อุปัชฌายวัตร
คือหน้าที่ที่สัทธิวิหาริกจะพึงทำแก่อุปัชฌายะ
๑.เอาใจใส่ในการอุปัฏฐากท่านในกิจทุกอย่างๆ ในบาลียกการถวายน้ำบ้วนปาก และไม้สีฟันขึ้นแสดงเป็นเบื้องต้นๆ
๒. หวังความศึกษาในท่าน ฯ
๓. ขวนขวายป้องกัน หรือระงับความเสื่อมเสียอันจักมีหรือได้มีแล้วแก่ท่าน ๆ ในบาลีแสดงอาการระงับความกระสัน ความเบื่อหน่าย และปลดเปลื้องความเห็นผิดท่านเป็นต้น ๆ
๔. รักษาน้ำใจท่าน ไม่คบคนนอกให้เป็นเหตุแหนง ๆ ในบาลีว่าจะทำการลับเป็นต้นกับคนเช่นนั้น บอกท่านก่อน ๆ
๕. เคารพในท่าน ๆ ในบาลีแสดงการเดินตามท่านไม่ชิดนัก ไม่ห่างนักและไม่พูดสอดหรือค้านจัง พูดอ้อมพอท่านได้สติ ฯ
๖.ไม่เที่ยวเตร่ตามอำเภอใจ จะไปข้างไหนลาท่านก่อน ๆ
๗.เมื่อท่านอาพาธ เอาใจใส่พยาบาลไม่ไปข้างไหนเสียจนกว่าท่านจะหายเจ็บ หรือมรณะ ฯ
สัทธิวิหาริกวัตร
คือหน้าที่อันอุปัชฌายะจะพึงทำแก่สัทธิวิหาริก
อุปัชฌายะควรมีใจเอื้อเฟื้อในสัทธิวิหาริกของตน ตลอดกาลที่เธออาศัยอยู่โดยใจความดังนี้ ฯ
๑.เอาธุระในการศึกษาของสัทธิวิหาริก ฯ
๒. สงเคราะห์ด้วยบาตร จีวร และบริขารอย่างอื่น ถ้าของตนไม่มีต้องขวนขวายหา ฯ
๓. ขวนขวายป้องกันหรือระงับความเสื่อมเสียอันจักมีหรือได้มีแล้วแก่สัทธิวิหาริกฯ (ดุจในกรณียะของสัทธิวิหาริก)
๔. เมื่อสัทธิวิหาริกอาพาธ ทำการพยาบาล ฯ
เหตุประณาม คือไล่เสีย มี ๕ คือ
๑. หาความรักใคร่ในอุปัชฌาย์มิได้
๒. หาความเสื่อมในไม่ได้
๓. หาความละอายมิได้
๔. หาความเคารพมิได้
๕. หาความหวังดีมิได้
ในข้อที่ว่าหาความละอายมิได้ มีโทษมากกว่าข้ออื่นฯ ภิกษุผู้ประพฤติในเหตุประณามเหล่านี้ ข้อใดข้อหนึ่งในอุปัชฌายะก็ดี ในอาจารย์ก็ดีพระศาสดาประทานอำนาจไว้แก่อุปัชฌายะและอาจารย์ เพื่อให้ประณาม คือขับไล่เธอเสีย ฯ ถ้าไม่ประณามเป็นปัจจัยให้ผู้อื่นถือเอาเป็นตัวอย่างข้างเลวมากขึ้น เป็นความเสียอยู่แก่อุปัชฌายะ ฯ