พระพุทธศาสนากับหลักการ NLP

วันที่ 30 ตค. พ.ศ.2563

พระพุทธศาสนากับหลักการ NLP

 

631030_b.jpg

 

            NLP ย่อมาจาก Neuro-Linguistic Programming คือ "โปรแกรมภาษาสมอง" เป็นโปรแกรมการศึกษาเรียนรู้ของ ระบบประสาท ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า การทำงานของ สมองมีผลต่อพฤติกรรมของคนมากมายเลยทีเดียว

 

          ระบบประสาทจะมีแขนขายื่นระโยงระยางออกไปเชื่อม โยงกันเป็นเครือข่าย เมื่อเราคิดซํ้า ๆ พูดซ้ำ ๆ และทำซํ้า ๆ เส้นทางเดิมซึ่งจะแข็งแรงและมีพลังมากขึ้น ดึงดูดให้เราอยาก ที่จะคิด พูด และทำซํ้า ๆ อย่างนั้นอีก หรือที่เราเรียกง่าย ๆ ว่า "ติดนิสัย" นั่นเอง

 

          ในการศึกษาเรียนรู้ยังพบว่า "นิสัย" คือตัวกำหนด ความสำเร็จ หรือความล้มเหลวในชีวิตของคน ยกตัวอย่าง บางคน ไม่ว่าจะใปที่ไหนก็มักจะมีเรื่องมีราวกับคนอื่นเสมอ นั่นเป็นเพราะ นิสัย เนื่องจากปฏิกิริยาในการคิด พูด และทำของเขาเป็นไปใน รูปแบบเดิม

 

           พอมีเรื่องราวอะไรเกิดขึ้นเขาก็จะมองทางลบทันที พอคิดลบไว้ก่อนอยางนี้ ผลที่ได้ก็คือมองอะไรก็เป็นด้านลบไปหมด ดังสุภาษิตสอนใจที่กล่าวไว้ว่า "Two men Look out the same prison bars; one sees mud and the other stars... สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งเห็นโคลนตม คนหนึ่งตาแหลมคม เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย"

 

          คนที่สำเร็จทำอะไรก็สำเร็จ ต่อให้เจอภัยธรรมชาติไม่ คาดคิดจนเกิดความเสียหายมากมาย แต่ไม่นานเขาก็จะลงมือทำ มันใหม่จนสำเร็จ เพราะวิธีการคิด พูด และทำของเขาเป็นวงจร บวกนั่นเอง

 

          นักวิทยาศาสตร์ได้มีการคิดค้นโปรแกรมในการฝึกระบบ ประสาท ปรับวิธีการใหมาโดยจูนสมองของคนให้เปลี่ยนจากแนวคิด ลบมาเป็นแนวคิดบวก ปรากฏว่าทฤษฎีนี้สำเร็จอย่างไม่น่าเชื่อ

 

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ใหัศาสตร์แห่งการเรียนรู้

 

         ศาสตร์ NLP ในมุมมองทางพระพุทธศาสนาเราสามารถ กล่าวได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ให้ศาสตร์แห่งการ เรียนรู้เรื่องการทำงานด้าน NLP ไว้อย่างดีเยี่ยมเลยก็ว่าได้

 

         จริง ๆ หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นการเปลี่ยน มุมมองที่ถูกต้องให้แก่ผู้คนทั้งหลาย ถ้าจะมองในแง่ของหลักธรรม ที่เป็นแกนกลางพระพุทธศาสนา คือ "มรรคมีองค์แปด" หรือ "หนทางสู่ความพ้นทุกข์" นั้นก็ถือได้ว่าเป็น NLP ชั้นยอด

 

มรรคมีองค์แปด


           ข้อที่ 1 "สัมมาทิฏฐิ" เห็นชอบ
           ข้อที่ 2 "สัมมาสังกัปปะ" ดำริชอบ
           ข้อที่ 3 "สัมมาวาจา" เจรจาชอบ
           ข้อที่ 4 "สัมมากัมมันตะ" ทำการงานชอบ
           ข้อที่ 5 "สัมมาอาชีวะ" เลี้ยงชีพชอบ
           ข้อที่ 6 "สัมมาวายามะ" พยายามชอบ
           ข้อที่ 7 "สัมมาสติ" มีสติชอบ
           ข้อที่ 8 "สัมมาสมาธิ" มีสมาธิชอบ   

 

          ในประเทศอินเดียที่ผู้คนทั้งหลายอยูในระบบวรรณะ มีทั้งคนวรรณะตํ่า คนวรรณะสูง คนวรรณะจัณฑาลที่เกิดมาตํ่าต้อย ตลอดชาติ ห่มผ้าสีดำ ๆ อยู่ในหมู่บ้านซอมซ่อ เกิดมาก็มีความ รู้สึกว่าชาตินี้ทั้งชาติตัวเองเป็นทาสรับใช้ผู้อื่น แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเข้าไปปรับกระบวนการทางความคิด โดยให้โลกทัศน์ ใหม่แก่พวกเขาว่า คนทุกคนล้วนเกิดมาเสมอภาคกัน ไม่มีใคร เกิดมาจากโอษฐ์ของพระเจ้า หรือเกิดมาจากแขนจากขาของ พระพรหมนั้นไม่มี ทุกคนล้วนเกิดจากครรภ์มารดาด้วยกันทั้งนั้น จึงเสมอภาคกัน คนจะสูงหรือตํ่าขึ้นอยู่ที่การกระทำ ถ้าทำสิ่งที่ดี ก็เป็นคนสูง แต่ถ้าทำสิ่งที่ไม่ดีก็เป็นคนตํ่า 

 

            นอกจากนี้ พระพุทธศาสนายังทำให้ผู้คนเข้าใจเรื่องของ บุญบาป นรกสวรรค์ การเวียนว่ายตายเกิด โลกนี้โลกหน้า และ การตรัสรู้ธรรมอีกด้วย ถือว่าพระพุทธศาสนาให้ภาพรวมของโลก และชีวิตที่ถูกต้องแก่ชาวโลก

 

            สำหรับหลักการ NLP นักวิทยาศาสตร์แก้ไขการทำงาน เพียงบางด้านบางมุมเท่านั้น แต่หลักธรรมคำสอนในพระพุทธ ศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ได้ให้หลักการภาพรวมครบ ทั้งวงจร ทั้งชาตินี้ชาติหน้า จนถึงขั้นบรรลุธรรม

 

            พอผู้คนวรรณะศูทรและจัณฑาลในประเทศอินเดียเข้าใจ หลักธรรมเหล่านี้ก็ปรากฎว่า หมู่บ้านที่เคยมอซอสกปรก ก็เกิด ความเปลี่ยนแปลงกลายเป็นสว่างไสว เพราะระบบความคิดของ ผู้คนได้รับการปรับเปลี่ยนแล้ว โดยเริ่มต้นจาก "ความเห็นถูกต้อง"

 

            ต่อมาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้แนวทางต่อไปในขั้นที่ สอง คือ "ดำริชอบ" ได้แก่ คิดออกจากกาม คิดไม่พยาบาท และคิดไม่เบียดเบียน ซึ่งเหล่านี้คือแกนความคิด

 

            ยกตัวอย่าง นักเลงที่มักจะมีเรื่องมีราว เคยคิดว่าเดี๋ยว เราจะต้องทำร้ายเขาที่นังอาจหมิ่นศักดิ์ครีเรา แค่เขามองหน้า หน่อยก็หาว่าเขามาหมิ่นศักดิ์ศรีตัวเอง เอะอะก็จะไปชกต่อย กับเขา สุดท้ายต้องติดคุกติดตะราง ทั้งตนเองและครอบครัว ต้องเดือดร้อนไปยาวนาน

 

           ยิ่งถ้านักเลงคนนั้นพกปีนดวยล่ะก็ โบราณว่าร้อนวิชาขึ้น มาเลยทีเดียว พอมีปีนมันก็เหมือนกับมีอำนาจ คิดไปว่า "เดี๋ยว เถอะจะจัดการยิงเปรี้ยงให้สะใจ" แล้วก็ถูกตำรวจจับติดคุกติดตะรางเป็นสิบ ๆ ปี ลำบากไปทั้งชาติเพราะระบบความคิด ที่ไม่สมบูรณ์ 

 

          แต่หลักธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากำกับไว้เลยว่า ให้คิด ออกจากกาม คือเรื่องเกี่ยวกับเบญจกามคุณทั้ง 5 ซึ่งจะดำเนิน ไปเป็นขั้น ๆ เช่น เริ่มจากไม่เจ้าชู้ แล้วถึงเว้นขาดจากกาม เป็นขั้น เป็นตอนไป

 

          รวมถึงเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินต่าง ๆ ไม่โลภในทางที่ไม่ สมควร ไม่ไปเบียดเบียนของคนอื่น เอาเฉพาะสิ่งที่เราได้มาด้วย ความถูกต้องชอบธรรม ไม่รังแกผู้อื่นและมีเมตตาเอื้อเฟ้อเผื่อแผ่ ไม่ผูกอาฆาตพยาบาทใคร ในใจมีแต่ความรักและความปรารถนาดี ต่อทุกคน ทั้งหมดนี้คือ "แกนความคิดที่ถูกต้อง" พอเราปรับ ความเห็นและความคิดแล้ว ก็มาถึงเรื่องของวาจา คือเจรจาชอบ ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ

 

        พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้หัวใจหลักที่ครอบคลุมประเด็น หลักไว้หมดแล้วถึงค่อยแตกแขนงออกไป ขึ้นอยู่กับว่าใครจะนำ หลักธรรมไปขยายใช้งานต่อได้เท่าใด

 

       เราจะไปสอนคนที่ยังไม่เข้าใจเรื่อง "สัมมาทิฏฐิ" ความเห็นชอบ หรือยังไม่เข้าใจเรื่อง "สัมมาสังกัปปะ" ดำริชอบ คิดชอบ ให้มี "สัมมาวาจา" เจรจาชอบนั้นยาก เช่น เราจะไปสอน ให้เขาพูดจาไพเราะ บางทีก็ยังเป็นลักษณะนํ้าตาลเคลือบยาพิษ คือ เขาพูดไพเราะเพื่อหวังผลประโยชน์เฉพาะหน้า แต่สำหรับคนพูดดี โดยพื้นฐานความเห็นถูกที่ส่งผลต่อเนื่องมาเป็นความคิดถูกต้อง คำพูดที่ถูกต้องนั้น จะเกิดจากรากฐานของความจริงใจภายใน

 

       เมื่อเราคิดดีและพูดดีไปแล้ว ต่อมาก็เป็นการลงมือปฏิบัติ จริง คือ "สัมมากัมมันตะ" ทำการงานชอบ คือ ไม่ฆ่าเขา ไม่ ลักขโมยของเขา ไม่ประพฤติผิดในกาม คือไม่ลวงละเมิดสิทธิบุคคลของผู้อื่น

 

       พอเรามีพื้นฐานทั้ง 4 ข้อข้างต้นนี้แล้ว ก็จะเป็นพื้นฐาน รองรับการเลือกอาชีพที่ถูกต้อง คือมี "สัมมาอาชีวะ" เลี้ยงชีพชอบเป็นสุจริตชน ไม่ทำอาชีพที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เป็นบาป แต่จะเป็นบุญเป็นกุศล มีความสุขทั้งชาตินี้และชาติหน้า   

 

       หลักข้อต่อไป คือ "สัมมาวายามะ" พยายามชอบ ประกอบความเพียร ไม่ว่าเราจะทุ่มเทความวิริยะอุตสาหะเท่าไร ก็มีแต่จะนำความสุขความเจริญมาสู่ตัวเรา และลังคมรอบข้างเท่านั้น

 

       ส่วน "สัมมาสติ" มีสติชอบ คือให้เราตั้งหลักให้ดี ไม่ว่า จะทำอะไรก็ให้มีสติเพิ่มขึ้น ๆ เราจะได้ไม่พลาดพลั้งเพราะเหตุ ที่ยังไม่หมดกิเลส

 

       หลักข้อสุดท้าย "สัมมาสมาธิ" มีสมาธิชอบ คือพอมีสติ แล้วก็ควรทำสมาธิให้ใจนิ่ง เกิดเป็นวงจรบวกเสริม พอเราทำตาม หลักได้ครบทั้ง 8 ข้อ วนซํ้า ๆ อย่างนี้แล้ว "สัมมาทิฏฐิ" คือ ความเห็นชอบก็จะหนักแน่นขึ้นไปอีก ความคิดที่ถูกก็หนักแน่นขึ้น

 

       เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ สติชอบ สมาธิชอบก็จะลึกขึ้นไป ๆ เกิดความหนักแน่นขึ้นตามลำดับ ตอกยํ้าให้เส้นทางดำเนินชีวิตดีขึ้นเรื่อย ๆ เหล่านี้คือกระบวนการ ปรับความคิดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ส่งผลถึงคำพูดและ การกระทำตั้งแต่ปัจจุบัน นำไปจนกระทั่งมุ่งสู่การพ้นทุกข์

 

         เพราะฉะนั้น พวกเราชาวพุทธทั้งหลายขอให้ตั้งใจฝึกฝน "มรรคมีองค์แปด" ตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างจริงจัง แล้วเราจะพบว่า จริง ๆ แล้วพวกเราทุกคนเป็นเจ้าของขุมทรัพย์ ทางปัญญา ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์สอนเอาไว้ ซึ่งมีค่า มหาศาลเลยทีเดียว ขอเพียงเข้าใจและหยิบยกมาใช้ให้ได้เท่านั้น ก็จะนำความสุขมาสู่ต้วเรา ทั้งชาตินี้ชาติหน้าตลอดไป

 

ขัดเกลาความคิด
พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ M.D., Ph.D.

      

       

         

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.038906081517537 Mins