กัณฑ์ที่ ๔๔ สุขที่สัตว์ปรารถนาจะพึงได้

วันที่ 23 มค. พ.ศ.2561

กัณฑ์ที่  ๔๔
สุขที่สัตว์ปรารถนาจะพึงได้

มรดกธรรม , พระมงคลเทพมุนี , ประวัติย่อ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี , สด จนฺทสโร , หลวงปู่วัดปากน้ำ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , สด มีแก้วน้อย , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , วัดปากน้ำ , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , สมาธิ , กัณฑ์ , ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด , คำสอนหลวงปู่ , หลวงพ่อสดเทศน์ , เทศนาหลวงพ่อสด , พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี , พระผู้ปราบมาร , ต้นธาตุต้นธรรม , พระเป็น , อานุภาพหลวงพ่อสด , เทปบันทึกเสียงหลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระของขวัญ , ทานศีลภาวนา , สุขที่สัตว์ปรารถนาจะพึงได้ , กัณฑ์ที่ ๔๔ สุขที่สัตว์ปรารถนาจะพึงได้

นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมามฺพุทฺธสฺส ฯ  (๓  ครั้ง)

มตฺตาสุขปริจฺจาคา

ปสฺเส  เจ  วิปุลํ  สุขํ

จเช  มตฺตาสุขํ  ธีโร

สมฺปสฺสํ  วิปุลํ  สุขนฺติ

 

                 ณ  บัดนี้  อาตมภาพจักได้แสดธรรมิกถา แก้ด้วย สุขที่สัตว์ปรารถนาจะพึงได้พึงแสวงหา  ยิ่งใหญ่นัก  ไม่มีใครปฏิเสธทุกทั่วหน้า  สุขนี้สมเด็จพระบรมศาสดาทรงรับสั่งด้วยพระองค์เอง  เพื่อจะให้สัตว์แสวงหาสุขยิ่งขึ้นไป  ไม่ใช่สุขเล็ก  ๆ  น้อย  ๆ  ให้ละสุขเล็กน้อยเสีย  ให้ยืดเอาความสุขยิ่ง  ๆ  ขึ้ไป  นี่เพราะเราท่านทั้งหลาย  ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตหญิงชายทุกทั่วหน้า  เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ทุกทั่วหน้าด้วยกันแสวงหาสุขทุกหมู่เหล่า  แม้สัตว์เดียรัจฉานเล่า  ก็ต้อแสวงหาสุขเหมือนกัน  หลีกเลี่ยงจากทุกข์  แสวงหาสุขอยู่เนืองนิตย์อัตรา  เพราะว่าสุขจะพึงได้สมเจตนานั้น  ผู้แสวงหาเป็นจึงจะได้ประสบสุขยิ่งใหญ่ไพศาล  ถ้าแสวงหาไม่เป็นก็ได้รับสุขเล็ก  ๆ  น้อย  ๆ  หาสมควรแก่อัตภาพที่เป็นมนุษย์ไม่  เหตุนี้ตามวาระพระบาลีพระองค์ได้ทรงแสดงไว้ว่า

               มัตตาสุขปริจฺจาคา  ปัสเส  เจ  วิปุลํ  สุขํ   แปลเนื้อความว่า   ถ้าบุคคลฟังเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะละสุขอันน้อยเสีย  หรือเพราะละสุขพอประมาณเสีย  ผู้มีปัญญาเมื่อสุขอันไพบูลย์  ก็พึงละสุขพอประมาณเสีย  นี่เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้เนื้อเท่านี้

                 ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป  สุขเล็กน้อย  กับ  สุขไพบูลย์นี้  เป็นใจความในพระคาถานี้  สุข  มีสุขตั้งแต่สุขเล็ก  ๆ  น้อย  ๆ  ไปเป็นำดับ  จนกระทั่งถึงสุขที่สุด  สุขเล็กน้อย  ก็สุขมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในสมัยทุกวันนี้  เป็นสุขเล็กน้อย  สุขเทวดาก็สุขมากขึ้นไปเป็นชั้น  ๆ  เป็นสุขใหญ่ขึ้นไป  เทวดา  ๖  ชั้นก็สุขขึ้นไปเป็นลำดับ

    สุขมนุษย์                             ไม่เท่าสุขใน        จาตุมหาราช
    สุขในจาตุมหาราช                ไม่เท่าสุขใน        ดาวดึงส์
    สุขในดาวดึงส์                      ไม่เท่าสุขในชั้น    ยามา
    สุขในชั้นยามา                       ไม่เท่าสุขในชั้น    ดุสิต
    สุขในชั้นดุสิต                        ไม่เท่าสุขในชั้น    นิมมานรดี
    สุขในชั้นนิมมานรดี                 ไม่เท่าสุขในชั้น    ปรนิมมิตวสวัตตี
    สุขในชั้นปรนิมมิตวสวัตตี        ไม่เท่าสุขใน         พรหมปาริสัชชา
    สุขในชั้นพรหมปาริสัชชา        ไม่เท่าสุขในชั้น    พรหมปุโรหิตตา    
    สุขในชั้นพรหมปุโรหิตา           ไม่เท่าสุขในชั้น    มหาพรหมา
    สุขในชั้นมหาพรหมา               ไม่เท่าสุขใน        พรหมปริตตาภา    
    สุขในชั้นพรหมปริตตาภา         ไม่เท่าสุขในชั้น    อัปปมาณาภา
    สุขในชั้นอัปปมาณาภา            ไม่เท่าสุขในชั้น    อาภัสสรา
    สุขในชั้นอาภัสสรา                  ไม่เท่าสุขในชั้น    ปริตตสุภา
    สุขในชั้นปริตตสุภา                 ไม่เท่าสุขในชั้น    อัปปมาณสุภา
    สุขในชั้นอัปปมาณสุภา           ไม่เท่าสุขในชั้น    สุภกิณหา
    สุขในชั้นสุภกิณหา                 ไม่เท่าสุขในชั้น    เวหัปผลา
    สุขในชั้นเวหัปผลา                 ไม่เท่าสุขในชั้น    อสัญญสัตตา
    สุขในชั้นอสัญญสัตตา            ไม่เท่าสุขในชั้น    อวิหา
                                                                          อตัปปา
                                                                          สุทัสสา
                                                                          สุทัสสี
                                                                          อกนิฎฐา
    สุขในชั้นอกนิฎฐา                   ไม่เท่าสุขในชั้น    อากาสานัญจายตนะ
    อากาสานัญจายตนะ                ไม่เท่าสุขในชั้น    วิญญาณัญจายตนะ
    วิญญาณัญจายตนะ                 ไม่เท่าสุขใน         อากิญจัญญาจตนะ
    อากิญจัญญายตนะ                  ไม่เท่าสุขใน        เนวสัญญานาสัญญายตนะ

                นี่ว่าในภพสาม  ยังไม่ถึงนิพพาน  แต่ว่าสุขเป็นลำดับไปดังนี้  ผู้แสวงหาสุขเกลียดจากทุกข์  อยากได้สุข  ผู้ที่อยากได้สุขนั้นต้องละสุขพอประมาณเสีย  จึงจะพบสุขอันสมบูรณ์ยิ่งใหญ่ไพศาลเป็นลำดับ  ขึ้นไป

                 ละสุขเป็นประมาณเป็นไฉน?  มาเกิดเป็นในมนุษย์โลก  เป็นหญิงก็ดี  เนชายก็ดี  จงแสวงหาเถิดความสุขอยู่ในทาน  การให้  ยิงใหญ่ไพศาล  ความสุขอยู่ในทานการให้  หรือความสุขอยู่ในศีล  รักษากายวาจาให้เรียบร้อยดีไม่มีโทษ  หรือสุขอยู่ใน  การเจริญภาวนา  ให้เป็นเหตุลงไปเป็นสุขยิ่งใหญ่ไพศาล  ให้อุตส่าห์ให้ท่าน  สมบัติเงินทองข้าวของที่เป็นวิญญาณกทรัพย์และอวิญญาณกทรัพย์  ที่เราหาได้มา  เก็บหอมรอมริบไว้หรือได้มรดกมาก็ดี สิ่งทั้งหลายนั้นเมื่อเรารักษาอยู่  เมื่อเรายังมีชีวิตเป็นอยู่  ก็เป็นของเราอยู่  แต่พอแตกกายทำลายขันธ์เท่านั้น  สมบัติเหล่านั้นไม่ใช่ของเราเสียแล้ว  กลายเป็นของคนอื่นเสียแล้ว  ไม่ใช่ของเราจริง  ๆ  ในมนุษย์โลกเราผ่านไปผ่านมาเท่านั้นเอง  ไม่ใช่เป็นบ้านเมืองของเรา  ไม่เป็นถิ่นทำเลที่เราอยู่  เป็นทำเลที่สร้างบารมี  มาบำเพ็ญ  ทาน  ศีล  เนกขัมม์  ปัญญา  วิริยะ  อธิษฐาน  ขันติ  สัจจะ  เมตตา  อุเบกขา  เท่านั้นนี่ข้อสำคัญ  รู้จักหลักนี้แล้  ให้ละสุขอันน้อยเสีย  สุขอันน้อยนั่นคืออะไร?  รูป  เสียง  กลิ่น  ร  สัมผัสที่เราใช้สอยอยู่นี้  รูปที่ชอบใจ  เสียงที่ชอบใจ  กลิ่นที่ชอบใจ  รที่ชอบใจส  สัมผัที่ชอบใจ  ติดอยู่ในภามภพ  ที่ให้เราซบอยู่ในกามภพนี้  โงศีรษะไม่ขึ้น  ไอ้  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส  นั่นแหละเป็นสุขนิดเดียว  สุขเล็กน้อยไม่ใช่  คือ  รูปที่ชอบใจ  เสียงที่ชอบใจ  กลิ่นที่ชอบใจ  สัมผัสที่ชอบใจ  เมื่อละได้แล้ว  เรียกว่า  จาคะ  สละสุขที่ยินดีใน  รูป  เสียง  กลิ่น  ร  สัมผัส  นั้นได้

                  ยินดีใน  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส  นั้นเป็นไฉน?  เงินทองข้าวของ  ญญาณกทรัพย์  อวิญญาณกทรัพย์  เหล่านี้เรียกว่า  รูปสมบัติ  ที่เรายินดีในรูปสมบัติ  นั้นแหละเรียกว่า  ยินดีในรูป

                  เสียงยกย่องสรรเสริญ  ยกยอสรรเสริญชมเชยต่าง  ๆ  เหล่านี้  ที่เป็นโลกธรรมเหล่านี้นั่นแหละ  ยินดีในเสียง  ถ้าเราไปยินดีติดอยู่ในเสียงสรรเสริญอันนั้นละก็  ทำให้เพลินซบเซาอยู่ในโลก  เป็นทุกข์  เป็นสุขกับเขาไม่ได้

                 กลิ่นหอมเครื่องปรุงต่าง  ๆ  อันเป็นที่ชื่นเนื้อเจริญใจ  นั่นแหละ  ยินดีในกลิ่น  มัวยินดีในกลิ่นอยู่เถิดจะซบเซาอยู่ในมนุษย์โลก  ในกามภพ  ดุจคนสลบโงศีรษะไม่ขึ้น

                 ติดรสเปรี้ยวหวานมันเค็มอยู่นี่แหละ  ยินดีในร  ถ้าว่ติดอยู่ในรสเช่นนั้นแล้วละก็  หรือติดรสอันใดก็ช่าง  ความติดรสอันนั้นแหละ  ทำให้โงหัวไม่ขึ้น

                 ยินดีในความสัมผัส  ถูกเนื้อต้องตัว  ถ้าเอาใจไปยินีในสัมผัสถูกเนื้อต้องตัวเข้าแล้ว  เข้าไปอยู่ในเปือกตมทีเดีย  โงศีรษะไม่ขึ้นอีกเหมือนกัน

               ๕  อย่างนี้ให้สัตว์โลกจมอยู่ในวัฎฏะสงสาร  ยินดีในรูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส  ติดอยู่ใน  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส  ออกจาก  วัฎฏะไม่ได้  กรรมวัฎ  วิปากวัฎ  กิเลสวัฎออกไม่ได้  ออกจากภพ  ๓  ไม่ได้  ออกจากกามไม่ได้เพราสละละสิ่งที่  ๕  ไม่ได้  ถ้าสละละสิ่งทั้งห้ามอันเป็นสุขน้อยนี้เสียได้แล้ว  เมื่อสละละสิ่งทั้งห้าเสียได้แล้ว  จะได้ประสบสุขอันไพบูลย์  ต้องประบสุขอันไพบูลย์แท้  ๆ  อันไพบูลย์ยิ่ง  ๆ  ขึ้นไป  ละของมนุษย์ได้แล้วต้องไปติดอยู่ในชั้นจาตุมหาราชของทิพย์อีก  ก็ต้องติดอยู่แบบเดียวกัน  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส  ก็ได้ชื่อว่า  ละไม่ได้  เพราะของเป็นทิพย์เสียอีก  ละชั้นจาตุมหาราชก็จะไปติดชั้นดาวดึงส์อีก  ชั้นดาวดึงส์ก็ปล่อยเสียอีกละเสียอีก  จะเข้าถึงยามา  ดุสิต  นิมมานรตี  ปรนิมมิตวสวัตดี  ละได้ทั้หมดนี้  ใครอุตส่าห์พยายามรักษาศีลมั่นจริง  เมื่อสละพวกนี้ได้แล้ว  ทำศีลให้มั่นขึ้น  ศีลมั่นแล้วเจริญเป็นทางสมาบัติทีเดียว  ให้เข้าสู่รูปฌานทั้งสี่ให้ได้  คือ  ปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌาน  จตุตถฌาน  จะได้ไปรับสุขยิ่งใหญ่ไพศาลไปกว่านี้และยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเข้าถึงฌานทั้งสี่  แตกกายทำลายขันธ์  ก็ได้ไปบังเกิดในพรหม  ๑๖  ขั้น  ได้รับความสุขยิ่งขึ้นไปเป็นขั้น  ๆ  จนกระทั่งถึงขนาดถึงพรหมชั้นที่  ๑๑  หรือ  ๑๒-๑๓-๑๔-๑๕-๑๖  ขึ้นไปก็ตามเถอะแต่ว่าอย่ติดนะ  ติดในชั้นพรหมไม่ได้  ละเสียได้เป็นสุข  ให้ละสุขในรูปภพนี้เสีย  แม้จะได้ไปครองสุขในอรูปภพต่อไปอีก  ยึดเอาอะไรไปครองสุขในอรูปภพต่อไป  อากาสานัญจายตนะ  วิญญาณัญจายตนะ  อากิญจัญญายตนะ  เนวสัญญานาสัญญายตนะ  สุขแค่นั้นจะเพียงพอแล้วหรือ?  ถ้าเราต้องการประสบสุขอันไพบูลย์ใหญ่ไพศาลแล้ว  ก็ให้ละสุขในอรูปพรหมอีก  อย่าติดอสุขในอรูปภพนั้น  ให้ไปถึงนิพพานทีเดียว  เมื่อไปถึงนิพพานแล้ว  นั่นแหละจะได้ประสบสุขอันไพบูลย์  และสุขอันนั้นเป็นสุขสำคัญ  สุขอื่นสู้ไม่ได้

               เมื่อรู้ว่าสุขเช่นนั้นแล้ว  ทำอย่างไรต่อไป  วิธีจะละตั้งแต่มนุษย์นี่  จะละสุขในมนุษย์หละ  เราจะละเท่าไหน?  ต้องแก้ไขวิธีละทีเดียว  ต้องใช้ละด้วยกาย  ละด้วยวาจา  ละด้วยใจ  ต้องใช้  ทาน  ศีล  ภาวนา  เป็นฆราวาสครองเรือนให้หมั่นให้ทาน  ให้ละสุขน้อยโดยการบริจาคทาน  ที่มีสมบัติยิ่งใหญ่ไพศาลในมนุษย์โลกดังนี้  ถึงมีพอประมาณหรือมีเล็กน้อยก็ช่าง  อุตส่าห์ละเถิด  จงให้ทานให้ความสุขในภพนี้  และภพหน้าต่อไปนับภพไม่ถ้วน  ให้อุตส่าห์ให้ทาน  ทานนี่แหละเป็นข้อสำคัญนัก  ท่านยืนยันตามตำรับตำรา  ว่ามนุษย์จะได้รับความสุขในมนุษย์โลกก็เพราะอาศัยการให้ทานกัน  ด้วยเหตุนี้  พระโพธิสัตว์เจ้าสร้างบารมีมาเกิดในมนุษย์โลก  ก็ย่อมให้ทานในเบื้องหน้า  ท่านเป็นผู้เก็บหมอรอมริบ  สนับสนุนอุปถัมภ์ค้ำชูแก่บริวารของท่านไม่แพ้ฝ่ายใด  ท่านก็อุปถัมภ์ค้ำชูตลอด  เพราะท่านเป็นผู้มีสมบัติยิ่งใหญ่ไพศาล  ท่านบริจาคท่านอย่างนี้  อัตราการให้ท่านนี่แหละที่จะส่งเราให้ไปถึงสุขยิ่งใหญ่ไพศาล  ถ้าไม่มีทานจะมีสุขอันยิ่งใหญ่ไพศาลไม่ได้เพราะไม่มีผลทางส่งให้ จะถึงสุขยิ่งใหญ่ไพศาลไม่ได้  เพราะฉะนั้น  ถ้าเกิดมาในมนุษย์  ถ้าเป็นคนจนเสียแล้ว  เราจะทำความดีให้เต็มส่วนเต็มที่ไม่ได้  เพราะว่าจะรักษาศีลก็รักษาไม่ได้ จะเจริญภาวนาก็เจริญไม่ไหวเพราะเป็นคนจนเสียแล้ว  ไม่ได้รักษาศีล  เจริญภาวะนา  เพราะห่วงการงานต้องประกอบิจการงาน  การงานเหนี่ยวรั้งไ  ให้ไปทำการงาน  จิตที่จะทำให้ยิ่งใหญ่ไพศาลในศีล  ภาวนา  ก็ทำไม่ได้

               ถ้าว่ามีสมบัติสมบูรณ์แล้ว  จะรักษาศีลก็รักษาได้สมบูรณ์บริบูรณ์  จะเจริญภาวนาก็เจริญได้  ไม่มีห่วงหน้าห่วงหลัง  จะบริจาคทานก็ทำได้สมความเจตนาทีเดียว  มีสมบัติสมควรที่จะบริจาคทานแล้ว  เมื่อเป็นเช่นนี้  ก็เพราะอาศัยผลทานนั่นแหละ  เป็นข้อสำคัญของทานนะ  ศีลก็ดี  ภาวนาก็ดี  ถ้าบริจาคทานแล้วมีผลลัพธ์  ทานมโย  บุญคือความบริสุทธิ์สำเร็จด้วยทาน  ฉกามาวจโร  เป็นเหตุให้เกิดในกามาจรหกชั้น  ทานเป็นเหตุให้เกิดในกามาวจร  ๖  ชั้น  ได้รับความสุขยิ่ใหญ่ไพศาลขึ้นไปเป็นลำดับ  เพราะทานส่งให้สีลมโยบุญ  คือ  ความบริสุทธิ์แล้วสำเร็จด้วยศีล  ศีลสำเร็จแล้เป็นเหตุให้เกิดในชั้น  อกนิฎฐา  ภพพรหมชั้นที่สิบหกโน้น  ต้องวางหลักอย่างนี้  ภาวนามโย  บุญคือความบรุทธิ์สำเร็จด้วยการเจริญภาวนา  อมตผโลเป็นผลที่จะได้บรรลุถึงชั้นนิพพาน  สำเร็จภาวนาแล้วเป็นผล  จะให้มนุษย์ถึงชั้นนิพพาน  ทานให้สำเร็จในสวรรค์หกชั้น  ศีลให้สำเร็จในพรหม  ๑๖  ชั้น  ภาวนาให้สำเร็จนิพพาน  ให้สำเร็จผลนิพพานทีเดียว  นี่ต้องวางหลักไว้  อย่างนี้  เมื่อได้รู้หลักอย่างนี้เป็นข้อสำคัญทาน  ศีล  ภาวนา  เหล่านี้  เป็นข้อสำคัญนัก  ให้ถึงสุขอันไพบูลย์ได้  สุขอัน  เป็นส่วนเต็มที่ได้  เพราะทาก็จะต้องส่งผลไปถึแค่สวรรค์  เมื่อถึงแค่สวรรค์แล้ว  ศีลก็ต้องส่งผลให้ไปถึงแค่ชั้นอกนิฎฐา  ภพรูปพรหม  ส่วนภาวนา  ก็ส่งผลให้ถึนิพพาน  เมื่อถึงนิพพานแล้ว  ก็จะได้รับสุขอันวิเศษไพศาลทีเดียว  นี่เป็นชั้น  ๆ  ไปดังนี้

                เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้วก็ค่อย  ๆ  เดนิเป็นลำดับขึ้นไป  ตั้งต้นแต่  กายมนุษย์  นี่วัดปากน้ำทำกันอยู่แล้ว ทำอยู่แล้วถึงนิพพานมากกมายแล้ว  ไม่ต้องเข้าใจเป็นอย่างอื่นไป  ตั้งหน้าตั้งตาทำทีเดียว  เมื่อมาเป็นภิกษุสามเณร  อุบาสก  อุบาสิกาแล้ว  ทำให้เรียบร้อยแล้ว  เรียกว่า  ใจ  เราทำทีเดียว  เรียกว่าเราทำทีเดียว  ต้องทำใจให้หยุด  เมื่อถึงเวลาให้ทานเราก็ให้ทานตามกาลตามสมัย  ให้ศีลบริสุทธิ์ไว้  แล้วก็เจริญภาวนาเสมออย่าให้คลาดเคลื่อน  ทำใจให้หยุด  เจริญภาวนทำใจให้หยุด  พอใจหยุดเท่านั้น  เข้าถึงทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์  ใจหยุดนั่นแหละ  จะพบพระบรมศาสดา

               หยุดตรงไหน?  ที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์  หยุดตรงนั้น  พอหยุดได้แล้วละก็  พอหยุดเท่านั้นแหละ  สมกับบาลีว่า  นตฺถิ  สนฺติ  ปรํ  สุขํ  สุขอื่นนอกจากนิ่งไม่มี  นี่เจอสุขแท้แล้วนี่นะ  สุขจริงตรงนี้นะเจอสุขแล้ว  เจอที่สุขแล้ว  เมื่อจอสุขสูงสุดอย่างนี้ละ  ก็ให้ตั้งหน้าตั้งตทีเดียว  ทำใจให้หยุดนิ่ง  หยุดทีเดียวหยุดหนักเข้า  อย่าถอยหลังกลับ  หยุดในหยุดหนักเข้อย่าถอยหลังกลับ  ผู้เทศน์ได้สั่งสอนกันแล้วให้ยุดอย่างนี้  หยุดไม่ถอยกลับ  ๒๓  ปีแล้ว  ๒๓  ปี  ๒  เดือนเศษแล้ว  หยุดในหยุดไม่ถอยหลังกลับกันเลย  ยังไม่ได้ถอยกลับกันเลย  ได้พบแล้วสุขอันไพศาลเหลือประมาณมากมาย  เล่าไม่ถูกพูดไม่ออกบออกไม่ได้ทีเดียว  ด้วยเหตุฉะนั้น  ผู้ที่อยู่ทีหลัง  ภิกษุ  สามเณร  อุบาสก  อุบาสิก  เมื่อต้องการควมสุขแล้วก็ต้องทำใจให้หยุด  นั่นแหละเป็นตัวสุข  เป็นตัวสุขแท้  ๆ  สิ่งอื่น  สุขไม่เท่าไม่ทันทั้งนั้น  พอใจหยุดได้ก็เป็นสุขทางภาวนา   ภาวนาขั้นสูง  เมื่อสุขไปทางภาวนา  ทำใจหยุดได้แล้วก็จะบรรลุ

    ปฐมมรรค
    ดวงธรรมานุปัสสนาติปัฏฐาน
    ดวงศีล
    สมาธิ
    ปัญญา
    วิมุตติ
    วิมุตติญาณทัสสนะ
    ต่อไป  จากกายมนุษย์ก็จะถึงกายมนุษย์ละเอียด  แล้วก็เข้าถึง
    ดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ศีล
    สมาธิ
    ปัญญา
    วิมุตติ
    วิมุตติญาณทัสนะ  ในกายมนุษย์ละเอียด  ละสุขในกายมนุษย์ละเอียดเสีย  ก็เข้าถึงกายทิพย์หยาบ  นี่สุขเป็นชั้น  ๆ  ขึ้นไป
    พอเข้าถึงกายทิพย์หยาบแล้ว  ก็เข้าถึง  ดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานในกายทิพย์อีก
    ถึงดวงศีล
    สมาธิ
    ปัญญา
    วิมุตติ
    วิมุตติญาณทัสนะ  ก็เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด  พอเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด  เข้าถึง
    ดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานในกายทิพย์ละเอียด
    ดวงศีล
    สมาธิ
    ปัญญา
    วิมุตติ
    วิมุตติญาณทัสสนะ  พอละสุขในกายทิพย์ละเอียดเสีย  ก็เข้าถึงกายรูปพรหมให้สูงขึ้นไป  ถึงกายรูปพรหม  ก็เข้าถึง
    ดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานในกายรูปพรหมอีก
    เข้าถึงดวงศีล
    สมาธิ
    ปัญญา
    วิมุตติ
    วิมุตติญาณทัสสนะอีก  ละสุขในกายรูปพรหมเสีย  ก็ถึงกายรูปพรหละเอียด  ใจเข้าถึงให้หยุดอยู่ตามส่วนอีก  เข้าถึงดวงธรรมานุปัสนาสติปัฏฐาน  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  วิมุตติ  วิมุตติญาณทัสสนะอีก  ละสุขในกายรูปพรหมละเอียดเสีย  ก็ถึงกายอรูปพรหมหยาบ
    ถึงกายอรูปพรหมหยาบ  ก็เข้าถึง
    ดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานในอรูปพรหม
    ดวงศีล
    สมาธิ
    ปัญญา
    วิมุตติ
    วิมุตติญาณทัสสนะ  ละสุขในกายอรูปพรหมหยาบเสีย  ก็เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด  ใจกายอรูปพรหมละเอียด  ก็หยุดอยู่ศูนย์กลางตามส่วนอีก  เข้าถึงดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ดวงศีล
    สมาธิ
    ปัญญา
    วิมุตติ
    วิมุตติญาณทัสสนะ  ละสุขในกายอรูปพรหมละเอียดเสียก็ถึง  กายธรรม  สุขเกินสุขขึ้นไปอีก  สุขเกินสุขนักขึ้นไปอีก
    ใจของกายธรรมหยาบหยุดเข้า
    ก็ถึงดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ดวงศีล
    สมาธิ
    ปัญญา
    วิมุตติ
    วิมุตติญาณทัสสนะ  ละสุขในกายธรรมหยาบเสีย  ก็เข้าถึงกายธรรมละเอียด  สุขหนักขึ้นไป  ใจของกายธรรมละเอียดก็หยุด
    ถึงดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ดวงศีล
    สมาธิ
    ปัญญา
    วิมุตติ
    วิมุตติญาณทัสสนะ  ละสุขในกายธรรมละเอียดเสีย  ก็เข้าถึงกายธรรมพระโสดาหยาบ  ซึ่งเป็นสุขมากกว่า  เข้าถึงกายพระโสดาหยาบแล้สุขหนักขึ้นไป
    ใจของกายธรรมพระดาหยาบก็หยุดอีก  เข้าถึงดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ศีล
    สมาธิ
    ปัญญา
    วิมุตติ
    วิมุตติญาณทัสสนะ  ในกลางกายนั้น  เข้าถึงกายธรรมพระโสดาละเอียด  ละกายพระโสดาหยาบเสีย  ก็เข้าถึงกายพระโสดาละเอียด  สุขหนักขึ้นไป
    ใจของกายพระโสดาละเอียด  ก็หยุดอีก
    ถึงดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ดวงศีล
    สมาธิ
    ปัญญา
    วิมุตติ
    วิมุตตญาณทัสสนะ  ละสุขในกายธรรมพระโสดาละเอียด  เพราะสุขน้อยกว่าเสีย  ก็เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาหยาบ  สุขหนักขึ้นไป  สุขมากขึ้นไปกว่า
    ใจของกายธรรมพระสกทาคาพยาบ  ก็หยุดในกลางของหยุดต่อไปอีก
    ถึงดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ดวงศีล
    สมาธิ
    ปัญญา
    วิมุตติ
    วิมุตตญาณทัสสนะ  ก็เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาละเอียด  ละสุขในกายธรรมพระสกทาคาหยาบเสียได้  สุขหนักขึ้นไป
    ใจของกายพระสกทาคาละเอียด  
    ก็เข้าดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ดวงศีล
    สมาธิ
    ปัญญา
    วิมุตติ
    วิมุตตญาณทัสสนะ  ก็เข้าถึงกายพระอนาคาพยาบ  ละสุขกายธรรมพระสกทาคาละเอียดเสีย  เพราะเป็นสุขน้อยกว่า  ก็เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาพยาบ  สุขมากกว่า  ละเอียดกว่าใจของกายธรรมพระอนาคาหยาบ
    หยุดก็เข้าถึดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ดวงศีล
    สมาธิ
    ปัญญา
    วิมุตติ
    วิมุตตญาณทัสนะ  ก็เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาละเอียด  ละสุขในกายพระอนาคาหยาบเสีย  เพราะสุขน้อยกว่า  ก็เข้าถึงกายพระอนาคาละเอียด สุขมากกว่า
    ใจของกายธรรมพระอนาคาละเอียด  ก็หยุดต่อไปอีก
    เข้าถึงดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ดวงศีล
    ดวงสมาธิ
    ปัญญา
    วิมุตติ
    วิมุตตญาณทัสสนะ  ก็เข้าถึงกายธรรมพระอรหัตหยาบ  ละสุขในกายพระอนาคาละเอียดเสีย  ก็เข้าถึงกายธรรมพระอรหัตหยาบ  สุขมากกว่า  นี่เป็นเช่นนี้  เป็น  นิรามิษสุข  เป็น  วิราคธาตุ  วิราคธรรม  ทีเดียว
    ใจของกายธรรมพระอรหัตหยาบ  หยุดนิ่งกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระอรหัตถูกส่วนเข้า  เข้าถึงดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ดวงศีล
    ดวงสมาธิ
    ดวงปัญญา
    วิมุตติ

                วิมุตติญาณทักสสนะ  ก็เข้าถึงกายธรรมพระอรหัตละเอียด  ละสุขในกายธรรมพระอรหัตหยาบเสีย  ก็เข้าถึงสุขในกายธรรมพระ  อรหัตละเอียด  ละสุขในกายธรรมพระอรหัตละเอียดเสีย  ก็เข้าถึงกายธรรมพระอรหัตในพระอรหัตที่ละเอียด  ๆ  ๆ  ๆ  ๆ  ๆ  ต่อ  ๆ  ไปอีกนับไม่ถ้วน  นี่มันเป็นสุขอย่างนี้  เดินนิพพานนี้  วิปุลํ  สุขํ  สุขถึงขนาดนี้  ถ้าว่าไม่ละสุขที่น้อยเสีย  ก็ไม่ได้สุขใหญ่สมความปรารถนา

                ถ้าเมื่อมาเจอกายมนุษย์แล้ว  มาสุขกับกายมนุษย์  ม้วงมอยู่แต่รูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส  นั้นแหละ  มันก็ได้เท่านั้นจนแก่กาย  เอาดีไม่ได้เลย  สุขแค่นั้นเอง  นี่มันสุขน้อยอย่างนี้  เพียงนิดเดียวเพราะอะไร  เพราะรู้ไม่เท่ากันตัวเอง  ไม่ลาดรู้ไม่เท่ากันตัวเอง  ไม่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า  ไม่ได้ฝึกฝนใจในทางพระพุทธเจ้าพระอรหันต์  ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ  ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของสัตบุรุษ  ความเห็นจึงพิรุธไปเช่นนั้น

               ถ้าหากว่าฉลาด  รู้จัก  ให้ทาน  รักษาศีล  เจริญภาวนา  ถ้าแม้ว่ยังไม่ได้สูงขึ้นไปก็จะได้สุขในชั้นจาตุมหาราช  ดาวดึงส์  ยามา  ดุสิต  นิมมานรดี  ปรนิมมิตวสวัตตี  เหล่านี้  มันก็เวียนอยู่ในรูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส  นั่นแหละ  ในกามนั่งเอง  มันยังเป็นกาม  ไปทางโลกก็สุขนิดหน่อยเท่านี้  ไม่ได้อะไรหละ  สุขอยู่ชั่วคราวมนุษย์นี่ก็สุขอยู่ชั่วคราว ประเดี๋ยวเดียว  อายุ  ๑๐๐  ปีเท่านั้นอย่างมากหรือน้อยกว่านั้น  ก็ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น  ถ้าเราได้เห็นเทวดาก็สุขตามส่วนขึ้นไป  อายุก็ตามส่วนขึ้นไป  จะนานหนักเข้า  แต่ว่าถึงกระไรก็เถอะ  ปรนิมมิตวสวัตดี  สุขมากน้อยเท่าใดก็ช่าง  สุขประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น  ไม่มากเท่าใด  ไปถึงรูปพรหมก็สุขเป็นกัป  ๆ  เหมือนกัน  เป็นมหากัป  ถึงอกนำฐาภพ  ถึงเวหัปผลานั่นแน่  อสัญญีสัตตาโน่น  ๕๐๐  มหากัลป์   ถึงห้าร้อยมหากัป  ก็สุขนิดเดียวอีกเหมือนกัน  ไม่จริง  หลอก  ๆ  ไม่จริงหลอกสุขในชั้นแนวสัญญานาสัญญา  อกนิษฎฐาโน่นสุขสูงขึ้นไป  สุขสูงขึ้นไปขนาดนั้นก็ขนาด  ๑,๐๐๐  มหากัปเท่านั้น  ไม่เท่าไรนัก  สุขยิ่งขึ้นไป  นี่ไม่ใช่สุขในทางนิพพาน  มีชั้นสุขสูงสุดอย่างนี้  ถ้าสุขในภพถึง  ๘๔,๐๐๐  มหากัปในโลก  เพราะติดสุขในภพเหล่านี้และเรียกว่า  ติดสุขน้อย  ไม่ใช่สุขใหญ่  สุขใหญ่คือสุขอันไพบูลย์  ให้ละสุขน้อยอันนั้น  เมื่อไปถึงแล้วก็ไม่ติดสุขหนักขึ้นไป  ไม่ถอยเลย  ไม่ได้หยุดอยู่กับที่  สุขทวีขึ้นไปเหล่านี้เลย  ไม่มีถอยกลับ  นี่ต้องนับว่าวิชชาวัดปากน้ำวิชาสมถะ-วิปัสสนาเดินให้ถูกแนวนั้นทีเดียว  เข้าถึงธรรมกายให้ได้  เข้าถึธรรมกายเป็นลำดับไป  ยิ่งใหญ่ไพศาลนับประมาณไม่ได้  จะไปพบพระพุทธเจ้า  พระนิพพาน  พระอรหันต์  ก็รู้ตัวทีเดียว  ว่า  อ้อเราเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา  ได้รู้จักของจริง  เห็นของจริงอย่างนี้  ไม่เสียทีที่พ่อแม่เอาบน้ำป้อนข้าวมา  อุ้มท้องมาไม่หนักเปล่  แม้บุคคลที่จะทูนไว้ด้วยเศียรเกล้าก็ไม่เมื่อยเปล่า  ไม่หนักเปล่า  ได้ชื่อว่าเป็นคนมีปัญญาประกอบคุณสมบัติยิ่ใหญ่ไพศาลใส่อาตมาของตนได้  ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา

             ที่ได้ชี้แจงแสดงมาในการละสุขน้อย  ประสบสุขมาก  สมมาดปรารถนา  สมควรแก่เวลา  เอเตน  สจฺจวชฺเชน  ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้  สทาโสตฺถี  ภวนฺตุ  เต  ขอความสุขสวัดีจงมีแก่ท่านทั้งหลาย  บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า  สิทะมตฺถุ  สิทฺธมตฺถุ  สิทฺธมตูถุ  อิทํ  ผลํ  เอตสฺมิ   รตนตฺตยสฺมิ  สมฺปสาทนาเจจตโส  ขอจิตอันผ่องใส  ขอจิตอันเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนี้  หท่านทั้งหลายจงเป็นผลสำเร็จ  จงเป็นผลสำเร็จ  จงเป็นผลสำเร็จ  สมมาดปรารถนาทุกประการ  ดังอาตภาพรับประทานวิสัชนามา  พอสมควรแก่เวลา  สมมติยุติธรรมิกถาโดยอรรถนิยมความก็เพียงแต่เท่านี้  เอวํ  ก็มีด้วยประการฉะนี้

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0014373977979024 Mins