หมวดผ้าไตรจีวร

วันที่ 18 สค. พ.ศ.2565

หมวดผ้าไตรจีวร

หมวดผ้าไตรจีวร

ผ้าไตรจีวร

         ผ้าไตรจีวร ซึ่งประกอบด้วย สบง จีวร และสังฆาฏิ เป็นเครื่องแบบเฉพาะของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมอบให้พระอานนท์เป็นผู้ออกแบบผ้าไตรจีวรที่พระภิกษุต้องใช้นุ่งห่ม เพื่อแสดงความเป็นหมู่คณะชัดเจน

         ผ้าไตรจีวร จึงจัดเป็นเครื่องแบบของพระภิกษุ สามเณร ที่อายุยืนยาวมากกว่า ๒,๕๐๐ ปี บุคคลธรรมดาทั่วไปไม่มีสิทธิ์ใช้ หากพระภิกษุ สามเณรรูปใดลาสิกขาแล้ว จะต้องเปลี่ยนกลับไปสวมใส่เสื้อกางเกงตามเดิม เช่น ฆราวาสทั่วไป มิฉะนั้นจะถือว่ากระทำผิด มีโทษต้องถูกจองจำหรือถูกปรับตามกฎหมาย 

หมวดผ้าไตรจีวร


        อีกนัยหนึ่ง ผ้าไตรจีวร เปรียบเสมือนธงชัยของพระอรหันต์ เพราะการบวชเป็นสามเณรหรือพระภิกษุ แม้เพียงชั่วคราว ก็นับว่าเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา เพราะเป็นเหตุให้ได้ฝึกหัดขัดเกลาตนเองตามอริยวินัย เป็นการเดินทางเข้าสู่เส้นทางแห่งการสลัดออกจากกองทุกข์ ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดได้ ผ้าไตรจีวรที่ห่มคลุมกายของพระภิกษุ จึงเป็นประหนึ่งธงชัยของพระอรหันต์ที่โบกสะบัด เป็นการประกาศว่า บัดนี้สัญญาณแห่งชัยชนะได้เริ่มแล้ว

       นอกจากผ้าไตรจีวร ซึ่งเป็นผ้าผืนหลักแล้ว พระภิกษุยังอาจจะมีผ้าอื่นๆ อีกสำหรับใช้ประกอบในการนุ่งห่ม หรือใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น อังสะ ผ้ารัดอก รัดประคด ผ้ารับประเคน ผ้ารองนั่ง ผ้าเช็ดหน้า ผ้าอาบนํ้าฝน และผ้าบริขารโจละ (ผ้าเล็กผ้าน้อย) อื่นๆอีก เช่น ย่าม สลกบาตร เป็นต้น

การเขียนชื่อ
       การเขียนชื่อให้เขียนด้วยตัวอักษรขนาดความสูง ๑/๒ นิ้ว สำหรับพระภิกษุให้เขียน "พ. (ชื่อ) (ฉายา) กลุ่ม (เลขกลุ่ม)" และวงเล็บข้างล่างว่าครองหรืออาศัย ส่วนสามเณรให้เขียน "ส.ณ. (ชื่อ) (นามสกุล) กลุ่ม (เลขกลุ่ม)" โดยให้เขียนเป็นเลขไทยเท่านั้น

        สบง ให้เขียนที่ชายด้านใน

 หมวดผ้าไตรจีวร  สบง ให้เขียนที่ชายด้านใน

พ.สมชาติ สุชาโต กลุ่ม ๑
(อาศัย)

 

        จีวรและสังฆาฏิ ให้เขียนที่มุมขวาของตะเข็บด้านใน สังเกตที่ขันของจีวรด้านบนจะมีขันเล็ก ๆ ๓ ขัน ดังหมายเลข ๑,๒,๓ (ดูภาพประกอบ) ให้เขียนชื่อฉายา กลุ่ม ลงบนมุมด้านขวาของขันที่ ๓ (ดูภาพประกอบ) ถ้าเป็นจีวรให้ระบุด้วยว่า เป็นผ้าครองหรือผ้าอาศัย ถ้าเป็นสังฆาฏิ ก็ให้เขียนว่า สังฆาฏิ

หมวดผ้าไตรจีวร   จีวรและสังฆาฏิ

พ.ชูพงษ์
(ครอง) ก๒

      วิธีสังเกตจีวร
      ด้านใน จะเห็นตะเข็บยาว
      ด้านนอก จะเห็นขอบจีวร
      ด้านบน จะสังเกตว่ามีสามขัน เป็นต้น (สังเกตจากภาพประกอบ)

 

อังสะ ให้เขียนที่กระเป๋าด้านในหมวดผ้าไตรจีวร   อังสะ

พ.สมชาติ
 ก.๑


       ผ้าอื่น ๆ เช่น ผ้าสรงนํ้า ผ้าเช็ดบาตร ผ้าขนหนู ให้เขียนตัวโต ๆ โดยเขียนชื่อ ฉายา กลุ่ม และห้ามเขียนภาพใด ๆ ลงไปในผ้าทุกชิ้น รวมทั้งอักษรภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่น ๆ ด้วย
         สลกบาตร ห้ามเขียนชื่อ และห้ามทำสัญลักษณ์ใดๆ ทั้งสิ้น
         บาตร กระบอกนํ้า และอุปกรณ์ของใช้อื่น ๆ ให้ใช้กระการดาษกาวติดและเขียนชื่อ/กลุ่มให้ชัดเจน

 

วินัยผ้า
        เมื่อเข้าสู่พิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว พระธรรมวินัยที่เกี่ยวข้องกับผ้าต่าง ๆ เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องทราบ และปฏิบัติตามให้ถูกต้อง ดังนี้


การพินทุผ้า
          การพินทุผ้า คือ การทำให้เสียสีในเนี้อผ้า ให้เป็นสัญลักษณ์ในการจดจำผ้าของตนเองได้ ผ้าใหม่ทุกผืนจะต้องพินทุก่อนนำไปใช้สอย หากไม่พินทุต้องอาบัติปาจิตตีย์

         การพินทุผ้า เริ่มด้วยการตั้งนะโมฯ ๓ จบ แล้วใช้ปากกาทำเครื่องหมายที่มุมผ้า เป็นจุดขนาดประมาณเมล็ดถั่วเขียว ๓ จุด แต่ละจุดห่างกันให้เป็นรูปสามเหลี่ยมพร้อมกับกล่าวคำทำพินทุว่า เราทำเครื่องหมายด้วยจุดนี้ เป็นภาษาบาลี

หมวดผ้าไตรจีวร   การพินทุผ้า

 

คำพินทุกัปปะ
พึงตั้งนะโม ๓ จบก่อน และเปล่งวาจาหรือผูกใจขณะที่ทำอยู่ว่า

อิมัง พินทุกัปปัง กะโรมิ
ทุติยัมปิ อิมัง พินทุกัปปัง กะโรมิ
ตะติยัมปิ อิมัง พินทุกัปปัง กะโรมิ.

 

การอธิษฐานผ้า
        อธิษฐานในทางพระวินัย คือ การตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ เช่น การได้ผ้ามาผืนหนึ่ง เราก็จะต้องอธิษฐานตั้งใจว่าจะใช้เป็นผ้าอะไร เช่น เป็นสังฆาฏิ เป็นสบง หรือจีวร เป็นต้น โดยสามารถอธิษฐานได้อย่างละผืนเท่านั้น ยกเว้น ผ้าบริขารโจละ และผ้าเช็ดหน้า สามารถอธิษฐานได้มากกว่า ๑ ผืน

        การอธิษฐานผ้า ทำได้โดย ตั้งนะโมฯ ๓ จบ แล้วกล่าวคำอธิษฐานผ้าพร้อมกับใช้มือลูบผ้าวนขวา ๓ ครั้ง เช่น
        การอธิษฐานผ้าสังฆาฏิ ว่าดังนี้

อิมัง สังฆาฏิง อธิฏฐามิ
ทุติยัมปิ อิมัง สังฆาฏิง อธิฏฐามิ
ตะติยัมปิ อิมัง สังฆาฏิง อธิฏฐามิ.

       เมื่อจะอธิษฐานบริขารอื่น ๆ ให้เปลี่ยนคำว่า สังฆาฏิง ไปตามชนิดของบริขาร
         อุตตะราสังคัง ผ้าอุตราสงค์ (จีวร)
         อันตะระวาสะกัง ผ้าอันตรวาสก (สบง)
         นิสีทะนัง อาสนะ
         ปัตตัง บาตร
         ปะริกขาระโจลัง ผ้าบริขาร ผ้าเล็กผ้าน้อย
         มุขะปุญฉะนะโจลัง ผ้าเช็ดหน้า
         วัสสิกะสาฏิกัง ผ้าอาบน้ำฝน
        สำหรับผ้าบริขารโจละ และผ้าเช็ดหน้า ถ้าอธิษฐานตั้งแต่สองผืนขึ้นไปให้เปลี่ยน อิมัง เป็น อิมานิ และ อัง ท้ายศัพย์ เป็น อานิ เช่น

         อิมานิ ปะริกขาระโจลานิ อธิฏฐามิ
         ทุติยัมปิ อิมานิ ปะริกขาระโจลานิ อธิฎฐามิ
         ตะติยัมปิ อิมานิ ปะริกขาระโจลานิ อธิฏฐามิ

การถอนอธิษฐาน
        ผ้าอธิษฐานเหล่านี้ถ้าจะเปลี่ยนใหม่ ให้ถอน อธิษฐาน โดยเปลี่ยนคำว่า สังฆาฏิง ไปตามชนิดของบริขารนั้นๆ) ด้วยคำว่า
         อิมัง สังฆาฏิง ปัจจุทธะรามิ
         ทุติ ยัมปิ อิมัง สังฆาฏิง ปัจจุทธะรามิ
         ตะติยัมปิ อิมัง สังฆาฏิง ปัจจุทธะรามิ

การวิกัปป์เผ้า
       เนื่องจากจีวรครองและสบงครองมีได้เพียงชุดเดียว ในการใช้ผ้าของเราจำเป็นจะต้องมีชุดเปลี่ยน หากจะเพิ่มจำนวนสบงและจีวร (เรียกว่า ผ้าอาศัย) ตามพระธรรมวินัยบัญญัติให้ต้องวิกัปป์ คือ ทำให้เป็น 2 เจ้าของ เป็นของกองกลาง เพื่อที่ว่าจะได้ติดในทรัพย์สินที่เป็นผ้าจีวร ก่อนที่จะนำผ้าที่วิกัปป์มาใช้ได้ ภิกษุที่เจ้าของร่วมจะต้องถอนวิกัปป์ก่อน

คำวิกัปป์ผ้าสำหรับผ้าผืนเดียว ว่าดังนี้

         อิมัง จีวะรัง ตุยหัง วิกัปเปมิ
         ทุติยัมปิ อิมัง จีวะรัง ตุยห้ง วิกัปเปมิ
         ตะติยัมปิ อิมัง จีวะรัง ตุยหัง วิกัปเปมิ

ถ้าผ้าสองผืนขึ้นไป ให้เปลี่ยนคำดังนี้
         อิมานิ จีวะรานิ ตุยหัง วิกัปเปมิ

คำถอนวิกัปป์ สำหรับผ้าผืนเดียว และผู้ถอนเป็นภัณเต ว่าดังนี้
        อิมัง จีระรัง มัยหัง สันตะกัง ปริภุญชะ วา วิสัชเชหิ วา ยะถาปัจจะยัง วา กะโรหิ
        ทุติยัมปิ อิมัง จีวะรัง มัยทัง สินตะกัง ปริภุญชะ วา วิสัชเชหิ วา ยะถาปัจจะยัง วา กะโรหิ
        ตะติยัมปิ อิมัง จีวะรัง มัยหัง สันตะกัง ปริภุญชะ วา วิสิชเชหิ วา ยะถาปัจจะยัง วา กะโรหิ

ถ้าผู้ถอนเป็นอาวุโส ว่าดังนี้
        อิมัง จีวะรัง มัยหัง สันตะกัง ปริภุญชะถะ วา วิสัชเชถะ วา ยะถาปัจจะยัง วา กะโรถะ
        ทุติยัมปิ อิมัง จีวะรัง มัยทัง สันตะกัง ปริภุญชะถะ วา วิสัชเชถะ วา ยะถาปัจจะยัง วา กะโรถะ
        ตะติยัมปิ อิมัง จีวะรัง มัยหัง สันตะกัง ปริภุญชะถะ วา วิสิชเชถะ วา ยะถาปัจจะยัง วา กะโรถะ

ถ้าถอนวิกัปป้ผ้าสองผืนขึ้นไป เปลี่ยนคำดังนี
        อิมัง จีวะรัง เป็น อิมานิ จีวะรานิ
        สันตะกัง เป็น สันตะกานิ

การรักษาผ้าครอง
        เมื่อเราอธิษฐานผ้าไตรจีวร คือ สังฆาฏิ อุตตราสงค์ และอันตรวาสกจำนวน 3 ผืน ซึ่งเรียกว่าผ้าครอง พระภิกษุจะต้องรักษาให้อยู่ในหัตถบาทก่อนที่จะเริ่มเช้าวันใหม่ เรียกว่า "รักษาผ้าครอง" ถ้าหากขาดครองคือ ผ้าผืนใดผืนหนึ่งใน 3 ผืนนี้ไม่ได้อยู่ในหัตถบาทก่อนเวลาเช้าตอนรับอรุณ เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ เพราะถือว่าเป็นการไม่รักษาสมบัติของตน เมื่อจะปลงอาบัติจะต้องสละผ้าของตนให้แก่ภิกษุรูปอื่นก่อนโดยการกล่าวคำเสียสละผ้า แล้วจงปลงอาบัติได้ และก็เป็นประเพณีอันดีงามที่พระภิกษุที่ได้รับผ้าไปจะคืนให้แก่เจ้าของเดิม เมื่อได้รับผ้าคืนมาแล้วก็จะต้องอธิษฐานใหม่

คำเสียสละผ้าครอง
         คำเสียสละผ้าครองสำหรับผ้า ๑ ผืน ให้แก่ภิกษุที่เป็นภันเต ว่าดังนี้
        อิทัง เม ภันเต จีวะรัง รัตติวิปปะวุตถัง อัญญัตระ ภิกขุ สัมมะติยา นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัสมะโต นิสสัชชามิ ฯ
       ทุติยัมปิ อิทัง เม ภันเต จีวะรัง รัตติวิปปะวุตถัง อัญญัตระ ภิกขุ สัมมะติยา นิลสัคคิยัง อิมาหัง อายัสมะโต นิสสัชชามิ ฯ
       ตะติยัมปิ อิทัง เม ภันเต จีวะรัง รัตติวิปปะวุตถัง อัญญัตระ ภิกขุ สัมมะติยา นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัสมะโต นิสสัชชามิ ฯ

       ถ้าเสียสละผ้าครองให้แก่ภิกษุผู้เป็นอาวุโส ให้เปลียนคำว่า ภันเต เป็น อาวุโส
       ถ้าเสียสละผ้า ๒ ผืน ให้เปลี่ยนคำว่า จีวะรัง เป็น ทวิจีวะรัง
      ถ้าเสียสละผ้า ๓ ผืน ให้เปลี่ยนคำว่า จีวะรัง เป็น ติจีวะรัง

คำให้ผ้าคืน ว่าดังนี้
        อิมัง จีวะรัง อายัสสมะโต ทัมมิ ฯ

ตารางแจงรายละเอียด

หมวดผ้าไตรจีวร  การรักษาผ้าครอง


ข้อสังเกต
      ๑. ผ้าทีเป็นของสงฆ์ เช่น มุ้ง บาตร และสลกบาตร เราจะไม่ทำการเขียนชื่อ และพินทุ เพื่อเป็นการยังประโยชน์ให้สามารถใช้ในรุ่นต่อไปได้อีก
      ๒. ผ้าอาบนํ้าฝน หรือผ้าสรงนํ้า คือ ชนิดเดียวกัน แต่ถ้าได้มาในช่วงเข้าพรรษา เรียกว่าผ้าอาบน้ำฝน ให้ทำการอฐิษฐานผ้า แต่ถ้าได้มาในช่วงอื่นนอกฤดูเข้าพรรษาให้ทำการวิกัปป์เพื่อนำมาใช้

การปลงอาบัติ
      การที่เมื่อพระภิกษุละเมิดพระวินัยหรือศีล แล้วสำนึกได้ จึงรีบมาเปิดเผยให้เพื่อนภิกษุด้วยกันรับรู้ แล้วตั้งใจว่า ต่อไปจะพยายามสำรวมระวัง ไม่ทำ ผิดอีก เรียกว่า "การปลงอาบัติ"

      พระพุทธองค์ทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามพระภิกษุปกปิดความผิดของตนทำ ผิดแล้วต้องรีบเปิดเผย เพื่อไม่ให้เป็นคนลวงโลก ถ้าทำผิดหนักจริงๆ ก็ต้องยอมตัดใจลาสิกขา เพราะแสดงว่า สติสัมปชัญญะหย่อนเกินกว่าที่จะทำความดีได้ในเพศสมณะ ถ้าผิดหนักแต่ยังไม่ถึงขนาดต้องลาสิกขา ก็ต้องยอมประจานตนต่อหน้าคณะสงฆ์เพื่อขอรับโทษ แม้ถึงถูกกักบริเวณก็ต้องยอม

หมวดผ้าไตรจีวร  วิธีการปลงอาบัติ

 

วิธีการปลงอาบัติ
      ๑. นั่งบนอาสนะเดียวกัน คุกเข่าหันหน้าเข้าหากันห่างกันประมาณ ๑ ศอก
       ๒. อาวุโสก้มศีรษะโน้มตัวลงประนมมืออยู่ระหว่างอก ส่วนภันเตประนมมือรับ
       ๓. อาวุโสกล่าวคำปลงอาบัติต่อจากนั่นภันเตกล่าวคำปลงอาบัติ เช่นกัน

หมายเหตุ การปลงอาบัติทุกครั้งให้อยู่ในที่มีแสงสว่างมองเห็นหน้ากันได้ชัดเจน และต้องนุ่งห่มให้เรียบร้อย

อานิสงส์ของการปลงอาบัติ
      ๑. ทำให้ได้สำนึกความผิดเร็วขึ้น
      ๒. ทำให้แก้ไขตัวเองได้ทันท่วงที
     ๓. ทำให้ไม่เป็นคนลวงโลก ไม่มีมารยา จิตใจพร้อมที่จะเปิดรับความดีอยู่ตลอดเวลา

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.043161002794902 Mins