บททำวัตรเช้า สวดพร้อมคำแปล คำบาลีและไทย
-บททำวัตรเช้า -คำบูชาพระรัตนตรัย -คำกราบพระรัตนตรัย -ปุพพภาคนมการ -พุทธาภิถุติ -ธัมมาภิถุติ -สังฆาภิถุติ -รตนัตตยัปปณามคาถา -สังเวคปริกิตตนปาฐะ
ประมวลบทนิยมสวดท้ายทำวัตรเช้า
๑. ตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ
๒. ธาตุปฏิกูลปัจจเวกขณปาฐะ
๓. เทวตาทิปัตติทานคาถา
๔. สัพพปัตติทานคาถา
๕. ปัฏฐนฐปนคาถา
ในการทำวัตรเช้า-เย็นเป็นหมู่คณะ เมื่อพร้อมกันแล้ว ประธานสงฆ์หรือหัวหน้าพุทธบริษัท ลุกขึ้นไปจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชา พระภิกษุสามเณรหรืออุบาสก-อุบาสิกา ทั้งนั้น ประนมมือพร้อมกัน (สำหรับฆราวาส ชาย พึงนั่งคุกเข่า หญิง พึ่งนั่งคุกเข่าราบ) เมื่อจุดธูปเทียนเสร็จแล้ว ประธานหรือหัวหน้ากลับมายังอาสนะ นั่งคุกเข่าประนมมือนำกล่าวคำบูชาและคำกราบพระรัตนตรัย และนำสวดเฉพาะบทนำ ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า หนฺท มยํ .... ผู้เข้าร่วมทั้งหมดรับพร้อมกันและสวดไปตามลำดับบท สำหรับการสวดภาษาบาลีนั้น นิยมสวดเป็น ประโยค เป็นวรรค หรือเป็นบทๆ คือ หยุดจังหวะตามที่มีเครื่องหมายจุดมหัพภาค (.) เครื่องหมายจุลภาค ( ,) หรือตามที่พิมพ์เป็นบทและมีคำแปลกำกับ ดังนี้
คำบูชาพระรัตนตรัย
โย โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ.
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
สฺวากฺขาโต เยน ภควตา ธมฺโม.
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ตรัสไว้ดีแล้ว
สุปฏิปนฺโน ยสฺส ภควโต สาวกสงฺโฆ.
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ปฏิบัติดีแล้ว
ตมฺมยํ ภควนฺตํ สธมฺมํ สสงฺฆํ, อิเมหิ สกฺกาเรหิ ยถารหํ อาโรปิเตหิ อภิปูชยาม.
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหลา่นี้ อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร
สาธุ โน ภนฺเต ภควา สุจิรปรินิพฺพุโตปิ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนามาแล้ว ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
ปจฺฉิมาชนตานุกมฺปมานสา.
ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้า อันเป็นชนรุ่นหลัง
อิเม สกฺกาเร ทุคฺคตปณฺณาการภูเต ปฏิคฺคณฺหาตุ.
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงรับเครื่องสักการะอันเป็นบรรณาการ ของคนยากทั้งหลายเหล่านี้
อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย.
เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ.
คำกราบพระรัตนตรัย
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา,
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พุทฺธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ.
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน.
(กราบหนึ่งครั้ง)
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม,
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว
ธมฺมํ นมสฺสามิ. ข้าพเจ้า นมัสการพระธรรม.
(กราบหนึ่งครั้ง)
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
สงฺฆํ นมามิ. ข้าพเจ้า นอบน้อมพระสงฆ์.
(กราบหนึ่งครั้ง)
ปุพพภาคนมการ
(คำแสดงความนอบน้อมพระพุทธเจ้าเป็นเบื้องต้น)
(นำ) หนฺท มยํ พุทฺธสฺส ภควโต ปุพฺพภาคนมการํ กโรม เส.
นโม ตสฺส ภควโต ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
อรหโต ซึ้งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
(ว่าสามครั้ง หรือสามจบ ทั้งคำบาลีและไทย)
พุทธาภิถุติ
(บทสดุดีพระพุทธเจ้า)
(นำ) หนฺท มยํ พุทฺธาภิถุตึ กโรม เส.
โย โส ตถาคโต พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด
อรหํ เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สมฺมาสมฺพุทฺโธ เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคโต เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกวิทู เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทฺโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภควา เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์
โย อิมํ โลกํ สเทวกํ สพฺรหฺมกํ สสฺสมณพฺราหฺมณึ ปชํ สเทวมนุสฺสํ สยํ อภิญญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทสิ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม
โย ธมฺมํ เทเสสิ. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงธรรมแล้ว
อาทิกลฺยาณํ ไพเราะในเบื้องต้น
มชฺเฌกลฺยาณํ ไพเราะในท่ามกลาง
ปริโยสานกลฺยาณํ. ไพเราะในที่สุด
สาตฺถํ สพฺยญญฺชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ ปกาเสสิ.
ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฎิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ
ตมหํ ภควนฺตํ อภิปูชยามิ
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ตมหํ ภควนฺตํ นมามิ
ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า
(กราบระลึกถึงพระพุทธคุณ)
ธัมมาภิถุติ
(บทสดุดีพระธรรม)
(นำ) หนฺท มยํ ธมฺมาภิถุตึ กโรม เส.
โย โส สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม.
พระธรรมนั้นใด เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สนฺทิฏฺฺฺฺฺฐิโก เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษา และปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อกาลิโก เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้? และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เอหิปสฺสิโก เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
โอปนยิโก เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญฺญญูหิ. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตน
ตมหํ ธมฺมํ อภิปูชยามิ. ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น
ตมหํ ธมฺมํ สิรสา นมามิ. ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า
(กราบระลึกถึงพระธรรมคุณ)
สังฆาภิถุติ
(บทสดุดีพระสงฆ์)
(นำ) หนฺท มยํ สงฺฆาภิถุตึ กโรม เส.
โย โส สุปฏิปนฺโน ภคโต สาวกสงฺโฆ.
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ.
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ.
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ.
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยทิทํ ได้แก่ บุคคลเหล่านี้ คือ
จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฺฺฐ ปุริสปุคฺคลา.
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงบุรุษได้ ๘ บุรุษ
เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ. นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยฺโย เป็น สงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยฺโย เป็น สงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทกฺขิเณยฺโย เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อญญฺชลีกรณีโย เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อนุตฺตรํ ปุญญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส.
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ตมหํ สงฺฆํ อภิปูชยามิ
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น
ตมหํ สงฺฆํ สิรสา นมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า.
(กราบระลึกถึงคุณของพระสงฆ์)
รตนัตตยัปปณามคาถา
(คำฉันท์นอบน้อมพระรัตนตรัย)
(นำ) หนฺท มยํ รตนตฺตยปฺปณามคาถาโย เจว สํเวคปริกิตฺตนปาฐญญฺจ ภณาม เส.
พุทฺโธ สุสุทฺโธ กรุณามหณฺณโว
พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ
โยจฺจนฺตสุทฺธพฺพรญาณโลจโน
พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด
โลกสฺส ปาปูปกิเลสฆาตโก
เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก
วนฺทามิ พุทฺธํ อหมาทเรน ตํ.
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.
ธมฺโม ปทีโป วิย ตสฺส สตฺถุโน
พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป
โย มคฺคปากามตเภทภินฺนโก
จำแนกประเภท คือมรรค ผล นิพพาน ส่วนใด
โลกุตฺตโร โย จ ตทตฺถทีปโน
ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น
วนฺทามิ ธมฺมํ อหมาทเรน ตํ.
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.
สงฺโฆ สุเขตฺตาภยฺติเขตฺตสญญฺญิโต
พระสงฆ์เป็นนาบุญ อันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย
โย ทิฏฺฺฺฐฺฺฐสนฺโต สุคตานุโพธโก
เป็นผู้เห็นพระนิพพาน ตรัสรู้ตามพระสุคต หมู่ใด
โลลปฺปหีโน อริโย สุเมธโส
เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้ามีปัญญาดี
วนฺทามิ สงฺฆํ อหมาทเรน ตํ.
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.
อิจฺเจวเมกนฺตภิปูชเนยฺยกํ
วตฺถุตฺตยํ วนฺทยตาภิสงฺขตํ
ปุญญฺญํ มยา ยํ มม สพฺพุปทฺทวา
มา โหนฺตุ เว ตสฺส ปภาวสิทฺธิยา.
บุญใด ที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม คือพระรัตนตรัยอันควรบูชายิ่งโดย
ส่วนเดียว ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้นี้ ขออุปัททวะ (ความชั่ว) ทั้งหลาย
จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย ด้วยอำนาจความสำเร็จอันเกิดจากบุญนั้น.
สังเวคปริกิตตนปาฐะ
(บทสวดแสดงธรรมสังเวชในเบญจขันธ์)
อิธ ตถาคโต โลเก อุปฺปนฺโน,
พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ.
เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ธมฺโม จ เทสิโต นิยฺยานิโก,
และพระธรรมที่ทรงแสดงเป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์
อุปสมิโก ปรินิพฺพานิโก,
เป็นเครื่องสงบกิเลส เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
สมฺโพธคามี สุคตปฺปเวทิโต.
เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ
มยนฺตํ ธมฺมํ สุตฺวา เอวํ ชานาม.
พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้รู้อย่างนี้ว่า
ชาติปิ ทุกฺขา. แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
ชราปิ ทุกฺขา. แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
มรณมฺปิ ทุกฺขํ. แม้ความตายก็เป็นทุกข์
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสาปิ ทุกฺขา.
แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์
อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข.
ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
ปิเยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโข.
ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
ยมฺปิจิจิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิิ ทุกฺขํ.
มีความปารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์
สงฺขิตฺเตน ปญจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา.
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์
เสยฺยถีทํ. ไดแ้ก่ สิ่งเหล่านี้คือ
รูปูปาทานกฺขนฺโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป
เวทนูปาทานกฺขนฺโธ,
ขันธ์ อันเป็น ที่ตั้งแห่ง ความยึดมั่น คือเวทนา
สญฺญูปาทานกฺขนฺโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา
สงฺขารูปาทานกฺขนฺโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร
วิญฺญาณูปาทานกฺขนฺโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ
เยสํ ปริญฺญาย.
เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง
ธรมาโน โส ภควา,
จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่
เอวํ พหุลํ สาวเก วิเนติ.
ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก
เอวํภาคา จ ปนสฺส ภควโต สาวเกสุ อนุสาสนี พหุลา ปวตฺตติ.
อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย ส่วนมากมีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า
รูปํ อนิจฺจํ, รูปไม่เที่ยง
เวทนา อนิจฺจา, เวทนาไม่เที่ยง
สญฺญา อนิจฺจา, สัญญาไม่เที่ยง
สงฺขารา อนิจฺจา, สังขารไม่เที่ยง
วิญฺญาณํ อนิจฺจํ, วิญญาณไม่เที่ยง
รูปํ อนตฺตา, รูปไม่ใช่ตัวตน
เวทนา อนตฺตา, เวทนาไม่ใช่ตัวตน
สญฺญา อนตฺตา, สัญญาไม่ใช่ตัวตน
สงฺขารา อนตฺตา, สังขารไม่ใช่ตัวตน
วิญฺญาณํ อนตฺตา, วิญญาณไม่ใช่ตัวตน
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา, สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ. ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ดังนี้
เต (ตา)๑ มยํ โอติณฺณามฺห, พวกทั้งหลาย เป็นผู้ถูกกครอบงำแลว้
ชาติยา, โดยความเกิด
ชรามรเณน, โดยความแก่และความตาย
โสเกหิ ปริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ,
โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย
ทุกฺโขติณฺณา, เป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาไว้แล้ว
ทุกฺขปเรตา. เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว
อปฺเปวนามิมสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส อนฺตกิริยา ปญญฺญาเยถาติ.
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏชัดแก่เราได้.
สำหรับพระภิกษุสามเณรสวด
จิรปรินิพฺพุตมฺปิิิ ตํ ภควนฺตํ อุทฺทิสฺส อรหนฺตํ สมฺมาสมฺพุทฺธํ,
เราทั้งหลายอุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น
สทฺธา อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชิตา.
เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว
ตสฺมึ ภควติ พฺรหฺมจริยํ จราม.
ประพฤติอยู่ซึ่งพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ภิกฺขูนํ (สามเณรานํ) สิกฺขาสาชีวสมาปนฺนา.
ถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต ของภิกษุทั้งหลาย (ของสามเณรทั้งหลาย)
ตํ โน พฺรหฺมจริยํ อิมสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส อนฺตกิริยาย สํวตฺตตูติ.
ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งททุกข์ทั้งสิ้นนี้เทอญ.
สำหรับอุบาสก-อุบาสิกาสวด
จิรปรินิพฺพุตมฺปิ ตํ ภควนฺตํ สรณํ คตา,
เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานมาแล้วพระองค์นั้น เป็นสรณะ
ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ. ถึงพระธรรมด้วย ถึงพระสงฆ์ด้วย
ตสฺส ภควโต สาสนํ ยถาสติ ยถาพลํ มนสิกโรม อนุปฏิปชฺชาม.
จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผุ้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกำลัง
สา สา โน ปฏิปตฺติ ขอให้ความปฏิบัตินั้นๆ ของเราทั้งหลาย
อิมสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส อนฺตกิริยาย สํวตฺตตูติ.
จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.
(จบ บททำวัตรเช้า)
ประมวลบทนิยมสวดท้ายทำวัตรเช้า
๑. ตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ๑
(คำสวดพิจารณาปัจจัย ๔ ขณะบริโภคใช้สอย)
(นำ) หนฺท มยํ ตงฺขณิกปจฺจเวกฺขณปาฐํ ภณาม เส.
(พิจารณาจีวร/เครื่องนุ่งห่ม)
ปฏิสงฺขา โยนิโส จีวรํ ปฏิเสวามิ
เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วนุ่งห่มจีวร
ยาวเทว สีตสฺส ปฏิฆาตาย เพียงเพื่อบำบัดความหนาว
อุณฺหสฺส ปฏิฆาตาย เพื่อบำบัดความร้อน
ฑํสมกสวาตาตปสิรึสปสมฺผสฺสานํ ปฏิฆาตาย
เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
ยาวเทว หิริโกปินปฏิจฺฉาทนตฺถํ.
และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะอันให้เกิดความละอาย
(พิจารณาอาหารบิณฑบาต)
ปฏิสงฺขา โยนิโส ปิณิณฺฑปาตํ ปฏิเสวามิ
เราพิจารณาโดยแยบคายแล้วบริโภคบิณฑบาต
เนว ทวาย ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน
น มทาย ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามันเกิดกำลังพลังทางกาย
น มณฺฑนาย ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ
น วิภูสนาย ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแตง่
ยาวเทว อิมสฺส กายสฺส ฐิติยา แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่แห่งกายนี้
ยาปนาย เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ
วิหึสุปรติยา เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย
พฺรหฺมจริยานุคฺคหาย. เพื่ออนุเคราะห์แ์ก่การประพฤติพรหมจรรย์
อิติ ปุราณญญฺจ เวทนํ ปฏิหงฺขามิ,
ด้วยการทำอย่างนี้ เราย่อมระงับเสียได้ ซึ่งทุกขเวทนาเก่า คือความหิว
นวญฺจ เวทนํ น อุปฺปาเทสฺสามิ.
และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น
ยาตฺรา จ เม ภวิสฺสติ อนวชฺชตา จ ผาสุวิหาโร จาติ.
อนึ่ง ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย จักมีแก่รา ดังนี้.
(พิจารณาเสนาสนะที่อยู่อาศัย)
ปฏิสงฺขา โยนิโส เสนาสนํ ปฏิเสวามิ
เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยเสนาสนะ
ยาวเทว สีตสฺส ปฏิฆาตาย เพียงเพื่อบำบัดความหนาว
อุณฺหสฺส ปฏิฆาตาย เพื่อบำบัดความร้อน
ฑํสมกสวาตาตปสิรึสปสมฺผสฺสานํ ปฏิฆาตาย
เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
ยาวเทว อุตุปริสฺสยวิโนทนํ ปฏิสลฺลานารามตฺถํ.
เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดิน ฟ้า อากาศ และเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา.
(พิจารณาคิลานเภสัช/ยารักษาโรค)
ปฏิสงฺขา โยนิโส คิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขารํ ปฏิเสวามิ
เราพิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยเภสัชบริขารอันเกื้อกูลแก่คนไข้
ยาวเทว อุปฺปนฺนานํ เวยฺยาพาธิกานํ เวทนานํ ปฏิฆาตาย
เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนาอันบังเกิดขึ้นแล้ว มีอาพาธต่างๆ เป็นมูล
อพฺยาปชฺฌปรมตายาติ.
เพียงเพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้
๒. ธาตุปฏิกูลปัจจเวกขณปาฐะ
(คำสวดพิจารณาปัจจัย ๔ โดยความเป็นธาตุและปฏิกูล)
(นำ) หนฺท มยํ ธาตุปฏิกูลปจฺจเวกฺขณปาฐํ ภณาม เส.
ยถาปจฺจยํ ปวตฺตมานํ ธาตุมตฺตเมเวตํ ยทิทํ จีวรํ,
จีวรนี้ใด สักแต่ว่าเป็นธาตุเป็นไปตามปัจจัย
ตทุปภุญญฺชโก จ ปุคฺคโล, ถึงบุคคลผู้เข้าไปห่มซึ่งจีวรนั้นเล่า
ธาตุมตฺตโก นิสฺสตฺโต นิชฺชีโว สุญฺโญ.
ก็สักแต่ว่าเป็นธาตุ มิใช่สัตว์ มิใช่ชีวิต เป็นของสูญเปล่า
สพฺพานิ ปน อิมานิ จีวรานิ อชิคุจฺฉนียานิ,
จีวรทั้งปวงเหล่านี้ หาใช่เป็นของน่าเกลียดไม่
อิมํ ปูติกายํ ปตฺวา อติวิย ชิคุจฺฉนียานิ ชายนฺติ.
ครั้นมาถึงกายอันเน่านี้แล้ว ก็กลายเป็นของน่าเกลียดยิ่งนักไป.
ยถาปจฺจยํ ปวตฺตมานํ ธาตุมตฺตเมเวตํ ยทิทํ ปิณฺฑปาโต,
บิณฑบาตนี้ใด สักแต่ว่าเป็นธาตุเป็นไปตามปัจจัย
ตทุปภุญญฺชโก จ ปุคฺคโล, ถึงบุคคลผู้เข้าไปบริโภคซึ่งบิณฑบาตนั้นเล่า
ธาตุมตฺตโก นิสฺสตฺโต นิชฺชีโว สุญฺโญ.
ก็สักแต่ว่าเป็นธาตุ มิใช่สัตว์ มิใช่ชีวิต เป็นของสูญเปล่า
สพฺโพ ปนายํ ปิิิณิิณฺฑปาโต อชิคุจฺฉนีโย,
บิณฑบาตทั้งปวงนี้ หาใช่เป็นของน่าเกลียดไม่
อิมํ ปูติกายํ ปตฺวา อติวิย ชิคุจฺฉนีโย ชายติ.
ครั้นมาถึงกายอันเน่านี้แล้ว ก็กลายเป็นของน่าเกลียดยิ่งนักไป.
ยถาปจฺจยํ ปวตฺตมานํ ธาตุมตฺตเมเวตํ ยทิทํ เสนาสนํ,
เสนาสนะนี้ใด สักแต่ว่าเป็นธาตุเป็นไปตามปัจจัย
ตทุปภุญญฺชโก จ ปุคฺคโล, ถึงบุคคลผูเข้าไปใช้สอยซึ่งเสนาสนะนั้นเล่า
ธาตุมตฺตโก นิสฺสตฺโต นิชฺชีโว สุญฺโญ.
ก็สักแต่ว่าเป็นธาตุ มิใช่สัตว์ มิใช่ชีวิต เป็นของสูญเปล่า
สพฺพานิ ปน อิมานิ เสนาสนานิ อชิคุจฺฉนียานิ,
เสนาสนะทั้งปวงเหล่านี้ หาใช่เป็นของน่าเกลียดไม่
อิมํ ปูติกายํ ปตฺวา อติวิย ชิคุจฺฉนียานิ ชายนฺติ.
ครั้นมาถึงกายอันเน่านี้แล้ว ก็กลายเป็นของน่าเกลียดยิ่งนักไป.
ยถาปจฺจยํ ปวตฺตมานํ ธาตุมตฺตเมเวตํ ยทิทํ คิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขาโร
คิลานเภสัช (ยาบำบัดอาการป่วยไข้) นี้ใด สักแต่ว่าเป็นธาตุเป็นไปตามปัจจัย
ตทุปภุญญฺชโก จ ปุคฺคโล ถึงบุคคลผู้เข้าไปใช้สอยคิลานเภสัชนั้นเล่า
ธาตุมตฺตโก นิสฺสตฺโต นิชฺชีโว สุญฺโญ.
ก็สักแต่ว่าเป็นธาตุ มิใช่สัตว์ มิใช่ชีวิต เป็นของสูญเปล่า
สพฺโพ ปนายํ คิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขาโร อชิคุจฺฉนีโย,
คิลานเภสัชทั้งปวงนี้ หาใช่เป็นของน่าเกลียดไม่
อิมํ ปูติกายํ ปตฺวา อติวิย ชิคุจฺฉนีโย ชายติ.
ครั้นมาถึงกายอันเน่านี้แล้ว ก็กลายเป็นของน่าเกลียดยิ่งนักไป.
๓. เทวตาทิปัตติทานคาถา
(คำแผ่ส่วนบุญกุศลแก่ทวยเทพเป็นต้น)
(นำ) หนฺท มยํ เทวตาทิปตฺติทานคาถาโย ภณาม เส.
ยา เทวตา สนฺติ วิหารวาสินี,
เทพยดาทั้งหลายเหล่าใด มีปกติอยู่ในวิหาร
ถูเป ฆเร โพธิฆเร ตหึ ตหึ,
สิงสถิตที่เรือนพระสถูป ที่เรือนโพธิ์ในที่นั้นๆ
ตา ธมฺมทาเนน ภวนฺตุ ปูชิตา,
เทพยดาทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้อันเราทั้งหลายบูชาแล้วด้วยธรรมทาน
โสตฺถึ กโรนฺเตธ วิหารมณฺฑเล.
ขอจงทำซึ่งความเจริญในมณฑลวิหารนี้
เถรา จ มชฺฌา นวกา จ ภิกฺขโว,
พระภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระก็ดี ที่เป็นปานกลางก็ดี ที่ใหม่ก็ดี
สารามิกา ทานปตี อุปาสกา,
อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ที่เป็นทานาบดี พร้อมด้วยอารามิกชนก็ดี
คามา จ เทสา นิคมา จ อิสฺสรา,
ที่เป็นชาวบ้านก็ดี ที่เป็นชาวเมืองก็ดี ที่เป็นชาวนิคมก็ดี ที่เป็นอิสระก็ดี
สปฺปาณภูตา สุขิตา ภวนฺตุ เต.
ชนทั้งหลายเหล่านั้น จงเป็นผู้มีความสุขทุกเมื่อเถิด.
ชลาพุชา เยปิ จ อณฺฑสมฺภวา,
สัตว์ทั้งหลายที่เกิดจากครรภ์ก็ดี ที่เกิดจากฟองไข่ก็ดี
สงฺเสทชาตา อถโวปปาติกา,
ที่เกิดในเถ้าไคลก็ดี ที่เกิดขึ้นโตทีเดียวก็ดี
นิยฺยานิกํ ธมฺมวรํ ปฏิจฺจ เต,
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นได้อาศัยซึ่งธรรมอันประเสริฐ เป็นนิยยานิกธรรม ประกอบในอันนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากสังสารทุกข์
สพฺเพปิ ทุกฺขสฺส กโรนฺตุ สงฺขยํ.
แม้ทั้งหมดจงกระทำซึ่งความสิ้นไปพร้อมแห่งทุกข์เถิด
ฐาตุ จิรํ สตํ ธมฺโม ธมฺมทฺธรา จ ปุคฺคลา,
ขอธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายจงตั้งอยู่นาน อนึ่ง ขอบุคคลทั้งหลายผู้ทรงไว้ซึ่งธรรมจงดำรงอยู่นาน
สงฺโฆ โหตุ สมคฺโค ว อตฺถาย จ หิตาย จ.
ขอพระสงฆ์จงมีความสามัคคี พร้อมเพรียงกันในอันทำประโยชน์และสิ่งอันเกื้อกูลเถิด
อมฺเห รกฺขตุ สทฺธมฺโม สพฺเพปิ ธมฺมจาริโน,
ขอพระสัทธรรมจงรักษาไว้ซึ่งเราทั้งหลาย แล้วจงรักษาไว้ซึ่งบุคคลทั้งหลาย ผู้ประพฤติธรรมแม้ทั้งปวง
วุฑฺฒึ สมฺปาปุเณยฺยาม ธมฺเม อริยปฺปเวทิเต.
ขอเราทั้งหลายพึงถึงพร้อมซึ่งความเจริญในธรรม ที่พระอริยเจ้าประกาศไว้แล้วเถิด
ปสนฺนา โหนฺตุ สพฺเพปิ ปาณิโน พุทฺธสาสเน,
ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
สมฺมาธารํ ปเวจฺฉนฺโต กาเล เทโว ปวสฺสตุ,
ขอฝนทั้งหลายจงหลั่งอุทกธารโดยชอบตกต้องตามฤดูกาล
วุฑฺฒิภาวาย สตฺตานํ สมิทฺธํ เนตุ เมทนึ,
ขอฝนจงนำความสำเร็จมาสู่พื้นปฐพี เพื่อความเจริญแก่สัตว์ทั้งหลาย
มาตา ปิติติตา จ อตฺรชํ นิจฺจํ รกฺขนฺติ ปุตฺตกํ,
มารดาและบิดา ย่อมรักษาบุตรที่เกิดเป็นตนเป็นนิจ ฉันใด
เอวํ ธมฺเมน ราชาโน ปชํ รกฺขนฺตุ สพฺพทา.
ขอพระราชาจงปกครองประชาชนโดยชอบธรรมในกาลทุกเมื่อ ฉันนั้น เทอญ.
๔. สัพพปัตติทานคาถา
(คำแผ่ส่วนบุญกุศลแก่สรรพสัตว์ หรือกรวดน้ำตอนเช้า)
(นำ) หนฺท มยํ สพฺพปตฺติทานคาถาโย ภณาม เส.
ปุญฺญสฺสิทานิ กตสฺส ยานญฺญานิ กตานิ เม
เตสญฺจ ภาคิโน โหนฺตุ สตฺตานนฺตาปฺปมาณกา.
สัตว์ทั้งหลายไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ จงมีส่วนแห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำในบัดนี้ และแห่งบุญที่ได้ทำไว้ก่อนแล้ว
เย ปิยิยิยา คุณวนฺตา จ มยฺหํ มาตาปิตาทโย
ทิฏฺฺฺฐา เม จาปยทิฏฺฺฺฐา วา อญฺเญ มชฺฌตฺตเวริโน.
คือจะเป็นสัตว์เหล่าใด ซึ่งเป็นที่รักใคร่และมีบุญกุศล เช่นบิดามารดาของข้าพเจ้าเป็นต้นก็ดี ที่ข้าพเจ้าเห็นแล้วหรือไม่ได้เห็นก็ดี สัตว์เหล่าอื่นที่เป็นกลางๆ หรือเป็นคู่เวรกันก็ดี
สตฺตา ติฏฺฺฺฐนฺติ โลกสฺมึ เต ภุมฺมา จตุโยนิกา
ปญฺเจกจตุโวการา สํสรนฺตา ภวาภเว.
สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ในโลก อยู่ในภูมิทั้งสาม อยู่ในกำเนิดทั้งสี่ มีขันธ์ห้า มีขันธ์เดียว มีขันธ์สี่ กำลังท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ก็ดี
ญาตํ เย ปตฺติทานมฺเม อนุโมทนฺตุ เต สยํ
เย จิมํ นปฺปชานนฺติ เทวา เตสํ นิเวทยุ
สัตว์เหล่าใดรู้ส่วนบุญที่ข้าพเจ้าแผ่ให้แล้ว สัตว์เหล่านั้นจงอนุโมทนาเองเถิด ส่วนสัตว์เหล่าใดยังไม่รู้ส่วนบุญนี้ ขอเทวดาทั้งหลายจงบอกสัตว์เหล่านั้นให้รู้
มยา ทินฺนาน ปุญฺญานํ อนุโมทนเหตุนา
สพฺเพ สตฺตา สทา โหนฺตุ อเวรา สุขชีวิโน
เขมปฺปทญฺจ ปปฺโปนฺตุ เตสาสา สิชฺฌตํ สุภา.
เพราะเหตุที่ได้อนุโมทนาส่วนบุญที่ข้าพเจ้าแผ่ให้แล้ว สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อยู่เป็นสุขทุกเมื่อ จงถึงบทอันเกษม กล่าวคือพระนิพพาน ความปรารถนาดีงามของสัตว์เหล่านั้นจงสำเร็จเถิด.
๕. ปัฏฐนฐปนคาถา
(คำแผ่ส่วนบุญกุศลแก่สรรพสัตว์โดยตั้งความปรารถนา)
(นำ) หนฺท มยํ ปฏฺฺฺฐนฐปนคาถาโย ภณาม เส.
ยนฺทานิ เม กตํ ปุญฺญํ เตนาเนนุทฺทิเสน จ
ขิปฺปํ สจฺฉิกเรยฺยาหํ ธมฺเม โลกุตฺตเร นว.
บุญใดที่ข้าพเจ้าได้ทำในบัดนี้ เพราะบุญนั้น และการอุทิศแผ่ส่วนบุญนั้น ขอให้ข้าพเจ้าทำให้แจ้งโลกุตตรธรรม ๙ ในทันที
สเจ ตาว อภพฺโพหํ สํสาเร ปน สํสรํ.
ถ้าข้าพเจ้าเป็นผู้อาภัพอยู่ ยังต้องท่องเที่ยวไปในวัฏฏสงสาร
นิยโต โพธิสตฺโตว สมฺพุทฺเธน วิยากโต
นาฏฺฺฺฐารสปิิิ อาภพฺพ- ฐานานิ ปาปุเณยฺยหํ.
ขอให้ข้าพเจ้าเป็นเหมือนโพธิสัตว์ ผู้เที่ยงแท้ ได้รับพยากรณ์แต่พระพุทธเจ้าแล้ว ไม่ถึงฐานะแห่งความอาภัพ ๑๘ อย่าง
ปญญฺจเวรานิ วชฺเชยฺยํ รเมยฺยํ สีลรกฺขเน
ปญญฺจกาเม อลคฺโคหํ วชฺเชยฺยํ กามปงฺกโต.
ข้าพเจ้าพึงเว้นจากเวรทั้งห้า พึงยินดีในการรักษาศีล ไม่เกาะเกี่ยวในกามคุณทั้งห้า พึงเว้นจากเปือกตมกล่าวคือกาม
ทุทฺทิฏฺฺฺฐิยา น ยุชฺเชยฺยํ สํยุชฺเชยฺยํ สุทิฏฺฺฺฺฺฐิยา
ปาเป มิตฺเต น เสเวยฺยํ เสเวยฺยํ ปณฺฑิเต สทา.
ขอให้ข้าพเจ้าไม่พึงประกอบด้วยทิฏฐิชั่ว พึงประกอบด้วยทิฏฐิที่ดีงามไม่พึงคบมิตรชั่ว พึงคบแต่บัณฑิตทุกเมื่อ
สทฺธาสติหิโรตฺตปฺปา- ตาปกฺขนฺติคุณากโร
อปฺปสยฺโห ว สตฺตูหิ เหยฺยํ อมนฺทมุยฺหโก.
ขอให้ข้าพเจ้าเป็นบ่อเกิดแห่งคุณ คือ ศรัทธา สติ หิร โอตตัปปะ ความเพียร และขันติ พึงเป็นผู้ที่ศัตรูครอบงำไม่ได้ ไม่เป็นคนเขลาคนหลงงมงาย
สพฺพายาปายุปาเยสุ เฉโก ธมฺมตฺถโกวิโท
เญยฺเย วตฺตตฺวสชฺชํ เม ญาณํ อเฆว มาลุโต.
ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งความเสื่อมและความเจริญ เป็นผู้เฉียบแหลมในอรรถและธรรม ขอให้ญาณของข้าพเจ้าเป็นไปไม่ข้องขัดในธรรมที่ควรรู้ ดุจลมพัดไปในอากาศฉะนั้น
ยา กาจิ กุสลา มฺยาสา สุเขน สิชฺฌตํ สทา
เอวํ วุตฺตา คุณา สพฺเพ โหนฺตุ มยฺหํ ภเว ภเว.
ความปรารถนาใดๆ ของข้าพเจ้าที่เป็นกุศล ขอให้สำเร็จโดยง่ายทุกเมื่อคุณที่ข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วทั้งปวงนี้ จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกๆ ภพ.
ยทา อุปฺปชฺชติ โลเก สมฺพุทฺโธ โมกฺขเทสโก
ตทา มุตฺโต กุกมฺเมหิ ลทฺโธกาโส ภเวยฺยหํ.
เมื่อใด พระสัมพุทธเจ้าผู้แสดงธรรมเครื่องพ้นทุกข์อุบัติขึ้นแล้วในโลกเมื่อนั้น ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากกรรมกันชั่วช้าทั้งหลาย เป็นผู้ได้โอกาสแห่งการบรรลุธรรม
มนุสฺสตฺตญฺจ ลิงฺคญฺจ ปพฺพชฺชญฺจูปสมฺปทํ
ลภิตฺวา เปสโล สีลี ธาเรยฺยํ สตฺถุสาสนํ.
ขอให้ข้าพเจ้าพึงได้ความเป็นมนุษย์ ได้เพศบริสุทธิ์ ได้บรรพชาและอุปสมบทแล้ว เป็นคนรักศีล มีศีล ทรงไว้ซึ่งพระศาสนาของพระศาสดา
สุขาปฏิปโท ขิปฺปา- ภิญฺโญ สจฺฉิกเรยฺยหํ
อรหตฺตปฺผลํ อคฺคํ วิชฺชาทิคุณลงฺกตํ.
ขอให้เป็นผู้มีการปฏิบัติโดยสะดวก ตรัสรู้ได้พลัน กระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผลอันเลิศ อันประดับด้วยธรรมมีวิชชาเป็นต้น
ยทิ นุปฺปชฺชติ พุทฺโธ กมฺมํ ปริปูรญฺจ เม
เอวํ สนฺเต ลเภยฺยาหํ ปจฺเจกโพธิมุตฺตมนฺติ.
ถ้าหากพระพุทธเจ้าไม่บังเกิดขึ้น แต่กุศลกรรมของข้าพเจ้าเต็มเปี่ยมแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น ขอให้ข้าพเจ้าพึงได้ญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนอันสูงสุด เทอญ.