมัน  มันเดินไปเดินมาตรงทางไม่เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา  ไม่มีเล่ห์เหลี่ยมมายาสาไถยอย่างหนึ่งอย่าใดนั่นเขาเรียกว่า  โคกระบือมีศีลเป็นเช่นนั้น  เด็ก  ๆ  ไม่รู้เดียงสาบาปกรรมชั่วร้ายมิได้กระทำ  นี่ก็มีศีลเป็นโคศีลธาตุเช่นกัน  โคศีลธาตุนั้นวางก้ามไม่เอาเดียงสาต่อทางโลก  จึงมีศีลอยู่

                ทีนี้  คนแก่วางก้ามนั้น  แก่อย่างไร?  คือไม่เดียงสาต่อเหตุการณ์ทางโลก  คนอยู่ทางโลกเขามีความต้องการอะไร  คนแก่วางก้ามไม่รู้เข้าใจและเดียงสาในสิ่งเหล่านั้น  มุ่งแต่จะกระทำความดีอย่างเดียว  คนอย่างนี้หายากนักเพราะคนแก่ที่ยังไม่วางก้ามนั้น  ถึงจะเป่าเถ้าไม่ฟุ้ง  ก็ยังยุ่งอยู่เสมอ  คนแก่อย่างนี้ไม่ใช่เรียกว่าแก่วางก้าม  คนแก่แล้ววางก้ามนั้นไม่ยุ่งอะไร  เหมือนอย่างเด็ก  ๆ  ไม่เดียงสาต่อสิ่งอะไรฉะนั้นนี่เรียกว่า  แก่แล้ววางก้าม  คนแก่วางก้ามนี้ได้ชื่อว่า  โคศีลธาตุ  ด้วยสามารถวางศรัทธาเลื่อมใส  ให้อาหารแก่เด็ก  ๆ  ชนิดนี้ให้อาหารแก่คนแก่ชนิดนั้น  อิ่มเดียวเท่านั้นได้ผลานิสงส์มากมายเหลือจะประมาณ  ย่อมถึงพร้อมด้วยอายุวรรณะ  สุขะ  พละ  ปฏิภาณะ  ทุกภพทุกชาติ  ตลอดแสนโกฎิชาติติด  ๆ  กันไม่คลาดเคลื่อน

                 ถ้าให้ทานแก่ผู้ที่ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์  สูงยิ่งขึ้นไปกว่านี้  บุคคลผู้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์นั้น  คือ  ผู้ตั้งมั่นอยู่ในพระพุทธ  พระธรรม  และพระสงฆ์  คนที่เห็นพุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  คนที่เป็นพุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  คนที่ถึงพุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  และคนที่ได้พุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  อยู่ในตัวแจ่มเสมอนั่นเรียกว่า  บุคคลผู้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์  บุคคลชนิดนั้นย่อมไม่กระทำบาปกรรม  เพราะกลัวบาปกรรมเป็นที่สุด

               บุคคลผู้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์เช่นนี้  เราให้อาหารอิ่มเดียวเท่านั้นบุญอานิสงส์คือ  อายุ  วรรณะ  สุขะ  พละ  ปฏภาณะ  ย่อมตามสนองมากยิ่งขึ้นไปเป็นทวีคูณตลอดทุกภพทุกชาติเทียว  อสงฺขขํ  อปฺปมาณํ  นับชาติไม่ถ้วน

                    ถ้าให้ทานแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์มีศีล  ๕  เป็น  อสงฺขขํ  อปฺปมาณํ  สูงขึ้นไป  

                    ให้ทานแก่ผู้มีศีล  ๘  เป็น  อสงฺขขํ  อปฺปมาณํ  สูงหนักขึ้นไป  

                    แก่ผู้มีศีล  ๑๐  คือสามเณรเป็น  อสงฺขขํ  อปฺปมาณํ  สูงหนักขึ้นไป

                ถ้ามีศีล  ๑๐  คือ  สามเณรเป็น  อสงฺขขํ  อปฺปมาณํ  สูงหนักขึ้นไปอีกถ้าให้แก่ผู้ตั้งอยู่ในโคตรภูบุคคล  ให้ทานแก่ผู้ตั้งอยู่ในพระโสดาบัน  โสดาปัตติมรรค  มีอานิสงค์เป็น  อสงฺขขํ  อปฺปมาณํ  หนักขึ้นไปถวายทานแก่ท่านผู้เป็นพระโสดาปัตติผล  ก็เป็น  อสงฺขขํ  อปฺปมาณํ  สูงขึ้นไปถวายท่านแก่พระสกทาคามิมรรค-สกทาคามิผล  พระอนาคามิมรรค-พระอนาคามิผล  พระอรหัตมรรค-และพรอรหัตผล  ก็เป็น  อสงฺขยํ  อปฺปมาณํ  สูงหนักขึ้นไปเป็นลำดับ 

               แต่ถ้าถวายทานแก่พระพุทธเจ้า  ก็มีอานิสงส์มากหนักขึ้นไปเป็นพอเศษ  นี่ทานใน  ทักขิณาวิภังคสูตร  แสดงหลักไว้ดังนี้

                วันนี้ท่านเจ้าภาพได้บริจาคทาน  ถูกทักขิไณยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์มีธรรมกาย  ๑๕๐  เศษ  ในวัดปากน้ำนี้  เจ้าภาพย่อมได้บุญกุศลใหญ่มหาศาล  ส่วนบุคคลที่น้อมนำปัจจัยไทยธรรมมาช่วยมากบ้างน้อยบ้างก็ตาม  ก็ได้บุญกุศลยิ่งใหญ่ไพศาลเช่นเดียวกัน  เจ้าภาพได้ให้โภชนาหารอย่างเดียวก็หาไม่  ยังให้เสียงอีกคือให้เสียงอังกะลุง  รูป  เสียง  กลิ่น  รสโผฎฐัพพะ  ๕  อย่างนี้ที่เขชาติสดกันอยู่ทั่วทั้งโลกคือ  ติดด้วยรูบ้างด้วยเสียงบ้าง  ด้วยกลิ่นบ้าง  ด้วยรสบ้าง  ด้วยสัมผัสบ้าง  หลบหลีกไม่พ้น  ติดอยู่ในสภาวธรรมเหล่านี้กันอย่างยากที่จะถอนได้  สำหรับผู้ที่ติดอยู่ในเสียง  เราให้เสียงอันไพเราะนี้เป็นทาน  ก็ย่อมเป็นที่ชอบใจ  พระภิกษุสามเณรซึ่งกำลังขบฉันอาหาร  เมื่อได้ฟังเสียงอังกะลุงที่เจ้าภาพให้เป็นทาน  ก็ขบฉันอาหารได้มากขึ้น  เพราะเพลิดเพลินในเสียงอังกะลุงนั้นไปด้วย  ฉันอาหารไปด้วย  เสียงที่ให้เป็นทานนั้นจะเป็นผลแก่เจ้าภาพอย่างไรประโยชน์ที่จะได้รับก็คือเมื่อเจ้าภาพไปเกิดในชาติใดภพใด  ย่อมได้ประสบบุญกุศลที่ตนได้สั่งสมอบรมในวันจะไปเป็นอะไรก็ช่างเถิด  เครื่องประโคมเครื่องบรรเลงเป็นไม่ขาดสาย  มีติดตัวอยู่เสมอไม่ว่าจะไปเกิดในชาติใด  ตระกูลใด  เหมือนพระสวสีให้เสียงอย่างนี้เป็นทาน  ท่านเป็นผู้มีเครื่องดนตรีตามประโคมเสมอ  ผู้ที่มีเครื่องดนตรีตามประโคมนี้ต้องเป็นคนชั้นสูง  คนชั้นต่ำ  ๆ  ไม่มีเครื่องดนตรีตามประโคมไปเลย  จะต้องเป็นคนชั้นสูงเป็นกษัตริย์  เสนาบดี  เศรษฐี  ธนบดี  จึงจะมีเครื่องดนตรีบรรเลงตามประโคมอยู่เสมอ

                เพราะเหตุนี้  บุญกุศลของบุคคลนั้น  ย่อมแตกต่างกันไปหาเหมือนกันไม่  สุดแต่บุญทานที่ตนกระทำไว้ในอดีตชาติ  และท่านได้จัดหลักแห่งทานไว้คือ  ในพระสูตร  ๑๐  ในพระวินัย  ๔  ในพระปรมัตถ์  ๖

    ท่านในพระสูตร  ๑๐  คือ
    อณฺณํ    ให้ข้าว
    ปานํ    ให้น้ำ
    วตฺถํ    ให้ผ่าผ่อนท่อนละไบ
    ยานํ    ให้อุปกรณืแก่การไปมา
    มาลา    ให้ระเบียบดอกไม้
    คนฺธํ    ให้ของหอม
    วิเลปนํ    ให้เครื่องลูบไล้ละลายทากระแจะจันทน์
    ธารณํ    ให้เครื่องประดับทัดทรงตบแต่ง
    เสยฺยา  ว  สตฺถํ    ให้อาสนะที่นั่งที่นอนที่พักพาอาศัย
    ปทึเปยฺยํ    ตามประทีปไว้ในที่มืด
    ทานในพระวินัย  ๔  คือ
    ให้จีวรเครื่องสำหรับนุ่งห่ม    แก่พระภิกษุสามเณรประการหนึ่ง
    ถวายอาหารบิณฑบาต    แด่พระภิกษุสามเณรประการหนึ่ง
    ถวายเสนาสนะสำหรับพักอาศัย    แก่พระภิกษุสามเณรประการหนึ่ง  และ
    ถวายศิลานเภสัชยารักษาไข้    แก่พระภิกษุสามเณรอีกประหารหนึ่ง

ท่านเจ้าภาพได้ถวายอาหารบิณฑบาตครั้งนี้ก็ได้ชื่อว่า  เป็นทานในพระวินัย
                    ทานในพระปรมัตถ์  ๖  คือ

                  มีอายตนะ  ๖  คือ  ยินดี ในรูป  เสียง  กลิ่น รส  โผฎฐัพพะธรรมารมณ์  ถอนความยินดีในอารมณ์เหล่านี้ออกเสียงได้  สละความยินดีในอารมณ์เหล่านี้เสียได้

                    ก่อนเราเกิดมาเขาก็ยินดีกันอยู่อย่างนี้ไม่รูป  เสียง  กลิ่น  รส  โผฎฐัพพะ  ธรรมารมณ์

                    กำลังที่เราเกิดมาเขาก็ยินดี  ในรูป  เสียง  กลิ่น  รส  โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์  เหล่านี้

                 ครั้นเราจะตายเขาก็ยินดีในรูป  เสียง  กลิ่น  รส  โผฎฐัพพะ  ธรรมารมณ์  อย่านี้เหมือนกัน  ความยินดีเหล่านี้หากถอนอารมณ์ออกเสียได้  ไม่ให้เสียดแทงเราได้  พิจารณาว่านี้เป็นอารมณ์ของชายโลกไม่ใช่อารมณ์ของธรรม  ปล่อยอารมณ์เหล่านั้นเสีย  ไม่ยึดมั่นถือมั่น  ไม่ให้เข้าไปเสียดแทงใจ  ทำใจให้หยุดให้นิ่ง  นี่เขาเรียกว่า  ให้ธรรมารมณ์เป็นทาน  ย่อมมีกุศลใหญ่  เป็นทางไปแห่งพระนิพพานโดยแท้  และเป็นทานอันยิ่งใหญ่ทางปรมัตถ์

                เจ้าภาพผู้ถวายทานวันนี้ได้ชื่อว่า  ได้ถวายทานครบบริบูรณ์ทั้ง  ๓  ประการ  คือ  ถวายทานในพระสูตร  ถวายทานในพระวินัย  และถวายทานในพระปรมัตถ์  เพราะท่านเจ้าภาพได้ถวายอาหารบิณฑบาตอันประณีตแก่พระภิกษุสามเณรในวัดปากน้ำ  ผู้มีธรรมกายมากด้วยกัน  ให้อิ่มหนำสำราญแล้วชื่อว่าได้ถวายทานในพระสูตรและพระวินัยแหละ  ที่สละทรัพย์สมบัติของหวงแหนรักษาบินดีปรีดา  มีเงินทองข้าวของเหล่านั้น  สละออกมาเป็นก้อนใหญ่หาน้อยไม่  ได้สละออกมาให้ขาดออกไปจากใจ  นี่แหละเป็นทานในพระปรมัตถ์แท้  ๆ  ไม่ใช่ทานในพระสูตรหรือพระวินัย  ความสละขาดออกไปจากใจเช่นนั้นเรียกว่า  จากเจตนามัย  เป็นทางไปแห่งมรรคผลและพระนิพพาน  มีบาลีเป็นหลักฐานว่า  จาโค  ปฏินสฺสคฺโค  วมุตฺติ  อนาลโย  จาโค  แปลว่าความสละทรัพย์สมบัติ  ปฏินิสฺสคฺโค  วางสมบัติ  วิมุติ  ปล่อยสมบัติ  อนาลโย  ไม่ยินดีเหลียวแลเฟงพิศไม่เอาใจใส่  และไม่ค่อยระวังรักษาหรือรักใคร่อีกต่อไป  ละขาดออกให้แก่พระภิกษุสามเณรนี่เป็นปรมัตถทานโดยแท้  พึงจำไว้ว่าให้ติดใจ  จะได้เป็นอุปนิสัยปัจจัยแห่งพระนิพพาน  ในภพนี้และภพต่อไปภายหน้า

                 ทานในพระสูตร  ๑๐  ทานในพระวินัย  ๔  ทานในพระปรมัตถ์  ๖  และทานในทักขิณาวิภังคสูตรเป็นทานอันยอดเยี่ยม  จะหาทานในที่ไหน  ๆ  เปรียบเทียบไม่ได้  ถ้าว่าเรามาประสบพบพระพุทธศาสนาได้บริจาคทานในพระสูตร  พระวินัย  พระปรมัตถ์  และทานในทักขิณาวิภังคสูตร  ดังได้แสดงมานี้  ย่อมได้รับผลสมบัติอันยิ่งใหญ่ไพศาลสุดจะนับจะประมาณได้ทีเดียว

               ครั้งพุทธกาล  นายอินทร์ชาวนาได้ถวายทานแก่พระอนุรุทธเถระ  ด้วยอาหารเพียงอิ่มเดียว  ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  มีหมู่นางเทพอัปสรแวดล้อมเสวยวิบากสมบัติยิ่งใหญ่ไพศาล  ส่วนอังกุระเทพบุตรเมื่อเป็นมนุษย์ชื่อว่าอังกุระ  เป็นมหาเศรษฐีได้บริจาคทานในมนุษย์โลกเป็นเวลานานหลายชั่วตระกูล  บริจาคทานในมนุษย์โลกนี้ถึง  ๒๐,๐๐๐  ปี  หมดทรัพย์สมบัติไปจะนับจะประมาณหาได้ไม่  ๒๐,๐๐๐  ปีมนุษย์โลกปราศจากการไถ  การหว่าน  ก่อระเบียบเตาไฟ  ยาว  ๑๒  โยชน์  ระยะหนทางเดิน  ๕  วัน  ก่อตาใหญ่  ๆ  คิดกันเป็นแถวไป  เรือบรรทุกข้าวสารมาใส่ข้างในกระทะขึ้นมาทางหลังเตานั้น  ทางน้ำข้าวที่เทไหลไปนั้นเป็นทางเรือเดินได้  เขาได้บริจาคทานอยู่ในมนุษย์โลกนี้  ๒๐,๐๐๐  ปี  ครั้นตายจากมนุษย์โลกแล้ว  ได้ไปเกิดในดาวดึงส์เทวโลก  แต่สมบัติของอังกุระเทพบุตรสู้ของอินทกเทพบุตรไม่ได้  สมบัติของอินทกเทพบุตรยิ่งใหญ่ไพศาลกว่า  เพราะอินทกเทพบุตรเมื่อเป็นชาวนา  ได้ถวายทานแก่พระภิกษุในพระพุทธศาสนา  ส่วนอังกุระเทพบุตร  ได้ถวายทานนอกพระพุทธศาสนา  คนผู้มีศีลในทานของตนไม่ได้มีแท้แต่เพียงคนเดียว  วิบากสมบัติจึงสู้ของอินทกเทพบุตรไม่ได้  เห็นปานฉะนี้

                วันนี้เจ้าภาพได้บริจาคทานในพระพุทธศาสนามีทักขิไณยบุคคลผู้มีธรรมกายถึง  ๑๕๐ เศษ  ผลทานนี้ย่อมให้วิบากสมบัติอันยิ่งใหญ่ไพศาล  เป็นอเนกอนันต์หาประมาณมิได้  เมื่อเราได้ประสบพบพระพุทธศาสนาเช่นนี้แล้ว  ก็เป็นบุญใหญ่ลาภใหญ่  และเมื่อได้มาบริจาคทานสมเจตนาอย่างนี้แล้ว  จะเป็นคนอนาถายากแค้นต่อไปในภพหน้านั้นเป็นอันไม่ต้องหวัง  แต่ถ้าบุญวาสนาที่อบรมสั่งสมไว้ดี  ได้พบพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งเข้า  ก็จะได้เป็นศาสนูปถัมภ์ของพระบรมศาสดา  พระองค์ก็จะได้ทรงโปรดให้ได้สำเร็จมรรคผลสมความปรารถนา

                ประเทศไทยมีชาติ  ศาสนา  ๒  อย่างนี้เป็นหลักสำคัญ  ชาติตนก็ได้เกิดเป็นชาวไทยชาติไทยอยู่แล้วศาสนาตนก็เป็นชาวพุทธ  นับถือศาสนาพุทธอยู่แล้ว  เมื่อตนทำมาหาเลี้ยงชีพและครอบครัวของตน  จนได้ผลมาเลี้ยงสมความมุ่งมาดปรารถนา  และอุตส่าห์เหลือเพื่อนำออกมาเลี้ยงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาอีก  นี่ก็ได้ชื่อว่า  เป็นประโยชน์แก่ชาติ  เป็นประโยชน์แก่ศาสนาโดยแท้  และไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา  ทำตนของตนให้มีราคาในชาติในศาสนาเช่นนี้

               ที่เจ้าภาพได้ถวายโภชนาหารเป็นสังฆทานในวันนี้  ชื่อว่าได้ทำบุญใหญ่กุศลใหญ่ยิ่ง  พึงมนสิการกำหนดไว้ในใจของตนทุกถ้วนหน้า  ให้เอใจจดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์  ก็ถูกดวงบุญพอดี  ให้หยุดอยู่ตรงนั้น  จะได้เกิดกุศลอันไพศาลจะได้เข้าถึงพระรัตนตรัยสมความมุ่งมาดปรารถนาทุกประการ

                 ตามที่ได้ชี้แจงแสดงมาเป็นภัตตานุโมทนากถา  ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา  ตามมตยาธิบายพอสมควรแก่เวลา  เอเตน  สจฺจวชฺเชน  ด้วยอำนาจแห่งความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้  สทา  โสตฺลี  ภวนฺตุ  เต  ขอความสุขสวัสดีจงยังเกิดมีแก่ท่านผู้เป็นเจ้าภาพและสาธุชนทั้งหลายบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า  สิทฺธมตฺถุ  สิทูธมตฺถุ  สิทฺธมตฺถุ  อิทํ  ผลํ  เอตสฺมิ  รตนตฺตยสฺมิ  สมฺปสาทนเจตโส  ขอจิตอันเลื่อมใสและจิตอันผ่องใสในพระรัตนตรัยนี้  จงเป็นผลสำเร็จ  จงเป็นผลสำเร็จจงเป็นผลสำเร็จแก่ท่านผู้เป็นเจ้าภาพและสาธุชนทั้งหลายทุกถ้วนหน้า  อาตมภาพชี้แจงแสดงมา  พอสมควรแก่เวลา  สมมุติว่ายุติธรรมิกถาโดยอรรถนิยมสมควรเพียงเท่านั้น

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0080256183942159 Mins