ศีล สมาธิ ปัญญา

วันที่ 29 พย. พ.ศ.2561

ศีล สมาธิ ปัญญา
 

   

           ศีลเป็นเหตุ มีสมาธิเป็นอานิสงส์

           สมาธิเป็นต้นเหตุ มีปัญญาเป็นอานิสงส์

           ปัญญาเป็นต้นเหตุ อบรมจิตให้หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย

           ในข้อนั้นท่านทั้งหลายพึงกระทำโดยความไม่ประมาทเถิดประเสริฐนัก ที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาสมเด็จพระบรมศาสดาทรงวางตำรับตำราไว้ เป็นแบบแผนแน่นหนา ทรงเทศนาโปรดเวไนยาสรรพสัตว์อยู่ ๔๕ พรรษา

           เมื่อรวบรวมธรรมวินัย ไตรปิฎกของพระบรมศาสดาแล้ว ก็คงเป็น ๓ คือวินัยปิฎกสุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก เรื่องนี้พระเถรานุเถระ มีพระมหาอริยกัสสปะเป็นประธาน ได้สังคายนาร้อยกรองทรงพระธรรมวินัย เป็นหลักฐาน เรียกว่า พระวินัย พระสูตร พระปรมัตถ์

           พระวินัย จัดเป็นศีล ศีลมากนักเป็น อปริยันตปาริสุทธิศีล ศีลของพระภิกษุไม่มีที่สุดทีเดียว ศีลของอุบาสกอุบาสิกา มี ๕ มี  สามเณรมี ๑๐ ตามหน้าที่

           ส่วนพระสูตร ก็ตรัสเทศนามากอีกเหมือนกัน เรียกว่า สุตตันตปิฎก ยกเป็นสุตตันตปิฎกนั้น ถึง ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ถ้าจะสรุปเข้าแล้ว ถ้าจะสรุปรวบรวมเข้าก็เป็นสมาธิสมาธิจัดเป็นภูมิไปมาก มีมากอีกเหมือนกัน

           พระปรมัตถปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ถ้าย่นย่อลงเป็นสั้นๆ แล้วก็คือปัญญา ปัญญาก็แยกออกมากอีกเหมือนกัน

           เพราะฉะนั้น ศีล สมาธิ ปัญญา นี่แหละ เป็นหลักประธานของพระพุทธศาสนา ผู้ปฏิบัติควรศึกษาเสียให้รู้ศีลชัด รู้ศีลแล้ว ให้รู้จักสมาธิชัด ให้รู้จักปัญญาเสียให้ชัด

 

 

จากพระธรรมเทศนาเรื่อง "การแสดงศีล ( สีลุทเท )"
๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๗

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.040607619285583 Mins