​​​​​​​พิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม

วันที่ 21 พค. พ.ศ.2561

ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม
ระเบียบปฏิบัติการจุดเครื่องสักการบูชา

พิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม

พระรัตนตรัย , พุทธศาสนิกชน , ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ , วัฒนธรรมชาวพุทธ , ชาวพุทธ , ประเพณีชาวพุทธ , culture , ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม , ระเบียบปฏิบัติการจุดเครื่องสักการบูชา , ที่บูชาพระรัตนตรัย , หิ้งพระ , ที่บูชาพระ , ห้องพระ , พระพุทธเจ้า , พระสงฆ์ , พระธรรม , Buddhist practice  , สมาธิ , Meditation  , ทำบุญ , พิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม , สวดพระอภิธรรม

       ผู้เป็นประธานพิธี หรือเป็นเจ้าภาพในงานบําเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมนั้น นิยมปฏิบัติในการจุดเครื่องสักการบูชาตามลําดับ ดังนี้

     จุดเครื่องสักการบูชาที่โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูปก่อน แล้วส่งเทียนชนวนคืนให้แก่พิธีกร และนั่งคุกเข่าประณมมือ กล่าวคําบูชาพระรัตนตรัยดังกล่าวมาแล้ว กราบพระรัตนตรัย ๓ ครั้ง

           เดินไปจุดเครื่องสักการบูชาพระธรรม ที่โต๊ะบูชาพระธรรมข้างหน้าอาสน์สงฆ์ พระสงฆ์สวดพระอภิธรรมแล้วส่งเทียนชนวนคืนให้แก่พิธีกร น้อมตัวลงยกมือไหว้นอบน้อมพระธรรม

          เดินไปจุดเครื่องสักการบูชาศพ ที่ โต๊ะเครื่องตั้งหน้าศพ โดยจุดเทียน ๑ คู่ และจุดธูป ๑ ดอก นั่งคุกเข่าประณมมือพร้อมตั้งธูปยกขึ้นจบบูชาศพ โดยนิ้วชี้อยู่ระหว่างคิ้ว พร้อมกับกล่าวคําขมาโทษต่อศพ (ดังจะกล่าวต่อไปข้างหน้า ในระเบียบปฏิบัติการไปงานศพ) แล้วปักธูปไว้ ณ กระถางธูป

         ถ้ามีเครื่องทองน้อยสำหรับผู้ตายบูชาพระธรรมตั้งอยู่ที่หน้าเครื่องตั้งศพนั้นด้วย ก็นิยมจุดเครื่องสักการบูชาที่เครื่องทองน้อย แล้วส่งเทียนชนวนคืนให้แก่พิธีกร แล้วหันหน้าเครื่องทองน้อยนั่น (หันด้านที่ตั้งดอกไม้) ออกไปทางพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม เพื่อให้ผู้ตายสักการบูชาพระธรรม แล้วหมอบกราบศพ ๑ ครั้ง โดยกระพุ่มมือกราบ (ดังจะกล่าวต่อไปข้างหน้าในระเบียบปฏิบัติการไปงานศพ) แล้วกลับไปนั่งที่เดิม

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0014826496442159 Mins