หมวดการนุ่งห่ม
การพิจารณาก่อนห่มจีวร
จีวรที่ยังมิได้ห่มนั้นดูสะอาด แต่เมื่อมาห่อหุ้มคลุมร่างกายอันปฏิกูลนี้แล้วจีวรนั้นก็จะแปรสภาพเป็นของปฏิกูลไปด้วย เพราะถูกต้องเหงื่อไคลที่ไหลออกมาจากร่างกายเรา พิจารณาอย่างนี้เพื่อป้องกันมิให้จิตใจเกิดตัณหาเวลาใช้สอยจีวรนั่นเอง
วัตถุประสงค์ของการนุ่งห่ม
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น พระองค์ได้ทรงแสดงการดำเนินชีวิตอันประเสริฐไห้ชาวโลกดูว่า เสื้อผ้าเครืองนุ่งห่ม ไม่ได้ต้องการอะไรมาก ผ้าสามผืนก็พอแล้ว คือ สบง จีวร และสังฆาฏิ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน ความร้อน ความหนาว ลม แดด ฝน กันเลือด เหลือบ ลิ้น ยุง แมลง มาไต่ตอมรวมทั้งกันอาย และการที่ใช้ผ้าสีเดียวกันเป็นพื้น ก็เกิดความงามแบบสงบเย็นมีความสง่าอยู่ในตัว
การนุ่งสบง
การนุ่งสบง นุ่งยาวใต้เข่าลงมาครึ่งหน้าแข้ง ให้ขอบสบงเสมอกันเป็นปริมณฑล คือ ด้านหน้าและด้านหลังยาวเท่ากัน ไม่ย้วยหน้าย้วยหลัง ในการพับชายสบง ให้พับวนขวา ๒-๓ รอบก่อน ความกว้างประมาณ ๕-๗ นิ้วมือแล้วจึงสลับฟันปลา รัดประคดเอว บริเวณสะดือ
การห่มจีวร มีอยู่ ๓ แบบใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ
การห่มดอง
ห่มปิดบ่าซ้ายเปิดบ่าขวา ด้วยวิธีจับผ้าพับลงมาพอดี ชักชายข้างหนึ่งโอบหลังสอดรักแร้ขวา โอบหน้าอกเนไปทาบบนบ่าซ้าย เอาชายที่จีบไว้พาดลงบนบ่าซ้าย ให้ห้อยลงทั้งสองข้าง คาดผ้ารัดอก
ตลอดการอบรม ธรรมทายาทจะใช้การห่มแบบนี้ เพื่อความคล่องตัวในการทำกิจวัตรกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีมาตรฐานการนุ่งห่ม คือ ห่มด้านหน้าให้ชายจีวรเสมอขอบสบง ชายจีวรด้านซ้ายคลุมศอก ด้านหลังยกเหนือของสบงขึ้นมา ๑ ฝ่ามีอ โดยให้จับคู่พับผ้าและครองผ้า เพื่อฝึกความมีนํ้าใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
การทาบสังฆาฏิ พาดทับให้ชายด้านหลังเท่ากับแนวจีวร แนบสนิทแนวจีวร
ผ้ารัดอก รัดตามดังรูป โดยรัดบริเวณอกราวลิ้นปี่
การห่มบวบ
เป็นการห่มเฉวียงบ่า ปิดบ่าซ้ายเปิดบ่าขวา โดยม้วนผ้าจีวรหมุนขวาแล้วตวัดขึ้นรับกับแขนซ้าย
การห่มมังกร
ม้วนลูกบวบทางขวา ชักลูกบวบขึ้นหนีบไว้ที่รักแร้ซ้าย เอาริมจีวรปกบ่าซ้าย ให้ชายลูกบวบปกแขนซ้าย เอามือขวาลอดทางด้านล่างแห่งจีวร
พระภิกษุที่นุ่งห่มเรียบร้อย ก็จะไม่เป็นที่รังเกียจของใคร แต่ถ้านุ่งห่มไม่เรียบร้อย ภาษาพระเรียกว่า "นุ่งชั่ว ห่มชั่ว" ทำให้ไม่น่าเข้าใกล้ ขวางหูขวางตา และเป็นอันตรายต่อเพศตรงข้าม