อ่านอย่างไร จึงเรียกว่า "อ่านหนังสือเป็น"

วันที่ 03 กพ. พ.ศ.2564

อ่านอย่างไร จึงเรียกว่า "อ่านหนังสือเป็น"

 

640203_b.jpg

 

             สำหรับฉบับนี้ ผมมีเรื่องเทคนิคการอ่านหนังสือ ให้เรียนเก่งมาฝากกัน ในการดูหนังสือนั้น ครูบาอาจารย์ของผมท่านให้เทคนิคไว้ว่า

 

             ๑) อย่าอ่านลุย ท่านบอกว่าพออ่านจบบทที่ ๑ แล้ว อย่าเพิ่งรีบอ่านบทที่ ๒ ท่าน ให้ไปหยิบกระดาษหยิบปากกาขึ้นมา แล้วให้เขียนออกมา เพื่อดูว่าเรารู้ อะไรบ้างในบทที่ ๑ เขียนออกมาเป็นหัวข้อ เป็นประเด็นออกมาให้หมด ถ้ายังไม่รู้หมด เกิดการตกหล่น หรือสะดุดกึกตรงไหน ท่านก็ให้เปิดหนังสือดู แล้วขีดเส้นใต้ตรงนั้นเอาไว้ พออ่านจนเข้าใจจำได้แล้ว ท่านให้ ปิดหนังสือเขียนใหม่ทั้งหมด ทำให้ความรู้ส่วนที่รู้แล้วก็จะคล่องขึ้น ตรงไหนที่สะดุดขาดหายไป ก็จะจำได้ติดตา เมื่อเข้าใจและจำได้หมดแล้ว ท่านจึงค่อยให้อ่านบทที่ ๒ ต่อไป อ่านจบแล้วก็เขียนทบทวนดูอย่างที่ เคยทำในบทที่ ๑ ทุกบทให้ทำเหมึอนกันอย่างนี้ ก็จะทำให้เราได้ปัญญามาก

 

              ท่านบอกว่า เมื่อเราทำอย่างนี้แล้วจะได้ปัญญาสองชั้น คือ

 

             ปัญญาชั้นที่ ๑ รู้จักตัวเองว่าเป็นคนสะเพร่าขนาดไหน จากจำนวน หัวข้อที่เขียนตกหล่นไปนั่นแหละ

 

             ปัญญาชั้นที่ ๒ รู้ต้วเองแต่เนิ่นๆ ว่าตัวเองยังไม่รู้ คนส่วนมากมัก ไม่รู้ว่าตัวเองยังไม่รู้ เมื่อเข้าห้องสอบแล้ว ก็เลยทำข้อสอบไม่ได้ ชึ่งก็สายเกินแก้ แต่ถ้าอ่านไปเขียนไป จะรู้ทันทีว่าต้วเองยังไม่รู้ทั้งหมด ยิ่งได้ทำแบบฝึกหัดหรือเอาข้อสอบเก่าๆ มาทดลองทำดูก็จะได้รู้เพิ่มขึ้นอีก ว่าเราไม่เข้าใจเรื่องอะไร หรือเข้าใจผิดเข้าใจถูกอย่างไร

 

               ๒) อ่านทบทวนตรงที่ขีดเส้นใต้ ในการอ่านทบทวนครั้งต่อๆไป ให้อ่านตรงที่ขีดเส้นใต้ไว้ก่อนอ่าน ซ้ำๆ ถ้ามีเวลาเหลือค่อยอ่านเนื้อหาทั้งหมด ถ้าเวลาน้อยอ่านเฉพาะตรง ที่ขีดเล้นใต้ก็เหลือเฟือแล้ว

 

                คำว่าเข้าใจเป็นคำที่เราพูดสั้นๆ คำเต็มคือ "เข้าไป

                อยู่ในใจ" เหมือนคำว่า "คนใช้ " ซึ่งมาจากคำเต็ม

               ว่า "คนที่มาคอยรับใช้ " เพราะเราตัดคำให้สั้น เอา

               ความสะดวกรวดเร็วเข้าว่า

 

             ๓) ทนอ่านวิชาที่ไปเข้าใจ เรื่องอะไรที่เรียนแล้วไม่เข้าใจให้ทนอ่านไปอย่าทิ้ง แต่ให้อ่านเป็น วิชาสุดท้ายในคืนนั้น อ่านจนกระทั่งหลับไปเลย เข้าใจไม่เข้าใจอย่าไปห่วง ขอให้อ่านให้จบก่อนหลับเท่านั้น

 

             ๔) ตื่นขึ้นมาให้อ่านเรื่องที่ไม่เข้าใจทันที ไม่ว่าเราจะตื่นมาตอนตี ๑ ตี ๒ ตี ๕ หรีอ ๖ โมงเช้าก็ตามที ทันที ที่ตื่นอย่าเพิ่งล้างหน้าแปรงฟัน หรือไปทำอย่างอื่น ให้หยิบเรื่องที่ไม่ เข้าใจนั่นแหละ ขึ้นมาอ่านให้จบ เข้าใจไม่เข้าใจก็ช่างมัน ขอให้ได้อ่านอีก

 

            สักเที่ยว จะได้ผลดีกว่าเดิม เพราะตอนนั้นหัวสมองของเราได้พักมาพอ สมควรแล้ว และยังไม่มีเรื่องอะไรต่ออะไรเข้ามาอยูในหัว

 

             ถ้าเปรียบเป็นฟองนํ้าก็เป็นฟองนํ้าที่บิดแห้งมาคืนหนึ่งแล้ว ถ้าเช้าขึ้น เรารีบคว้ามาใช้ มันก็พร้อมที่จะดูดซึมนํ้าได้เต็มที่ ทำอย่างนี้อย่างมากไม่เกิน ๓ วัน ก็รู้เรื่อง ถ้าเป็นคนปัญญาทึบหน่อยอย่างมากไม่เกิน ๔-๕ วันก็เข้าใจได้เอง

 

             คำว่า "เข้าใจ" คือเข้าไปอยู่ในใจ ไม่ใช่เข้าหูขวาทะลุหูซ้าย คำว่า เข้าใจเป็นคำที่เราพูดสั้นๆ คำเต็มคือ "เข้าไปอยู่ในใจ" เหมือนคำว่า"คนใช้ " ชึ่งมาจากคำเต็มว่า "คนที่มาคอยรับใช้ " เพราะเราตัดคำให้สั้น เอาความสะดวกรวดเร็วเข้าว่า

 

            ๕) กำหนดเวลานอนพักผ่อนให้พอดีและตื่นใหัตรงเวลา ในวัยนักศึกษาที่มีอายุเพิ่ง ๒๐ ปี อย่างพวกเรานี้นอนอย่าให้เกิน ๔ ทุ่ม แล้วตื่นให้ได้ตีสีหรีอตีสิครึ่ง เป็นช่วงเช้ามืดที่เหมาะแก่การอ่าน อะไรก็จำได้ดีเหลือเกิน ฝึกให้คุ้นให้กระฉับกระเฉง อย่าทำงัวเงียจะเสีย เวลาเปล่า

 

            ท่านบอกว่า เราต้องหัดแบ่งเวลาตรงนี้ให้เป็น แล้วต่อไปข้างหน้าคำ ว่าลำบากจะไม่รู้จัก เห็นอะไรแล้วมันจะง่ายไปหมด ถ้าชักขี้เกียจขึ้นมาก็ ตั้งนาฬิกาปลุกไว้ นาฬิกาปลุกแล้วยังขี้เกียจลุกอีกก็เตือนตัวเองว่า เรายัง มีเวลานอนในหลุมฝังศพอีกนาน ตอนนี้อดนอนไปก่อนก็แล้วกัน

 

            และที่สำคัญ ก็คือ ท่านยังบอกอีกว่า ถ้าเราคิดได้อย่างนี้ทำได้อย่างนี้ จะเรียนหนังสือดีทุกคน เพราะตัวท่านเอง ก็พิสูจน์ด้วยตัวเองมาแล้ว จึงมาแนะให้ทำตาม แล้วเข้าๆ ถ้าเป็นไปได้ เวลาอ่านหนังสือช่วยอ่านดังๆ ด้วยถ้าเกรงว่าจะเป็นการรบกวนคนอื่นก็ปิดห้องเสีย เวลาอ่าน ร.เรือ ล.ลิง

 

            อักษรควบ อักษรกลํ้าอ่านให้ชัดด้วย เป็นคนไทยพูดภาษาไทยไม่ชัด แล้วจะให้ใครมาพูดภาษาไทยชัดๆ ให้เราฟัง

            ผมก็หวังว่า เรื่องที่ผมนำมาฝากในฉบับนี้ คงจะช่วยให้น้องๆ เรียนเก่งขึ้นนะครับ

 

เรื่องเล่า...ของพี่ชายคนหนึ่ง
โดย ชัยภัทร ภัทรทิพากร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.009114400545756 Mins