กัณฑ์ที่ ๔๒ ติลักขณาทิคาถา

วันที่ 23 มค. พ.ศ.2561

กัณฑ์ที่  ๔๒
ติลักขณาทิคาถา

พระมงคลเทพมุนี , สด จนฺทสโร , หลวงปู่วัดปากน้ำ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , สด มีแก้วน้อย , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , วัดปากน้ำ , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , สมาธิ , กัณฑ์ , ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด , คำสอนหลวงปู่ , หลวงพ่อสดเทศน์ , เทศนาหลวงพ่อสด , พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี , พระผู้ปราบมาร , ต้นธาตุต้นธรรม , พระเป็น , อานุภาพหลวงพ่อสด , เทปบันทึกเสียงหลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระของขวัญ , ทานศีลภาวนา , ติลักขณาทิคาถา , กัณฑ์ที่ ๔๒ ติลักขณาทิคาถา

นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทะสฺส ฯ  (๓ ครั้ง)

สพฺเพ  สงฺจารา  อนิจฺจาติ

ยทา  ปญฺญาย  ปสฺสติ

อถ  นิพฺพินฺทติ  ทุกฺเข

เอส  มคฺโค  วิสุทฺธิยา

สพฺเพ  สงฺขารา  ทุกฺชาติ

ยทา  ปญฺญาย  ปสฺสติ

อถ  นิพฺพินฺทติ  ทุกฺเข

เอส  มคฺโค  วิสทฺธิยา

สพฺเพ  ธมฺมา  อนตฺตาดิ

ยทา  ปญฺญาย  ปสฺสติ

อถ  นิพฺพินฺทติ  ทุกฺเข

เอส  มคฺโค  วิสุทฺธิยา

อปฺปกา  เต  มนุสฺเสสฺ

เย  ชนา  ปารคามิโน

อถายํ  อิตรา  ปชา

ตีรเมวานุธาวติ

เย  จ  โข  สมฺมทกฺขาเต

ธมฺเม  ธมฺมานุวตฺติโน

เต  ชนา  ปารเมสฺเสนฺติ

มจฺจุธยฺยํ  สุทุตฺตรํ

กญฺหํ  ธมฺมํ  วิปฺปหาย

สุกฺกํ  ภาเวถ  ปณฺฑิโตติ ฯ

 

                ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงธรรมิกถาว่าด้วยเรื่อง ลักขณาคาถา เครื่องหมายลักษณะของความจริงคือ  ความไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  ไม่ใช่ตัว  ตามสภาพความเป็นจริงนี้  ที่นิยมใช้ในพระพุทธศาสนานัก  เพราะแสดงความจริงทุกสิ่งทุกประการ  ในลักษณะทั้งสามประการนี้เป็นภูมิของวิปัสสนา  เป็นชั้นสูงเป็นธรรมอันลุ่มลึกคัมภีรภาพ  เหตุนั้นที่จะแสดงในวันนี้เพราะว่าลักษณะธรรมชั้นสูงนี้  สมควรที่เป็นธรรมที่เป็นไปในปัญญา  ไม่ใช่ศีล  ไม่ใช่ทางสมาธิ  เป็นทางปัญญาแท้  ๆ  เหตุนี้แลจะแปลเนื้อความตามวาระพระบาลีที่ได้ยกไว้ในเบื้องต้นว่า

สพฺเพ  สงฺจารา  อนิจฺจาติ    ยทา  ปญฺญาย  ปสฺสติ
อถ  นิพฺพินฺทติ  ทุกฺเข             เอส  มคฺโค  วิสุทฺธิยา

เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า  สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
ดังนี้  เมือ่นั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์  นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ

สพฺเพ  สงฺขารา  ทุกฺชาติ    ยทา  ปญฺญาย  ปสฺสติ
อถ  นิพฺพินฺทติ  ทุกฺเข             เอส  มคฺโค  วิสทฺธิยา

เมื่อใดบุคคตลเห็ตามปัญญาว่า  สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์  
เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์  นี่คือความหมดจดวิเศษ

สพฺเพ  ธมฺมา  อนตฺตาดิ    ยทา  ปญฺญาย  ปสฺสติ
อถ  นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข             เอส  มคฺโค  วิสุทฺธิยา

เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า  ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว
เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์  นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ

อปฺปกา  เต  มนุสฺเสสฺ            เย  ชนา  ปารคามิโน
บรรดามนุษย์ทั้งหลาย  ชนเหล่าใดมีปกติไปสู่ฝั่งข้างโน้น
ชนเหล่าใด  ปารดามิโน  มีปกติไปสู่ฝั่ง  มีปกติถึงซึ่งฝั่ง  ชนทั้งหลายเหล่านั้นมีประมาณน้อย

อถายํ  อิตรา  ปชา    ตีรเมวานุธาวติ
ส่วนชนเหล่าอื่นนอกนี้  ย่อมเลาะชายฝั่งนั้นแล

เย  จ  โข  สมฺมทกฺขาเต    ธมฺเม  ธมฺมานุวตฺติโน
ก็ชนเหล่าใดนั้นแลประพฤติตามธรรมในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวแล้วดี

เต  ชนา  ปารเมสฺเสนฺติ    มจฺจุธยฺยํ  สุทุตฺตรํ
ชนทั้งหลายเหล่านั้นย่อมถึงซึ่งฝั่ง  คือพระนฤพาน
ล่วงเสียซึ่งวัฎฏะเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ  อันบุคคลข้ามได้ด้วยยากนัก

กญฺหํ  ธมฺมํ  วิปฺปหาย             สุกฺกํ  ภาเวถ  ปณฺฑิโต
ผู้ดำเนินด้วยคติของปัญญา  ละธรรมดำเสีย  ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้นดังนี้

                 นี่เนื้อความของบาลี   คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้   ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไปว่า  สพฺเพ  สงฺขารา  อนิจฺจาติ  สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง  ก็เมือ่บุคคลเห็นตามดังนี้ด้วยปัญญาของตนแล้ว  ก็ย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์  นี่เป็นหนทางหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย  นี้เป็นทางหมดจดวิเศษ  นี่หนทางนี้เราต้องการ  ให้พินิจพิจารณาด้วยความรู้ความเข้าใจของตน  นี่เป็นภูมิชั้นสูงนะ  ไม่ใช่ภูมิชั้นต่ำ  เห็นตามปัญญาว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เห็นอย่างไรสังขารน่ะ  คือ  ปุญญาภิสังขาร  สังขารที่บุญตบแต่ง  อปุญญาภิสังขาร  สังขารที่บาปตกแต่ง  อเนญาชาภิสังขาร  สังขารที่ไม่หวั่นไหว

              ปุญญาภิสังขาร  สังขารตบแต่งให้เกิดเป็นบุญชั้นมนุษย์นี่  ในชมพูทวีป  แสนโกฎิจักรวาล  อนันตจักรวาล  มนุษย์มีมากน้อยเท่าไร  อยู่ในปุญญาภิสังขารทั้งนั้น  ส่วนทิพย์กายอุปปาติกะกำเนิดเกิดเป็นกายทิพย์ในชั้นจาตุมหาราช  ดวงดึงสา  ยามมา  ดุสิตา  นิมมานรดี  ปรนิมมิตวสวัตดี  ๖  ชั้นนี้  นี้เรียกว่า  ปุญญาภิสังขาร  สวรรค์  ๖  ชั้นนี้เรียกว่า  ปุญญาภิสังขาร  สังขารอันบุญตบแต่งทั้งนั้น  รูปพรหมอีก  ๑๖  ชั้น  พรหฺมปริสัชชา  พรหฺมปุโรหิตา  มหาพรหฺมา  ปริตฺตาภา  อปฺปมาณาภา  อาภสฺสรา  ปริตฺตสุภา  อปฺป  มาณสุภา  สุภกิณฺหา  เวหปฺผลา  อสญฺญสัตตา  นี่ชั้น๑๑  เวหปฺผลา  อสญฺญสัตตา  อยู่ในชั้นพรหมที่  ๑๑  นี้  อวิหา  อตปฺปา  สุทสฺสา  สุทสฺสึ  อกนิฎฐา  นี้เรียกว่าบชั้นสุธาวาส  เป็นที่อยู่ของพระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามิผล-พระอนาคามิมรรค  อยู่ในที่นี้  รูปพรหมทั้ง ๑๖  ชั้น  นี้เป็นปุญญาภิสังขารทั้นั้น  ส่วนอเนญชาภิสังขาร  สังขารในอรูปพรหม  อากาสานัญจายตนะ  วิญญาณัญจายตนะ  อากิญจัญญายตนะเนวสัญญานาสัญญาตนะ  ในอรูปพรหมทั้ง  ๔  นี้  ก็จัดเป็นปุญญาภิสังขาร  อีกเหมือนกัน  ไม่ใช่อปุญญาภิ

               อปุญญาภิสังขาร  ต่ำกว่ามนุษย์ลงไป เ รียกว่า  อปุญญาภิสังขาร  เกิดเป็นเปรตบ้าง  เป็นอสุรกายบ้าง  เป็นสัตว์เดียรัจฉานบ้าง  เป็นสัตว์นรก  ๔๕๖ ขุม  ลุ่ม  ลึก  ทุกข์ยาก  ลำบากนักในอบายภูมิทั้ง  ๔  นี้เรียกว่า  อปุญญาภิสังขาร  ฝ่ายสัตว์เดียรัจฉาน  ก็เห็นปรากฏว่าตัวใหญ่ตัวเล็กตัวน้อยน่าสมเพชเวทนา  เปรต  อสูรกาย  เราไม่เห็ด้วยตา  เป็นแต่เขาเขียนรูปไว้ให้ดู  ถึงกระนั้นก็มีอยู่แท้  ๆ  สัตว์นรกเราก็ไม่เห็น  เขาเขียนรูปไว้ให้ดูทั้งนั้น  แต่ว่าเขาเห็นแล้วเขาเขียนรูปให้ดู มีจริง  ๆ  ไม่ต้องไปสงสัย  สัตว์นรก  เปรต  อสูรกายเหล่านี้  สัตว์เดรัจฉานเห็นปรากฏชัด  นี้ได้ชื่อว่าอปุญญาภิสังขาร

              อเนญชาภิสังขาร  สังขารที่ไม่หวั่นไหว  ตั้งแต่อรูปสัตว์  อสัญญีสัตว์  ที่ชั่วคราวนะ  ไม่หวั่นไหวชั่วคราวหนึ่ง  นี่ตำรับตำราท่านยกเอาแค่นี้  แต่ว่าอเนญชาภิสังขาร  สังขารที่ไมหวั่นไหว  สังขารที่ไมหวั่นไหวควรจะจัดสังขารที่บุญตบแต่งไม่ได้  บาปตบแต่งไม่ได้  ควรจะเป็นอเนญชาภิสังขาร  ส่วนโลกันต์นรกก็ไปหมกไหม้อยู่ในนั้น  ไปทนทุกข์เวทนาอยู่ในโลกันตร์นรก  นั่นจะจัดเป็นอเนญชาภิสังขารได้ไหมละ  ก็มันยังไปเกิดมาเกิดอยู่  ถ้านิพพานก็ได้  เป็นอเนญชาภิสังขาร  ที่ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมทั้ง  ๔  ทั้ง  ๘  ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมทั้ง  ๘  นี้เป็นอเนญชาภิสังขารได้  อเนญชาภิสังขารเหล่านี้  ก็มีหวั่นไหวอยู่  เคลื่อนไปมาอยู่  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  อากาศ  วิญญาณ  ธาตุล้วน  ธาตุล้วน  ๆ  ไม่เกี่ยวข้องอะไร  นั่นแน่ควรจะเป็นอเนญชาภิสังขาร  แต่ว่าสังขารในที่นี้  ท่านประสงค์เอา  อสัญญีสัตว์  อรูปสัตว์  เป็นอเนญชาภิสังขาร  ให้รู้จักหลักอันนี้

               สังขารเลห่านี้แหละเป็น  อนิจิจํ  ไม่เที่ยงทั้งนั้น  แปรผันไปหมด  ปรากฏว่าจะเป็น  ปุญญาภิสังขาร  ก็ดี  อปุญญาภิสังขารก็ดี  อเนญขาภิสังขารก็ดี  สังขารเหล่านี้เป็นเที่ยงทั้นั้นยักเยื้องแปรผันอยู่ปกติธรรมดาเหมือนมนุษย์ที่ยักเยื้องเป็นมนุษย์  สัตว์เดรัจฉานก็ยักเยื้องส่วนสัตว์เดรัจฉาน  อสุรกายก็ยักเยื้องทั้งนั้นที่เกรีว่าปุญญาภิสังขาร  กายทิพย์  ทิพยกายหรือพรหมกาย  ส่วนอรูปพรหม  กายเหล่านี้เป็นอเนญชาภิสังขาร  และกายเหล่านี้ไม่เที่ยงมียักเยื้องแปรผันอยู่  ตามจริงเป็นอย่านี้  ที่ไม่เที่ยงเป็นอย่างไร?  ก็มีเกิดขึ้น  ท่ามกลางมีแก่แปรไป  ในอวสานที่สุดแตกสลายไป  ไม่ได้เหลือตนแต่สักคนเดียว  เบื้องต้นมีเกิดขึ้นท่ามกลางมีแก่แปรไป  อสวานที่สุดมีสิ้นสลายหายไป  เอาจริงเอาจังไม่ได้สักอย่างหนึ่ง  ดังนี้เรียกว่าไม่เที่ยงนี่ในพระคาถาต้น  เมื่อสิ่งที่ไม่เที่ยงที่เราเห็นเช่นนี้  เราจะเป็นอย่างไรบ้าง  ใจคอก็สลด  ใจไม่อยากจะได้ไม่อยากจะเอื้อเฟื้อ  ไม่อยากจะเกี่ยข้อง  เพราะมันไม่เที่ยงยักเยื้องแปรผันไปเช่นนี้  เกี่ยวข้องก็เสียเวลาเปล่าคล้าย  ๆ  กับหลอก  ๆ  ลวง  ๆ  เล่น  ไม่จริงไม่จังอะไร  เมือ่เป็นเช่นนี้ใจของเราก็ไม่เกี่ยวข้องในสังขารนั้น  ๆ  ปุญญาภิสังขาร  อปุญญาภิสังขาร  อเนญชาภิสังขาร  ก็ไม่เกี่ยวเกาะ  ไม่เกี่ยว  ก็ใจมันก็ไม่ติดในสังขารเหล่านั้น  ปุญญาภิสังขาร  อปุญญาภิสังขาร  อเนญชาภิสังขาร  ไม่ติด  ไม่เกาะไม่ติด  เมื่อไม่ติดแล้วใจไม่เกาะอะไรเลย  ใจมันก็ว่างจากสังขารเหล่านั้น  ไม่เกี่ยวเกาะในสังขารเหล่านั้น  ใจก็ว่าง  ใจว่างนั้นแหละเป็นหนทางหมดจด  ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใด  ใจที่ว่างนั้นแหละเป็นหนทางหมดจด  ว่างจากสังขารเหล่านั้น  ไม่เกี่ยวเกาะด้วยสังขารเหล่านั้น  ไม่ติดในสังขารเหล่านั้นเรียกว่า  ใจหมดจดเป็นหนทางบริสุทธิ์  นี่แหละทางบริสุทธิ์เป็นทางไปของพระอริยบุคคล  ตั้งต้นแต่โสดา  สกทาคา  อนาคา  อรหันต์  ไปทางนี้  ไปทางหมดจดนี้  ผู้ที่เป็นวิปัสสนาคามินี  ย่อมเห็นแจ้งขัดเจนในสิ่งไม่เที่ยงทั้งหลายเหล่านั้เป็น  วิปัสสนาคามินี  เห็นแจ้งชัดอยู่ว่าสังขารเหล่านี้ไม่เที่ยงจริง  ๆ

                   เมื่อไม่เที่ยงแล้วเป็นอย่างไร?  ในบาทที่  ๒  รองรับลงไปว่า
                   สพฺเพ  สงฺขารา ทุกฺขาติ        ยทา  ปญฺญาย  ปสฺสติ
                   อถ  นิพฺพินฺทติ  ทุกฺเข        เอส  มคฺโค  วิสุทฺธิยา

               เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่าสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์  เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ทางหมดจดวิเศษอีกเหมือนกัน  ย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์  เห็นสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์  เป็นทุกข์จริง  ๆ  นะไม่เป็นสุขหรอก  ถ้ามีความเกิดแล้วก็เป็นทุกข์  มีเกิดเป็นเบื้องต้น  มีแก่แปรไปในท่ามกลาง  มีตายไปเป็นอสวาน  เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว  สังขารทั้งหลายเหล่านั้นล้วนเป็นทุกข์ทั้งนั้น  ไม่เป็นสุข  สังขารดังกล่าวแล้วจะเป็น  ปุญญาภิสังขาร  อปุญญาภิสังขาร  อเนญชาภิสังขาร  สังขารที่เป็นไปในภพ  ๓  กามภพ  รูปภพ  อรูปภพ  หรือเป็นไปในวัฏฎะทั้ง  ๓  กรรมวัฎ  กิเลสวัฎ  วิปากวัฎ  ทั้งหลายเหล่านี้  เมื่อเป็นสังขารแล้ว  จะได้เป็นสุข  เป็นอันไม่มี  ย่อมเป็นทุกข์ทั้งสิ้น  ก็เทวดาเขาว่าเป็นสุขอย่างไรเล่า  เป็นสุขหลอก  ๆ  ไม่ใช่สุขจริง  ๆ  สุขหลอกลวงเหมือนสุขมนุษย์อย่างนี้แหละ  ยิ้มแย้มแจ่มใส  หัวเราะร่าเริงบันเทิงใจ  ประเดี๋ยวหน้าดำค่ำเครียด  เสียอกเสียใจกันวุ่มวายแล้ว  แตกกายทำลายนี้แล้ว  เจ็บปวดขึ้นแล้ว  ตึงตังเกิดขึ้น  รบทัพจับศึก  ตายกันสิ้นแล้ว  เป็นทุกข์กันเจ้าละหวั่นแล้ว  เหตุนี้ไม่เที่ยงอย่างนี้  ยักเยื้องแปรผันอยู่อย่างนี้  แล้วก็เป็นทุกข์จริง  ๆ  อยู่อย่างนี้  สิ่งไม่เที่ยงมีอยู่เท่าไรเล่า  ก็สุขชั่วคราว  สุขประเดี๋ยว  ๆ แล้วก็กลายไปเป็นทุกข์อีกต่อไป  เมื่อเห็นจริงเช่นนี้  ไม่ติดไม่เกี่ยวด้วยสังขารเหล่านี้เสียได้ละก็  นั่นแหละเป็นหนทางหมดจดวิเศษ  ไม่เอาใจไปเกี่ยวกับสังขารเหล่านี้  เป็นหนทางหมดจดวิเศษ  นี้เป็นทางไปของพระพุทธเจ้า  ของพระอรหันต์ ทางไปของพระอริยบุคคล  ทางไปของพระโสดา  สกทาคา  อนาคา  นี่เป็นทางไปอย่างนี้  นี่ได้ชื่อว่าเป็นทางหมดจดวิเศษ  เป็นทางไปของวิปัสสนาณิกด้วย  ที่จะไปสู่โสดา  สกทาคาเหล่านั้นได้  ต้องอาศัยรู้จริงเห็นจริงในสิ่งเหล่านั้น  นี้เป็นพระคาถาที่  ๒

                  คาถาที่  ๓  ตามลำดับไปว่า
                  สพฺเพ  ธมฺมา  อนตฺตาติ        ยทา  ปญฺญาย  ปสฺสติ
                  อถ  นิพฺพินฺทติ  ทุกฺเข         เอส  มคฺโค  วิสุทฺธิยา

                เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า  ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว  เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์นี้  นี่เป็นทางหมดจดวิเศษ  นี่ถึงจะจริง  ละได้จริง  เอาตรงนี้แหละว่าธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว  ธรรมทั้งหลายน่ะอยู่ที่ไหน?  สังขารมีที่ไหน  ธรรมที่มีนั่น  สังขารอยู่ที่ไหน?  ธรรมอยู่ที่นั่น  ปุญญาภิสังขาร  สังขารอันบุญตบแต่ง  อปุญญาภิสังขาร  สังขารอันบาปตบแต่ง  อเนญชาภิสังขาร  สังขารมีสิ่งที่มิใช่บุญมิใช่บาปตบแต่งตามหน้าที่กัน  ดังนี้ธรรมทั้งหลายอยู่ในภายมนุษย์ด้วยกันทุกคน  กายมนุษย์นี้ล้วนเป็นปุญญาภิสังขาร

               จะกล่าวถึงธรรมทั้งหลายต่อไป  คือเป็น  ดวงใส  มนุษย์ได้มาด้วยความบริสุทธิ์กาย  บริสุทธิ์วาจา  บริสุทธิ์ใจ  ไม่มร่องพิรุธเลย  พอแตงกายทำลายขันธ์จากมนุษย์  ก็ติดดวงธรรมอันนั้นสำหรับให้เกิดเป็นมนุษย์  ได้ดวงธรรมดวงหนึ่งสำหรับเกิดเป็นมนุษย์  ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่  นี่เป็นกายมนุษย์  มีธรรมดวงเท่านี้

                   กายมนุษย์ละเอียดก็มีธรรมอีกดวงหนึ่งเหมือนกัน  จึงเป็นกายมนุษย์ละเอียด  ๒  เท่าฟองไข่แดงของไก่  กลมรอบตัว

                  กายทิพย์มีอีกดวงหนึ่งเหมือนกัน  กลม  ๓  เท่าฟองไข่แดงของไก่  กลมรอบตัว

                  กายทิพย์ละเอียดมีอีกดวงหนึ่ง  ๔  เท่าฟองไข่แดงของไก่  กลมรอบตัวเหมือนกัน

                  กายรูปพรหม  ๕  เท่าฟองไข่แดงของไก่  กลมรอบตัวเหมือนกัน

                  กายรูปพรหมละเอียด  ๖  เท่าฟองไข่แดงของไก่  ใหญ่กลมรอบตัวเหมือนกัน  ใสอยู่กลางกายนั้น

                  ส่วนกายอรูปพรหม  ๗  เท่าฟองไข่แดงของไก่  กลมรอบตัวเหมือนกัน

                  ส่วนกายอรูปพรหมละเอียด  ๘  เท่าฟองไข่แดงของไก่  กลมรอบตัวเหมือนกัน

                  ดวงธรรมนั้นแหละ  ไม่ใช่ตัว  เป็นที่อยู่ของตัว  เป็นที่อาศัยของตัว  เป็นที่ทำตัวให้ปรากฎอยู่  กายมนุษย์ละเอียดนี่แหละเป็นตัว  แต่ตัวสมมุติทั้งนั้น

                 ดวงธรามที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ล่ะ  ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นก็ไม่ใช่ตัวเหมือนกัน  แต่ว่าให้ตัวอาศัยคือ  กายมนุษย์ละเอียด

                  กายมนุษย์ละเอียดก็ไม่ใช่ตัว  ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดก็ไม่ใช่ตัว  ให้กายทิพย์อาศัย

                  กายทิพย์ก็ไม่ใช่ตัว  ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็ไม่ใช่ตัว

                  กายมนุษย์  กายมนุษย์หมดทั้งร่างกายประกอบด้วยเบญจขันธ์ทั้ง  ๕  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  นี่ไม่ใช่ตัวทั้งนั้น  ส่วนธรรมที่ทำให้เป็นเบญจขันธ์ทั้ง  ๕  คือ  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  ก็ล้วนแต่เป็น  อนิจจัง  ทุกขัง  ทั้งนั้น  ส่วนธรรมที่ทำให้เบญจขันธ์ทั้ง  ๕  ของกายมนุษย์ละเอียด  ก็เป็น  อนิจจัง  ทุกขัง  แบบเดียวกัน  แล้วก็ไม่ใช่ตัว  เป็นอนิจจัง  ทุกขัง  ส่วนดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็ไม่ใช่ตัวเหมือนกัน  แต่ว่ากายมนุษย์ที่เป็นตัว  ก็ตัวโดยสมมติ

                  ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เรียกว่าไม่ใช่ตัวนั่น  ไม่ใช่ตัวแท้ ๆ  เป็นที่อาศัยของตัว  เป็นที่อาศัยของตัวคือกายมนุษย์ละเอียด

                  ดวงธรรมทีททำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด  ก็ไม่ใช่ตัวนั่น  ส่วนเบญจาขันธ์ทั้ง  ๕   ของกายมนุษย์ละเอียด  ก็เป็นอนิจจัง  ทุกขัง  ส่วนธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดก็ไม่ใช่ตัว  เป็นที่อาศัยของตัวซึ่งเป็นกายทิพย์  กายทิพย์ก็ประกอบด้วยรูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  เป็นอนิจจัง  ทุกขัง

                   ส่วนดวงธรรมที่ทำให้เป็นอายทิพย์  ก็ไม่ใช่ตัว  เป็นที่อาศัยของตัวคือกายทิพย์ละเอียด  กายทิพย์ละเอียดก็เป็นอนิจจัง  ทุกขัง

                   ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด  ก็ไม่ใช่ตัว  เป็นที่อาศัยของตัวคือกายรูปพรหม  รูปพรหมหมดทั้งร่างกายประกอบด้วยเบญจขันธ์ทั้ง  ๕  คือ  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  ก็เป็นอนิจจัง  ทุกขัง

                   ส่วนดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม  ก็ไม่ใช่ตัว  เป็นที่อาศัยของตัวคือกายรูปพรหมละเอียดกายรูปพรหมละเอียด  ก็ประกอบด้วย  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  ก็เป็นอนิจจัง  ทุกขัง

                   ส่วนดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด  ก็ไม่ใช่ตัว  เป็นที่อาศัยของตัวคือกายอรูปพรหม  กายรูปพรหม  ก็เป็นอนิจจัง  ทุกขัง  ประกอบด้วยเบญจขันธ์ทั้ง  ๕  คือ  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  ไม่เที่ยง  ไม่ใช่ตัวเหมือนกัน  ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์

                 ส่วนกวงธรามที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมเล่า  ก็ไม่ใช่ตัว  เป็นที่อาศัยของตัวคือกายอรูปพรหมละเอียด  กายอรูปพรหมละเอียด  ก็ประกอบด้วยขันธ์  คือ  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง

                  ส่วนดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด  ก็ไม่ใช่ตัว  เป็นที่อาศัยของตัว

               ตัวเหล่านี้โดยสมมติทั้งนั้น  ไม่ใช่วิมุตติ  สูงขึ้นไปกว่า  เข้าถึง  กายธรรม  กายธรรมคราวนี้เป็นตัวหละ  กายธรรมเป็นตัว  ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม  กายธรรมนั่นแหละเป็นตัว  กายธรรมนั่นแหละเป็น  นิจจัง  สุขัง  ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็เป็นอัตตา  ส่วนดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย  ๘  กายเบื้องต้นก็เป็นอนัดตา  ไม่ใช่ตัว  จะเนอัตตายังไม่ได้  เพราะยังเป็นสมมติอยู่  กายธรรมของธรรมกายละเอียดที่อาศัยดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายอยู่นั่น  เรียกว่ากายธรรมละเอียด  กายธรรมของธรรมกายละเอียดที่อาศัยดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายอยู่นั่น  เรียกว่า  กายธรรมละเอียด  กายธรมละเอียดนั้น  แต่ว่า  ตั้งแต่กายธรรมไป  ๑๐  กาย  กายธรรม-กายธรรมละเอียด  กายโสดา-โสดาละเอียด  กายสกทาคา-กายสกทาคาละเอียด  กานอนาคา-กายอนาคาละเอียด  เหล่านี้ยกเป็นตัวทั้นั้น  ควรยกเป็นนิจจัง  สุขัง  ทั้งนั้น  ส่วนดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเล่า  หมดทั้งก้อนนั่นแหละเป็นอัตตา  เป็นนิจจัง  สุขัง  อัตตา  ส่วนกายพระอรหัต  ถ้าถึงพระอรหัตละก็เป็น  นิจจัง  สุขัง  อัตตาแท้  ๆ  กายธรรมก็มีขันธ์เหมือนกัน  แต่เป็นธรรมขันธ์  ท่านไม่เรียกเบญจขันธ์  เป็นธรรมขันธ์เสีย  มีธาตุเหมือนกันเป็นวิราคธาตุ  เป็นวิราคธคธรรม  เป็นธรรมไปทั้งก้อนเพราะฉะนั้นกายธรรมพระอรหัตเป็นนิจจัง  สุขัง  อัตตาหมดทั้งก้อน  กายพระอรหัตละเอียดก็เป็น  นิจจัง  สุขัง  อัตตา  หมดทั้งก้อน

             เมื่อรู้จักดังนี้แล้ว  ก็นี่แหละถ้าจะไปนิพพานไปได้ทางนี้  ทางอื่นไปไม่ได้  ที่พระองค์ทรงรับสั่งไว้  อตฺตทีปา  อตฺตสรณา  นาญฺญสฺสรณา  ตนเป็นที่พึ่งของตน  อตฺตทีปา  ตนเป็นที่เกาะตน  เป็นที่พึ่ง  สิ่งอื่นไม่ใช่  ธมฺมทีปา  ธมฺมสรณา  นาญฺญสฺสรณา  ธรรมเป็นเกาะ  เป็นที่พึ่ง  สิ่งอื่นไม่ใช่  ตนนั่นแหละเป็นเกาะ  ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่ง  สิ่งอื่นไม่ใช่  ธรรมนั่นแหละเป็นกาะ  ธรรมนั่นแหละเป็นที่พึ่ง  สิ่งอื่นไม่ใช่

                 เมื่อไปถึง  เมื่อมาถึงกายมนุษย์เข้า  ก็มีตนมีธรรม  ตนก็คือกายมนุษย์  นี่  ตนโดยสมมติ  ธรรมก็คือดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น  พอถึงกายมนุษย์ละเอียด  มีตนมีธรรมอย่างนั้นอีก  ตนก็คือกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ  ธรรมก็คือดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ  ส่วนดายทิพย์ก็แบบเดียวกัน  กายทิพย์ละเอียดก็แบบเดียวกัน  กายรูปพรหมก็แบบเดียวกัน  กายรูปพรหมละเอียดก็แบบเดียวกัน  กายอรูปพรหมก็แบบเดียวกัน  กายอรูปพรหมละเอียดก็แบบเดียวกัน  กายทั้ง  ๘   กาย  มีตน-มีธรรม  แบบเดียวกัน

                ถึงพระธรรมกายทั้ง  ๑๐  กาย  ธรรมกายโคตรภู  ธรรมกายนั่นแหละเป็นตนหละ  เป็นตนโดยวิมุตติด้วย  ไม่ใช่สมมติด้วย  กายธรรมนั้นเป็นตนหละ  ดวงธรรมที่เป็นธรรมกายกลมรอบตัว  โตเท่าหน้าตัวของธรรมกายนั่นก็เป็นธรรมหละ  กายธรรมละเอียดก็มีตนมีธรรมเหมือนกัน  กายธรรมโสดาละเอียดก็มีตนมีธรรมแบบเดียวกัน  กายธรรมสกทาคาละเอียด  ก็มีตนมีธรรมแบบเดียวกัน  กายธรรมพระอนาคาละเอียดก็มีตนมีธรรมแบบเดียวกัน  กายธรรมพระอรหัตละเอียด  ก็มีตนมีธรรมเป็นแบบเดียวกัน  แบบเดียวกันแท้  ๆ  สิ่งอื่นไม่ใช่  จะไปพึ่งสิ่งอื่นนอกจากตนที่ทำให้เป็นตนนี้ไม่ได้

               แต่ว่ากายทั้ง  ๘  กายอยู่ในภพนั้น  ตนก็เป็นโดยสมมติ  ธรรมก็เป็นโดยสมมติเหมือนกัน  ไม่ใช่วิมุตติทั้งนั้น  ส่วนตนและธรรมที่เป็นธรรมกาย  ใสดาทั้งหยาบทั้งละเอียด  สกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด  อนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด  นี่แหละเป็นพวกวิมุตติทั้งนั้น  แต่ไมใช่วิมุตติขาดเด็ดลงไป  วิมุตติขาดเด็ดก็ได้แก่พระอรหัต  ตนก็เป็นวิมุตติขาดเด็ดทีเดียว  ส่วนธรรมก็วิมุตติขาดเด็ดทีเดียว  หมดจากสังโยชน์เบื้องต่ำเบื้องสูงหมด  หลุดไปหมดทีเดียว  นี่ได้ชื่อว่าเป็นตน  เป็นนิจจัง  สุขัง  อัตตา  เข้าถึงพระอรหัตทีเดียว  นี่แหละแน่แท้ไม่ต้องสงสัย

                   เมื่อเข้าใจดังนี้  ท่านจึงได้เชิดชี้ตำรับตำราวางลงไว้ว่า
                   อปฺปกา  เต  มนุสฺเสสุ  เย  ชนา  ปารดามิโน

                ในบรรดามนุษย์ทั้งหลาย  ชนเหล่าใดมีปกติไปถึงฝั่งคือพระนิพพาน ชนเหล่านั้นมีประมาฯอยไม่ใช่ไปง่าย  ๆ  ถึงพระอรหัตแล้วจึงไปได้  ถึงธรรมกายแล้วไปได้  ถึงพระอรหัตไปเลยไม่กลับ  ถ้าถึงธรรมกายไปแล้วกลับ  เหมือนวัดปากน้ำมีธรรมกายกันตั้ง  ๑๕๐  กว่า  ไปนิพพานได้ทั้งนั้น  ไปแล้วกลับ  ไปแล้วกลับมามีน้อยนักที่มีปกติไปสู่นิพพาน  มีน้อยนัก

                   เย  ชนา  ปารคามิโน    อถายํ  อิตรา  ปชา
                   ตีรเมวานุธาวดี        อถายํ  อิตรา  ปชา

                ส่วนชนนอกนี้  ย่อมเลาะชายฝั่งแน่แล  คืออยู่ฝั่งข้างภพนี้  ไม่ไปนิพพาน   งุ่มง่ามอยู่ในฝั่งข้างนี้ภิกษุสามเณรตั้งใจจะไปนิพพานกัน  แต่ก็เลาะอยู่ชายฝั่งนั่นเอง  ไปไม่ได้กัน  ไม่ถึงธรรมกายไปไม่ได้  ถึงธรรมกายแล้วก็ไปนิพพานได้  ไปไม่ได้แหละเรียกว่าเลาะชายฝั่ง

                   เย  จ  โข  สมฺมทกฺขาเต  ธมฺเม  ธมฺมานุวตฺติโน

                ก็ส่วนชนทั้งหลายเหล่าใด  มีปกติประพฤติตามธรรม  ในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวชอบแล้วตามหลักของทางมรรคผลไป  อย่าให้เคลื่อนจากทางมรรคผลนั้น  ได้ชื่อว่าปฏิบัติตามธรรม  ในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวชอบแล้ว  เป็นทางมรรคผล  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  วิมุตติ  วิมุตติญาณทัสสนะ  นี่ให้ไปทางนี้  ทางอื่นไม่มี  มีทางเดียวเท่านี้  เป็นเอกายนมรรค

                   เต  ชนา  ปารเมสฺสนฺติ

                   ใครปฏิบัติถูกต้องร่องรอยเช่นนั้น  ย่อมถึงซึ่งฝั่งคือ  พระนิพพานแท้  ๆ 

                   มจฺจุเธยฺยํ  สุทุตฺตรํ

                 ล่วงเสียซึ่งวัฎฏะอันเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ  อันบุคคลข้ามได้ยากนัก  ล่วงวัฎฏะนั้น  กรรมวัฎ  วิปากวัฎ  กิเลสวัฏ  เป็นที่ตั้งของมัจจุ  เพราะวัฎฏะเป็นที่ต้งของมัจจุ  ต้องตายอยู่ร่ำไป  ต้องเกิด  ต้องแก่  ต้องเจ็บ  ต้องตายเรื่อย  เมื่อเป็นเช่นี้  ที่จะพ้นไปจากความเกิด  ความแก่  ความเจ็บ  ความตายนี้ได้ยากนัก  ไม่ใช่เป็นของได้ง่าย  หลักเป็นดังนี้

                 เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ควรแน่ในใจของตัวเสียว่าวัฎฏะเป็นที่ตั้งของมัจจุนี้มันเป็นตัวกิเลสแท้ ๆ  ถ้าเราไม่พ้นกิเลสตราบใดละก็  เราต้องเวียนว่ายตายเกิดใน  กามภพ  รูปภพ  อรูปภพ  ไม่จบไม่แล้วหละ  ต้องเข้าถึงธรรมกายให้ได้  ไปดูนิพพานให้ได้  ถ้าไปดูนิพพานเห็นได้แล้วละก็  จะขอบใจสักเพียงไหน  ไปดูที่นิพพานเป็นอย่างนี้  กามภพเป็นอย่างนี้  กามภพนั่นไม่ใช่พอดีพอร้ายนะ  ยังมีอบายภูมิทั้ง  ๔  ถ้าประพฤติผิดความดีคราวใดละก็เป็นเปรตบ้าง  เป็นอสูรกายบ้าง  เป็นสัตว์เดียรัจฉานบ้าง  เป็นสัตว์นรกบ้าง  ต้องตกลงไปโน้น  นั่นเพราะเหตุอะไร  เพราะกิเลสมันบังคับให้เป็นไป  ต้องรับทุกข์ลำบากอย่างนั้น  เมื่อรู้จักเช่นนั้นแล้ว  ตั้งใจเสียให้แน่แน่ว  ว่าเราจะดำเนินตามร่องรอยของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์  ไปสู่มรรคผลนิพพานดีกว่า  เป็นสุขพิเศษไพศาลนัก  อื่นไม่มียิ่งกว่านิพพานเป็นไม่มี

                 เมื่อรู้จักเช่นนี้ให้ตั้งใจหมายมั่น  ให้เราเห็นว่า  สัขารทั้งปวงไม่เที่ยง  สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์  ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว หลีกจากสังขารทั้งหลายที่ไม่เที่ยง  สังขารทั้งหลายที่เป็นทุกข์  หลีกจากสังขารเหล่านั้นไปเสีย  ธรรมทั้งหลายตัวไปเสีย  เข้าถึงตัวให้ได้  เข้าถึงธรรมกายให้ได้  ธรรมกายเป็นตัว  ธรรมกายเที่ยง  อื่นจากธรรมกายนั้นเป็นอนิจจังทุกขัง  อนัตตา  นี่กายในภพ  ส่วนธรรมกายนั้น  เป็นนิจจัง  สุขัง  อัตตา  นี่เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทั้งนั้น  แต่ว่าจะไปทางธรรมกายต้องใจหยุด  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรามที่ทำให้เป็นกายมนุษย์  ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่  หยุดอยู่นั้นแหละ  หยุดหนักเข้า  เข้ากลางของหยุดนั่นไป  ก็จะเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด  เห็นกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด  รูปพรหม-รูปพรหมละเอียด  กายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด  กายธรรม-กายธรรมละเอียด  ไปทีเดียว  นี่ไปทางนี้  ไปทางอื่นไม่ได้  ผิดทั้งนั้น  ให้รู้จักหลักอันนี้  ตั้งใจให้มั่น  มาประสบพบพุทธศาสนา  เราจะต้องดำเนินให้ถูกร่องรอยของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ให้ได้  จะได้ไปนิพพาน  ในอัตภาพที่เป็นมนุษย์นี้  จะประสบพบความสุขสมมาดปรารถนา

              ที่ชี้แจงแสดงมา  ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา  ตามมตยาธิบายพอสมควรแก่เวลา  เอเตน  สจฺจวชฺเขชน  ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติมาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้  สทา  โสตฺถึ  ภวนฺตุ  ขอความสุขสวัสดิ์จงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลายบรรดามาสโมสร  ณ  สถานที่นี้ทุกทั่วหน้า  อนาตมภาพชี้แจงแสดงมา  พอสมควรแก่เวลา  สมมติว่ายุติธรรมิกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้  เอวํ  ก็มีด้วยประการฉะนี้

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.026189347108205 Mins