สามัญญผลเบื้องกลาง...สยบนิวรณธรรมทั้งปวง

วันที่ 02 มีค. พ.ศ.2563

สามัญญผลเบื้องกลาง...สยบนิวรณธรรมทั้งปวง

 

                   สามัญญผลเบื้องกลาง คือ อานิสงส์หรือผลดีที่ภิกษุได้รับจากการเจริญสมาธิภาวนา กล่าวคือ เมื่อภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ ย่อมเป็นผู้สงบทั้งกาย วาจา และใจ ดังที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น จากนั้น เมื่อได้เจริญสมาธิภาวนา ย่อมบรรลุฌานไปตามลำดับ ๆดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระเจ้าอชาตศัตรูว่า

 

                “ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวรอริยสติสัมปชัญญะและอริยสันโดษอย่างนี้แล้ว พักอยู่ ณเสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า 

 

                 เธอละอภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา) ในโลก มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌาละความมุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลสรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์

 

                   จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ) เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ อยู่ภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก  อุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา”๑     

       

                    จากพระดำรัสที่ยกมานี้ ย่อมเห็นแล้วว่า ถ้าพระภิกษุเป็นผู้ที่บริบรูณ์ด้วยศีลทั้งปวง อินทรีย์สังวร สติสัมปชัญญะและสันโดษ อันเป็นอริยะแล้ว ย่อมเป็นอุปการะต่อการเจริญสมาธิภาวนา อันเป็นเหตุให้สามารถสยบนิวรณธรรม ใจของภิกษุรูปนั้นจึงสงัดจากกามและอกุศลธรรม เข้าสู่ฌานสมาบัติไปตาม
ลำดับ

 

                    นิวรณธรรม หรือ นิวรณ์ นี้คือ กิเลสที่ปิดกั้นใจไม่ให้บรรลุความดี ไม่ให้ก้าวหน้าในการเจริญภาวนา ทำให้ใจซัดส่าย ไม่ยอมให้ใจรวมหยุดนิ่งเป็นหนึ่ง หรือเป็นสมาธิ นิวรณ์จัดว่าเป็นกิเลสอย่างกลาง
มี ๕ ประการ คือ

 

                    ๑. กามฉันทะ คือ ความหมกมุ่น ครุ่นคิด เพ่งเล็งถึงความน่ารักน่าใคร่ในกามคุณ อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เนื่องจากใจยังหลงติดในรสของกามคุณทั้ง ๕ นั้น จนไม่สามารถสลัดออกได้ พระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบกามฉันทะเหมือนหนี้ คือ ผู้ที่เป็นหนี้เขาแม้จะถูกเจ้าหนี้ทวงถามด้วยคำหยาบ ก็ไม่อาจโต้ตอบอะไรได้ ต้องสู้ทนนิ่งเฉย เพราะเป็นลูกหนี้เขา แต่ถ้าเมื่อใดชำระหนี้หมดสิ้นแล้ว
ย่อมมีทรัพย์เหลือเป็นกำไร ย่อมมีความรู้สึกเป็นอิสระ และสบายใจ อุปมาข้อนี้ ฉันใด ผู้ที่สามารถละกามฉันทะในจิตใจได้เด็ดขาดแล้วย่อมมีความปราโมทย์ยินดีอย่างยิ่ง ฉันนั้น

 

                    ๒. พยาบาท คือ ความคิดร้าย ความรู้สึกไม่ชอบใจสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ได้แก่ ความขุ่นใจ ความขัดเคืองใจ ความไม่พอใจความโกรธ ความผูกโกรธ ความเกลียด ความรู้สึกเหล่านี้ทำให้ใจกระสับกระส่ายไม่เป็นสมาธิ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบพยาบาทเหมือนโรค ผู้ที่เป็นโรคต่าง ๆ มีโรคดี โรคตับ เป็นต้น ย่อมฝืนใจต้มยาที่มีรสขมไว้กินแก้โรคฉันใด ผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจพยาบาทนิวรณ์ ย่อมฝืนใจรับโอวาทของพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ผู้มีความหวังดีต่อตนฉันนั้น ด้วยเกรงว่า ถ้าตนไม่รับฟังโอวาทก็อาจจะต้องเคลื่อน
จากพรหมจรรย์ ในวันใดวันหนึ่งเป็นแน่แท้ ผู้ที่ฝืนใจรับฟังโอวาทจากพระอปุัชฌาย์อาจารย์ผู้หวังดีต่อตน ย่อมไม่มีความเข้าใจ และซาบซึ้ง ในโอวาทเหล่านนั้ ฉันใดผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจพยาบาท นิวรณ์ก็ไม่ได้พบ            รสพระธรรม ไม่ได้พบความสุขอันเกิดจากฌาน ฉันนั้น

 

                     ๓. ถีนมิทธะ คือ ความง่วงเหงาซึมเซา ความหดหู่และเซื่องซึม ขาดความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ขาดกำลังใจและความหวังในชีวิต เกิดความเบื่อหน่ายชีวิต ไม่คิดอยากทำสิ่งใด ๆ บุคคลที่ใจหดหู่ ย่อมขาดความวิริยอุตสาหะในการทำสิ่งต่าง ๆได้ แต่ปล่อยให้ความคิดเลื่อนลอยไปเรื่อย ๆ จึงไม่สามารถรวมใจเป็นหนึ่งได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบถีนมิทธะเหมือนการถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ คนที่ถูกจองจำอยู่ในเรือนจำนั้น ย่อมหมดโอกาสที่จะได้รับความบันเทิงจากการเที่ยวดูหรือชมมหรสพต่าง ๆ

 

                      ในงานนักขัตฤกษ์ ฉันใด ผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจถีนมิทธะนิวรณ์ ย่อมหมดโอกาสที่จะได้รับรู้      รสแห่งธรรมบันเทิง คือ ความสงบสุข อันเกิดจากฌาน ฉันนั้น

 

                    ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ อันเกิดจากการปล่อยใจให้เคลิบเคลิ้มไปกับเรื่องที่มากระทบใจ แล้วจิตก็คิดปรุงแต่งเรื่อยไปไม่สิ้นสุด บางครั้งก็ทำให้หงุดหงิดงุ่นง่าน ความ
รำคาญใจและความฟุ้งซ่านเหล่านี้ ย่อมทำให้ใจซัดส่าย ไม่อยู่นิ่ง ไม่เป็นสมาธิ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบอุทธัจจกุกกุจจะเหมือนความเป็นทาส ผู้ที่เป็นทาสเขา ถึงแม้ว่าจะไปพักผ่อนดูหนังดูละครก็ต้องรีบกลับ เพราะกลัวนายจะลงโทษฉันใด ภิกษุผู้เกิดความฟุ้งซ่านรำคาญในเรื่องวินัยว่า สิ่งที่ตนกระทำไปนั้นจะผิดถูกประการใด ก็ต้องรีบไปหาพระวินัยธรรม เพื่อทำศีลของตนให้บริสุทธิ์ จึงไม่ได้เสวยสุขอันเกิดจากวิเวก ฉันนั้น

 

                     ๕. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ มีคำถามเกิดขึ้นในใจตลอดเวลา ทำให้ลังเลสงสัย ไม่แน่ใจในการปฏิบัติของตนเช่นนี้ย่อมไม่สามารถทำใจให้รวมเป็นหนึ่งได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบวิจิกิจฉาเหมือนบุรุษผู้มั่งคั่งเดินทางไกลและกันดาร พบอุปสรรคมากมาย บรุษุที่เดินทางไกล หากเกิด ความสะดุ้ง กลัวต่อพวกโจรผู้ร้าย ย่อมเกิดความลังเลใจว่า ควรจะไปต่อหรือจะกลับดี ความสะดุ้งกลัวพวกโจรผู้ร้าย เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางไกลของบุรุษฉันใด ความลังเลสงสัยในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อม
เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุอริยภูมิของภิกษุ ฉันนั้น   

 

                       ขณะที่นิวรณ์ทั้ง ๕ อย่างนี้ แม้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งครอบงำใจอยู่ ผู้เจริญภาวนาย่อมไม่สามารถรวมใจให้เป็นหนึ่งได้ต่อเมื่อทำใจให้หยุดนิ่งแน่วแน่ ไม่ซัดส่ายไปมา ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างต่อเนื่องเป็นเอกัคคตา เมื่อนั้นใจก็จะรวมเป็นหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า สมาธิ กล่าวคือ เข้าถึงฌานสมาบัติ ๔ ระดับ ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ซึ่งฌานแต่ละระดับจะมีอารมณ์ที่ลุ่มลึกไปตามลำดับ ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระเจ้าอชาตศัตรูดังนี้

 

                    “ภิกษุนั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌานที่ มี วิตก วิจารณ์ ปิติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปิติและสุขอันเกิดเกิดจากวิเวกจะไม่ถูกต้อง...ข้อนี้จัดเป็นผลแห่งความเป็นสมณะที่
เห็นประจักษ์ ซึ่งดีกว่าและประณีตกว่าผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็นประจักษ์ข้อก่อน ๆ       

 

                   ยังมีอีก มหาบพิตร เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายในมีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิรู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปิติและสุขอันเกิดจากสมาธิจะไม่ถูกต้อง...ข้อนี้จัดเป็นผลแห่งความ

 

                  ยังมีอีก มหาบพิตร เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มด้วยสุขอันไม่มีปีติ รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่สุขอันไม่มีปีติจะไม่ถูกต้อง...ข้อนี้จัดเป็นผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็นประจักษ์ซึ่งดีกว่าและประณีตกว่าผลแห่งความเป็นสมณะ ที่เห็นประจักษ์ข้อก่อน ๆ

 

                   ยังมีอีก มหาบพิตร เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เธอมีใจอัน บริสุทธ์ผุดผ่องนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง...ข้อนี้จัดเป็นผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็นประจักษ์ ซึ่งดีกว่าและประณีตกว่าผลแห่งความเป็นสมณะ ที่เห็นประจักษ์ข้อก่อน ๆ”

 

               "ความบริบูรณ์ด้วยศีล สำรวมอินทรีย์มีสติสัมปชัญญะตั้งมั่น และสันโดษย่อมเป็นอุปการะต่อการเจริญสมาธิภาวนา อันเป็นเหตุให้สามารถสยบนิวรณ์ทำใจให้หยุดนิ่งได้"

 

เชิงอรรถ อ้างอิง

๑ ที.สี. ๙/๒๑๖-๒๑๗/๗๓-๗๔ (แปล.มจร)

๒ ที.สี. ๙/๒๒๖-๒๓๓/๗๕-๗๗ (แปล.มจร)

                                                         จากหนังสือ ที่สุดแห่งธรรม ถึงได้ด้วยความเคารพ 3   

โดยคุณครูไม่เล็ก

 

                          

                      

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.056597499052684 Mins