ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมาธิ

วันที่ 01 มีค. พ.ศ.2564

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมาธิ

 

640301%20_b.jpg

 

                   ในตอนที่ผ่านมา ผมได้เล่าถึงประโยชน์ของการฝึก สมาธิไปบ้างแล้ว สำหรับในตอนนี้ ผมก็ขอเล่าถึง เนื้อหาในส่วนที่ลึกซึ่งของสมาธิให้มากยิ่งๆ ขึ้นไป โดยผมได้ไปค้นคว้าข้อมูลเบื้องต้นมาจากหลายแหล่ง แต่ในที่สุดพบว่า บทความเรื่อง "ความรู้เบื้องด้น เกี่ยวกับสมาธิ" ให้ข้อมูลได้ชัดเจนที่สุด จึงได้คัดลอกมาจากหนังสือ "คนไทยต้องรู้ " ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว โดยหลวงพ่อพระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ หัตตชีโว) ผมหวังว่าจะ เป็นประโยชน์ต่อการฝึกสมาธิเบื้องต้นของบัณฑิตทุกท่านนะครับ

 

                   เพียงแต่เห็นผู้อื่นนั่งหลับตาทำสมาธิให้ใจสงบ คนส่วนมาก ก็มักจะนึกเลยไปถึงสุดยอดแห่งความปรารถนาของพระภิกษุ ผู้กำ ลัง บำเพ็ญเพียรเพื่อละกิเลส คือ นิพพาน แต่หารู้ไม่ วิธีที่จะทำใจให้ บรรลุนิพพานนั้นจะต้องทำอย่างไรบ้างจะต้องวางใจไว้ตรงไหนต้องนึกแรง นึกค่อย นึกเร็ว นึกช้าอย่าไร แตกต่างกับการหลับตาธรรมดาหรือไม่ เมื่อนำมาคิดก็เป็นเรื่องของการเดา ถ้าเชื่อผู้อื่นบอกเล่าก็เป็นเรื่องของ คนหูเบา ครั้นจับต้นชนปลายได้ไม่ถูก ก็ทึกทักเอาว่าพระพุทธศาสนา สอนให้หลงงมงาย จึงสมควรต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำความ สงบใจให้ถูกต้องเสียก่อน มิฉะนั้น เราเองนั่นแหละคือคนที่งมงายที่สุด ในโลก

 

                  ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า ขณะที่นักเลงการพนันกำลังจั่วไฟ นักบิลเลียดกำลังแทงลูกบิลเลียด มือปืนกำลังจ้องยิงคู่อาฆาต คนทรง กำลังเชิญผีเข้า พวกเสพติดกำลังสูบกัญชา พวกร้อนวิชากำลังปลุกตัว หรือพวกโจรกำลังมั่วสุมวางแผนก่อโจรกรรม ฯลฯ บุคคลเหล่านี้ต่างมี ใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เขากำลังกระทำทั้งสิ้น ไม่ว่ารอบๆ บริเวณนั้นจะมี เหตุการณ์อย่างไรเกิดขึ้น ก็ยากที่จะทำให้เขาเหล่านั้นเบนความในใจไปได้ หลายคนจึงพากันเข้าใจผิดคิดว่า บุคคลหลงผิดเหล่านั้น มีสมาธิมันคงดี หาทราบไม่ว่าสมาธิในพระพุทธศาสนา หมายถึง การที่สามารถทำใจให้ มั่นคง ไม่วอกแวก และต้องก่อให้เกิดความสงบเย็นกายเย็นใจด้วย ถ้าใจไม่วอกแวก แต่พกเอาความร้อนใจไว้ข้างใน เช่น พกเอาความโลภ

 

                 อยากของผู้อื่นจนเต็มอก ดังพวกนักเลงการพนัน พกเอาความพยาบาท ไว้จนหน้าเขียว เหมือนพวกมือปืน หรือพกเอาความหึงไว้ตนกระทั่งยอม ให้ผีเข้าเหมือน พวกคนทรงอย่างนี้ พระพุทธศาสนาถือว่าไม่ใช่สมาธิ ถ้าจะถือก็เป็นสมาธินอกลู่นอกทาง ที่เรียกว่ามิจฉาสมาธิ ซึ่งไม่ควรฝึก ไม่ควรสนใจ เพราะมีแต่โทษถ่ายเดียว

 

                  สมาธิที่ถูกมีอยู่ ๒ ประเภท ควรสนใจไว้ให้มาก เพราะมีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันเมื่อสนใจฝึกได้ดีแล้วจะมีแต่ความเย็นกายเย็นใจ

 

                  ประเภทแรก เป็นการทำสมาธิของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา สมาธิประเภทนี้ได้มีอยู่ก่อนพุทธกาลแล้ว พวกฤๅษีชีไพรต่างๆ แม้ อาฬารดาบส และอุทกดาบส ที่เจ้าชายสิทธัตถะไปศึกษาอยู่ด้วยในสมัย แรกๆ ก่อนตรัสรู้ ก็ฝึกฝนสมาธิประเภทนี้

 

                   ประเภทที่สอง เป็นการทำสมาธิของนักบวชในพระพุทธศาสนาซึ่ง พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นเอง โดยพระองค์ทรงนำวิธีการฝึกสมาธิของ พวกฤๅษีชีไพรในสมัยนั้น มาดัดแปลงแก้ไขใหม่ให้ถูกต้องรัดกุมยิ่งขึ้น แล้วทรงสอนให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติตาม แต่ประชาชนส่วนใหญ่ใน ปัจจุบันต่างยังไม่เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างสมาธิทั้งสองประเภทนี้ ดังนั้นจึงมีบางคนหลงกลับไปฝึกสมาธิตามวิธีเดิมของพวกนอกศาสนา อยู่อีก กลายเป็นถอยหลังเข้าคลองไป

 

                 การฝึกสมาธิของพวกนอกศาสนาพุทธ ส่วนมากนิยมฝึกการเอา วัตถุเป็นที่ตั้งจิต หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ฝึกกสิณภายนอก วิธีง่ายๆ คือ สร้างวัตถุขึ้นมาชิ้นหนึ่งเป็นแผ่นกลมๆ ที่เรียกว่า กสิณ เช่น เอาดินปั้น เป็นแผ่นกลมๆ ขนาดเส้นผ่าเส้นศูนย์กลางประมาณ ๑ คืบ หนาประมาณ ๑ นิ้ว วางไว้เบื้องหน้าของผู้ฝึก ครั้นจำลักษณะของกสิณได้แม่นยำแล้ว ก็หลับตานึกถึงกสิณด้วยการเอาจิตไปตั้งที่กสิณนั้น พร้อมกับภาวนา คือ

 

                ท่องในใจ เป็นการประคองใจไม่ได้คิดเรื่องอื่นด้วยคำว่า ปฐวี ๆๆๆ (หรือดินๆๆๆ) เป็นต้น

 

                เบื้องแรก ขณะหลับตานึกถึงกสิณ เนื่องจากใจยังสงบไม่พอ กสิณนั้นก็เป็นเพียงมโนภาพมืด ครั้นปฏิบัติต่อไปเรื่อยๆ จนชำนาญจาก มโนภาพมืดก็กลายเป็นมโนภาพสว่างเห็นภาพกสิณนั้นชัดเจนเหมือนลืมตา (เพราะสิ่งทั้งหลายย่อมสำเร็จได้ด้วยใจ) ยิ่งชำนาญมากขึ้นเท่าใด ก็สามารถพลิกแพลงใช้ประโยชน์จากกสิณที่ได้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น นอกจาก ใช้ดินเป็นกสิณแล้ว ก็สามารถใช้วัตถุอย่างอื่นทำเป็นกสิณแทนได้ เช่น ใช้นํ้าใสๆ ใส่ขัน ใช้วงกลมสีเขียวๆ สีแดงๆ หรือลูกแก้วใสๆ ที่ เจียระไนเป็นรูปทรงกลม เป็นต้น

 

                การฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา ได้ตัวอย่างมาจากพวกฤๅษีชี ไพรดังกล่าวแล้ว ดังนั้น ทั้งวิธีทำกสิณ ขนาดของกสิณ และคำภาวนาจึง เหมือนกัน แต่เปลี่ยนตำแหน่งฐานที่ตั้งจิตเสียใหม่ แทนที่จะเอาจิตไป ตั้งที่กสิณนั้น กลับเอาจิตมาตั้งไว้ตรงศูนย์กลางกายของตนเอง แล้วนึก ถึงกสิณนั้นๆ

 

                ความแตกต่างระหว่างสมาธิทั้งสองนี้ คือ สมมติว่า นาย ก. ฝึก สมาธิด้วยการเพ่งกสิณนํ้าตามแบบของฤๅษี ส่วนนาย ข. ฝึก เพ่งกสิณ นํ้าตามแบบพระพุทธศาสนา เมื่อเอานํ้าใสๆ ใส่ลงไปในบาตรสำหรับใช้ เป็นกสิณแล้ว ทั้งนาย ก. นาย ข. ก็นั่งอยู่เบื้องหน้ากสิณนํ้านั้น ต่างคน ต่างนั่งหลับตานึกให้เห็นภาพวงกลมนํ้า พร้อมกับภาวนาประคองใจ (ในใจ) ว่า "อาโปๆๆๆ" "(ซึ่งแปลว่านํ้าๆๆๆ) ขณะภาวนาว่า "อาโปๆๆๆ" และ บริกรรมนิมิต คือ นึกให้เห็นกสิณนํ้าอยู่นั้น นาย ก. ก็นึกเอาจิตไปตั้งที่ นํ้าในบาตร ส่วนนาย ข. นึกเอากสิณนำไปตั้งไว้ในกลางกายของคนเมื่อ ทั้งสองคนนี้ฝึกนึกถึงกสิณจนชำนาญแล้ว มโนภาพมืดๆ ของวงกลมนํ้า

 

                  เพียงแต่เห็นผู้อี่นนั่งหลับตาทำสมาธิให้ใจสงบ

 

                  คนส่วนมาก ก็มักจะนึกเลยไปถึงสุดยอดแห่ง


                  ความปรารถนาของพระกิกษุ ผู้กำลังบำเพ็ญ

 

                  เพียรเพื่อละกิเลส คือ นิพพาน แต่หารู้ไม่ว่า วิธี


                  ที่จะทำใจให้บรรลุนิพพานนั้นจะต้องทำอย่างไรบ้าง
 

                  ก็กลับเป็นมโนภาพสว่าง เห็นวงกลมนํ้านั้นสว่างชัดเจนขึ้น คล้ายๆ กับ ลืมตาดูดวงจันทร์ในคืนวันเพ็ญ นาย ก. จะเห็นนิมิตวงกลมนํ้าสว่าง สดใสเยือกเย็นลอยอยู่เบื้องหน้าตนเอง ในระยะใกล้บ้างไกลบ้าง ส่วนนาย ข. จะเห็นนิมิตวงกลมนํ้าลอยนิ่งๆ อยู่ที่ศูนย์กลางกาย เหล่านี้เป็นความ แตกต่างและคล้ายคลึงกันของการฝึกสมาธิทั้งสองประเภท ซึ่งยังไม่มาก นักในเบื้องต้น

 

                  ครั้นฝึกทำความสงบใจต่อไป ความสงบ ความชัดของกสิณ ความสุขกายสุขใจที่ได้ร้บ และที่สำคัญที่สุดคือ ความเห็นหรือทิฐิจะค่อยๆ แตกต่างกันขึ้นเรื่อยๆ นิมิตวงกลมนํ้าของนาย ก. จะไม่อยู่นิ่งเป็นที่ ประเดี๋ยวจะลอยอยู่ใกล้ ประเดี๋ยวจะลอยไปไกล ชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ลุ่มๆ ดอนๆ ปรับภาพได้ยาก และในขณะที่ทำการฝึกก็มักจะ เกิดนิมิตลวงเสมอ เช่น เห็นภาพเหตุการณ์เก่าๆ ในอดีตที่ลืมไปนานแล้ว และ ภาพอื่นๆ อีกจนสับสนวุ่นวายปะปนกับนิมิตจนแยกกันไม่ค่อยออก (ยกเว้นผู้ที่มีความชำนาญ) ทั้งนี้เพราะการเห็นนิมิตของผู้ฝึกสมาธินอก พระพุทธศาสนานั้น เห็นเหมือนใช้ไฟฉายส่องดูวัตถุซึ่งอยู่ในที่ไกลๆ จึงอาจเกิดความผิดพลาดได้ง่าย (เช่น ถ้าเราดูผลแตงโมผ่าซีกที่ตั้งไว้ไกลๆ โดยมองด้านตรงข้ามที่ไม่ถูกผ่า ก็จะเห็นว่าเป็นแตงโมเต็มผลอยู่) เนื่องจากว่าเอาจิตไปตั้งไว้นอกกายแต่แรกจนเคยชินนั่นเอง แต่มักจะ ไม่รู้ตัว ในที่สุดก็หลงตัวว่าเป็นผู้วิเศษ ดังเช่นอาฬารดาบส และอุทกดาบส หลงว่าอรูปภพนั้น คือนิพพานเป็นต้น

 

              ถ้านาย ก. ประสงค์จะเจริญวิปัสสนาก็ทำได้ยาก เพราะวิปัสสนา เป็นเรื่องของการพิจารณาภายในตัว ดังนั้น การฝึกสมาธิของพวกนอก พระพุทธศาสนาจึงเสียเวลามาก เสี่ยงอันตราย และเกิดปัญญาน้อย ดังมีเรื่องเล่าว่า ฤๅษีตนหนึ่งนั่งทำสมาธิอยู่ในป่า ไม่ยอมไหวติงกายเป็น เวลานานปี จนกระทั่งนกกระจาบไปอาศัยทำรังอยู่ที่เครา แต่ฤๅษีตนนั้น ก็ยังไม่สำเร็จธรรมอันใด จึงเลิกฝึกสมาธิ กลับไปอยู่บ้านกับลูกเมียตาม เดิมอีก

 

               ผู้เขียนเอง สมัยที่ยังฝึกสมาธิด้วยการตั้งจิตไว้นอกกาย ดังเช่น พวกฤๅษีชีไพรนั้น เคยถูกนิมิตลวงรบกวนอยู่เสมอๆ บางครั้ง รบกวน ติดต่อกันตลอดทั้งว้นบ้าง ทั้งคืนบ้าง ทั้งสัปดาห์บ้าง เช่น นิมิตเห็นเสือ ตัวใหญ่ขนาดม้าวิ่งผ่านหน้าไปมาเป็นฝูงๆ บ้าง กระโจนเข้าขบกัดบ้าง บางครั้งก็พากันมาให้ขี่เชื่องๆ บ้าง ครั้งกำหนดสติวางเฉยเสียได้ นิมิตก็ หายไป แต่ถ้าเผลอสติก็กลับมารบกวนใหม่อีก บางทีก็นิมิตเห็นวัวควาย และเป็ดไก่ที่เคยฆ่าไว้เข้ามารุมจิก ตี ขวิด เหยียบ ดิ้นบนตัก หรือเห็น สัตว์เหล่านั้นอยู่ห่างๆ แต่เลือดโทรมกาย บางทีก็มารุมล้อมขอความ เมตตาบ้าง ถ้าแผ่เมตตาให้ก็หายไปเป็นพักๆ แล้วก็มารบกวนใหม่อีก พาให้ใจเศร้าหมอง (ขณะอยู่ในสมาธิรู้สึกเฉยๆ) บางครั้งนิมิตเป็นตนเอง ในอดีตชาติว่าเคยเกิดที่ใดบ้าง (มีทั้งถูกต้องตามความเป็นจริงและคลาดเคลื่อน) บางทีก็เห็นว่ากระดูกตนเองที่เกิดในชาติภพต่างๆ เหล่านั้น เข้ามารวมกันเป็นกองสูงท่วมภูเขาบ้าง ซึ่งก็เป็นนิมิตที่ดีสำหรับเตือนใจไม่ ให้ประมาท แต่ถ้าคุมสติไม่อยู่ บางคนอาจตกใจกลัวจนเสียสติก็ได้

 

              ครั้งหนึ่ง ขณะที่กำลังนั่งสมาธิและจิตกำลังสว่างไสว ก็นิมิตเห็น เป็นหญิงสาวผู้หนึ่งสวยมาก ยืนอยู่เบื้องหน้าห่างกันแค่เอื้อม ตั้งแต่เกิด มาไม่เคยเห็นใครสวยเท่าผู้หญิงคนนี้เลย แต่เนื่องจากกำลังอยู่ในสมาธิ จึงรู้สึกเพียงแต่ว่าเป็นผู้หญิงคนหนึ่งและไม่สนใจเธอ ยิ่งมีจริตมารยา มากขึ้น ถึงกับถอดเสื้อผ้าทิ้งหมด ผู้เขียนก็ยังอุเบกขาวางเฉยอยู่นั่นเอง ครั้นเฉยหนักเข้าหญิงผู้นั้นก็แก่ลงๆ อย่างรวดเร็ว กลายเป็นหญิงชราที่ มีแต่หนังหุ้มกระดูก ยืนร้องครวญครางดิ้นไปมา แล้วเนื้อหนังของเธอก็ หลุดล่อนลงไปกองบนพื้น เหลือแต่โครงกระดูกสีมอๆ คล้ายกับเพิ่งเขี่ย ออกมาจากเชิงตะกอน ผู้เขียนกำลังจะเปล่งอุทานว่า เราชนะแล้ว เราเห็นแล้วซึ่งความไม่เที่ยงของสัตว์โลกว่า ในที่สุดก็จะเหลือแต่โครง กระดูกสีมอๆ ไว้ถมดินเท่านั้น ทันใดนั้นนิ้วมือทั้งห้าในมือขวาของโครง กระดูกก็กลับเกร็งแข็งทื่อเหมือนกรงเล็บปีศาจแทงเข้ามาเต็มแรงที่ใบหน้า หมายเอานัยน์ตาทั้งสองข้างเป็นเป้า ถึงอย่างนั้นผู้เขียนก็ยังไม่สะดุ้งกลัว รู้สึกเฉยๆ แต่ก็ยังไม่ยอมลืมตา ครั้นออกจากสมาธิ นั่งอยู่ในถํ้ามืดๆ ตามลำพังแล้วกลับรู้สึกหวาดๆ ว่ามีใครคนหนึ่งจ้องจะควักลูกนัยน์ตา กว่าจะหายหวาดระแวงได้ก็ประมาณหนึ่งปี (นิมิตต่างๆ ดังกล่าวเป็น เพียงส่วนย่อยที่ผู้ฝึกแบบฤๅษีชีไพรมักจะต้องพบ)

 

               อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าการฝึกสมาธิแบบนอกพระพุทธ ศาสนาจะไร้ประโยชน์เสียทีเดียว เพราะสามารถเป็นอุปการะต่อการ เจริญสมาธิในพระพุทธศาสนาได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การที่พระภิกษุ ปัญจวัคคีย์ สามารถมีดวงตาเห็นธรรมได้ทันทีที่พระพุทธเจ้าเทศน์จบก็ เพราะมีพี้นฐานการทำสมาธิแบบนี้มาก่อน ครั้นขณะฟังพระธรรมเทศนา ก็เปลี่ยนฐานที่ตั้งจิตมาไว้ภายในตัว เกิดสัมมาสมาธิได้ทันที

 

               ส่วนนาย ข. เนื่องจากตั้งจิตไว้ถูกที่ตั้งแต่เริ่มแรก เมื่อเห็นนิมิต วงกลมนํ้าเกิดขึ้นในตัววงกลมนั้น ก็จะนิ่งอยู่ที่กลางกายไม่หายไปไหน ยิ่งทำในหยุดนิ่งได้ถูกส่วน นิมิตวงกลมน้ำนั้นก็จะหายไปเอง แต่จะเกิด วงกลมใหญ่ขึ้นมาแทนที่เรียกว่าปฐมมรรค หรือดวงธรรม ธรรมทั้ง หลายที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก ก็จะปรากฏออกมาให้เห็นตามความเป็น จริงจากกลางดวงธรรมนั้นเอง นาย ข. จะไม่ประสบกับนิมิตลวงดังเช่นนาย ก. เพราะการเห็นของนาย ข. นั้นเป็นการเห็นรอบตัว คือเห็นทังด้านซ้าย ด้านขวา ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านล่าง ด้านบน พร้อมๆ ในเวลาเดียวกัน และการเห็นเช่นนี้เสมือนเอาตัวเข้าไปอยู่ในนั้นด้วยมิใช่มองจากที่ไกลๆ การเห็นชนิดนี้จึงเป็นเรื่อเฉพาะตัว ผู้เห็นเองจึงจะเข้าใจ ดังนั้นการฝึก สมาธิของนาย ข. จึงมีอุปสรรคน้อย และเกิดปัญญามาก

 

              หากนาย ก. ต้องการปฏิบัติธรรม ทำความสงบใจรุดหน้าอย่างนาย ข. บ้าง ก็ไม่ยากจนเกินไป เพียงแต่เปลี่ยนฐานที่ตั้งจิตมาไว้ที่กลางกายก็ใช้ได้ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งกว่า ส่วนมากผู้ที่ฝึกสมาธิแบบฤๅษีชีไพรมักจะเกิดทิฐิเหนียวแน่น ไม่ยอมเปลี่ยนฐานที่ตั้งจิตง่ายๆ หลงยึดการ ฝึกฝนสมาธิของตนเองว่า วิเศษแล้ว ถูกต้องแล้ว ดังเรื่องราวที่ปรากฏ ในพระไตรปิฎกว่า แต่ละครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพวก เดียรถีย์ พวกชฏิล พระองค์จะต้องเสียเวลาไม่ใช่น้อยในการกำจัดทิฐิเดิม ของพวกเหล่านั้น

 

     สรุป       

             สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิในพระพุทธศาสนา เกิดขึ้นจากการน้อมจิต เข้าไปตั้งที่ศูนย์กลางกายของตนเอง ทำให้จิตสะอาด สงบ ว่องไว และ มีความเห็นถูก

             สมาธิของพวกนอกศาสนา หรือพวกฤๅษีชีไพร เกิดจากการ ประคองรักษาจิตไว้ที่นิมิตนอกกาย ทำให้จิตสะอาด สงบสว่างได้พอควร แต่ยังมีความเห็นผิดอยู่

            มิจฉาสมาธิ คือ ความหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งที่เป็น อกุศล ห้ามฝึกเด็ดขาด

 

เรื่องเล่า...ของพี่ชายคนหนึ่ง
โดย ชัยภัทร ภัทรทิพากร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0027433832486471 Mins