สาระสำคัญแห่งการเคารพพระธรรม (ตอนจบ)
พระสัทธรรมนั้น ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ เวลานี้อยู่
กลางกายมนุษย์ ธรรมดวงนั้นแหละ ใสบริสุทธิ์มีอยู่ในกายมนุษย์ กายมนุษย์นั้นก็ได้รับความสุขรุ่งเรือง ผ่องใส
ถ้าธรรมดวงนั้นซูบซีดเศร้าหมอง กายมนุษย์นั่นก็ไม่รุ่งเรือง ไม่ผ่องใส นั้นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวง
หนึ่งเท่าฟองไข่แดงของไก่ นี่ไม่ใช่ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ แต่ว่าแบบ
เดียวกัน
ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ตั้งอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ละเอียดนั้น ๒ เท่าฟองไข่แดง
ของไก่ ใสดุจเดียวกัน ใสหนักขึ้นไป
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ๓ เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัวแบบเดียวกัน
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ๔ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ใหญ่ขึ้นไปเป็นลำดับ นี่ดวงธรรมแหละ
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ๕ เท่าฟองไข่แดงของไก่ใสกลมรอบตัว นี่ดวงธรรมแหละ
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ๖ เท่าฟองไข่แดงของไก่
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ใสหนักขึ้นไป ๗ เท่าฟองไข่แดงของไก่
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ๘ เท่าฟองไข่แดงของไก่นั่นแหละ นี่รู้จักธรรม ดวง
ธรรมนั่นแหละ ธรรมอื่นจากนี้ไม่มี นี่แหละดวงธรรมแหละ บอกตรงแหละ ดวงธรรมนั่นแหละ
ที่นี้ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักของกายธรรม กายธรรมหน้าตักเท่าไหน ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลางโตเท่านั้น กลมรอบตัว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัวเท่ากัน
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วากลมรอบตัว
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๐ วา กลมรอบตัว
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๐ วา กลมรอบตัว
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๕ วา กลมรอบตัว
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๕ วา กลมรอบตัว
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัว
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วากลมรอบตัว นี่พระพุทธเจ้านี้
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัตละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลางโตหนักขึ้นไป นี่แค่ ๒๐ วา นี่ดวง
ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ที่พระพุทธเจ้าสำเร็จดวงเท่านี้
ที่พระพุทธเจ้าท่านเคารพพระสัทธรรม ท่านทำท่าไหนล่ะท่านจะทำอย่างไรจึงจะเรียกว่าเคารพ
พระสัทธรรม เราจะเคารพบ้างจะเอาพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง เราจะเคารพบ้าง พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ทำท่า
ไหน ท่านเอาใจของท่านนั่นแหละหยุดไปที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายของท่าน
ท่านหยุดขึ้นไปตั้งแต่กายมนุษย์นี้ที่แสดงไปแล้ว หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นลำดับขึ้นไป เข้าถึงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม รูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด กายธรรม กายธรรมละเอียด โสดาโสดาละเอียด สกทาคา สกทาคาละเอียดอนาคา อนาคาละเอียด พระอรหัต พระอรหัตละเอียด เข้าถึงพระอรหัตโน่น
พอถึงพระอรหัตแล้วใจท่านติดอยู่กับดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต ไม่ถอนเลยทีเดียวติดแน่นที
เดียว ติดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำ ให้เป็นพระอรหันต์นั่นติด อยู่กลางดวงธรรมนั่นแหละ ไม่คลาดเคลื่อน
ละถอนไปไหนก็ไม่ไปติดอยู่นั่นแหละ ติดแน่นทีเดียว
เมื่อติดแน่นแล้ว ท่านก็สอดส่องมองดูทีเดียว ว่าประเพณีของพระพุทธเจ้า เมื่อได้ตรัสรู้เป็น
พระพุทธเจ้าแล้วนับถืออะไร เคารพอะไร เคารพอะไรบ้าง ไปดูหมด ไปดูตลอดหมด ทุกพระองค์เหมือนกัน
หมด แบบเดียวกันหมด ใจของท่านมาติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้านี้ทั้งนั้น ศูนย์กลาง
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า กำเนิดดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า
หยุดอยู่นี้เองติดแน่นไม่ถอยถอนแหละ อินฺทขีลูปโม เหมือนอย่างกับเสาเขื่อนปักอยู่ในน้ำ ถ้าลม
พัดมาแต่ทิศทั้ง ๔ ทั้ง ๘ ไม่เขยื้อน หรือไม่ฉะนั้นปพฺพตูปโม เหมือนอย่างภูเขา ลมพัดมาแต่ทิศทั้ง ๔ ทั้ง ๘
ใจไม่เขยื้อน แน่นเป๋งเชียว แน่นกั๊กทีเดียว นั่นแหละใจแน่นอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้านั่น
แหละ นั่นแหละเรียกว่า สทฺธมฺมครุโนท่านเป็นผู้เคารพพระสัทธรรม
เมื่อท่านเห็นเช่นนั้น บัดนี้จะเคารพใคร ไม่มีแล้วที่เราจะเคารพ ในมนุษย์โลกทั้งหมดต่ำกว่าเราทั้ง
นั้น ในเทวโลก พรหมโลก อรูปพรหมต่ำกว่าเราทั้งนั้น ตลอดไม่มีแล้วในภพทั้ง ๓ จะหาเสมอเราไมมี สูงกว่า
เราไม่มี เราสูงกว่าทั้งนั้น ที่เป็นอย่างเราไม่มี เราสูง กว่าทั้งนั้น พระองค์ก็ตั้งพระทัยวางพระทัยหยุดอยู่
ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่นเอง ที่เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั่น หยุดนิ่งอยู่กลางดวง
นั้น นั่นแหละกลางดวงอย่างนั้น
และสมด้วยบาลีว่า เย จ อตีตา สมฺพุทฺธา พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดในอดีต ที่เป็นไปล่วงแล้วมากน้อยเท่าไรไม่ว่า เย จ พุทฺธา อนาคตา พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่จะมาในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้า โย เจตรหิสมฺพุทฺโธ พหุนฺนํ โสกนาสโน พระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ซึ่งยังความ
โศกของมหาชนเป็นอันมากให้วินาศไป ซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ นี่พระสิทธัตถราชกุมารองค์นี้
แหละ สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน ล้วนเคารพพระสัทธรรมทั้งสิ้นแบบเดียวกัน ใจหยุดอยู่แบบเดียวกันหมด ใจหยุด
อยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้านั่นแหละ ไม่ไปอื่นเลยแต่นิดหนึ่ง ติดแน่นเลยทีเดียว ไม่เผลอ
ทีเดียว เรียกว่าท่านไม่เผลอจากดวงธรรมนั้นทีเดียว นั่นแหละเรียกว่า สทฺธมฺมครุโน เคารพพระสัทธรรม
เมื่อท่านเคารพสัทธรรมแน่นหนาอยู่อย่างขนาดนี้แล้ว ไม่คลาดเคลื่อน ท่านจึงได้เตือนพวกเราว่า
วหิ รสึ พระพุทธเจ้ามากน้อยเท่าใดที่มีอยู่แล้วในอดีต วิหาติ จ พระพุทธเจ้าที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ อถาปิ
วิหริสฺสนฺติ อนึ่ง พระพุทธเจ้าที่จะมีในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้าต่อไป เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา ข้อนี้เป็น
ธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายต้องใจติดอย่างนี้แบบเดียวกัน
บัดนี้เราเป็นมนุษย์ เราจะต้องปฏิบัติแบบนี้ ภิกษุจะต้องปฏิบัติแบบนี้ เป็นสามเณรก็จะต้องปฏิบัติ
แบบนี้ เป็นอุบาสก อุบาสิกาจะต้องปฏิบัติแบบนี้ทั้งหมด ก็บัดนี้ใจเราไม่ติดจะทำอย่างไรกัน พร่าเสียหมดแล้ว
ไม่ติดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เราจะทำอย่างไรกัน นี่แน่ไม่ติดอย่างนี้ เรียกว่าไม่ถูกตามความ
ประสงค์ของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ถ้าว่าใจไปติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เหมือน
อย่างกับท่านติดอย่างนั้นละก็ ก็ถูกเป้าหมายใจดำของพุทธศาสนาทีเดียว
เราจะต้องแก้ไขใจของเราให้ติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เห็น จำ คิด รู้ มัน
แตก ไม่เข้าไปติดอยู่ตรงนั้น เราจะแก้ให้ติดมันก็ไม่ติด มันติดเสียข้างอื่น เช่น เราจะฟังธรรมสักครู่หนึ่ง
ให้ติด ให้มันหยุด มันไม่หยุด เที่ยวพร่าไปเสียหมด โน่น นั่นอยู่นี่แหละจะเทศน์ก็ดี โน่นแลบไปโน่น จะฟัง
ธรรมก็ดี โน่นแลบไปบ้านไปช่องไปห่วงวัวห่วงควาย ไปหาอะไรมิอะไรไปโน่น ไปตลาด ไปถนนหนทาง
ไปโน่น มันพร่าไปเสีย อย่างนั้น มันไม่ติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ มันก็เป็นใหญ่ไม่ได้มัน
ใหญไม่ได้ มันไม่ถูกเป้าหมายใจดำ
ติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ พอติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย
มนุษย์ไม่หลุดแหละ ก็ไม่ช้าเท่าไรหรอก ติดอยู่กลางนั่นแหละ ติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย
มนุษย์ละก็ กลางของกลาง ๆ พอหยุดได้ก็ กลางของกลาง ๆ อยู่นั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าถึงดวงธรรมที่
ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ก็เข้ากลาง
หยุดอีกนั่นแหละ กลางของกลาง ๆ ก็เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์
พอเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ก็เข้ากลางของกลาง ๆ ที่ใจหยุดนั่นแหละ จะเข้าถึง
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด
แต่พอเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดใจก็หยุดเข้ากลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ
กลางของกลาง ๆ ทีเดียวจะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม
เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม แล้วหยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ก็เข้ากลางของหยุดอีก กลางของกลาง ๆ หนักเข้าก็จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด
เมื่อใจเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียดแล้วพอหยุดแล้วเข้ากลางของกลางที่ใจ
หยุดนั่นแหละ กลางของกลาง ๆ ก็จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม
เมื่อเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมแล้วใจก็หยุดก็เข้ากลางของใจหยุดนั่นแหละ กลาง
ของกลางๆ จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด
พอเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดแล้ว ใจก็หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น
กายอรูปพรหมละเอียดนั่นแหละเข้ากลางของกลาง ๆ หนักเข้าก็จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็น
กายธรรม ใจก็หยุดอยู่กลางของหยุดอีกนั่นแหละ กลางของกลาง ๆ จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้
เป็นกายธรรมละเอียดแล้ว หยุดอยู่กลางของหยุดนี้แหละ กลางของกลาง ๆ จะเข้าถึง ดวงธรรมที่
ทำ ให้เป็นกายพระโสดาละเอียด พอเข้า ถึง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาแล้ว หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่
ทำให้เป็นกายพระโสดากลางของหยุดนั่นแหละ กลางของกลาง ๆ จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระ
โสดาละเอียด
เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียดแล้ว หยุดอยู่กลางหยุดนั่น กลางของกลาง
ๆ จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาแล้ว
ยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา เข้ากลางของใจที่หยุดกลางของกลาง ๆ จะเข้าถึงดวงธรรม
ที่ทำให้เป็นพระสกทาคาละเอียดที่เดียวกัน อยู่กลางกายมนุษย์นี่แหละ ไม่ได้ไปที่อื่น
หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคาละเอียดแล้ว เข้ากลางของใจที่หยุด และ
กลางของกลาง ๆ จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาแล้ว
หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาพอหยุดแล้วเข้ากลางของใจที่หยุดนั่น กลางของกลาง ๆ จะ
เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด
เข้าถึงดวงธรรม ที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียดแล้ว หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด กลางของกลาง ๆ หนักเข้าจะเข้าถึงกายพระอรหัต เป็นตัวพระพุทธเจ้าทีเดียว
เมื่อถึงกายพระอรหัตแล้ว หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัตนั่น กลางของกลางไม่มีไปไหนละ เข้าถึงกายธรรมของพระอรหัตละเอียด ก็กลางของกลางนั่นแหละ กลางของกลางดวง
ธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตละเอียดนั่นแหละ กลางของกลาง ๆ ตั้งแต่เป็นพระพุทธเจ้าแล้วไม่ได้ถอยจาก
การหยุดเลย กลางของกลางอย่างนี้เรื่อยไป ท่านจึงถึงซึ่งความเป็นใหญ่ เราต้องไหว้บูชาท่านขนาดนี้ เราก็
ต้องเดินแบบนี้ซิ เป็นภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาในพุทธศาสนาเดินแบบนี้ไม่ได้ ก็ใช้ไม่ได้ ไม่ถูก ไม่ถูก
เป้าหมายใจดำ ไม่เคารพพระพุทธเจ้า ไม่นับถือพระพุทธเจ้า ไม่บูชาพระพุทธเจ้า
ท่านถึงได้กล่าวเป็นบทไว้ว่า คำที่เรียกว่า ธรรม คือ ทำดี ไม่ใช่ทำชั่ว ท่านยกเป็นตำรับตำราไว้ว่า น หิ ธมฺโม อธมฺโม จ อุโภ สมวิปากิโน อธมฺโม นิรยํ เนติ ธมฺโม ปาเปติ สุคตึ อุโภ สภาวา สภาพทั้งสอง ธมฺ
โม จ คือธรรมด้วย อธมฺโม จ คือไม่ใช่ธรรมด้วยมีผลไม่เสมอกัน หามีผลเสมอกันไม่ อธมฺโม นิรยํ เนติ อธรรม
ที่ไม่ใช่ธรรม ย่อมนำสัตว์ไปสู่นรก ธมฺโม ปาเปติ สุคตึ สิ่งที่เป็นธรรมสภาพที่เป็นธรรม ยังสัตว์ให้ถึงซึ่งสุคติ ไม่
เหมือนกันอย่างนี้
เมื่อรู้จักสภาพที่ไม่เป็นธรรม ถ้าว่าเราอยู่เสียกับธรรมเช่นนี้แล้ว สภาพที่ไม่เป็นธรรมก็ไม่เข้ามา
เจือปนได้ ไม่สามารถทำอะไรกับเราได้ เราอยู่เสียกับธรรมเรื่อยไป ไม่ออกจากธรรม ไม่ถอนจากธรรม
ทีเดียว สภาพที่ไม่ใช่ธรรมก็มาทำอะไรไม่ได้ สิ่งที่เป็นบาปอกุศลที่เป็นชั่วร้ายมาทำอะไรไม่ได้ เราอยู่กับธรรม
เรื่อยไป อยู่กับฝ่ายดีฝ่ายเดียวเมื่ออยู่ฝ่ายดีฝ่ายเดียว แตกกายทำลายขันธ์ กายก็ไม่มีเสีย วาจาก็ไม่มี
เสีย ใจก็ไม่มีเสีย
เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ ก็มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า นรกไม่มีทีเดียว นี่ขั้นต่ำไม่ไปนรก
ทีเดียว เมื่อรู้จักหลักอันนี้ต้องปฏิบัติให้ถูกส่วน ให้ถูกในธรรมอยู่เสมอ อย่าเอาใจไปวางที่อื่น ให้จรด
อยู่กลางดวงธรรม วางอยู่กลางดวงธรรมเสมอไป เรื่องนี้พระจอมไตรเมื่อมีพระชนม์อยู่ก็สอนอย่างนั้น ถึงแม้จะ
เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ก็โอวาทของพระองค์ก็ยังทรงปรากฏอยู่ว่า
อุกาส โย ปน ภิกฺขุ ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน วิหรติ สามีจิปฏิปนฺโน อนุธมฺมจารี โส ตถาคตํ สกฺกโรติ
ครุกโรติ มาเนติ ปูเชติ ปรมายปูชาย ปฏิปตฺติปูชาย ว่า เราขอโอกาส ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัย รูปใด ธมฺมานุ
ธมฺมปฏิปนฺโน ปฏิบัติธรรมตามธรรม ปฏิบัติธรรม ตามธรรมนนั้ ได้แก่ใจหยุดอยู่กลางดวงธรรมทีท่ำให้เป็น
กายมนษุย์แล้ว
ก็ให้เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมกายอรูปพรหมละเอียด กายธรรม กายธรรมละเอียด โสดา โสดา ละเอียด สกทาคา สกทาคาละเอียด อนาคา อนาคาละเอียด อรหัตอรหัตละเอียด ก็ปฏิบัติตามธรรมอย่างนี้ ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโนปฏิบัติตามธรรมอย่างนี้ สามีจิปฏิปนฺโน ปฏิบัติชอบยิ่งให้ชอบหนักขึ้นไป ยิ่งหนักขึ้นไปไม่ถอยกลับ เหมือนพระบรมศาสดาดังนั้น ให้เป็นตัวอย่างดังนั้น อนุธมฺมจารี ประพฤติธรรมไม่ขาดสาย อนุธมฺมจารี ประพฤติตามธรรมไม่ให้หลีกเลี่ยง ไม่ให้หลีกเลี่ยงจากธรรมไป
ได้ ให้ตรงศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายตลอดไป นี่เรียกว่า อนุธมฺมจารี โส ภิกฺขุ ผู้ศึกษาใน
ธรรมวินัยนั้น สกฺกโรติ ได้ชื่อว่าสกัการะ ครุกโรติ ได้ชื่อว่า เคารพ มาเนติ ได้ชื่อ ว่านับถือ ปูเชติ ได้ชื่อว่า
บูชา ตถาคตํ ซึ่งเราผู้ตถาคต ปรมาย ปูชาย ปฏิปตฺติปูชาย ด้วยปฏิบัติบูชาเป็นอย่างยิ่ง นี่ประสงค์อย่างนี้ ให้
ได้จริงอย่างนี้
นี่วัดปากน้ำเขาทำกันแล้ว มีธรรมอย่างนี้ไม่ใช่น้อย มีจำนวนร้อย ทั้งภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา แต่ว่าเขาพบของจริงขนาดนี้เขาเผลอสติเสีย เขาไม่รู้ว่าของจริงสำคัญ เขาดันเอาใจไปใช้ทางอื่น เสีย เขาไม่นิ่งดิ่งหนักลงไป เข้าถึงเป็นลำดับไป เข้าถึงเป็นชั้น ๆ จนกระทั่งถึงกายพระอรหัต
เข้าถึงกายพระอรหัต เขาไม่ถอนถอยทีเดียว เขาจะเป็นพระอรหัตให้ได้ อย่างนี้ถ้าปฏิบัติอย่างนี้ละ
ก็ นั่นแหละเคารพพระสัทธรรมแท้ ๆ แน่วแน่แหละ คนนั้นน่ะเป็นอายุพระศาสนา เป็นกำลังพระศาสนาทีเดียว
เป็นตัวอย่าง อันดีของภิกษุสามเณร อบุาสกอบุาสิกาในยุค นี้และต่อไปในภายหน้าทีเดียว ได้ชื่อว่าทำตนของ
ตนให้เป็นกระสวน เป็นเนติแบบแผนทีเดียว ไม่เสียทีที่พ่อแม่อาบน้ำป้อนข้าวอุ้มท้องมา ไม่เสียทีเปล่า แม้จะ
ทูนไว้ด้วยเศียรเกล้า ก็ไม่หนักเศียรเกล้าเปล่า จะอาบน้ำป้อนข้าวก็ไม่เหนื่อยยาก ลำบากเปล่า ได้ผล จริงจังอย่างนี้ เหตุนี้เราท่านทั้งหลายทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต อุบาสก อุบาสิกา
เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้ว อย่า เอาใจไปจรดอื่น ให้จรดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์
ขั้นต้น จนกระทั่งถึงพระอรหัตขั้นสุดท้าย ๑๘ กายนี้ แล้วก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต
อย่าถอยกลับ นิ่งแน่นอยู่นั่น นั่นแหละถูกเป้าหมายใจดำทางพระพุทธศาสนา
ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ใน คารวาธิกถา เฉลิมเพิ่มเติมศรัทธาของภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา ทั้ง
หลายได้พากันมาสดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนา เห็นสภาวะปานฉะนี้ ด้วยอำนาจสัจจวาจาที่ได้อ้างธรรม
เทศนาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดี จงบังเกิด ล
มีแด่ท่านทั้งหลายบรรดา มาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า รตนตฺตยานุภาเวน ด้วยอานุภาพ
รัตนะทั้ง ๓ คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ สามประการนี้ จงดลบันดาลความสุขสวัสดิ์ ให้อุบัติบังเกิดมี
เป็นปรากฏในขันธปัญจกแห่งท่านทั้งหลายทุกถ้วนหน้า ที่ได้ชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติ
ธรรมิกถาโดยอรรถนิยมความเพียงแค่นี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ
"ตั้งแต่เป็นพระพุทธเจ้าแล้วไม่ได้ถอยจากการหยุดเลยกลางของกลางอย่างนี้เรื่อยไปเป็นภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกาในพุทธศาสนาเดินแบบนี้ไม่ได้ ก็ใช้ไม่ได้ไม่ถูกเป้าหมายใจดำไม่เคารพพระพุทธเจ้าไม่นับถือพระพุทธเจ้าไม่บูชาพระพุทธเจ้า"
จากหนังสือ ที่สุดแห่งธรรม ถึงได้ด้วยความเคารพ 2
โดยคุณครูไม่เล็ก
ฟังหนังสือเสียง shorturl.at/hitvF