การบิณฑบาต

วันที่ 21 กค. พ.ศ.2565

การบิณฑบาต

การบิณฑบาต

       บิณฑบาต แปลว่า การตกแห่งก้อนข้าว พระวินัยห้ามพระภิกษุหุงหาอาหารฉันเอง และต้องบิณฑบาต เพราะทรงปรารถนาให้พระภิกษุมีเวลาว่างพอที่จะประพฤติปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องไปดิ้นรนหาเลียงชีพให้เหนื่อยอ่อน หน้าดำครํ่าเครียดจนไม่มีเวลาที่จะภิกษาธรรมะ และทรงกำหนดให้พระภิกษุ ถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องเลี้ยงชีพด้วยการบิณฑบาต
       ภิกษุ แปลว่า "ผู้ขอ" ต่างกับขอทาน คือ ขอแบบสมณะ ขอด้วยอาการอันสงบ ให้ก็รับด้วยอาการสงบ ไม่ให้ก็ไปอย่างสงบ แม้การฉันก็ฉันแบบสงบ พระสัมมาส้มพุทธเจ้า ทรงให้ความสำคัญเรื่องนี้เป็นอย่างมากและได้บัญญัติ พระวินัย ว่าด้วยการบิณฑบาตไว้ว่า
       "ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักบิณฑบาตโดยเคารพ"
       "ภิกษุพึงทำความภิกษาว่า เมื่อรับบิณฑบาตเราจักแลดูแต่ในบาตร"
       "ภิกษุพึงทำความภิกษาว่า เราจักรับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก"
       "ภิกษุพึงทำความภิกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตแต่พอสมควรเสมอขอบปากบาตร"

การบิณฑบาต

การรับบิณฑบาต มี ๒ แบบ คือ
       แบบที่ใส่สลกบาตร
ใช้ตอนบิณฑบาต รอบวัดและสถานที่ข้างนอกบางแห่ง มีฃั้นตอนดังนี้
       ๑. ก่อนออกบิณฑบาต ใส่สลกบาตรให้เรียบร้อย ไม่ต้องใส่ฐานบาตรกะความยาวสายบาตรให้พอดีระดับสะดือ หรือตํ่ากว่าเล็กน้อย และผูกเชือกให้แน่น เพื่อกันการหลุดระหว่างบิณฑบาต
       ๒. คล้องบาตรที่ไหล่ซ้าย บาตรอยู่เยื้องทางด้านขวาของลำตัวขณะคล้องบาตรให้แนบบาตรกับลำตัว เพื่อป้องกันฝาบาตรหล่น

การบิณฑบาต

       ๓. เวลาเดืน มือซ้ายปล่อยสบาย มือขวาจับฝาบาตร โดยนำมือวางบนฝาบาตร ใช้นิ้วหัวแม่มือกดฝาบาตร นิ้วทั้ง ๔ ที่ เหลือแตะที่ตัวบาตร
       ๔. เมื่อถึงเวลารับบาตร ให้หันตัวไปทางโยม ห่างพอประมาณ ใช้มือขวาเปิดฝาบาตร ให้ฝาบาตรเปิดเสมอขอบปากบาตร ส่วนมือซ้ายประคองบาตร
       ๕. การเปิดฝาบาตร ให้จับฝาบาตรด้านขวา เปิดด้านขวา นำ ฝาบาตรมาแนบกับตัวบาตรด้านขวามือ ไม่ควรเปิดด้านหน้าเหมือนอ้าปาก
       ๖. เมื่อโยมใส่บาตรเสร็จ ให้ปิดฝาบาตรเบาๆมิฉะนั้นเสียงจะดังเป็นการฝึกสติไปด้วยในตัว

       หมายเหตุ
       การถือบาตร เมื่อไม่ได้คล้องบาตรอยู่ ให้พับเก็บสายบาตรให้เรียบร้อยไม่ให้หลุดออกมาพร้อมถือบาตรด้วยมือขวา แนบฝาบาตรเข้าชืดลำตัวบริเวณหน้าอกด้านขวา

การบิณฑบาต

แบบไม่ใส่สลกบาตร
       ใช้ตอนงานบุญใหญ่ เช่น งานวันมาฆบูชา หรือ สถานที่ช้างนอกบางแห่ง ที่ต้องการความรวดเร็วในการถ่ายบาตร
       ๑. ก่อนบิณฑบาต ให้อุ้มบาตรด้วยมือฃวา หันปากบาตรแนบลำตัวบริเวณอกขวา
       ๒. พอเดินลงบิณฑบาต ให้อุ้มด้วยมือสองช้าง จะยังไม่รับบาตรจนกว่า พิธีกรจะกล่าวนิมนต์ ถ้าไม่มีพิธีกรให้ดูที่ผู้นำเป็นหลัก
       ๓. เมื่อบาตรเต็มให้เดินเฉียงไปช้างหน้า ๓-๕ เมตรยื่นให้อุบาสกทั้งบาตรเลย เมื่ออุบาสกถ่ายของจากบาตรลงตะกร้าแล้วให้รับบาตรคืน เดินเฉียงกลับเช้าแถว
       ๔. บิณฑบาตเสร็จแล้ว ให้อุ้มบาตรแนบลำตัวตามเดิม

การบิณฑบาต

การเก็บรักษาบาตร

       ๑. เมื่อใช้บาตรแล้วต้องล้างทำความสะอาด เช็ดให้แห้งสนิททุกครั้ง
       ๒. ไม่ล้างมือในบาตร ไม่เอาขยะใส่ในบาตรเพราะบาตรไม่ใช่ถังขยะเป็นการใช้ของผิดประเภท ผิดวัตถุประสงค์
       ๓. ห้ามไม่ให้เอาบาตรไปผึ่งแดด ทั้ง ๆ ที่มืนํ้าชุ่มอยู่ เช็ดให้หมาดแล้วเอาไปผึ่งแดดได้ แต่ห้ามไม่ให้ผึ่งแดดจนร้อน
       ๔. ไม่วางบาตรโดยไม่มีชาตั้งบาตร เว้นกรณีไม่มีฃาตั้งบาตร ให้ควํ่าบาตรลงกับพื้น และไม่วางบาตรไว้บนที่สูง หมื่นเหม่ต่อการตกได้ง่าย เช่น บนที่สูงบนม้านั่งเล็ก ๆ บนไม้กระดานเรียบ
       ๕. ไม่เดินหิ้วบาตร ให้อุ้มบาตรด้วยความระมัดระวังอย่าให้ฝาบาตรหล่น
       ๖. ไม่วางบาตรไว้บนชองแข็ง ที่จะทำให้บาตรบุบสลาย
       ๗. เมื่ออุ้มบาตรอยู่ในมีอ ห้ามไม่ให้เปิดปิดประตูหน้าต่าง

การรับไทยธรรม
       ๑. กำ หนดคำให้พรสั้น ๆ เช่น ขอให้บุญรักษา ซอให้มีแต่ความสุขความเจริญ ฯลฯ
       ๒. เตรียมตัวให้พร้อมโดยตรวจดูเครื่องนุ่งห่ม ความสะอาดของร่างกาย เช่น โกนหนวดตัดเล็บ เพื่อรักษาศรัทธาญาติโยม
       ๓. เดินแถวคู่โดยพร้อมเพรียงกันไปที่สเตพรับไทยธรรม
       ๔. ฃึ้นสเตทด้วยความเป็นระเบียบ
       ๕. กราบพระประธานพร้อมเพรียงกัน (ให้ฟังพิธีกรเป็นหลัก)
       ๖. นั่งพับเพียบแล้วหันไปทางญาติโยม พร้อมนำใจไว้ที่ศูนย์กลางกายเตรียมรับไทยธรรมจากโยม
       ๗. รับไทยธรรมด้วยอาการสำรวม ไม่จ้องหน้าโยม ไม่ชะโงกหน้าไปรับ
       ๘. การรับประเคน ถ้าเป็นชายให้รับด้วยมือ ถ้าเป็นหญิงให้ใช้ผ้ารับประเคน รับด้วยอาการสำรวม การจับผ้ารับประเคน ให้ใช้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบนนิ้วอื่น ๆ เรียงชิดติดกันอยู่ด้านล่าง
       ๙. เมื่อรับไทยธรรมแล้ว ให้นำไทยธรรมมาไว้ข้างตัว เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้นำไปเก็บด้านหลังต่อไป
       ๑๐. เสร็จแล้วกราบพระประธานพร้อมกัน ตั้งแถวเดินกลับ

การปฏิบัติตัวเมื่ออยู่นอกวัด
       ๑. ห่มผ้าให้เรียบร้อยตลอดการเดินทาง ห้ามถอดจีวรออกขณะเดินทาง
       ๒. ไม่เอาผ้าคลุมศรีษะ
       ๓. ถ้าจะหลับ ให้ดึงม่านปิดให้เรียบร้อย
       ๔. ไม่เอิกเกรีกเฮฮาคึกคะนอง
       ๕. ขณะรถจอดปัมนํ้ามัน ห้ามซื้อของเอง เช่น ปานะต่างๆ ยกเว้น ทางส่วนกลางจัดซื้อให้

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.031444315115611 Mins