ตำนานพระอาราม และ ทำเนียบสมณศักดิ์

วันที่ 04 กค. พ.ศ.2547

 

 

.....หากด้วยเพราะความรู้ ที่ยังขาดรายละเอียดที่แท้จริงนั้น อาจส่งผลต่อความเข้าใจอันถูกต้อง ในการคิดเห็น การกล่าวถึงวัดวาอารามต่าง ๆ รวมไปถึงเรื่องราวของสมณศักดิ์ และขอบเขตการปฏิบัติงาน การปกครองคณะสงฆ์ ซึ่งมีที่มาอย่างไร น่าจะกลายเป็นความจำเป็น ที่แม้ฆราวาสก็ควรมีเอาไว้เป็นภูมิรู้ เมื่อถึงคราวต้องหยิบยกขึ้นกล่าวบ้างในบางโอกาสนั้น ๆ

     

.....โดย คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน จัดพิมพ์หนังสือนี้ขึ้นตรงตามต้นฉบับเดิม และเพิ่มเติม เรื่อง “ ตราตำแหน่งสมณศักดิ์ ) จารึกติดที่หลังบาน หน้าต่างพระอุโบสถวัดพระเชตุพน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า ประวัติความเป็นมาของ การปกครองคณะสงฆ์สมัยต้นรัตนโกสินทร์

 

.....และด้วยประวัติอันน่าศึกษา จากตำนานพระอาราม ครั้งเสนาบดีกระทรวงธรรมการเรียบเรียง ขึ้นในรัชกาลที่ ๕ พระอารามทั้งในกรุง รวมถึงหัวเมือง กว่า ๑๑๕ วัดนั้น ที่เกิดด้วยพระราชศรัทธาใน พระมหากษัตริย์ไทยในรัชสมัยต่างๆ รวมไปถึงพระบรมวงศ์ เจ้าเมือง ข้าราชการ มีทั้งที่ถูกสร้างขึ้นใหม่จนถึงการปฏิสังขรณ์ สถาปนาขึ้นอีก เหล่านี้ในแง่ของความสำคัญ จัดได้ว่าเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับ เป็นที่ยิ่งด้วยจึงให้มีขึ้นได้ในแต่ละแห่ง

 

.....อธิบายคณะสงฆ์แลสมณศักดิ การปกครอง ครั้งกรุงศุโขไทย จนถึงครั้งกรุงธนบุรี ที่สืบค้นได้นี้ เชื่อว่าได้มีมาแล้ว แม้เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่ และเพราะเมื่อมีผู้ศรัทธาอุปสมบท ในพระพุทธศาสนามากขึ้น เป็นเหตุจำต้องมี การปกครองสงฆบริษัทขึ้นตามลำดับ ให้ระบบระเบียบแบบแผนไว้สืบปฏิบัติกัน

   

.....สมณศักดิ์ในสยามประเทศ ที่พบหลักฐานเปนเก่าก่อนที่สุดมีในศิลา จาฤกของพ่อขุนรามคำแหง มีสังฆราช ปู่ครู มหาเถระ แลมีเถระ จัดระเบียบการปกครอง คณะสงฆ์เปนฝ่ายขวา ๑ ฝ่ายซ้ายอีก ๑ น่าจะเป็นด้วยเรื่องมีพระสงฆ์ต่างนิกายกันเกิดขึ้น ที่ในสยามก็มีพระสงฆ์อยู่แล้วแต่เดิมพวก ๑ กับที่รับลัทธิสังกาวงษ์เข้ามาอุปสมบทแพร่หลายขึ้นอีกพวก ๑ ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยายังมีคณะคามวาสีเป็นคณะ ๑ อรัญวาสีอีกคณะ ๑ ตลอดมา ส่วนราชทินนามสมณศักดิ์ในสยามประเทศ พึ่งมามีขึ้นในครั้งศุโขไทยตอนปลาย การแสดงความเป็นมาคือความน่าสนใจ ด้วยเหตุปัจจัยทั้งภายใน  และภายนอกของบ้านเมืองในระยะขณะนั้นด้วย ที่เชื่อมโยงกันอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์ ที่แฝงไว้ตามเรื่องราวต่าง ๆ อันปรากฏและถูกหยิบยกขึ้น

 

.....การให้ความสำคัญมี พระอารามเกิดขึ้นมากมาย การจัดระเบียบการปกครอง กำหนดพระราชาคณะขึ้นมาบริหารงานพระศาสนา เหล่านี้คืออีกภาพหนึ่งของความรุ่งเรือง ของพระพุทธศาสนาที่ถูกสืบทอด ธำรงรักษาไว้อย่างสำคัญอีกทางหนึ่ง

 

.....เป็นหนังสือพิมพ์ถวาย เป็นมุทิตาสักการะพระราชปริยัติกวี เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่คณะสงฆ์วัดพระเชตุพนมีเมตตาจิต ให้จัดพิมพ์ขึ้น

 

สุพัฒนะ.

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.007661517461141 Mins