กัณฑ์ที่ ๖๖ หิริโอตตัปปะ (เทวธรรม ภาคา)

วันที่ 25 มค. พ.ศ.2561

กัณฑ์ที่ ๖๖
หิริโอตตัปปะ (เทวธรรม ภาคา)

มรดกธรรม , พระมงคลเทพมุนี , ประวัติย่อ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี , สด จนฺทสโร , หลวงปู่วัดปากน้ำ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , สด มีแก้วน้อย , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , วัดปากน้ำ , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , สมาธิ , กัณฑ์ , ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด , คำสอนหลวงปู่ , หลวงพ่อสดเทศน์ , เทศนาหลวงพ่อสด , พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี , พระผู้ปราบมาร , ต้นธาตุต้นธรรม , พระเป็น , อานุภาพหลวงพ่อสด , เทปบันทึกเสียงหลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระของขวัญ , ทานศีลภาวนา , หิริโอตตัปปะ , กัณฑ์ที่ ๖๖ หิริโอตตัปปะ (เทวธรรม ภาคา)

อิทนา ตสฺส ภควโต อรหดต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ปรินิพฺพานโต ปัฎฐาย เอกูนฺสตุตฺตรจตุสตาธิกานิ
เทวสํวจฺฉรสหสิสานิ อติกฺกนฺตานิ
ปจฺจุปนฺรกาสวเสน มาฆมาตสฺส ปญฺจวีสติมงฺ ทนฺนํ วารวเสน ปน
โสรวาโร โหติ เอวํ ตสฺส ภควโตปรินิพฺพานา
สาสนายุกาลคณนา สลฺสกฺเขตพฺพา สกฺกจฺจํ ธมฺโม โส ตพฺโพติฯ

    ศุภมัสดุพระพุทธศาสนายุกาล จำเดิมแต่ปรินิพพาน แห่งพระองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น บัดนี้ล่วงแล้วได้ ๒๔๙๙ พรรษา ปัจจุบันสมัยกุมภาพันธมาส สุรทินที่ ๒๕ โสระวาร (เสาร์) ของพุทธปรินิพพานอันกำหนดนับ ศาสนันกาลจำเดิมแต่ปรินิพพานองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีนัยอันจะกำหนดนับ ด้วยประการฉะนี้ เบื้องหน้าแต่นี้จงตั้งสัมมนาหาระจิตฟังคำภาษิต ดังจะแสดงต่อไปนี้ เถิดเทอญ

นโม ตสฺส ภควดต อรหดต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ (๓ ครั้ง)
หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา    สุกฺกธมฺมสมาทิตา
สนฺโต สปฺปุริสา โลเก    เทวธมฺมาติ วุจฺณร ติ

      ณ บัดนี้ อาตมาภาพจะได้แสดงธรรมอันประเสริฐเรียกว่า หิริโอตฺตปฺปธรรม นี้สำหรับอุปกระสัตว์โลกให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขไปตามๆกัน ก็เพราะอาศัยธรรมหิริโอตัปปะนี้ เป็นธรรมสำคัญคุ้มครองสัตว์โลก ให้สัตว์โลกร่มเย็นเป็นสุข ไม่กระทบกระเทือน ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ไม่เสียดสีซึ่งกันและกัน ไม่ริษยาในกันและกัน ก็เพราะอาศัยหิริโอตตัปปะนี้แหละเป็นข้อสำคัญ นักปราชญ์ทั้งหลายตั้งแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา ท่านอุบัติตรัสขี้นในโลก ธรรมอันนี้มีอยู่ก่อนพระพุทธเจ้าอุบัติเกิดขึ้น ให้สัตว์ในโลกอาศัยร่มเย็นเป็นสุขก็เพราะอาศัยธรรมนี้เรียกว่า หิริโอตตัปปะธรรมสัตว์โลกหมดทั้งสากลโลกหญิงและชายก็ดี ถ้าไม่มีความละอายมีความเกรงกลัวกันแล้ว ย่อมเบียดเบียนซึ่งกันและกันเป็นเบื้องหน้าไม่ได้รับความสุขไปตามกันเพราะอาศัยเบียดเบียนซึ่งกันและกัน เบียดเบียนซึ่งกันและกันด้วยกายบ้าง เบียดเบียนซึ่งกันและกันด้วยวาจาบ้าง เบียดเบียนซึ่งกันและกันทางใจบ้าง

    เบียนดเบียนซึ่งกันและกันทางกายนั้น แต่เดิมวัตถุให้เห็นปรากฎ เมื่อเป็นพ่อค้าแม่ค้าก็รุกรานกันในเชิงการค้านั้นๆ รุกรานกันในเชิงการค้านั้นๆ ด้วยกายบ้าง รุกรานในเชิงการค้านั้นๆ ด้วยวาจาจ้าง นี้ก็เพราะอะไร?ต่ออะไร? เพราะปราศจากหิริและโอตตัปปะ ถ้ามีหิริความละอายแก่ใจโอตตัปปะความสะดุ้งกลัวอยู่แล้ว ไหนเลยจะเบียดเบียนกันด้วยกายบ้าง ไหนเลยจะเบียดเบียนกันด้วยวาจาบ้าง ไม่กล้าจะทำลงไป เพราะให้ความเดือดร้อนซึ่งกันและกัน เห็นปรากฎเฉพาะหน้าเฉพาะตาเช่นนั้น บุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะตั้งอยู่ในเทวธรรม ธรรมอันประเสริฐเช่นนี้แล้ว ไม่กล้าประพฤติละเมิดเช่นนั้นได้ทั้งกายทั้งวาจา อายนัก ให้ความทุกข์เขาด้วยกายอายนัก ให้ความทุกข์เขาด้วยวาจาก็อายนักเหมือนกัน มีแต่ให้ความสุขทางกาย ความสุขทางวาจา ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน การค้าก็ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน แม้ถึงจะเป็นชาวนาเล่า ก็เบียดเบียนกันด้วยกายปรากฎอยู่ รุกทำไร่ทำนากันไปตามหน้าที่ เบียดเบียนกันในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่นนี้ เหล่านี้ หรือไม่กระนั้นรุกกันปรากฎต่อหน้าต่อตา จนกระทั่งถึงเป็นความกันในโรงในศาล อย่างนี้น่ารำคาญเพราะคนปราศจากความละอายและความสะดุ้งกลัว ปราศจากหิริและโอตตัปปะ เรียกว่า อหิริกํ อโนตปฺปํ ไม่มีความละอายไม่มีความกลัว หน้าด้านใจด้าน พวมนุษย์คนพาลแท้ๆ

    พวกหิริโอตตัปปะหน้าบางใจบาง หน้าอ่อนใจอ่อน ประพฤติให้ความสุขเขาทั้งข้างนอกข้างใน อย่างนี้เรียกว่า อหิริกํ อโนตปฺปํ พวกที่ให้ความร้อนเดือดร้อนเค้าเรียกว่า อหิริกํ อโนตปฺปํ ไม่มีความละอายความสะดุ้งกลัว ถ้ามีความสะดุ้งกลัวนั้นไม่ให้ความทุกข์เขาทั้งกาย วาจา ทั้งข้างในข้างนอก ตลอดถึงใจก็เหมือนกัน การทำนาหรือทำสวนทำไร่ไมเข้าใจให้ความร้อนกันต่อหน้าต่อตาไม่ใช่เช่นนั้น นั่งอยู่ต่อหน้าบ้านใกล้เรือนเคียงกัน รุกนิดรุกหน่อยในกันและกันไม่เอา อย่างนี้ให้ความทุกข์กัน ให้ความสุขกันไม่ให้ความทุกข์กัน เพราะฉะนั้นต้องมีความละอาย ไม่ใช่แต่เพียงว่า ชาวนาชาวสวนหรือพ่อค้าแม่ค้ามาขาย นักปกครองแผ่นดินก็รุกกัน พระเจ้าแผ่นดินคนไหนรุกรานคนอื่นแล้วพระเจ้าแผ่นดินองค์นั้นเรียกว่า อหิริกํ อโนตปฺปํ ไม่มีความละอายไม่มีความสะดุ้งกลัว ให้ความเดือนร้อนแก่เขา ลดชั้นเป็นลำดับลงมาจนกระทั่ง ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา  ถ้ามาบวชในธรรมวินัย แลให้ความเดือดร้อนกันด้วยกายด้วย ให้ความเดือดร้อนด้วยวาจาด้วย นี่ก็เบียดเบียนกันเหมือนกัน ไม่ได้รับความสุขไปตามๆ กัน เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ไม่ใช่แต่เท่านั้น เป็นมหาเปรียญเล่าเรียนในโรงเรียนก็เหมือนกัน เบียดเบียนกันด้วยกาย เบียดเบียนกันด้วยวาจา เบียนเบียนกันทางใจ ให้ความทุกข์ให้ความเดือดร้อนใจกันและกันนี่เบียนดเบียนทั้งนั้น สามเณรก็เบียดเบียนกัน หิริกํ โอตฺตปฺปํ ให้มีความละอาย ให้มีความสะดุ้งกลัวนั่นเป็นข้อสำคัญความละอายและความสะดุ้งกลัวไม่เบียดเบียน ให้ความเดียดร้อนคนอื่นด้วยกายไม่มีเลย ให้ความเดือดร้อนคนอื่นด้วยวาจาไม่มีเลย ให้ความเดือนร้อนคนอื่นด้วยใจไม่มีเลย ไม่เบียดเบียนเขาทีเดียวเป็นเด็ดขาด ถ้าว่าอุบาสกอุบาสิกาประพฤติอย่างนี้สามารถดั่งนี้แล้วละก็ ให้ความสุขกับตนบุคคลอื่นด้วย เป็นอุบาสกอุบาสิกาจริงๆ สามเณรเล่า ภิกษุสามเณรเล่าก็เป็นภิกษุสามเณรจริงๆ ซึ่งตรงต่อพระพุทธศาสนา อหิริกํ อโนตปฺปํ ไม่มีความไม่ละอายความไม่สะดุ้งกลัวเลิกเสีย เหลือแต่ความละอายความสะดุ้งกลัว อหิริกํ อโนตปฺปํ มีความละอายความสะดุ้งกลัวอยู่เช่นนี้แล้ว ตั้งใจให้แน่แน่ว นี่เป็นเริ่มต้นการประพฤติปฎิบัติในศาสนา เมื่อตั้งอยู่ในหิริโอตตัปปะเช่นนี้แล้ว ต้องควบตัวนั้นแหละตั้งอยู่ในธรรมอันขาวแล้ว เกื้อกูลในธรรมอันขาวแล้ว ถูกต้องร่องรอยทางนักปราชญ์ราชบัณฑิตแล้ว 

    ท่านยังประสงค์ไปอีก นี้แหละ สนฺโต เป็นธรรมเครื่องสงบระงับ เครื่องสงบระงับเสียง ไม่มีใครมาโพทนาว่ากล่าว สงบระงับหมด เรื่องราวทั้งหลายเหล่านั้นสงบระงับหมด เงียบหมด เรียบร้อยอยู่บ้านใกล้ก็ไม่มีเสียง ก็เพราะอาศัยความละอายความสะดุ้งกลัว นี่ค้ำจุนอยู่ เมื่อไม่มีเสียงเช่นนั้นชื่อว่า สนฺโต เป็นผู้สงบระงับ โลเก เธวธมฺมา วุจฺจเร เธวธมฺมา วุจฺจเร นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่านี้เป็นธรรมอันประเสริฐในโลกนี้ด้วยประการดังนี้ นี่หลักจำไว้นะ ดังนี้จะอรรถาธิบายแปลบาลีเป็นปาฐก ให้เราท่านทั้งหลายเข้าใจชัดตลอดแจ้ง ในการที่จะแสดงต่อไปนี้

    เอาละว่ากันตามขอบเขต เรียกว่าอุบาสกอุบาสิกา เรียกว่าอุปาสโกแปลว่าผู้เข้าใกล้ แปลว่าผู้มั่นอยู่ในศีล๕ มั่นอยู่ในพระรัตนตรัย ศีล๕ กรรมบท๑๐ แน่นหน้าอยู่ทีเดียว ไม่ฝั้นเฝือนทีเดียวเรียกว่าอุบาสกเรียกว่าอุบาสิกา ชายมั่นอยู่ในศีล๕ มั่นอยู่ในกรรมบท๑๐ นี่ชื่อว่าเป็นอุบาสกแท้ๆ เบื้องต้นไม่มีพุทธกาลเป็นอุบาสกใช้ได้ มั่นอยู่ในศีล๕ ถ้าว่าในพระพุทธศาสนามั่นอยู่ในตรัยสรณคมน์ด้วย มั่นอยู่ในศีล๕ มั่นอยู่ในตรัยสรณคมน์ นี้เรียกว่าเป็นอุบาสก ถ้าหญิงเรียกว่าเป็นอุบาสิกา แปลภาษาว่า อุบาสิกาสโก แปลว่าผู้เข้าใกล้ หรือผู้ใกล้พระรัตนตรัย

    มั่นอยู่ในศีล๕ ศีล๕ก็ไม่ขาดตกบกพร่องเป็นนิจศีลทีเดียว เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ตัวเป็นให้จำตายไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า เห็นว่าการฆ่าสัตว์เป็นเบียดเบียนเขา ผิดขนบธรรมเนียมของคนดี ก็เว้นขาดจากใจเสีย

    การฉกลักสมบัติของคนอื่นมาเป็นของๆตน นี่ก็เป็นหน้าที่ของคนพาล ให้ความทุกข์เขาเป็นเบื้องหน้า เราไม่ปรารถนาจะประพฤติเช่นนั้น ให้ความสุขมาเป็นเบื้องหน้า เว้นขาดจากการถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ด้วย อาการของขโมย ด้วยตนของตน ไม่ชักชวนผู้อื่นด้วย อย่างนี้เรียกว่ามั่นอยู่ในการอทินทาน

    ข้อสาม การประพฤติล่วงกาเมสุมิฉาจาร ประพฤติล่วงลักเขา ลูกเขา เมียเขา สามีเขาลักให้เจ้าของเดือดร้อนรำคาญ อย่างนี้น่าอัปยศอดสู น่าเกลียดน่าชัง ประพฤติไม่ได้คนดีประพฤติไม่ได้อายนัก ไม่ประพฤติไม่ล่วงในข้อนั้นๆ ไม่จาบจ้วงล่วงเกินในข้อนั้นๆ นี้ได้ชื่อว่ามั่นอยู่ในกาเมสุมิฉาจาร

    การกล่าวปดไม่จริงหลอกลวงต่างๆ นี่มันคนเลว ไม่ใช่คนดีเราประพฤติเช่นั้นไม่ได้ เว้นขาดจากใจให้หมด คำที่เรียกว่าปดน่ะรู้นะ ตัวจะกล่าวออกไปตัวก็รู้ว่าไม่จริง แต่ว่าขอไปที จนแต้มเข้าแล้วขอไปที อย่างนี้ไม่ใช่อุบาสก อย่างนี้ไม่ใช่อุบาสิกา เป็นอุบาสกอุปบาสิกาจอมปลอม นี่ทำให้ศาสนาเสีย เสีย ทำให้ร่องรอยตำรับตำราสูญเสียหมด นี่ปรากฎว่าเป็นคนประทุษร้ายศาสนา ประทุษร้ายศาสนาก็ประทุษร้ายตัวของตัว ไม่ใช่ประทุษร้ายใคร ให้มั่นอยู่ไม่พูดปดนั่นทีเดียว ไม่ใช่ให้ผู้อื่นปดด้วย แน่นอนในใจ ข้อที่๔

    ๕ ไม่ดื่มน้ำที่ทำให้คนดื่มแล้วเมา อันเป็นที่ตั้งของความประมาท ไม่ดื่มน้ำที่ทำให้ดื่มให้เมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เว้นขาดจากน้ำที่ทำให้ดื่มให้เมาทีเดียว ไม่ดื่อเหล้าไม่ดื่มสุราทีเดียวที่สุดหรือเบื้องต้นบุหรี่ก็ไม่สูบ เห็นว่าเป็นของเมา สังเคราะห์เข้าในเครื่องมึนเมา ไม่เสพทีเดียว อย่างนี้มั่นอยู่อย่างนี้ใช้ได้ เรียกว่ามั่นอยู่ในศีล๕ เมื่อมั่นอยู่ในศีล๕ เช่นนี้ ชายเรียกว่าอุบาสก หญิงเรียกว่าอุบาสิกา แต่ยังไม่เต็มที ต้องมั่นในพระตรัยสรณาคมน์ด้วย มั่นอยู่ในตรัยสรณาคมน์นี้แหละถึงเป็นที่ต้องการในทางพระพุทธศาสนา

    มั่นอยู่ในพระตรัยสรณาคมน์น่ะ หญิงก็เข้าถึงพระตรัยสรณาคมน์ ชายก็เข้าถึงพระตรัยสรณคมน์ ก็ถึงพระตรัยสรณคมน์ถึงด้วยปากหรือถึงด้วยใจ? ถึงด้วยกาย ถึงด้วยกาย วาจา หรือถึงด้วยใจ นึกดูซิ? ที่ต้องประสงค์ในพระพุทธศาสนานะ ถึงด้วยกายๆ ถึงด้วยวาจา ถึงด้วยใจ ถึงด้วยกายน่ะ กายก็ต้องเคารพต่อพระรัตนตรัย รู้ได้อย่างไร? ว่าคนนี้มั่นอยู่ในไตรสรณคมน์แล้ว รู้ซิทำไม่ถึงไม่รู้ รู้ทีเดียว รู้ทีเดียวแหละ รู้ทีเดียวผ่านวิหารลานพระเจดีย์ก็รู้ทีเดียว กริริยามารยาท เดินก็รู้ จะแสดงมารยาทอย่างไรก็รู้เดิมดูถูกดูหมิ่นที่เคารพอยู่แล้วละก็ นั่นไม่มีตรัยสรณาคมน์หรอก จะไม่มีเสียแล้วตรัยสรณคมน์ จะทำลายเสียแล้ว หรือภิกษุสามเณรที่เป็นเทือกเขาเหล่ากอสมณะเช่นนี้ ไม่ได้เสียหายอย่างหนึ่งอย่างใด อุบาสกอุบาสิกา ผ่านภิกษุสามเณรไป ไม่มีความเคารพอ่อนน้อม เหล่านี้ได้ชื่อว่า ตรัยสรณาคมน์ก็ไม่มี ยังไม่มีมั่นในสันดาน ถ้าว่ามีมั่นในสันดานแล้วล่ะก็ ผ่านไปเจดีย์หรือวิหาร หรือพัทธเสมาใดๆ ถ้าว่าไปในสถานที่เช่นนั้น ทำสกปรกเปอะเปื้อนทำความสะอาดหมดเลยทีเดียว ไม่ให้สกปรกเปอะเปื้อนทีเดียว นั่นก็เคารพในตรัยสรณคมน์ นั่นล่ะปฎิบัติบวัติฐากทีเดียว ภิกษุสามเณรก็เคารพนพพอบทีเดียว นี้มั่นอยู่ในพระตรัยสรณคมน์ นี่มั่นแต่เพียงว่า ขอถึงตรัยสรณาคมน์น่ะ เป็นแต่เคารพด้วยกาย เคารพวาจา วาจาก็ต้องสาธุอยู่ แล้วก็ใจ ใจก็อ่อนน้อมอยู่ เหล่านี้ได้ชื่อว่ามั่นอยู่ในพระตรัยสรณคมน์ แต่ว่ายังไม่เข้าถึงตรัยสรณคมน์ ยังไม่ได้ตรัยสรณคมน์ เป็นแค่มั่นอยู่เพียงเท่านั้นเอง ต้องให้เข้าถึงตรัยสรณคมน์ ให้ได้ตรัยสรณคมน์

    ตรัยนะอะไร? ตรัยนั้นแปลว่าสาม สรณะเขาแปลว่าที่พึ่ง แปลว่าแก้ว หรือแปลว่าที่พึ่ง ที่พึ่งสามอย่าง คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ เข้าถึงพุทธรัตนะ เข้าถึงธรรมรัตนะ เข้าถึงสังฆรัตนะเป็นชั้นๆ เข้าไป หลายชั้นจริงการเข้าถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะนั้นหลายชั้นจริง ไม่ใช่ชั้นเดียว หรือสองชั้น ถึงไม่ใช่ง่ายถึงยากนัก ถึงยากโดยประการไฉน? ถึงเป็นชั้นๆเข้าไป

    ถึงกายมนุษย์นี่ก็ชั้นหนึ่ง ปฎิบัติถูกสัดถูกส่วนก็เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด ที่มันนอนฝันออกไปทำหน้าที่ฝัน แต่เมื่อเลิกฝันมันก็เข้าอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ซะ นั่นกายมนุษย์ละเอียด

    ให้เข้าถึงกายทิพย์อีก ชั้นที่๓ เข้าไป ฝันในฝันเข้าไป แต่ยังไม่ถึงตรัยสรณาคมน์ ให้เข้าถึงกายที่ละเอียด เป็นชั้นที่๔ เข้าไป แต่ยังไม่ถึงตรัยสรณาคมน์ กายใหญ่หนักขึ้นไป

    ให้เข้าถึงกายรูปพรหมอีกเป็นชั้นที่๕ ให้ถึงกายรูปพรหมละเอียดอีกเป็นชั้นที่๖ ให้เข้าถึงกายอรูปพรหมอีกเป็นชั้นที่๗ ให้ถึงกายอรูปพรหมละเอียดอีกเป็นชั้นที่๘ นี่ยังไม่ถึงตรัยสรณาคมน์ แต่ว่าถึงไปเป็นลำดับ ยังไม่ถึงตรัยสรณาคมน์ ยังไม่ได้ตรัยสรณาคมน์ เป็นแต่มั่นๆ อยู่เท่านั้นแหละ ต้องให้ได้ตรัยสรณาคมน์ ถึงพระตรัยสรณาคมน์ทีเดียว ให้เข้าถึงธรรมกาย รูปเหมือนพระปฎิมากรเกตุดอกบัวตูม ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า หน้าตักหย่อนกว่า ๕วา สูง๕วา หรือหน้าตักเพียง๕ วา สูง๕ วา อย่างนี้ได้ชื่อว่าถึงพระตรัยสรณาคมน์ ได้ตรัยสรณาคมน์ล่ะ ไม่ว่ากลางวันกลางคืน นั่ง นอน เดิน ยืน อิริยาบททั้ง๕ นึกทีไรเห็นแจ่มใจก็ตรึกอยู่ในพระตรัยสรณาคมน์ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะนั่น ให้มั่นคงไปอย่างนั้น ตรัยสรณคมน์คำนี้ เป็นข้อที่ ๑

    ให้เข้าถึงตรัยสรณาคมน์อีกชั้นหนึ่ง กายพระโสดา-กายโสดาละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา-ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระโสดาละเอียด นี่เป็นชั้นที่สองเข้าไป

      ขั้นที่๓เข้าไปอีก ให้เข้ากายพระสกิทาคา ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกิทาคา กายพระสกิทาคาละเอียด

      เข้าไปชั้นที่๔ เข้าไป เข้าไปถึงกายพระอนาคา ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา กายพระอนาคาละเอียด

     ขั้นที่๕ เข้าไปให้เข้าถึงกายพระอรหัต ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต กายพระอรหัตละเอียด นี่เข้าไปถึง๕ ชั้นเท่านี้ เรียกว่า ตั้งอยู่ในพระตรัยสรณาคมน์ ได้พระตรัยสรณาคมน์

    นี่ในพระพุทธศาสนานิยมอย่างนี้ ไม่ใช่แต่เพียงว่า ทำกันเล็กๆ น้อยๆ ละก็ไม่สำเร็จประโยชน์ไม่ใช่เช่นนั้น เอาจริงๆ ปฎิบัติจริงๆ กัน ได้จริงๆ กัน ถ้าได้จริงๆ มารไม่ขัดขวางเหาะเหินเดินอากาศได้จริงๆ นะ ไม่ใช่ของพอดีพอร้าย เมื่อเรารู้เข้าใจแค่ดังนี้ ต่อแต่นี้จะได้แสดงหิริโอตัปปะให้ฟังดังนี้ 

    หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา มีความละอาย มีความสะดุ้งกลัว ศีล๕ สิกขาบทขึ้นไป ไม่บริสุทธิ์ข้อไหนละ อายนักทีเดียว อายตัวเองนะไม่ใช่อายใครน่ะ ไม่บริสุทธิ์ข้อไหนละ อายนักอายตัวเองนัก อายตัวเองนักทีเดียว อายนัก ไม่ล่วงละเมิด ล่วงละเมิดข้อใดข้อหนึ่งอายนัก ต้องรีบหาครูบาอาจารย์ต่อเสียทีเดียว ล่วงล้ำไปข้อใดข้อหนึ่งละก็ ไม่นิ่งเฉยอยู่ล่ะ บอกตรงๆ ทีเดียวอายนัก ต่อเสียทีเดียว ต่อเสียให้ได้ ถ้าไม่ต่อ กลัว ศีล๕ บกพร่องไป จะไปนรกแล้วแก ไม่ต้องไปไหน ตายไปจะต้องตกนรกละ บกพร่องข้อใดข้อหนึ่ง ปาณา อทินนา กาเม สุรา ข้อใดข้อหนึ่งบกพร่องจะต้องไปนรกทุกข้อเชียว ขาดข้อปาณาติบาตก็ต้องไปสัญชีพละไม่ต้องไปไหนล่ะ ขาดข้ออทินนาทานจะต้องไปกาฬสุดตนรกละไม่ต้องไปไหนล่ะ ขาดข้อกาเมสุมิจฉาจารก็ต้องไปสัณชาตนรกละ สามข้อละ ขาดข้อมุสาลงไปจะต้องไปโรรุวนรกละ ขาดข้อสุราลงไป ก็ต้องมหาโรรุวนรกหละ๕ ขุมลงเป็นลำดับลงไปเชียว ก็ไม่ต้องไปล่ะ กลัวทีเดียว เมื่อละลายแก่ใจแล้วกลัวนรก เราต้องไปนรกแท้ จะต้องไปนรกถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่ง มีความละอายความสะดุ้งกลัว ไม่ยอมให้ศีลขาดเด็ดเลยทีเดียว ให้บริสุทธิ์ตั้งแต่ ปาณา อทินนาทาน กาเมสุมิจฉา มุสา สรา ไม่ขาดตกบกพร่อง

    ทีเดียว นี่อย่างนี้เรียกว่าอุบาสก ย่อๆ เรียกว่าอุบาสกกละน่ะ ย่อๆ เรียกว่าอุบาสิกาด้วย ถ้ายังไม่มีตรัยสรณาคมน์ก็เป็นอุขาสกานอกศาสนา อุบาสิกาก็นอกศาสนา ยังไม่เข้าศาสนาเลยเท่านี้แหละ ปฎิบัติแค่นี้ยังไม่เข้าในศาสนา เป็นอุบาสกนอกศาสนา เป็นอุบาสิกานอกศาสนา เป็นอุบาสกอุบาสิกาในศาสนาจะต้องเข้าถึงตรัยสรณาคมน์ เข้าถึงตรียสรณาคมน์คือ พุทธโธ ธมฺโม สงฺโฆ คือ พุทธรัตนะ สังฆรัตนะ เมื่อเรามีศีล๕ มั่นบริสุทธิ์บริบูรณ์ดี มีใจเบิกบานสำราญใจ มั่นอยู่แค่ศีล๕เช่นนี้ ก็ประกาศได้แล้วว่า หิริโอตตัปปสัมปันนา เข้าถึงพร้อมด้วยความละอายความสะดุ้งกลัวละ ความละอายมีศีลบริสุทธิ์สมบูรณ์บริบูรณ์ไม่มีอายนัก ไม่มีอายและสะดุ้งกลัวด้วย กลัวจะไปนรก กลัวจะไปอบายภูมิ๔ อย่างนี้ดี กลัวนัก ล่ะก็ เมื่อบริสุทธิ์เช่นนั้น

    สุกฺกธมฺมสมาหิตา อยู่ในธรรมอันขาว ขาวผ่องไม่มีราคีทีเดียว เรียกว่า สุกฺกธมฺมสมาหิตา ผ่องขาวผ่องทีเดียว สนฺโต นี่แหละเป็นตัวธรรมเครื่องสงบระงับในดลก ตั้งแต่ๆ ปฐมทีแรก ตั้งแต่ ปฐมแผ่นดินมา ตั้งแต่ปฐมกษัตริย์มา ปกครองโลกด้วยคุณธรรม๕ ประการนี้ ร่มเย็นเป็นสุขเบิกบานสำราญใจเว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พูดปด เสพสุรา ๕ข้อนี้เท่านั้นแหละ ในโลกไม่ต้องมีคุกมีตาราม สบายอกสบายใจได้รับความเบิกบานร่มเย็นมาตลอดสาย บัดนี้เราในวันนี่ ภิกษุสามเณรก็ให้บริสุทธิ์ในศีล๕จริงๆ อุบาสกอุบาสิกาก็บริสุทธิ์ในศีล๕ จริงๆ จะไม่ได้ทะเลากันเลย จะไม่มีบาดหมางกันเลย จะไม่มีอิจฉาริษยากันเลย ถ้าอิจฉารัษยากันอยู่ก็เรียกว่าไม่มีศีล๕ กันแล้วละแก เลอะแล้วล่ะ เหลวแล้วล่ะ นี่ใช้ไม่ได้อย่างนี้ อย่างนี้ใช้ไม่ได้ เมื่อเข้าหลักดังนี้แล้วละก็ ๕ สิกขาบทนี้ หิริโอตตัปปะ ละอายไว้ให้ดี ถ้าไม่มีละอาย สะดุ้งกล้วไว้ให้ดี ไม่มีจะตกนรก แน่นอนทีเดียว ได้ชื่อว่าตั้งอยู่ในเกื้อกูลแล้วในธรรมอันขาว ได้ชื่อว่าสงบระงับแล้ว เมื่อสงบระงับเช่นนี้แล้ว นักปราชญ์ทั้งหลาย สัปปุรุษทั้งหลายย่อมกล่าวบุคคลนั้น ว่าตั้งอยู่ในธรรมอันประเสริฐ ว่าตั้งอยู่ในเทวธรรม คนอันถึงแม้ว่าเป็นมนุษย์อยู่ บริสุทธิ์ในศีล๕ ผู้ชายก็เรียกว่า สมมุติเทวดา ผู้หญิงก็เรียกว่าสมมุติเทวดา เออ ไม่ใช่เป็นของต่ำ เป็นสมมุติเทวดาทีเดียว ยกย่องสุงอย่างนั้น คือคุณธรรมนั่นเองยกตัวเอง คือคุณธรรมบริสุทธิ์ศีล๕ นั่นเองยกตัวเอง เป็นคนตั้งอยู่ในเทวธรรม ธรรมของเทวดาทีเดียว ธรรที่ทำให้เป็นเทวดาทีเดียว เป็นเทวดาทั้งที่เป็นมนุษย์นี่แหละ สมมุติเทวดานั่นแหละ มั่นอยู่ในศีล๕ แค่นี้

    ก็ต้องให้สูงขึ้นไปกว่านี้ บัดนี้มีพระพุทธศาสนา เราเข้าถึงพระตรัยสรณาคมน์คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ มั่นอยู่ในศีล๕ ละก็ ศีล๘ ให้มั่นแบบเดียวกันนี้

    วิกาลโภช เว้นจากอาหารบริโภคในเวลาวิกาลตั้งแต่เที่ยงจนถึงอรุณใหม่ นี่วันนี้เราสมาทานแล้ว จนถึงอรุณใหม่ ให้มั่นเชียวนะ อย่าให้ลอกแลกน่ะ มั่นคงทีเดียว รักษามั่นคงอยู่ในวิกาลโภช ไม่บริโภคอาหารในเวลาวิกาล ตั้งแต่เที่ยงวันไปจนถึงอรุณใหม่ทีเดียว นี่ได้ชื่อว่า รักษาวิกาลโภชไว้ได้ ไม่บริโภคอาหารในเวลาวิกาลเช่นนี้ นี้ได้ชื่อว่าทอนกำลัง ว่าตัดเสียซึ่งความอยากความปรารถนา ให้เบาบางลง นี่ทางไปของพระอริยบุคคลนะ ทางไปพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทีเดียว เป็นทางสูง ให้มั่นไว้

    ไม่ฟ้อนรำขับร้อง ประโคมเครื่องดีดสีตีเป่าต่างๆ ไม่มีทีเดียว ไม่บรรเลงเครื่องต่างๆ ไม่มี เว้นขาดทีเดียว ขับร้องประโคมเครื่องดีดสีตีเป่านั้นเป็นไฉน? เกื้อกูลให้เกิดความยั่วยวนใจ ชักชวนให้ครองเรือนไม่ชักชวนในทางหมดกิเลส ไม่ชักชวนให้บรรเทากิเลส ไม่ชักชวนในทางมรรคผลนิพพาน ก็เว้นเสียขาดจากสันดาน พวกกามตัญหาเช่นนี้ ชื่อว่าประพฤติธรรมให้เลิศประเสริฐขึ้นไปกว่าศีล๕ ทางไปของพระอริยบุคคล

    เว้นประพรมร่างกายด้วยของระเบียบของหอม เครื่องยั่วยวน ให้เกิดความยวนใจ ให้เกิดยั่วยวนกวนใจต่างๆ เหล่านี้ ก็เว้นเสียขาดจากใจอีก เว้นเสียขาดจากใจก็ทอนเสียซึ่งพวกตัณหาทั้งนั้น พวกธรรมตัณหา ของกลิ่นของหอม คัณทตัณหา รสตัณหา โผฎฐัพพะตัณหา พวกธรรมตัณหาหอมเหล่านี้แหละละเสีย นี่ก็ตัดกำลังอย่างแรง ตัดกำลังมารอย่างแรง พวกประพฤติศีล๘ นี้

    ไม่นั่งนอนอาสนะสูงใหญ่ เอออาสนะสูงใหญ่เป็นอย่างไร? ร้ายอีกเหมือนกัน เราไปอยู่ในอาสนะจ๋องๆ เดิมมันนอนในดอนในป่า ใจเราก็ไม่กำเริบ ถ้าได้อาสนะโอ่โถงเป็นไง? ใจมันก็ครึกครื้นไปอีกอย่างมันก็แปรจากสภาพเดิม มันก็จะไปกันใหญ่โตกันล่ะ ไปสร้างบ้านสร้างเรือนกันล่ะ เรื่องนี้ พวกถือศีล๕ ให้เว้นขาดจากที่นั่งนอนอาสนะสูงใหญ่ ไม่ให้เกิดยั่วยวนกวนใจให้กำเริบ นี้ก็ตัดเสียโผฎผัพพภตัณหา ความถูกต้องทางกายให้เกิดยั่วยวนใจ เว้นขาดจากใจ ศีล๕ บริสุทธิ์บริบูรณ์เป็นอันดีไม่ให้ขาดตกบกพร่องแต่อย่างใดอย่างหนึ่งรักษาไว้ จะล่วงล้ำข้อใดข้อหนึ่งให้มีความละลาย ให้มีความสะดุ้งกลัว รักษาไว้ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ศีล๘บริสุทธิ์บริบูรณ์ไม่ขาดตกบกพร่องได้ชื่อว่าผู้นั้นตั้งอยู่ในหิริโอตตัปปะ ได้เชื่อว่าเกื้อกูลแล้วในธรรมอันขาว ความบริสุทธิ์นั้นเป็นธรรมอันขาว แท้ๆ ไม่ใช่ธรรมเศร้าหมองขุ่นมัวแต่อย่างหนึ่งอย่างใด สนฺโตนั่นแหละเป็นธรรมอันสงบชั้นๆ ขึ้นไป ตามส่วนของศีล สงบขึ้นไปเป็นชั้นๆ เมื่อสงบขึ้นไปเป็นสนฺโตแล้ว....ให้มีใจสงบระงับ ย่อมกล่าวว่า นั้นแหละเป็นธรรมอันประเสริฐในโลก หรือเป็นเทวธรรมเป็นธรรมของเทวดา นี่ให้มีศีล๕ บริสุทธิ์อย่างนี้

    ฝ่ายสามเณรก็ให้มีศีล๑๐ บริสุทธิ์ทุกข้อทีเดียว ตรงเข้า หยิบเงินทองร้ายจริง เงินทองร้ายนักถ้าใครหยิบเข้าแล้วละก็ ใจกำเริบ กำเริบเสิบสานนัก หยิบเงินทองใช้ได้อย่างชอบใจ ใจกำเริมเสริบสาน สามเณรจ๋องๆ ไม่มีเงินติดมือเลยอย่างนี้แหละ หน้าจ๋องๆ อยู่อย่างนี้แหละ ถ้าได้เงินสัก ๑,๐๐๐ บาทเท่านั้นแหละ ถ้ามันติดมือเท่านั้นแหละ เอาแล้ว จ๋องๆ กลายเป็นคึกคักขึ้นมาแล้ว สำแดงแปร่งเสียแล้ว หน้าตาแจ่มใจขึ้นมาแล้ว  นั่นๆ มันกลายมาเป็นอย่างนี้แหละ มันกลายได้อย่างนี้นะ ถ้ามันกลายได้อย่างนี้รู้ไว้เถิด เงินมันอยู่ในมือคนใดนะมันทำพิษทำร้ายนัก มันไปอยู่กับใครๆ มันร้อยนัก เดิมเป็นชี แต่งเป็นชี เอาเงินไปให้ ไม่มีเงินมันก็จ๋องละซิ อีกสักสองสามวันมาดูซิ มันเปลี่ยนสภาพทีเดียวแหละอ้ายแป่งๆ มันหายไปเสียแล้วกลายเป็นคนคึกคักไปแล้ว มันกลายไปเป็นอย่างนี้ เหตุนั้น การถือเงินในมือนะร้ายนัก

    พระพุทธเจ้าเห็นอำนาจร้ายมากในเรื่องนี้ หญิงในพุทธกาลเขาเล่าเรื่อง หญิงคนจน ทอหูกอยู่ คนหนึ่ง นี่เขาเรียกว่าหญิงทอหูกทอผ้า คนจนไม่มีพรรษาอะไรหรอก ก็จ๋องอยู่อย่างนั้นแหละ ผู้ที่ไม่รู้ฤทธิ์อยากจะรู้ฤทธิ์เงินว่าเป็นอย่างไงบ้าง? เอาเงินไปให้หญิงคนนั้นแหละ ไม่ใช้ให้เลยนะ เอาไปฝังไว้ผู้หญิงคนนั้นนั่งทอผ้าอยู่ ๔บาทเท่านั้นแหละ ไม่ฝังไว้ไม่รู้หรอก หญิงคนที่จ๋องอยู่นั้นแหละ กลายเป็นคนคึกคัก เป็นคนอหังการ กมังกาลขึ้นมาแล้ว กลายเป็นคนมั่งมีขึ้นในตัวแล้ว ไม่รู้ไอ้เงินมันขึ้นมาถูกต้องอย่างไรก็ไม่รู้ กลายเป็นคนอหังการ กมังกาลขึ้นแล้ว เพียงแต่ถูกไอ้เงินเท่านั้นนะ ยังไม่ได้ถูกตัวเงินแลย ถ้าว่าหยิบเงินทองใช้ได้แล้วเณรก็เสียเณร พระก็เสียพระหมด เพราะเหตุอะไรล่ะ? ประพฤติอย่างฆารวาสเขา ไม่ควรน่านับถือ ประพฤติอย่างฆารวาสเขา ประพฤติอย่างคนครองเรือน คฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ใช้เงินใช้ทองเช่นนี้ ไม่น่านับถือไม่น่าบูชาทำเสียเส้นพระวินัย ของที่ใช้นั้นพระก็เป็นนิสสัคคีย์ เณรก็ศีลไม่บริสุทธิ์ทำลายพระพุทธศาสนา อย่างนี้ใช้ไม่ได้ ก็เว้นขสดทีเดียวต้องมีหิริโอตตัปปะ สิกขาบทไม่ล่วงข้อใดข้อหนึ่ง ถ้า๘ สิกขาบทก็ไม่ล่วงไปข้อใดข้อหนึ่ง รักษาความบริสุทธิ์นั้นไว้ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ศีล๕ ศีล๘ ศีล๑๐ ไม่ขาดตกบกพร่อง

    สูงขึ้นไปกว่านั้นศีล ๒๒๗ ศีลของภิกษุมี ๔ แต่ว่า ๒๒๗ นั้นหมวดเดียว มี๔ ปาฎิโมกข์สังวรศีลอินทรีย์สังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจัยสันนิสสิตศีล ศีลของพระภิกษุมี ๔

    ถ้าว่าแต่เพียงปาฎิโมกข์ ปาราชิก๔ สังฆาทิเสส๑๓ อนิยต๒ นิสสัคคีย๓๐ ปาจิตติย๙๒ ปกฎิเทสนีย๔ เสขิย๗๕ อธิกรณ๗ ๒๒๗สิกขาบทเช่นนี้ เรียกว่าปาฎิโมกข์สังวรศีลอันเดียว สำรวมตามพระปาฎิโมกเว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระองค์ทรงอนุญาตให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ดี ถ้าไม่บริสุทธิ์บริบูรณ์ดี มีความอายนัก มีความสะดุ้งกลัวนัก อายว่าเป็นพระไม่บริสุทธิ์ตายไปจะต้องไปนรกไม่ต้องไปไหน กลัวอย่างนี้ ให้กลัวอย่างนี้ ถ้าว่าทำตัวให้บริสุทธิ์เป็นอันดีได้ชื่อว่า สุกกธัมมสมาหิตา เกื้อกูลแล้วในธรรมอันขาว สันโต แปลว่าธรรมอันสงบอยู่แล้ว ตั้งอยู่ในธรรมอันสงบอยู่แล้ว ยังไม่พอเท่านั้น

    อินทรีย์สังวรศีล สำรวมตาหูจมูกลิ้นหายใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ยินเสียง ดมกลิ่น โผฎฐัพพะ หรือธรรมารมณ์ด้วยใจ สำรวมอินทรีย์สำรวมยังไง? สำรวมตา ไม่ให้เกินไป พอเหมาะพอเจาะ สำรวมหูๆ คอยระวังไว้ ไม่ให้แส่หาเสียงที่ชอบใจ ที่เกิดความกำหนัดยินดี สำรวมจมูก ก็กำหนดลิ้นไว้ กำหนดกลิ่นไว้ไม่ให้ยินดี สำรวมลิ้น กำหนดรสไว้ไม่ให้ยินดี สำรวมกายโผฎฐัพพะ กำหนดไว้ สำรวมอารมณ์ทางใจ สำรวมหมด สงบหมด ในเวลาเห็นรูป ดมกลิ่น ยินเสียง หรือถูกต้องโผฎฐัพพะทางกายหรือทางธรรมารมณ์ที่ชอบใจ ไม่ให้ความยินดียินร้ายเล็ดลอดเข้าไปได้ ใจอยู่กับอะไร?ใจต้องมีธรรมารมณ์อยู่ ต้องอยู่กับธรรมมารมณ์ ต้องอยู่กับธรรมที่เกิดจากใจ ธรรมอะไรที่เกิดจากใจ? ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็ดี ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดก็ดี กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียดก็ดี ดวงธรรมที่ทำใหเป็นกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้กายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็ดี เข้าถึงกายไหน? อยู่กับดวงธรรม กายนั้น ตัดอยู่ที่ดวงธรรม กายนั้น เดินก็ตรีกถึงดวงธรรมนั้น ยืนก็ตรึกถึงดวงธรรมนั้น นั่งก็ตรึกถึงดวงธรรมนั้น นอนก็ตรึกถึงดวงธรรมนั้น จรดอยู่กับใจ จรดอยู่กับธรรมนั้น นี่เขาเรียกว่าถึงหนึ่ง ถึงหนึ่งอย่างชนิดนี้อริยสัจ๔ รวมหมด ปาฎิโมกข์ก็รวมหมดอินทรีย์ก็รวมหมด

    อาชีวปาริวิสุทธิศีล เลี้ยงชีพชอบไม่หลอกลวงเขาเลี้ยงชีวิต เลี้ยงชีพบริสุทธิ์จริงๆ นั่นก็เป็นศีลของภิกษุอันหนึ่ง

    ปัจจัยสันนีสสิตศีล พิจารณาปัจจัยทั้ง๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย ไม่บริโภคด้วยตัณหา นี่ก็เป็นศีลอีกอันหนึ่ง ปัจจัยสันนิสสิตศีลนั้นแหละเป็นข้อสำคัญนัก ถ้าเป็นอิณบริโภค บริโภคด้วยความเป็นหนี้ ไม่ได้พิจารณาปัจจัยให้เต็มส่วนเต็มที่ในจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย แล้วละก็ได้ชื่อว่า ภิกษุบริโภคด้วยความเป็นหนี้ จะต้องตายไปเป็นวัวให้เขาใช้เป็นควายให้เขาขี่ ให้เขาใช้ไปเป็นม้าให้เขาขี่ เป็นช้างให้เข้าขี่ สูงขึ้นไปกว่านั้น เบาไปกว่านั้น ตายไปเป็นบ่าวเป็นทาสเขา เป็นมนุษย์มาเป็นบ่าวเป็นทาสเขา มาเป็นคนใช้เขา เขาไม่ใช้ก็อยากให้เขาใช้นัก ไปทำอาสาเขาเฉยอย่างงั้นแหละ เพราะเป็นหนี้เขาแล้ว บริโภคด้วยความเป็นหนี้เข้าแล้ว นี้เป็นหนี้ตามลำดับ

    จีวรเมื่อเวลาจับจีวรที่เขาถวายเข้า จีวรนี้สักแต่ว่าเป็นธาตุ เป็นปัจจัยสักแต่ว่าธาตุ ไม่ใช้สัตว์บุคคลตัวตนเขาเราใดๆ แล้วก็เป็นของว่างเปล่าวไป จีวรนี้เป็นของไม่เน่าไม่เปื่อยน่าดูน่าชม ไม่สกปรกเปรอะเปื้อนใดๆ เป็นของดีมาก พอถูกต้องร่างกายกลายเป็นของเสียหายไปได้ ไม่น่าดูน่าชมไปได้ พิจารณาจีวรอีก จีวรเมื่อเวลาจะนุ่งเข้า ไม่ได้นุ่งเพื่ออื่น นุ่งเพื่อจะป้องกันเสียซึ่งกายหนาวแลร้อน เพื่อกันเหลือบยุงตะเข็บตะขาบต่างๆ เพื่อจะไม่ให้กามกำเริบเท่านั้น พิจารณาดังนั้นก็นุ่งห่มไป นุ่งหุ่มไปแล้วก็พิจารณาแบบเดียวกันอีก ซ้ำอีก เรียกว่าอดีตปัจจเวกขณ์ พิจารณาจีวรนุ่งห่มพร้อมด้วยองค์คุณ ธาตุปัจจเวกขณ์ ปฎิกูลปัจจเวกขณ์ ปฎิกูลปัจจเวกขณ์ ตังขณิกปัจจเวกขณ์ อตีตปัจจเวกขณ์ นั่งนอนเสนาสนะเล่าก็แบบเดียวกันพิจารณาด้วย ธาตุปัจจเวกขณ์ ปฎิกูลปัจจเวกขณ์ ตังขณิกปัจจเวกขณ์ อตีตปัจจเวกขณ์ บริโภคหยูกยารักษาค่ายา ก็พิจารณาด้วยธาตุปัจจเวกขณ์ ปฎิกูลปัจจเวกขณ์ ตังขณิกปัจจเกวณ์ อตีตปัจจเวกขณ์ ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่ง ปัจจัยสันนิสสิตศีลไม่บริสุทธิ์ เป็นอิณบริโภค บริโภคด้วความเป็นหนี้เขา อย่างนี้ต้องได้รับทนทุกข์ต่างๆนาๆ เพราะเหตุว่าเป็นหนี้เขา ต้องบริสุทธิ์ ถ้าไม่บริสุทธิ์ต้องมีหิริโอตตัปปะ อายไม่ได้เป็นพระศีล๒๒๗ ไม่บริสุทธิ์เลย อาย อินทรีย์สังวงศีลไม่บริสุทธิ์ก็อาย สะดุ้งกลัวอีกเหมือนกัน ปัจจัยสันนิสสิตศีลไม่บริสุทธิ์ก็อาย อาชีวปริสุทธิศีลไม่บริสุทธิ์ก็อาย สะดุ้งกลัวอีกเหมือนกัน ปัจจัยวิสุทธิศีลไม่บริสุทธิ์ก็อายสะดุ้งกลัวเหมือนกัน แบบเดียวกัน เหมือนเราท่านในบัดนี้ ไม่ได้ศีลบริสุทธิ์สมบูรณ์บริบูรณ์ พระเณรศีลไม่บริสุทธิ์บริบูรณ์ อุบาสกอุบาสิกาศิลไม่บริสุทธิ์บริบูรณ์จะดีพอหรือ?

    พระพุทธศาสนา ไม่เข้าถึงพระรัตนตรัยอายนัก อายนัก อายนักด้วยประการเป็นไฉน? อายโดยอาการว่า เมื่อพบพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาคืออะไร? คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสอนว่าอะไร? สอนทำใจให้สงบระงับ สอนให้ทำใจหยุดใจนิ่ง ชั่วด้วยกายวาจาใจ ไม่ให้ทำทีเดียว ทำแต่ดีด้วยกายวาจาใจ ทำใจให้ใส ใสหนักเข้าๆ ใสหนักเข้าก็เข้าถึงพระรัตนตรัย เข้าถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ถ้าไม่เข้าถึงพุทธรัตนะก็ไม่รู้จักตัวพระพุทธศาสนา ไม่เข้าถึงธรรมรัตนะก็ไม่รู้จักพระธรรมในพระพุทธศาสนา ไม่เข้าถึงพระสังฆรัตนะก็ไม่รู้จักพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ไม่รู้จักจริงๆ รู้จักแต่ชื่อ ไม่รู้จัก ไม่เห็น ไม่เข้า ไม่ถึง ก็ได้ชื่อว่าไม่รู้จัก ไม่รู้จักก็ได้ชื่อว่าไม่ได้ลิ้มรสศาสนา ถ้าไม่เข้าถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะละก็ไม่ได้ลิ้มรสศาสนาล่ะ เป็นตัวศาสนาสำคัญทีเดียว ลิ้มรสน่ะเป็นไฉน? ก็ไม่รู้จักรสศาสนาน่ะซิ ก็รสศาสนาตัวพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ รสชาดเป็นยังไงพุทธรัตนะ พวกเข้าถึงถามดูก็ได้ เข้าถึงพุทธรัตนะรสชาดมันเป็นยังไง รสชาดมันเป็นยังไง ก็ดูกายมนุษย์นี่ซิ กายมนุษย์เป็นของหยาบ นั่นละเอียดนักเข้าถึงพุทธรัตนะแล้วละก็ลืมเชียว ว่านี่ประเสริฐจริง ว่าอ้อพวกเข้าถึงหยาบอย่างโน้น สู้ถึงละเอียดกว่านี้ไม่ได้ เข้าถึงสังฆรัตนะนี่ละเอียดหนักขึ้นไป สังฆรัตนะน่ะลึกซึ้งจริงๆ พุทฺโธ ธมฺมสฺส โพเธตา พุทฺโธ ธมฺมสฺส โพเธตา พระพุทธเจ้าจึงได้รู้ธรรม พุทฺโธ ธมฺมสฺส โพเธตา พระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ธรรม คำที่เรียกว่าธรรม....ธมฺโม พระองค์ทรงตรัสเพื่อไม่ให้ตกลงไปในอบายภูมิทั้ง๔ ธรรมทรงตรัสไม่ให้ผู้ปฎิบัติตกลงไปในอบายภูมิทั้ง๔ คือธรรมรักษาตนเอาไว้ได้ ธมฺโม สังโฆ ปทายิโต พระองค์ทรงตรัสไม่ให้ตกลงไปในอบายภูมิทั้ง๔แล้ว ประสงค์ทรงธรรมอันนั่นนั้นไว้ไม่ให้หายไป พระพุทธเจ้าตรัสรู้ไว้แล้ว ประสงค์ทรงธรรมเอาไว้ไม่ให้หายไป ธรรมที่ประสงค์ตรงไปนั้นๆ รักษาไว้นั้น ปรากฎมาจนกระทั่งถึงบัดนี้ เมื่อไปถึงพุทธรัตนะเข้าแล้ว ไปถึงธรรมรัตนะเข้าแล้ว ไปถึงสังฆรัตนะเข้าแล้ว พระพุทธเจ้าอยู่ในสถานที่ใดๆ ไปทูลท่านก็ได้ ไปพูดกับท่านก็ได้ ไปในนิพพานก็ด้ ถ้ามีในนิพพานไปในนิพพานก็ได้ นั่นแน่ะมีรสมีชาดอย่างนี้ ลึกซึ้งอย่างนี้แหละ ถ้าว่าไม่ถึงพุทธรัตนะเรานิ่งเสีย ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้เสีย นิ่งเสียทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้เสีย นั่นไม่มีหิริโอตตัปปะละซิ ถ้านิ่งเฉยซิ ถ้ามีหิริโอตตัปปะจะเหน้าไปไว้ที่ไหน เขาถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ กัน ถ้ามีหิริโอตตัปปะก็ฉายตัวเอง ไม่ถึงไม่ยอม นั่งกันหลังหักตายเลยไม่เอากันล่ะ ถ้าไม่ถึงก็ตาย ไม่ได้ก็ตายแหล่ทีเดียว เอากันละถึงวาละที่จะต้องเอาตัวขับขันกันถ้าไม่ได้ไม่เห็นไม่เป็นปรากฎช่างเถอะ ถ้าได้เป็นเห็นปรากฎ ต่อหน้าต่อตา มันจะเป็นตายก็ช่าง ถ้าไม่ได้ก็ตายแหล่ล่ะ เอาล่ะเอาให้ถึงไม่ได้ ให้เข้าถึงพุทธรัตนะเสียได้ละก็นั่นแหละไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา เข้าถึงซึ่งพระธรรมรัตนะได้ละก็นั่นแหละไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา เข้าถึงพระสังฆรัตนะได้ละก็นั่นแหละไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานี้แหละได้ชื่อว่า  หิริโอตตัปปะสัมปันนาถึงพร้อมแล้วด้วยความละอายความสะดุ้งกลัว ไม่ถึงละก็ละลายสะดุ้งกลัวนัก เพราะไม่ได้เกื้อกูลในธรรมอันขาว เกื้อกูลในธรรมดำอยู่ ไม่เกื้อกูลในธรรมอันขาวจริงลงไป เข้าถึงได้แล้ว เป็นแล้วนั้นแหละ เกื้อกูลธรรมอันขาวแท้ๆ ล่ะ นั่นแหละ สันโต ละ ใจอยู่กับธรรมเฉยๆ กิเลส ตัณหา อำนาจทิฎฐิทำอะไรไม่ได้ ข่มเหงอะไรไม่ได้ ได้แต่เล็กๆน้อยๆ เอาเป็นจริงๆ จังๆไม่ได้ อยู่กับธรรมะ นี้นักปราชญ์ทั้งหลาย ผู้มีใจสงบระงับทั้งหลาย ย่อมเยินยอยกย่องส่งเสริม ว่า

    เทวธมฺมาติ วุจฺจเรติ อันนักปราชญ์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่าเป็นธรรมอันประเสริฐในโลกด้วยประการดังนี้ นี่วันนี้ตั้งใจที่จะแสดง หิริโอตตัปปะให้กว้างขวางออกมาอย่างนี้ แสดงกว้างขวางออกมาอย่างนี้ละก็เราฟังหิริโอตตัปปะ ๒ ข้อเท่านี้ วันนี้ได้ฟัง หิริและโอตตัปปะ ๒ ข้อเท่านั้น ให้จำเป็นใจความไว้ว่า ธรรมอันนี้ความบริสุทธิ์ของศีล ศีล๕ศีล๘ศีล๑๐ศีล๒๒๗ ถ้าไม่บริสุทธิ์แล้วให้มีความละอายความสะดุ้งกลัว แก้ไขให้บริสุทธิ์เสีย ถ้าเราไม่เข้าถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะแล้ว ให้มีความละอายความสะดุ้งกลัวว่าเขาเข้าถึงกันถมไปเราไม่เข้าถึงให้มีความละอายมีความสะดุ้งกลัว มีความละอายว่าเราไม่ได้ ไม่เข้า ไม่ถึงมีความละอาย ให้มีความละอายความสะดุ้งกลัวว่าเราจะไม่พ้นอบาย ถ้าได้เสียแล้วเราต้องพ้นอบาย แน่ในใจอย่างนั้น ได้ชื่อว่าเกื้อกูลในธรรมอันขาว มีใจสงบระงับ นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่าตั้งอยู่ในธรรมอันเลิศธรรมอันประเสริฐ เทวธรรม ธรรมของเทวดาทีเดียว ไม่ใช่ของมนุษย์ ให้แน่นอนในใจอย่างนี้นะ

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีใน หิริโอตตัปปะสัมปันนา ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ เป็นโวหารเทศนาแปลเป็นปาฐกต่อไปกว้างขวางยิ่งกว่าหนักหนา จำไว้เป็นตำรับตำรา ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ พอเป็นเครื่องประคับประคองสนองประคองศรัทธาประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่านผู้พุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์ บรรชิตบรรดาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า สิทฺธมตฺถุ สิทฺธมตฺถุ สิทฺธมตฺถุ อิทํ ผลํ เอตสฺมิ รตนตฺตยสฺมิ สมฺปสาทนเจตโส ขอจิตอันเลื่อมใสของท่านทั้งหลายทั้ง ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ในพระรัตนตรัยนี้จงเป็นผลสำเร็จ จงเป็นผลสำเร็จ จงเป็นผลสำเร็จ ทุกประการดังอาตมภาพประทานวิสัชชนามาพอสมควรแด่เวลา สมมติยุติธรรมิกถาโดยอรรถนิยมความไว้เพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0073983510335286 Mins