หมวดโภชนปฏิสังยุตที่ ๒ มี ๓๐
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
๑. เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ
๒. เราจักแลดูในบาตร รับบิณฑบาต
๓. เราจักรับแกงพอสมควรแก่บิณฑบาต
๔. เราจักรับบิณฑบาตเพียงเสมอขอบปากบาตร
๕. เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ
๖. เราจักแลดูในบาตรฉันบิณฑบาต
๗. เราจักไม่ฉันบิณฑบาตขุดให้แหว่ง
๘. เราจักฉันแกงพอสมควรแก่บิณฑบาต
๙. เราจักไม่ฉันบิณฑบาตขยุ้มแต่ยอดลงไป
๑๐. เราจักไม่กลบแกงหรือกับด้วยข้าวสุก เพราะอาศัยอยากจะได้มาก
๑๑. ถ้าเราไม่เจ็บไข้จัก ไม่ขอแกงหรือข้าวสุก เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน
๑๒. เราจักไม่ดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ
๑๓. เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก
๑๔. เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม
๑๕. เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปากเราจักไม่อ้าปากไว้ท่า
๑๖. เมื่อฉันอยู่เราจักไม่เอานิ้วมือสอดเข้าปาก
๑๗. เมื่อข้าวอยู่ในปากเราจักไม่พูด
๑๘. เราจักไม่โยนคำข้าวเข้าปาก
๑๙. เราจักไม่กัดคำข้าว
๒๐. เราจักไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
๒๑. เราจักไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
๒๒. เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าวให้ตกลงในบาตร หรือในที่นั้นๆ
๒๓. เราจักไม่ฉันแลบลิ้น
๒๔. เราจักไม่ฉันดังจับๆ
๒๕. เราจักไม่ฉันดังชู้ดๆ
๒๖. เราจักไม่ฉันเลียมือ
๒๗. เราจักไม่ฉันขอดบาตร
๒๘. เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก
๒๙. เราจักไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะนํ้า
๓๐. เราจักไม่เอานํ้าล้างบาตร มีเมล็ดข้าวเทในบ้าน
หมวดธัมมเทสนาปฏิสังยุตที่ ๓ มี ๑๖
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
๑. เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ มีร่มในมือ
๒. เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ มีไม้พลองในมือ
๓. เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ มีศัสตราในมือ
๔. เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ มีอาวุธในมือ
๕. เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ สวมเขียงเท้า
๖. เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ สวมรองเท้า
๗. เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ไปในยาน
๘. เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อยู่บนที่นอน
๙. เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ นั่งรัดเข่า
๑๐. เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ พันศีรษะ
๑๑. เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ คลุมศีรษะ
๑๒. เรานั่งอยู่บนแผ่นดินจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ นั่งบนอาสนะ
๑๓. เรานั่งบนอาสนะตํ่าจักไม่แสดงธรรมแก่คน ไม่เป็นไข้นั่งบนอาสนะสูง
๑๔. เรายืนอยู่จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่
๑๕. เราเดินไปข้างหลัง จักไม่แสดงธรรมแก่คน ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า
๑๖. เราเดินไปนอกทางจักไม่แสดงธรรม แก่คนไม่เป็นไข้ผู้ไปในทาง
หมวดปกิณกะที่ ๔ มี ๓
ภิกษุพึงทำความศีกษาว่า
๑. เราไม่เป็นไข้จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ
๒. เราไม่เป็นไข้เราจักไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนเขฬะ ลงในของเขียว
๓. เราจักไม่เป็นไข้เราจักไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนเขฬะลงในนํ้า
อธิกรณ์ มี ๔
๑. ความเถียงกันว่า สิ่งนั้นเป็นธรรมเป็นวินัย สิ่งนี้นี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย เรียกว่าวิวาทาธิกรณ์
๒. ความโจทกันด้วยอาบัตินั้นๆ เรียกอนุวาทาธิกรณ์
๓. อาบัติทั้งปวง เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์
๔. กิจที่สงฆ์จะพึงทำ เรียกว่ากิจจาธิกรณ์
อธิกรณสมถะมี ๗
ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ทั้ง ๔ นั้นเรียกอธิกรณสมถะมี ๗ อย่างคือ
๑. ความระงับอธิกรณ์ทั้ง ๔ นั้น ในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ในที่พร้อมหน้าบุคคล ในที่พร้อมหน้าวัตถุ ในที่พร้อมหน้าธรรมเรียก สัมมุขาวินัย
๒. ความที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมุติแก่พระอรหันต์ว่า เป็นผู้มีสติเต็มที่เพื่อจะไม่ให้ใครโจทด้วยอาบัติเรียกสติวินัย
๓. ความที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมุติแก่ ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้วเพื่อจะไม่ให้ใครโจทย์ ด้วยอาบัติที่เธอทำในเวลาเป็นบ้าเรียกอมูฬหวินัย
๔. ความปรับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลย ผู้รับเป็นสัตย์เรียกปฏิญญาตกรณะ
๕. ความตัดสินเอาตามคำของคนมากเป็นประมาณเรียกเยภุยยสิกา
๖. ความลงโทษแก่ผู้ผิดเรียกตัสสปาปิเยสิกา
๗. ความให้ประนีประนอมกันทั้งสองฝ่าย ไม่ต้องชำระความเดิมเรียกติณวัตถารกวินัย