เสขิยวัตร หมวดที่ ๑ สารูป (ข้อ ๓ - ๘)

วันที่ 05 เมย. พ.ศ.2561

เสขิยวัตร , สารูป , บ่อเกิดของมารยาทไทย , โภชนปฏิสังยุต , ธัมมเทสนาปฏิสังยุต , ปฏิสังยุต , ระเบียบปฏิบัติของพระภิกษุ , เสขิยวัตร หมวดปกิณณ , เสขียวัตรหมวดโภชนปฏิสังยุต , เสขิยวัตร หมวดสารูป , เสขิยวัตร หมวดธัมเทสนาปฎิสังยุต , พระวินัยเบื้องต้น , เสนาสนะ , พระภิกษุ , การครองผ้า , การขบฉัน , สังฆาทิเสส , พระปาฏิโมกข์ , การสวดพิจารณาอาหาร , รู้จักประมาณ , การใช้สรรพนามในหมู่พระ , บิณฑบาต , ปกิณณกะ , เสขิยวัตร หมวดที่ ๑ สารูป (ข้อ ๓-๘)

เสขิยวัตร
 ต้นบัญญัติมารยาทไทย

 หมวดที่ ๑ สารูป
หมวดธรรมว่าด้วยมารยาทในการเข้าไปบ้านประชาชน

ข้อ ๓ - ๔ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักปิดกายด้วยดี ไปในละแวกบ้าน - นั่งในละแวกบ้าน”
ข้อ ๕ - ๖ “ภิกษุพึงทําความศึกษาว่า เราจักระวังมือระวังเท้าด้วยดีไปในบ้าน - นั่งในบ้าน”
ข้อ ๗ - ๘ “ภิกษุพึงทําความศึกษาว่า เราจะมีตามองทอดลงไปในบ้าน - นั่งในบ้าน”

---------------------------------------------------

 

เสขิยวัตร , สารูป , บ่อเกิดของมารยาทไทย , โภชนปฏิสังยุต , ธัมมเทสนาปฏิสังยุต , ปฏิสังยุต , ระเบียบปฏิบัติของพระภิกษุ , เสขิยวัตร หมวดปกิณณ , เสขียวัตรหมวดโภชนปฏิสังยุต , เสขิยวัตร หมวดสารูป , เสขิยวัตร หมวดธัมเทสนาปฎิสังยุต , พระวินัยเบื้องต้น , เสนาสนะ , พระภิกษุ , การครองผ้า , การขบฉัน , สังฆาทิเสส , พระปาฏิโมกข์ , การสวดพิจารณาอาหาร , รู้จักประมาณ , การใช้สรรพนามในหมู่พระ , บิณฑบาต , ปกิณณกะ , เสขิยวัตร หมวดที่ ๑ สารูป (ข้อ ๓-๘)

 ข้อ ๓ - ๔ “ภิกษุพึงทําความศึกษาว่า เราจักปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน - นั่งในละแวกบ้าน” 

           ตามธรรมดาพระอยู่ในวัด แต่บางครั้งมีกิจนิมนต์ต้องเข้าไปในบ้านญาติโยม เข้าไปในหมู่บ้าน ถึงเวลานั้นต้องระมัดระวังสํารวมกิริยามารยาท ตลอดจนการนุ่งห่มให้เรียบร้อยเป็นพิเศษ จะถือความคุ้นเคยปล่อยตัวตามสบายไม่ได้

         เมื่อออกจากวัดต้องห่มคลุมให้เรียบร้อย อากาศจะร้อนจะหนาวอย่างไรก็ต้องอดทน เพื่อยังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้นทุกขณะ แม้เข้าไปนั่งในบ้านแล้วก็ปล่อยตัวตามสบายไม่ได้

           จึงกลายเป็นธรรมเนียมฆราวาสว่า ควรแต่งกายให้เรียบร้อยเข้าไปในบ้านผู้อื่น ถือเป็นมารยาทอันดีงาม เพราะเป็นการให้เกียรติแก่เจ้าของบ้าน

           สําหรับพระภิกษุนั้น เครื่องนุ่งห่มแต่ละชิ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติให้มีรูปแบบที่เป็นบทฝึกสติทั้งนั้น อังสะของพระภิกษุแม้จะคล้าย ๆ เสื้อชั้นใน แต่เป็นเสื้อชั้นในแบบของพระ ไม่ใช่เสื้อกล้าม

           มีคนถามหลวงพ่อว่า “หลวงพ่อครับ ผมเอาเสื้อกล้ามมาถวายได้ไหม เพราะแบบก็ดูคล้าย ๆ กัน” ก็ตอบเขาไปว่า “ไม่ได้” ของพระมีแบบเฉพาะ

         มีนักศึกษาบางคนถามหลวงพ่อว่า “ทําไมพระภิกษุไทยไม่เปลี่ยนจากสบงเป็นกางเกงอย่างพระเสี้ยวลิ้ม จีวรก็เหมือนกัน น่าจะทําเป็นเสื้อคลุมเหมือนอย่างพระจีน จะได้ดู ทะมัดทะแมงขึ้น...”

           ดูเผิน ๆ ก็ว่าดีเพราะใส่อย่างนั้นทําอะไรรู้สึกคล่องตัวกว่าแต่ไม่ควร เพราะทะมัดทะแมงเกินไป อาจทําให้เผลอสติได้ง่าย และบ้านเราก็ไม่ได้หนาวนักหนา ขืนเปลี่ยนสบงเป็นกางเกง เปลี่ยนจีวรเป็นเสื้อคลุม เดี๋ยวก็รํามวยจีนไปเลย เมื่อรํามวยได้ เรื่องไม่สํารวมอื่น ๆ ก็ตามมาเป็นแถว ดีไม่ดีไม่ชอบใจศีลข้อไหนก็จะหาเหตุละเสียง่าย ๆ

           เพราะฉะนั้นแม้เครื่องนุ่งห่ม พระพุทธองค์ก็ทรงกําหนดให้ใช้ผ้าเป็นผืน ๆ ค่อย ๆ คลี่ออกมาแล้วก็ห่ม เพื่อฝึกสติ ถ้าเผลอสติก็ห่มได้ไม่ดี

           ถ้าสติดีแล้ว สมาธิก็พลอยดีไปด้วย เพราะว่าสติกับสมาธิเป็นเสมือนพี่น้องฝาแฝดกัน เป็นเงาตามตัว พรากจากกันไม่ได้ ที่ไหนมีสติ ที่นั่นจะมีสมาธิ ที่ไหนมีสมาธิ ที่นั่นจะมีสติ

           เหมือนอย่างเวลาเราจุดไฟหรือจุดเทียน พอจุดปั๊บความสว่างก็เกิดขึ้น ในความสว่างมีอะไรควบคู่อยู่ด้วย มีความร้อน ถามว่า ความสว่างกับความร้อนเป็นอย่างเดียวกันไหม คนละอย่างกัน สว่างก็คือสว่าง ร้อนก็คือร้อน คนละอย่างกัน แต่แยกจากกันไม่ได้ กอดคอไปด้วยกันตลอด

           จะบอกว่า ฉันจุดเทียนจะเอาแต่แสงสว่าง ไม่ต้องการความร้อนก็ไม่ได้ มันจะต้องร้อนของมัน เวลาเราก่อไฟหุงข้าวก็เช่นกัน พอไฟติดแดงโร่ก็ร้อนจัด เดี๋ยวข้าวก็เดือดขึ้นมา เราจะบอกว่า...เจ้าความสว่าง ข้าไม่ต้องการเจ้านะ ขณะนี้กลางวันแล้ว ข้าต้องการแต่ความร้อน ความสว่างออกไปเถิด มันก็ไม่ไป จะอยู่ด้วยกัน

           สติกับสมาธิก็เช่นกัน เป็นพี่น้องฝาแฝดติดกันแบบฝาแฝดอิน-จันนั่นแหละ ผ่าตัดไม่ออก จะเห็นว่า แม้การนุ่งสบง จีวร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงให้นํามาเป็นบทฝึกสติ ซึ่งเท่ากับกําลังฝึกสมาธิไปด้วยในตัว ฉะนั้น รูปแบบของสบงจีวรที่ทรงกําหนดไว้จึงไม่ควรไปเปลี่ยนแปลงเสีย สําหรับจีวร ผู้ที่ออกแบบคือ พระอานนท์ พุทธอนุชา จัดว่าเป็นดีไซน์ที่ยืนนานมากว่า ๒,๕๐๐ ปีแล้ว เป็นดีไซน์ที่อายุยืนที่สุดในโลก น่าภูมิใจจริง ๆ

 

เสขิยวัตร , สารูป , บ่อเกิดของมารยาทไทย , โภชนปฏิสังยุต , ธัมมเทสนาปฏิสังยุต , ปฏิสังยุต , ระเบียบปฏิบัติของพระภิกษุ , เสขิยวัตร หมวดปกิณณ , เสขียวัตรหมวดโภชนปฏิสังยุต , เสขิยวัตร หมวดสารูป , เสขิยวัตร หมวดธัมเทสนาปฎิสังยุต , พระวินัยเบื้องต้น , เสนาสนะ , พระภิกษุ , การครองผ้า , การขบฉัน , สังฆาทิเสส , พระปาฏิโมกข์ , การสวดพิจารณาอาหาร , รู้จักประมาณ , การใช้สรรพนามในหมู่พระ , บิณฑบาต , ปกิณณกะ , เสขิยวัตร หมวดที่ ๑ สารูป (ข้อ ๓-๘)

ข้อ ๕ - ๖ “ภิกษุพึงทําความศึกษาว่า เราจักระวังมือระวังเท้าด้วยดีไปในบ้าน - นั่งในบ้าน”

          ข้อนี้หมายถึง การสํารวมกิริยามารยาทให้สงบ ไม่คะนองมือคะนองเท้า ไม่ไหวมือไหวเท้าเล่น เช่น กระดิกมือ แกว่งเท้าอยู่ตลอดเวลา เป็นต้น

           เรื่องนี้พระภิกษุไม่ค่อยเป็นกัน เพราะเครื่องแต่งกายบังคับ ดนตรีสีเป่าอะไรก็ไม่ได้ฟังอยู่แล้ว จึงไม่รู้จะเคาะเป็นจังหวะอะไร แต่พวกฆราวาสหนุ่มสาวสมัยนี้เป็นกันมาก

           บางคนอาจคิดเข้าข้างตัวเองว่า เอ๊ะ...เราก็เป็นคนดี ไม่เห็นมีอะไรบกพร่องทําให้ใครเดือดร้อน แต่ทําไมพอไปบ้านเพื่อนกระดิกเท้าเล่นหน่อยเดียว คุณแม่เพื่อนมองค้อนเอาเสียหลายตลบ

           บางคนนั่งขย่มเท้า กระดิกเท้ากระดิกมือตามจังหวะเพลง บางคนถูกใจมากก็ดีดนิ้วเปาะเหมือนนักเลงตีไก่ อาการเหล่านี้ส่อความไม่สํารวม ขาดสติ ถ้าอยู่ต่อหน้าญาติผู้ใหญ่ ท่านอาจดุว่าตักเตือนให้ แต่ถ้าเป็นคนที่จะต้องมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกันในภายหน้า เขาอาจบอกศาลาเลิกคบไปเลย

           เพราะคนขาดสติอย่างนี้มันฟ้องว่า ต้องเป็นคนเจ้าอารมณ์ ถ้ามีใครขัดใจเข้าหน่อยเป็นได้เรื่อง พอโดนกระทบเข้าบ้าง อารมณ์จะพลุ่งพล่านขึ้นมาทันที ระงับไม่อยู่ อย่างนี้ใครจะอยากคบด้วย

 

เสขิยวัตร , สารูป , บ่อเกิดของมารยาทไทย , โภชนปฏิสังยุต , ธัมมเทสนาปฏิสังยุต , ปฏิสังยุต , ระเบียบปฏิบัติของพระภิกษุ , เสขิยวัตร หมวดปกิณณ , เสขียวัตรหมวดโภชนปฏิสังยุต , เสขิยวัตร หมวดสารูป , เสขิยวัตร หมวดธัมเทสนาปฎิสังยุต , พระวินัยเบื้องต้น , เสนาสนะ , พระภิกษุ , การครองผ้า , การขบฉัน , สังฆาทิเสส , พระปาฏิโมกข์ , การสวดพิจารณาอาหาร , รู้จักประมาณ , การใช้สรรพนามในหมู่พระ , บิณฑบาต , ปกิณณกะ , เสขิยวัตร หมวดที่ ๑ สารูป (ข้อ ๓-๘)

ข้อ ๗ - ๘ “ภิกษุพึงทําความศึกษาว่า เราจะมีตามองทอดลงไปในบ้าน - นั่งในบ้าน”

          ลักษณะของพระภิกษุต้องสํารวมแม้สายตา ไม่ใช่เดินไปตามถนน สายตาก็ส่ายสอดไปสองข้างทาง ชมนกชมไม้เรื่อยไป เห็นอะไรเขียว ๆ แดง ๆ เหลือง ๆ ชอบใจก็มองจนเหลียวหลัง

          แม้ที่สุดเมื่อเข้าไปในบ้านใคร ก็ไม่บังควรเดินเรื่อยไป ดูนั่นดูนี่ของเขา นั่งอยู่ก็ต้องไม่เหลียวลอกแลก สํารวจตรวจตราเหมือนขโมยมองหาทางหนีทีไล่

          พวกเราฆราวาสก็เช่นกัน ทั้งหญิงทั้งชาย ถ้ามีความจําเป็นว่าจะหาซื้อของก็ส่ายตาดูได้ แต่อย่าให้ถึงกับหลุกหลิกขุดค้นจนเกินเหตุ เจ้าของร้านจะเข้าใจผิดเกิดเรื่องเกิดราวกันเปล่า ๆ

          เวลาเข้าไปในบ้านใคร ขอฝากไว้ด้วย หลาย ๆ คนพอเข้าไปในบ้านใครก็ถือวิสาสะเดินดูบ้านเขาทั่วไปหมดเลย หม้อข้าวหม้อแกงเปิดดูหมด ของบางอย่างเจ้าของบ้านไม่อยากให้ดู ก็เหมือนเรานั่นแหละ บางทีเพื่อน ๆ เข้ามาในห้องเรา เราก็ไม่นึกอะไร แต่พอพี่ป้า น้า อา เข้ามาในห้องเราบ้าง เรากลับไม่สบายใจทันที เพราะมีของหลาย ๆ อย่างที่เราไม่อยากให้ท่านเห็น

          บางทีเจ้าของบ้านอาจทําอะไรทิ้งค้างไว้ไม่ค่อยจะเรียบร้อย ฉะนั้นการเข้าไปดูโน่นดูนี่เรื่อยเปื่อยไป ระวังแม่ของเพื่อนคนนั้นจะสั่งลูกสาวว่า “นี่...อย่าพายายคนนั้นมาอีกนะ ท่าทางหลุกหลิกอย่างกะขโมย” เสียหายหมด ยกเว้นของที่เจ้าของบ้านเจตนาตั้งโชว์ไว้ให้ดู อย่างนี้ต้องช่วยดูหน่อย เช่น เขาเป็นนักกอล์ฟฝีมือเยี่ยม ได้ถ้วยชนะเลิศเอามาตั้งโชว์ไว้กลางบ้าน หรือเขาไปเรียนจบดอกเตอร์มาจากต่างประเทศ ติดรูปถ่ายไว้เต็มฝาห้องรับแขก อย่างนี้ต้องรีบเดินเข้าไปดูใกล้ ๆ ถามไถ่เขาเสียหน่อยพอให้ชื่นใจ ขืนไม่ดูเขาจะนึกตําหนิ ว่า แหม...ไม่มีมารยาท

          เขาอยากให้เราชม ช่วยชมเขาหน่อยเถิด แล้วจะได้เพื่อนรักอีกหลาย ๆ คน เพราะว่าคนในโลกนี้ล้วนชอบคําชมทั้งนั้น

           ในชีวิตประจําวัน เราจะตัดสินใจทําหรือไม่ทําสิ่งใด เอาแต่เพียงว่าผิดกับถูกเท่านั้นยังไม่ได้ ยังต้องมีคําว่า “ควรหรือไม่ควร” ด้วย การกระทําบางอย่างมันผิด แต่ยังไม่ควรจะไปตําหนิ ยังไม่ควรที่จะไปคุ้ยเขี่ยขึ้นมาตอนนี้ เพราะอารมณ์เขายังรับไม ่ได้ ควรชมอะไรต่ออะไรให้เขาชื่นใจเสียก่อน แล้วค่อยไปติกันทีหลังจึงจะพอไหว ไม่ใช่พอเจอหน้า เขายังไม่ทันตั้งตัว ด้วยความหวังดีก็ปรี่เข้าไปเตือนเลย

          “คุณนี่แต่งตัวไม่ค่อยเรียบร้อย กินข้าวก็ไม่มีมารยาทเลย จะเดินเหินก็ตุ้บ ๆ ตั้บ ๆ...”

           เพื่อนฟังแล้วจะรู้สึกอย่างไร ดีที่สุดก็แค่รําพึงว่า “ในตัวเรานี่หาดีไม่ได้เลยเชียวหรือ” แต่ถ้าเขากําลังอารมณ์เสียมา มีหวังเพื่อนรักเท่ารักจะตักษัย...

           ถามว่าที่เตือนไปถูกไหม? ถูก...ไม่ผิดเลย แต่ว่ายังไม่ควร ใครอยากจะเตือนใครในเรื่องเหล่านี้ ก่อนอื่นให้หาเรื่องชมมาสัก ๔ - ๕ เรื่อง ก่อน เป็นต้นว่า

         "แหม...จัดบ้านได้สวย โอโฮเล่นกีฬาก็เก่ง มิหนําชํ้าร้องเพลงก็เพราะด้วยนะนี่ ได้ถ้วยนักร้องมาด้วย แหม...คุณนี่มีดีตั้งเยอะแยะ

         ...แต่ว่า ถ้าเดินให้มันเบา ๆ กว่านี้ เดินแล้วขาไม่ถ่าง เออ...จะน่ารักจะมีเครดิตอีกเยอะแยะเลย..."

          อย่างนี้พอฟังได้ ไม่ใช่ว่าพอมาถึงก็ติ ๆ ที่ดีไม่ชมเลย เอ๊ะ...เราก็พูดเรื่องจริงทั้งนั้น ทําไมเขาหน้างอคุยกันได้ไม่กี่คํา บางทีทั้ง ๆ ที่ เขาชวนเรามากินข้าวที่บ้าน เขาอาจถามเราดื้อ ๆ ว่า นี่เธอยังไม่กลับอีกหรือ” ไล่เรากลับเสียแล้ว

          หากเขามีที่จะให้ชม รีบชมเสียก่อน แล้วจะติอะไรทีหลังค่อยว่ากัน อย่างนี้ค่อยคบกันได้ สิ่งละอันพันละน้อยนี้แหละที่เป็นเครื่องฝึกให้ตัวเรามีความน่ารักขึ้นมา แล้วก็รู้จักว่าอะไรควร อะไรไม่ควรขึ้นอีก

          ในสิ่งเล็ก ๆ น้อยๆ เหล่านี้ เมื่อเราแยกออกว่าอะไรควรอะไรไม่ควร อีกหน่อยของใหญ่ๆ หรือของที่ละเอียด เราก็จะแยกได้โดยอัตโนมัติ เพราะเกิดความชํานาญขึ้นมาแล้ว

 

 

พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อทัตตชีโว

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.039113549391429 Mins