บริหารสมองบริหารความสำเร็จ

วันที่ 12 ตค. พ.ศ.2563

บริหารสมอง บริหารความสำเร็จ

 

631012_b.jpg

 

         การที่คนทำกิจกรรมซํ้าเดิมบ่อย ๆ จะทำให้เราใช้ประสาท ส่วนเดิมเพียงส่วนเดียว แล้วประสาทส่วนที่เราไม่ได้ใช้ก็จะเสื่อม ประสิทธิภาพไป ซึ่งอาจจะทำให้เรามีภาวะสมองเสื่อมได้ในวัยชรา

 

"นิวโรบิกส์ เอ็กเชอร์ไซส์" ออกกำลังสมอง

 

           "นิวโรบิกส์ เอ็กเซอร์ไซส์" (Neurobic Exercise) คือ วิธีการออกกำลังสมองเพื่อให้สมองของเรามีความจำดี มีปฏิภาณ ไหวพริบดี แนวคิด "นิวโรบิกส์ เอ็กเซอร์ไซส์" นี้เป็นแนวคิด ที่มาจาก ศาสตราจารย์ลอเรนซ์ ซี แคตซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน ประสาทวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นผู้ที่เล็งเห็นว่าสมองต้องได้รับ การออกกำลังบ้าง    

 

           "การออกกำลังสมอง" ควรทำเช่นเดียวกับ "การออกกำลังกาย" ด้วยการฝึกสมองทุก ๆ มุมโดยการไม่ทำอะไรจำเจ ยกตัวอย่าง บางคนใช้ชีวิตประจำวันเป็นแบบแผน ตื่นนอน เวลาเดิม ทำกิจวัตรประจำวันเรียงลำดับตามแบบแผนทั้งหมดโดย ไม่มีการสับเปลี่ยนลำดับกิจวัตรเลย

 

          อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไม่ให้ซํ้าซาก นั้นเป็นวิธีกระตุ้นสมองใหม่ ๆ ที่น่าสนใจมาก เพราะสมองของ คนเชื่อมต่อกัน เซลล์มีการแตกตัวเป็นแขนงรากเหมือนต้นไม้ รากของเซลล์สมองจะเชื่อมต่อกัน จุดที่เชื่อมต่อกันนั้นมีหลายวงจรมาก ซึ่งถ้าเรามุ่งไปพัฒนาที่วงจรเดียวแล้วอีกวงจรหนึ่งไม่ได้ผ่านการกระตุ้น วงจรนั้นก็จะไม่แข็งแรงเพราะไม่ได้รับการกระตุ้น เหมือนกับสมองทำงานไม่เป็น

 

           สมองของคนมีสัดส่วนอย่างน้อย 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ด้านการมองเห็นและการจดจำ ได้แก่ "Cognitive Function" หมายถึง "ความจำ สมาธิ การรับรู้" ส่วนด้านพฤติกรรมการ แสดงออกต่าง ๆ เรียกว่า "Behaviour Function" และส่วน ของการทำงานในระดับสูง "Executive Function" ได้แก่ การคิดแก้ปัญหา การตัดสินใจ และการวางแผนที่ดี

 

          เราสามารถทำให้ส่วนต่าง ๆ ของสมองมีการเชื่อมต่อ อย่างแข็งแรงได้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การได้ยิน การมองเห็น การได้กลิ่น การลิ้มรส และการสัมผัส รวมถึงส่วนที่ 6 คือเรื่องของอารมณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถสอดแทรกอยู่ในชีวิต ประจำวันของคนเราได้ ด้วยการนำกิจกรรมที่ทำอยู่เป็นประจำ ไปเชื่อมโยงกับการทำงานของสมองทั้ง 6 ด้าน นั่นเอง

 

 กิจกรรมปรับปรุงคุณภาพสมอง


          เราสามารถปรับปรุงและส่งเสริมคุณภาพสมองได้ด้วยการ ทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยการรับสัมผัสใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน ในระหว่างวัน ดังนี้

 

  กิจกรรมที่ 1 ปิตตาทำกิจกรรม


         ปิดตาทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ทดลองปิดตา อาบนํ้าหรือปิดตาดูโทรทัศน์ ชึ่งแทนที่สมองของเราจะใช้ประสาทสัมผัส ทางตาเพียงอย่างเดียวก็จะได้ใช้ประสาทสัมผัสทางการฟัง และ ใช้การจินตนาการร่วมด้วย เช่น จินตนาการว่าพิธีกรที่กำลัง ดำเนินรายการอยู่นั้นเป็นใคร หน้าตาเป็นอย่างไร ใส่เสื้อผ้าแบบไหน หรือจะทดลองหลับตาเลือกชุดที่จะใส่ โดยใช้สัมผัสแยกแยะ เนื้อผ้าต่าง ๆ ก็ได้

 

กิจกรรมที่ 2 เปลี่ยนชนิดของอาหารในแต่ละวัน


         เปลี่ยนชนิดของอาหารในแต่ละวัน และแต่ละมื้อ เช่น การกินอาหารของหลาย ๆ ชาติอย่างอาหารอินเดีย อาหารญี่ปุน อาหารจีน อาหารฝรั่งเศส เป็นต้น สมองจะเกิดการเรียนรู้ แล้วเราอาจจะนึกย้อนไปถึงช่วงเวลาที่เราเคยไปเที่ยวในสถานที่ ต่าง ๆ มา เช่น วันนี้เราไปกินอาหารอิตาเลียน ก็อาจจะทำให้ เราได้นึกย้อนถึงเมื่อครั้งที่เราไปประเทศอิตาลี หรือบางมื้อที่มี โอกาสเราก็อาจจะลงมือทำอาหารเอง ซึ่งก็เป็นวิธีการบริหาร สมองอีกแนวทางหนึ่ง

 

กิจกรรมที่ 3 เปลี่ยนควานถนัดส่วนตัว


         เปลี่ยนความถนัดส่วนตัว เช่น ลองเปลี่ยนไปใช้มือข้าง ที่ไม่ถนัดบ้าง ถ้าเราเป็นคนถนัดมือขวาก็ให้ลองเขียนหนังสือด้วย มือซ้าย หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยมือข้างซ้ายดูบ้าง ซึ่งกิจกรรม นี้ถือเป็นการกระตุ้นสมองอีกข้างหนึ่ง ร่างกายเราก็จะเกิดสมดุลมากขึ้น

 

กิจกรรมที่ 4 เปลี่ยนกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน


        เปลี่ยนกิจกรรมที่ทำซํ้า ๆ ในแต่ละวัน โดยเปลี่ยน รูปแบบไปจากเดิม เช่น เมื่อก่อนเราอาจจะอาบนํ้าก่อนแล้วจึง กินอาหารเช้า ก็ให้ลองเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นกินอาหารเช้าก่อน แล้วจึงอาบนํ้า เป็นต้น โดยทุก ๆ กิจกรรมในชีวิตของเรา สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ลองเปลี่ยนเสียงเรียกเข้าโทรศัพท์มือถือ อ่านหนังสือที่ไม่เคยอ่าน หรือลองเคลื่อนย้ายตำแหน่งที่ตั้ง ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันบ้าง ซึ่งจะเป็นการฝึกให้เราได้ ตั้งสติค้นหาสิ่งของต่าง ๆ มากกว่าใช้เพียงความเคยชินนั่นเอง

 

กิจกรรมที่ 5 เปลี่ยนเส้นทางใหม่ ๆ


            ลองเปลี่ยนเส้นทางการเดินทางใหม่ ๆ โดยทดลองใช้ เส้นทางที่ยังไม่เคยไปดูบ้าง หรือออกไปเดินในสถานที่ที่เรายัง ไม่เคยไป เพราะพอเราได้เดินทางไปในสถานที่ใหม่ ๆ เราก็จะ ได้เห็นวิวทิวทัศน์ใหม่ ๆ สมองของเราก็จะได้จดจำเส้นทางสายใหม่ ๆ เหล่านั้นด้วย 

 

กิจกรรมที่ 6 เสริมสร้างความจำด้วยกลิ่น


          เสริมสร้างความจำด้วยกลิ่น เช่น ใช้นํ้ามันหอมระเหย เพราะกลิ่นต่าง ๆ ของนํ้ามันหอมระเหยสามารถช่วยกระตุ้นสมอง ของเราได้ ทำให้สมองจดจำรายละเอียดของกลิ่นต่าง ๆ อย่างกลิ่นมะนาว กลิ่นมะลิ กลิ่นกุหลาบ เนื่องจากพอเราได้รับ ความสุนทรีย์มากขึ้น สมองของเราก็จะจดจำได้ดีขึ้นนั่นเอง

 

 กิจกรรมที่ 7 เพลิดเพลินกับเสียงสุนทรีย์


         เพลิดเพลินกับเสียงสุนทรีย์ เช่น ลองเปลี่ยนจากการ นั่งอ่านหนังสือในใจคนเดียว มาเป็นชวนเพื่อน ๆ สลับกันอ่าน หนังสือให้ฟัง เพราะเวลาที่เราอ่านหนังสือในใจสมองจะทำงาน แบบหนึ่ง แต่พอเราอ่านหนังสือออกเสียงสมองก็จะทำงานอีก รูปแบบหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นสมองชั้นนอกไปพร้อม ๆ กันอีกด้วย

 

         เพราะฉะนั้น เราจึงได้ออกกำลังกายสมอง และพัฒนาสมองไปพร้อม ๆ กัน จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมคนที่สวดมนต์ บ่อย ๆ ถึงมีความจำดี เพราะนอกจากจะต้องจำบทสวดมนต์แล้ว ยังต้องอ่านออกเสียงไปด้วยนั่นเอง

 

กิจกรรมที่ 8 ปรับเปลี่ยนสิ่งที่มีอยู่ใบบ้าน


        ปรับเปลี่ยนสิ่งที่มีอยู่ในบ้าน โดยลองเคลื่อนย้ายทุกสิ่ง จากที่มันเคยอยู่ที่เดิม เช่น จัดสวนใหม่ จัดโต๊ะทำงานใหม่ ย้ายตำแหน่งวางถังขยะใหม่ ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการ จัดระบบสมองส่วนที่เราเคยชินในชีวิตประจำวันใหม่ คือถ้าเรา จัดบ้านใหม่หรือจัดสวนใหม่ให้สวยสะอาดขึ้น จิตใจของเราก็จะ สดใสเบิกบาน เวลามองอะไรก็เป็นแง่บวกมากขึ้นตามไปด้วย   

 

        จริง ๆ แล้วการจัดระเบียบสมองถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ แล้วเรื่องของการฝึกสมองนั้นก็มีหลากหลายวิธีที่จะช่วยให้สมองทำงาน ได้ดีขึ้น เช่น การนั่งสมาธิ ทำใจให้นิ่งก็ถือว่าเป็นการตกตะกอน ทางความคิด และเป็นการจัดเรียงสิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบจิตใจเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะส่งผลให้เคมีในสมองมีการเปลี่ยนแปลง พร้อมที่จะรับสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น และมีพัฒนาการทางสมองที่ ดีขึ้นด้วย  

 

        นอกเหนือจากกิจกรรมทั้งตั้ง 8 ข้อ ที่กล่าวมาแล้ว ยังมี กิจกรรมอื่น ๆ ที่สามารถส่งเสริมสุขภาพสมองของเราได้ นักวิจัย ค้นพบว่า มีกิจกรรมบางอย่างที่ส่งเสริมสมองให้ได้รับการกระตุ้น และส่งผลให้โอกาสที่เราจะเป็นโรคสมองเสื่อมลดน้อยลง ได้แก่

 

        (1) กิจกรรมที่ใช้ประสาทสัมผัสทุก ๆ ด้าน ถอยห่างจากงานที่จำเจ และหมั่นใช้ความคิดสร้างสรรค์


        (2) กิจกรรมที่ต้องวางแผนล่วงหน้า ไม่ใช่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า


        (3) กิจกรรมที่ใช้ประสาทสัมผัสในเชิงเชื่อมโยงต่อเนื่อง กันทางกายภาพ เช่น การเต้นรำ ซึ่งค้นพบว่าเป็นการช่วยกระตุ้นสมอง


        (4) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ เช่น การเรียน ภาษาใหม่ ๆ การวาดภาพระบายสี


        (5) กิจกรรมการออกกำลังกาย ซึ่งช่วยให้เกิดการสร้างสาร ที่ช่วยซ่อมแซมสมอง จึงช่วยให้การพัฒนาสมองดีขึ้น


        (6) กิจกรรมการเรียน ทั้งการอ่าน การเขียนที่จะช่วย กระตุ้นสมองให้ได้รับการพัฒนา

 

ขัดเกลาความคิด
พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ M.D., Ph.D.

             

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.028152418136597 Mins