บทฝึกคุณธรรมเบื้องต้น

วันที่ 12 กค. พ.ศ.2565

บทฝึกคุณธรรมเบื้องต้น

หมวดอิริยาบถ
       ผู้ที่สำรวมมือ สำรวมเท้า สำรวมวาจา สำรวมตน ยินดีในอารมณ์ภายใน มีจิตมั่นอยู่ผู้เดียว สันโดษ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า เป็นภิกษุ
       เราต้องสร้างความเคารพให้เกิดขึ้นก่อน คือ การปรับปรุงตนเองให้มีคุณธรรม น่าไหว้ น่าเคารพ ความประพฤติภายนอก ทั้งการนุ่งห่ม คำ พูดกิริยาท่าทาง เพราะญาติโยมเขาไม่อาจล่วงรู้ภาวะจิตของเรา แต่เขาอาศัยดูจากความประพฤติภายนอกเหล่านี้ มาเป็นเครื่องตัดสินคุณธรรมภายในของเรา เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงมีความจำเป็นต้องฝึกอิริยาบถ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

       การลุกขึ้นยืน เดิน นั่งหรือนอน ของพระภิกษุนั้น ถ้าเราจะปฏิบัติเหมือนฆราวาสแล้วก็จะดูไม่งาม เนื่องจากเครื่องนุ่งห่มของพระภิกษุไม่เหมือนฆราวาส

การลุกขึ้นยืน

การลุกขึ้นยืน
        มีทั้งหมด ๔ จังหวะ เริ่มจากท่านั่งพับเพียบ
        จังหวะที่ ๑ นั่งคุกเข่า
        จังหวะที่ ๒ ตั้งเข่าขวาขึ้น
        จังหวะที่ ๓ ยืนขึ้น เท้าซ้ายอยู่ด้านหลัง
        จังหวะที่ ๔ ดึงเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวา
        หมายเหตุ การลุกขึ้นยืนจะต้องมั่นคง ไม่เซไปข้างหน้า หรือข้างหลังเป็นการฝึกสติและจะทำให้ดูสง่างาม น่าเลื่อมใส

การนั่งพับเพียบ

การนั่งพับเพียบ
        มีทั้งหมด ๔ จังหวะ เริ่มจากท่าเตรียม คือ ยืนตรง
        จังหวะที่ ๑ ถอยเท้าซ้ายไปด้านหลัง
        จังหวะที่ ๒ ย่อเข่าซ้ายตั้งเข่าขวา
        จังหวะที่ ๓ นั่งคุกเข่า
        จังหวะที่ ๔ นั่งพับเพียบซ้ายหรีอขวา
        หมายเหตุ ควรเอามือลูบสบงด้านหลังให้เรียบร้อยก่อนนั่ง แล้วเก็บชายสบงด้านหน้า ให้ปิดขาทั้งหมด

 

การกลับเท้าในท่านั่งพับเพียบ

การกลับเท้าในท่านั่งพับเพียบ
        มีทั้งหมด ๔ ขั้นตอน
        จังหวะที่ ๑ - ใช้มือขวาแบฝ่ามือลงบนพื้นเฉียงไปทางซ้ายเล็กน้อย
        จังหวะที่ ๒ น้อมตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยพร้อมยกก้นขึ้น
        จังหวะที่ ๓ กลับเท้าด้านหลัง
        จังหวะที่ ๔ นั่งพับเพียบลงไปและเก็บปลายเท้าให้เรียบร้อย
        หมายเหตุ ไม่ควรกลับเท้าด้านหน้า เพราะจะดูไม่งาม และสบงจะเปิดได้ง่าย

การนั่งเขียนหนังสือ


การนั่งเขียนหนังสือ
       นั่งตัวตรง พับเพียบหรือขัดสมาธิ วางสมุดลงบนหน้าตัก ก้มศีรษะเล็กน้อย ไม่งอตัว หรือก้มลงไปมาก เพื่อป้องกันการปวดหลัง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ เมื่อต้องนั่งเป็นระยะเวลานาน ๆ

การพนมมือ

การพนมมือ
       มืออยู่ระหว่างลิ้นปี่ตั้งชันขึ้น ๔๕ องศา นิ้วชิดติดกัน มือไม่แบนเกินไป ไม่ตูมเกินไป นิ้วไม่กางมือไม่ตก นั่งตัวตรง หลังไม่งอ ทั้งกรณีที่นั่งและยืน

การกราบ

การกราบ
       การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ซึ่งประกอบด้วยเข่าทั้งสอง ศอกทั้งสองและหน้าผาก รวมเป็นองค์ ๕ มีขั้นตอนการปฏิบัติทั้งหมด ๔ จังหวะ โดยเริ่มจากท่าเตรียม คือ ท่านั่งคุกเข่าเทพบุตร เข่ายันพื้นห่างกันพอสมควรปลายเท้าตั้งชิดกัน
       จังหวะที่ ๑ ยกมือขึ้นประนมระหว่างลิ้นปี่ นิ้วชิดติดกัน มือไม่ตก
       จังหวะที่ ๒ ยกมือประนมขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดระหว่างคิ้วนิ้วชี้จรดตีนผม ก้มศรีษะเล็กน้อย
       จังหวะที่ ๓ โน้มศรีษะลงกับพื้น
       จังหวะที่ ๔ กราบลงไปกับพื้น ศอกต่อเข่า หน้าผากติดพื้น ฝ่ามือห่างกันประมาณ ๑ คืบพอให้ศรืษะวางกับพื้นได้
       เสร็จแล้วยกมือขึ้นพนมระหว่างลิ้นปี่อีกครั้ง และทำต่อไปจนครบ ๓ ครั้ง เมื่อกราบ ๓ ครั้งแล้ว ให้จบโดยการยกมือที่พนมขึ้นที่หน้าผาก เหมือนจังหวะที่ ๒ แล้วลดมือลงพนมระหว่างลิ้นปี่ เป็นขั้นตอนสุดท้าย
       หมายเหตุ ขณะกราบพระพุทธรูปควรน้อมใจระลึกถึงคุณของสิ่งที่เรากำลังกราบ หรือบุคคลที่เรากำลังกราบว่ามีพระคุณต่อเราและผู้อื่นอย่างไรและควรกำหนดใจว่าจะตั้งใจทำความดีเยี่ยงท่านให้ได้ ดังนี้จึงจะเป็นการกราบที่ถูกต้องสมบูรณ์แบบที่สุด แล้วจะเกิดประโยชน์ต่อตัวผู้กราบได้มากที่สุด

การกราการเดินแถวบ

การเดินแถว
      เมื่อเดินเข้าห้องปฏิบัติธรรมหรือเดินภายในวัด มีข้อปฏิบัติดังนี้
      ๑. ไม่ใช้ผ้าโพกศรืษะ หรือหนังสือบังแดดขณะเดิน
      ๒. ไม่พูดคุยกันจนเอิกเกริกเฮฮา
      ๓.เดินให้ตรงคอคนหน้า
      ๔.เดินยกเท้า ไม่เดินลากเท้าจนเกิดเสียงดังและฝุ่นฟุ้ง
      ๕. ควรตรึกธรรมะขณะเดิน

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0066373666127523 Mins