นักวิทยาศาสตร์กับศาสนาพุทธ

วันที่ 04 กพ. พ.ศ.2564

นักวิทยาศาสตร์กับศาสนาพุทธ

 

640204_b.jpg

 

                ฉบับนี้ผมขออนุญาตพาน้องๆ เข้าวัด มาฟัง หลวงพ่อตอบปัญหากันบ้างครับ เพราะว่าหัวข้อ วันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อน้องๆ โดยตรง

 

                คือมีนักศึกษาคนหนึ่ง ถามหลวงพ่อท่านว่า นัก วิทยาศาสตร์ถือว่าเป็นบุคคลผู้มีปัญญาใช่ไหมครับ แต่ ทำไมพวกนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก จึงล้วนแต่นับถือศาสนาอื่น ไม่ไดั นับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นบ่อเกิดของปัญญา แล้วทำไมคนไทยที่ นับถือศาสนาพุทธจึงไม่มีปัญญาถึงขนาดเป็นนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก กับเขาบ้างล่ะครับ ?

 

                 หลวงพ่อท่านก็กรุณาชี้ทางสว่างว่า

 

                "เขาจะนับถือศาสนาอะไรหรือไม่นั้นไม่สำคัญ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชัดเจนว่า คนเราจะทำอะไรสำเร็จได้ ต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ

 

              ๑. ฉันทะ
              ๒. วิริยะ
              ๓. จิตตะ
              ๔. วิมังสา

 

               ใครทำอย่างนี้ก็จะได้รับความสำเร็จในสิงที่ตนต้องการ ไม่ว่าจะ นับถือศาสนาอะไรก็ตาม ถามว่าคุณสมบัติ ๔ ประการนี้ ในคนไทยที่
นับถือศาสนาพุทธมีกันมากน้อยแค่ไหน เป็นต้นว่า

 

               ๑. ฉันทะ คือ ความรักในงาน คนไทยจำนวนไม่น้อยเป็นประเภทเช้าชามเย็นชามหรือเช้าช้อนเย็นช้อน ทำตามหน้าที่พอให้เวลาผ่านไปวันๆ เพราะฉะนั้นพอให้ไปทำงานยากๆ จึงยากที่จะทำสำเร็จได้

 

               ๒ วิริยะ คือ ความขยัน ความขยันของเรายังไม่ถึงขั้นมุมานะ คนไทยไม่ใช่ประเภทคนขยัน นี่กล้าพูดได้เต็มปาก เพราะว่าสิ่งแวดล้อมของฟรีตามธรรมชาติมีมาก ทำให้เราสบายกันมาจนเคย

 

                 นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลก เขาไม่

                ได้นับถือพระศาสนา ไม่ไดัอ่านพระ

                ไตรปิฎก แต่เขาใชัหลักธรรมในพระพุทธศาสนา                                                                                                                                                
                เอาไปปฏิบัติงานโดยไม่รู้ตัว

 

              ๓. จิตตะ คือ ความเอาใจจดจ่อ คนไทยไม่ใช่คนทำงานแบบจดจ่อหรอก หลวงพ่อก่อนบวชเคยไป นั่งทำงานอยู่กับชาวต่างประเทศ ซึ่งเป็นพวกทำงานวิจัยอยู่ที่ประเทศ ออสเตรเลีย ไปทำอยู่กับเขา ๒ ปี พบว่ามีอยู่คนหนึ่ง อยู่กันมาเป็นปีๆ แต่เราแทบจะไม่ได้พูดกันเลย เขาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องแบคทีเรีย บางที เดือนทั้งเดือนหมอนี่ไม่กลับบ้าน เช้าขึ้นมาก็นั่งอยู่กับหลอดแก้วทดลอง เดี๋ยวก็เขี่ยเชื้อเอาจากหลอดโน้นมาใส่หลอดนี้ เอาเชื้อจากหลอดนี้ไปใส่ หลอดนั้น เดี๋ยวก็ไปนั่งส่องกล้อง พอนึกอะไรได้ก็รีบจดๆ พอติดอะไร คิดไม่ออกเข้า ก็ยืนเอามือไพล่หลัง ลอยหน้าลอยตาคิด บางทีตั้ง ๒-๓ ชั่วโมง พอคิดได้ก็จดๆ กับใครแกก็ไม่อยากพูดด้วย นักวิจัยคนนี้แต่ละ ปีๆ มีงานค้นคว้าทดลองออกมาเป็นสิบๆ ชิ้น

 

             คนไทยมีไหมที่จดจ่อจ้องทำงานแบบนี้ ที่จ้องมีเหมือนกันคือ จ้องจอ จ้องอยู่แต่ที่หน้าจอทีวี ส่องกล้องเหมือนกัน แต่ส่องกล้องเล่นม้า กล้องดูแบคทีเรีย กล้องดูดาวไม่ชอบ มีเหมือนกันบางคนที่ตั้งใจทำงาน แต่ก็มักจะทำหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เลยเอาดีไม่ได้สักอย่าง

 

              เรามักเป็นกันอย่างนี้ แล้วจะเอานักวิทยาศาสตร์ที่ดีมาจากไหน นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลก เขาไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา ไม่ได้อ่านพระไตรปิฎก แต่เขาใช้หลักธรรมในพุทธศาสนาเอาไปปฏิบัติงาน โดยไม่รู้ตัว ส่วนของเราแม้จะประกาศตัวว่าเป็นพุทธศาสนิกชน แต่ก็เป็นพุทธโดยทะเบียนในชีวิตประจำวันเราปฏิบัติตามหลักธรรมน้อยมาก

 

              ก็ไม่เป็นไร วันใดวันหนึ่งข้างหน้า เมื่อเราช่วยกันประกาศพระพุทธ ศาสนาไปได้ทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญๆ ที่นับถือศาสนาพุทธก็มีขึ้นมาเอง เพราะพระพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์แท้อยู่แล้ว

 

             ๔. วิมังสา คือ การปรับปรุงงาน หรือเข้าใจวิธีทำงาน ให้ประสบความสำเร็จ คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบการปร้บปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างใหม่ดู ตามข่าวหนังสือพิมพ์ก็แล้วกัน จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรที่ไหน พอกระทบความเป็นอยู่เดิมๆ เข้าสักหน่อย ชวนกันเดินขบวนต่อต้านกัน เป็นเรื่องราวใหญ่โต ส่วนใครที่ชอบประดิษฐ์คิดค้นอะไรใหม่ๆ ออกมา ทั้งๆ ที่มีประโยชน์มาก แต่ออกข่าวไม่เท่าไรก็เงียบ เพราะขาดการ สนับสนุนให้เอาไปทำประโยชน์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

 

               "พวกเราคนไทยนับถือพระพุทธศาสนากันมาตั้งแต่สมัยปู่ย่า

 

               ใครที่ชอบประดิษฐ์คิดค้นอะไรใหม่ๆ ออกมา
               ทั้งๆ ที่มีประโยชน์มาก แต่ออกข่าวไม่เท่าไรก็
               เงียบ เพราะขาดการสนับสนุนให้เอาไปทำ
                ประโยชน์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

 

               ตาทวด สติปัญญาก็ไม่ยิ่งหย่อนกว่าชนชาติใดท่านที่ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ จนได้รับรางวัลระดับโลกก็มีอยู่ แต่ผลงานของท่านไม่แพร่หลายไม่มี คนสานต่อ เพราะคนไทยเราตั้งแต่ระดับผู้บริหารประเทศลงมา ปฏิบัติ คุณธรรมในพระพุทธศาสนาไม่จริงจัง ปฏิบัติขาดๆ เกินๆ ไม่ครบสูตร ไม่เป็นไปตามขั้นตอน งานที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ต่อมนุษยชาติจึง มักไม่สำเร็จ น่าเสียดายจริงๆ"

 

              นี่ก็เป็นธรรมะที่ทำให้ผมได้ข้อคิดว่า ลำพังความรู้ทางโลกเพียง อย่างเดียว ก็คงไม่พอให้เราเอาดีได้ตลอดรอดฝังเป็นแน่ เพราะฉะนั้น เราจะต้องหมั่นศึกษาความรู้ทางธรรมอย่างสมํ่าเสมอควบคู่ไปด้วย หนทางชีวิตข้างหน้าจะได้สะดวก ราบรื่น ปลอดภัย และประสบความสำเร็จ โดยง่ายนั่นเอง

 

 

เรื่องเล่า...ของพี่ชายคนหนึ่ง
โดย ชัยภัทร ภัทรทิพากร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.019175517559052 Mins