ความเจริญและความเสื่อมของอายุมษุษย์
อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์มีความไม่แน่นอน มนุษย์สมัยพุทธกาลมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ ๑๐๐ ปี ครั้นเวลาล่วงมาจนถึงปัจจุบันนี้ มนุษย์มีอายุขัยเฉลี่ยลดลงเรื่อย ๆ ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุใด เรื่องนี้มีปรากฎใน "จักกวัตติสูตร" ซึ่งนำมาแสดงไว้ดังนี้
จักกวัตติสูตร1 ว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ
การมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้พระภาคประทับอยู่ ณ เมืองมาตุลา แคว้นมคธ ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย" ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้วพระผู้พระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นเกาะ2 มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด
ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑) พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒) พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำ จัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓) พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๔) พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงประพฤติธรรมอันเป็นโคจร3 ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบเนื่องมาจากบิดาของตน เมื่อเธอทั้งหลายประพฤติธรรมอันเป็นโคจรซึ่งเป็นวิสัยอันสืบเนื่องมาจากบิดาของตน มารจะไม่ได้โอกาส จะไม่ได้อารมณ์ ภิกษุทั้งหลาย ษุญนี้ย่อมเจริญขึ้นได้อย่างนี้ เพราะการสมาทานกุศลธรรมเป็นเหตุ
เรื่องพระเจ้าจักรพรรดิทัฬหเนมิ
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่าทัฬหเนมิ ผู้ทรงธรรม ครองราชย์โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต ทรงได้รับชัยชนะ มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ ได้แก่ (๑) จักรแก้ว (๒) ช้างแก้ว (๓) ม้าแก้ว (๔) มณีแก้ว (๕) นางแก้ว (๖) คหบดีแก้ว (๗) ปริณายกแก้ว มีพระราชโอรสมากกว่า ๑,๐๐๐ องค์ ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีราชศัตรูได้ พระองค์ทรงชนะโดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินนี้มีสาครเป็นขอบเขต
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น เมื่อเวลาล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี พระเจ้าทัฬหเนมิรับสั่งเรียกราชษุรุษคนหนึ่งมาตรัสว่า 'ษุรุษผู้เจริญ ในขณะที่ท่านเห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ตั้ง พึงบอกแก่เราทันที' ราชบุรุษนั้นทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว เมื่อเวลาล่วงไปอีกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี ราชบุรุษนั้นได้เห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ตั้ง จึงเข้าไปเฝ้าท้าวเธอถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่าทัฬหเนมิตังนี้ว่า
'ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ขอพระองค์ทรงทราบเถิด จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระองค์ ถอยเคลื่อนจากที่ตั้งแล้ว'
ลำดับนั้น ท้าวเธอรับสั่งเรียกพระกุมาร ผู้เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่มาตรัสว่า 'ลูกเอ๋ย ทราบว่าจักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพ่อถอยเคลื่อนจากที่ตั้งแล้ว ก็พ่อได้ยินมาว่า 'จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์ใดถอยเคลื่อนจากที่ตั้ง ณ บัดนี้ พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นั้น จะทรงพระชนม์อยู่ได้ไม่นาน' กามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์พ่อก็ได้บริโภคแล้ว บัดนี้เป็น
เวลาที่พ่อจะแสวงหากามทั้งหลายอันเป็นทิพย์ มาเถิด ลูกเอ๋ย ลูกจงปกครองแผ่นดิน อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขตนี้ ส่วนพ่อจะโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต4'
ภิกษุทั้งหลาย ครั้นพระเจ้าทัฬหเนมิทรงสั่งสอนพระกุมารผู้เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ ในเรื่องการครองราชย์เรียบร้อยแล้ว ทรงโกนพระเกศาและพระมัสสุทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์เสด็จออกจากพระราชวังผนวชเป็นบรรพชิต เมื่อพระราชฤๅษีผนวชได้ ๗ วัน จักรแก้วอันเป็นทิพย์ใด้อันตรธานไป
ครั้งนั้น ราชบุรุษคนหนึ่งเข้าไปเฝ้ากษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษก5 แล้ว ถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ว่า 'ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ขอพระองค์ทรงทราบเถิด จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว' ขณะนั้น เมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว ท้าวเธอทรงเสียพระทัย ทรงแสดงความเสียพระทัยให้ปรากฏ จึงเสด็จเข้าไปหาพระราชฤๅษีถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลดังนี้ว่า 'ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท พระองค์ทรงทราบเถิด จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว' เมื่อท้าวเธอกราบทูลอย่างนี้ พระราชฤๅษีจึงตรัสว่า 'ลูก เมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว เจ้าอย่าเสียใจและอย่าแสดงความเสียใจให้ปรากฏเลย ด้วยว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ หาใช่เป็นทรัพย์สมทัติที่เป็นมรดกสืบมาจากบิดาของเจ้าไม่ ขอให้ลูกประพฤติจักรวรรดิวัตรอันประเสริฐเถิด ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือ เมื่อลูกประพฤติจักรวรรดิวัตรอันประเสริฐ สนานพระเศียร ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ รักษาอุโบสถ ประทับอยู่ชั้นบนปราสาทหลังงาม จักปรากฏจักรแก้วอันเป็นทิพย์ ซึ่งมีกำ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และมีส่วนประกอบครบทุกอย่าง'
จักรวรรดิวัตรอันประเสริฐ
'จักรวรรดิวัตรอันประเสริฐนั้น เป็นอย่างไร พระเจ้าข้า'
'ลูกเอ๋ย ถ้าเช่นนั้น ลูกจงอาศัยธรรม6 เท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นับถือธรรม บูชาธรรม นอบน้อมธรรม มีธรรมเป็นธงชัย มีธรรมเป็นยอด มีธรรมเป็นใหญ่ จงจัดการรักษาป้องกันและคุ้มครองชนภายใน7 กำลังพล พวกกษัตริย์ผู้ตามเสด็จ พราหมณ์และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท สมณพราหมณ์ สัตว์จำพวกเนื้อและนกโดยธรรม การกระทำสิ่งที่ผิดแบบแผน อย่าได้เป็นไปในแว่นแคว้นของลูก อนึ่ง บุคคลเหล่าใดในแว่นแคว้นของลูก ไม่มีทรัพย์ ลูกพึงให้ทรัพย์แก่บุคคลเหล่านั้นด้วย อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใดในแว่นแคว้นของลูก เว้นขาดจากความมัวเมาและความประมาท8 ตั้งมั่นอยู่ในขันติ (ความอดทน) และโสรัจจะ (ความเสงี่ยม) ฝึกตน สงบตน ให้ตนดับกิเลสอยู่แต่ผู้เดียว ลูกพึงเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นตามกาลอันควรแล้วไต่ถาม สอบถามว่า 'ท่านขอรับ อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเกี่ยวข้อง อะไรไม่ควรเกี่ยวข้อง อะไรที่ข้าพเจ้าทำอยู่พึงเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาล
นาน หรือว่าอะไรที่ข้าพเจ้าทำอยู่ พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน' ครั้นลูกได้ฟังจากสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว สิ่งใดเป็นอกุศล พึงละเว้นสิ่งนั้น สิ่งใดเป็นกุศล พึงยึดถือประพฤติสิ่งนั้นให้มั่น ลูกเอ๋ย จักรวรรดิวัตรอันประเสริฐนั้น เป็นอย่างนี้แล'
การปรากฏของจักรแก้ว
ภิกษุทั้งหลาย กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วรับสนองพระดำรัสของพระราชฤๅษีแล้ว ทรงประพฤติจักรวรรดิวัตรอันประเสริฐ เมื่อท้าวเธอทรงประพฤติจักรวรรดิวัตรอันประเสริฐอยู่ สนานพระเศียร ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ รักษาอุโบสถ ประทับอยู่ชั้นบนปราสาทหลังงาม ปรากฎจักรแก้วอันเป็นทิพย์ ซึ่งมีกำ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และมีส่วนประกอบครบทุกอย่าง เมื่อกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทอดพระเนตรแล้วทรงดำริว่า 'เราได้ฟังเรื่องนี้มาว่า 'กษัตราธิราชพระองค์ใด ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงสนานพระเศียร ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ รักษาอุโบสถ ประทับอยู่ชั้นบนปราสาทหลังงาม จักปรากฎจักรแก้วอันเป็นทิพย์ซึ่งมีกำ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และมีส่วนประกอบครบทุกอย่าง กษัตราธิราชพระองค์นั้นย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ' เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิกระมัง'
ลำดับนั้น ท้าวเธอทรงลุกจากที่ประทับ ทรงพระภูษาเฉวียงบ่า พระหัตถ์ซ้ายทรงจับพระเต้าทอง พระหัตถ์ขวาทรงชูจักรแก้วขึ้นตรัสว่า 'จักรแก้วอันประเสริฐจงหมุนไป จงได้รับชัยชนะอันยิ่งใหญ่' ทันใดนั้น จักรแก้วหมุนไปทางทิศตะวันออก ท้าวเธอพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา9 ได้เสด็จตามไป เสด็จเข้าพักแรมพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาในประเทศที่จักรแก้วอันเป็นทิพย์หยุดอยู่
พระราชาทั้งหลายที่เป็นปฎิปักษ์ในทิศตะวันออก พากันเสด็จมาเฝ้าแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า 'ขอเดชะ มหาราชเจ้า พระองค์โปรดเสด็จมาเถิด ขอรับเสด็จพระองค์ ราชสมบัติของหม่อมฉันเป็นของพระองค์ โปรดประทานพระราโชวาทเถิด พระเจ้าข้า'
ท้าวเธอตรัสตอบอย่างนี้ว่า 'พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงพูดคำเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา และจงครองราชสมบัติไปตามเดิมเถิด'
พระราชาทั้งหลายที่เป็นปฎิปักษ์ในทิศตะวันออกเหล่านั้นกลับอ่อนน้อมต่อท้าวเธอ
ภิกษุทั้งหลาย จากนั้น จักรแก้วหมุนไปยังมหาสมุทรทิศตะวันออกแล้วกลับเวียนไปทางทิศใต้ ฯลฯ หมุนไปยังมหาสมุทรทิศใต้แล้วกลับเวียนไปทางทิศตะวันตก ท้าวเธอพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาได้เสด็จตามไป เสด็จเข้าพักแรมพร้อมด้วยจตุรงดินีเสนาในประเทศที่จักรแก้วอันเป็นทิพย์หยุดอยู่
พระราชาทั้งหลายที่เป็นปฎิปักษ์ในทิศตะวันตก พากันเสด็จมาเฝ้าแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า
'ขอเดชะ มหาราชเจ้า พระองค์โปรดเสด็จมาเถิด ขอรับเสด็จพระองค์ ราชสมบัติของหม่อมฉันเป็นของพระองค์ โปรดประทานพระราโชวาทเถิด พระเจ้าข้า'
ท้าวเธอตรัสตอบอย่างนี้ว่า 'พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงพูดคำเท็จ ไม่พึงดื่มนํ้าเมา และจงครองราชสมบัติไปตามเดิมเถิด'
พระราชาทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันตกเหล่านั้นกลับอ่อนน้อมต่อท้าวเธอ
จากนั้น จักรแก้วหมุนไปยังมหาสมุทรทิศตะวันตกแล้วกลับหมุนไปทางทิศเหนือ ท้าวเธอพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ได้เสด็จตามไป เสด็จเข้าพักแรมในประเทศที่จักรแก้วอันเป็นทิพย์หยุดอยู่ พระราชาทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือพากันเสด็จมาเฝ้าแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า
'ขอเดชะ มหาราชเจ้า พระองค์โปรดเสด็จมาเถิด ขอรับเสด็จพระองค์ ราชสมบัติของหม่อมฉันเป็นของพระองค์ โปรดประทานพระราโชวาทเถิด พระเจ้าข้า'
ท้าวเธอตรัสตอบอย่างนี้ว่า 'พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงพูดคำเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา และจงครองราชสมปติไปตามเดิมเถิด'
พระราชาทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือเหล่านั้นกลับอ่อนน้อมต่อท้าวเธอ
ครั้งนั้น จักรแก้วได้ปราบปรามแผ่นดินมีมหาสมุทรเป็นขอบเขตอย่างราบคาบ เสร็จแล้วหมุนกลับยังราชธานีนั้นมาปรากฎแก่พระเจ้าจักรพรรดิที่พระทวารภายในพระราชวัง ณ หน้ามุข ที่ทรงวินิจฉัยราชกิจ ทำภายในพระราชวังของท้าวเธอให้สว่างไสว
เชิงอรรถ
1 พระสุตตันฅปิฎก ทีฆนิกาย, มจร. เล่ม ๑๑ หน้า ๕๙
2 มีตนเป็นเกาะ ในที่นี้หมายถึงทำตนให้ทันจากห้วงนํ้า คือ โอฆะ ๔ เหมือนกับเกาะกลางมหาสบุทรที่นํ้าท่วมไม่ถึง
3 ธรรมอันเป็นโคจร ในที่นี้หมายถึงธรรมที่เป็นอารมณ์กัมมัฎฐานของภิกษุ
4 บวชเป็นบรรพชิต ในที่นี้หมายถึงบวชเป็นดาบส ซึ่งต้องโกนผมและหนวดเป็นพิธีการแรก หลังจากบวชแล้วเมื่อผมงอกขึ้นมาใหม่ ก็จะใช้วิธีมุ่นผมเป็นชฎา แล้วเที่ยวไป การบวชในสมัยแรกใช้ผ้ากาสาวพัสตร์ (ผ้าที่ย้อมนํ้าฝาด) ในสมัยต่อมาใช้ผ้าเปลือกไม้ก็มี
5 มูรธาภิเษก หมายถึงพิธีหลั่งนํ้ารดพระเศียรในงานราชาภิเษก หรือพระราชพิธีอื่น ๆ
6 ธรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ คือ (๑) เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ (๒) เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ (๓) เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม (๔) เว้นขาดจากการพูดเท็จ (๕) เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
(๖) เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ (๗) เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ (๘) ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา (๙) ความมีจิตไม่พยาบาท (๑๐) ความเห็นชอบ
7 ชนภายใน ในที่นี้หมายถึงพระมเหสี พระราชโอรส และพระราชธิดา
8 ความประมาท ในที่นี้หมายถึงความมีจิตหมกมุ่นในกามคุณ ๕
9 จตุรงคินีเสนา หมายถึงกองทัพที่มีกำลัง ๔ คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า