ทำไมต้องสวดมนต์-ภาวนา

วันที่ 21 กพ. พ.ศ.2562

สวดมนต์ก็พ้นได้,ทำมัยต้องสวดมนต์-ภาวนา

แค่สวดมนต์ก็พ้นได้


       โรคภัยที่กำลังระบาด ความเจ็บป่วยที่หาสาเหตุไม่เจอ ล้วนมีมาจากสาเหตุในอดีต และส่งผลถึงปัจจุบัน หากเราอยากแก้กรรมแต่ไม่ชอบทำความดี แล้วชาตินี้จะพ้นจากบ่วงกรรมได้อย่างไร

      เพียงแค่การสวดมนต์ จะทำเรารอดพ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์

      "วันนี้คุณสวดมนต์หรือยัง"

 

นัตถิ ปัญญาสะมา อาภา
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี

 

เรื่องน่ารู้ก่อนสวดมนต์
ทำไมต้องสวดมนต์-ภาวนา

       การทำวัตรสวดมนต์เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธปฎิบัติกันมามิได้ขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระภิกษุสามเณรจะขาดทำวัตรสวดมนต์ไม่ได้เลย ถือว่าเป็นกิจวัตรอย่างหนึ่ง

       หากใครมีโอกาสเดินผ่านอุโบสถตามวัดต่างๆ ทุกเช้าและเย็น ก็จะได้ยินเสียงทำวัตรสวดมนต์ของพระภิกษุสามเณรดังก้องกังวานอยู่เสมอ 

       ชาวพุทธส่วนใหญ่ก็นิยมสวดมนต์ทั่งที่บ้านและที่วัด บางคนมีศรัทธาช่วยกันเป็นเจ้าภาพพิมพ์หนังสือสวดมนต์แจกตามที่ต่างๆ เพราะมีประสบการณ์พบปาฏิหาริย์ทางใจจากการสวดมนต์เป็นประจำ

       จนกระทั่งว่า ในวัดหนึ่งๆ จะมีหนังสือสวดมนต์หลายสํานวนมากและไม่ค่อยตรงกัน

       จนทำให้การสวดแต่ละครั้งต้องถือเอาฉบับเดียวกัน จะได้ไม่เกิดความสับสน

       จึงมีคำกล่าวว่า ''สวดมนต์เป็นยาทา'' คือสวดแล้วเกิดความสงบระงับชั่วคราว ขณะสวดมนต์ก็มีสมาธิกับบทสวด จิตเกิดความสงบ ส่วนคำว่า ''ภาวนาเป็นยากิน" หมายถึง การทำสมาธิอย่างต่อเนื่อง มีความตั้งมั่นนาน ทำให้ใจสะอาดบริสุทธิ์หยุดนิ่ง 
       เพราะเมื่อใจสงบนิ่ง ก็เกิดการเห็นและเข้าใจธรรมะได้ลึกซึ้ง
       จึงเปรียบเสมือน ''ยากิน'' ซึ่งสามารถแก้ปวดได้ดีกว่ายาทา

       อย่างไรก็ตาม ทั้งการสวดมนต์และการเจริญภาวนา ก็ควรทำทั้งสองอย่างและควรทำเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยก็ควรสวดมนต์ก่อนเข้านอน เพราะจะได้หลับไปด้วยใจอันสงบ ตื่นขึ้นมาก็จะรู้สึกสดชื่นสบายใจ

       อนึ่ง การสวดมนต์ย่อมเป็นการฝึกพูดวาจาสุภาษิต คือ คำพูดที่ดีมีประโยชน์ เมื่อเราสวดสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ย่อมเป็นการพูดแต่ความดีของพระพูทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นการเลือกพูดแต่ความดีของคนอื่น

       สิ่งไม่ดีเราจะไม่พูด ไม่ทำ ไม่คิด

       หากใครได้เคยไปเที่ยวอินเดีย โดยเฉพาะที่พุทธคยาอันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า จะเห็นภาพของชาวพุทธทั้งชาวธิเบต อินเดีย ไทย จีน ญี่ปุน หรือแม้แต่ชาวตะวันตก พากันสวดมนต์ด้วยภาษาของตนดังกึกก้องไปทั้วบริเวณ 

       แม้จะสวดคนละภาษาเสียงดังกังวานไปทั้ว แต่เชื่อหรือไม่ว่า ไม่มีใครบ่นว่ารำคาญหรือเกิดความไม่พอใจจากเสียงรบกวนกัน แต่ละคนเมื่อมาถึงก็สวดด้วยภาษาของตน

       เสียงที่เปล่งออกมาจากพลังแห่งความศรัทธา เมื่อฟังย่อมทำให้เกิดปีติขนลุกโดยไม่รู้ตัว เกิดบรรยากาศอันอิ่มบุญและสุขใจอย่างบอกไม่ถูก หรือแม้ขณะกำลังนั่งรถเดินทางไปเที่ยวทั้วอินเดีย ชาวพุทธก็ยังนิยมสวดมนต์บนรถไปด้วย เพื่อเป็นพุทธานุสติในการได้ไปเยือนถิ่นอินเดียซึ่งเป็นดินแดนพุทธภูมิ

       ที่สำคัญคือเพื่อความปลอดกัยในการเดินทางด้วย

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.023488450050354 Mins