ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

วันที่ 04 กค. พ.ศ.2567

 

2567_07_05_s-.jpg


ความรู้เบื้องต้น
เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา


         1. ฐานะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในสายตาของชาวพุทธ มีฐานะเป็นมนุษย์ที่ฉลาดที่สุด บริสุทธิ์ที่สุด และมีเมตตากรุณามากที่สุด เท่าที่มนุษย์จะพึงมีพึงเป็นได้ ในทางประวัติศาสตร์ เราสามารถยืนยันได้ว่า พระองค์เป็นมนุษย์ มีพระราชบิดามารดาเป็นกษัตริย์ แต่พระองค์ต่างกว่าลูกกษัตริย์และมนุษย์ทั้งหลาย ตรงที่ได้ทรงค้นคว้าหาสัจจธรรมจนได้ตรัสรู้และมีความดีครบถ้วนทั้ง 3 ประการด้วยกัน คือ


         พระปัญญาธิคุณ ทรงฉลาดรู้จักทางที่ทำให้เสื่อม ทางที่ทำให้เจริญ สามารถที่จะชี้บอกเราได้อย่างไม่ผิดพลาด และทรงฝึกสอนให้เราใช้ปัญญาเป็น แทนที่จะชักนำให้เราเชื่อตามอย่างงมงาย


         พระวิสุทธิคุณ ทรงบริสุทธิ์ ไม่มีความนึกคิดในทางร้ายเลย ไม่มีเล่ห์เหลี่ยมคดโกง ไม่เคยอวดอ้างให้เราหลงเชื่อ


        พระกรุณาธิคุณ ทรงมีเมตตากรุณาเป็นเลิศ ทรงบำเพ็ญพุทธกิจที่จะช่วยมหาชนให้พ้นทุกข์โดยไม่เลือกชาติชั้นวรรณะ ชาวพุทธทุกคนภูมิใจที่ได้พระศาสดาดังเช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงพร้อมที่จะทำตนเป็นคนดีตามพระองค์


             ศาสดาในศาสนาอื่น ๆ เช่น พระเยซูแห่งศาสนาคริสต์ เขาถือว่ามีฐานะเป็นพระบุตรของพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลก ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา
             พระศาสดามูฮัมหมัด แห่งศาสนาอิสลาม มีฐานะเป็นตัวแทนของพระเป็นเจ้าให้ทําหน้าทีงสอนประชาชน


           พระเยซูเริ่มประกาศศาสนาเมื่อพระชนมายุ 30 พรรษา สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน เมื่อพระชนมายุ 33 พรรษา จึงมีเวลาประกาศศาสนธรรมเพียง 3 พรรษา


            พระมูฮัมหมัดเริ่มประกาศศาสนาเมื่อพระชนมายุ 40 พรรษา สิ้นพระชนมายุ 63 พรรษา มีเวลาประกาศศาสนธรรม 23 พรรษา

ในระหว่างนั้นยังต้องแบ่งเวลาไปทําหน้าที่เป็นผู้นำทางการเมืองและการทหารอีกด้วย


             • บัญญัติ 10 ประการแห่งศาสนาคริสต์ ซึ่งถือเป็นข้อปฏิบัติสูงสุด ได้แก่
1. อย่าได้มีพระเจ้ายืนต่อหน้าเราเลย
2. อย่าได้ไหว้รูป และสร้างสิ่งอื่นใดไว้เคารพ
3. อย่าได้ออกนามของพระเจ้าเสียเปล่า
4. จงระลึกถึงวันหยุดในทางศาสนา (Sabath day) และอย่าทำงานในวันนั้น
5. จงนับถือมารดาบิดาของตน
6. อย่าฆ่าคน
7. อย่าล่วงประเวณี
8. อย่าลักทรัพย์
9. อย่าเป็นพยานเท็จ
10. อย่าโลภอยากได้ของผู้อื่น

            • พระนบีมูฮัมหมัด ได้สอนอุดมคติแก่ชาวมุสลิมว่า
- ดาบคือกุญแจไขไปสู่ประตูสวรรค์
- เลือด 1 หยดเพื่อพระเจ้า ชนะการบริจาคทั้งปวง
- แรม เพื่อพระเจ้า 1 คืน มีผลมากกว่าถือศีลอด 1 เดือน
- ตายในสงครามเพื่อพระเจ้า พระเจ้าจะล้างบาปให้หมด

ในทางสังคม ห้ามมุสลิมมสุรา และมีภรรยาได้ไม่เกิน 4 คน

            2. หลักธรรมในพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 พรรษา มีเวลาประกาศศาสนธรรมโดยไม่มีงานอื่นเลยถึง 45 พรรษา พระองค์ได้ทรงทำหน้าที่ของศาสดาได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด นับว่าเป็นโชคดีอย่างยิ่ง
ของชาวพุทธทุกคน

            เนื่องจากพระองค์ทรงมีเวลาวางรากฐานพระศาสนานาน จึงมีโอกาสจำแนกพระธรรมไว้เป็นหมวดหมู่อย่างละเอียดพิสดารลุ่มลึกไปตามลำดับ รวมคำสอนทั้งสิ้น 84,000 ข้อด้วยกันดังปรากฏในพระไตรปิฎก


   พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์ทางศาสนาที่สำคัญที่สุด

คำว่า ไตร - 3 ปิฎก - ตะกร้าหรือคัมภีร์ ไตรปิฎก = 3 คัมภีร์ ได้แก่

วินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี
สุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่ว ๆ ไป
อภิธัมมปิฎก ว่าด้วยธรรมะชั้นสูงล้วน ๆ


                3. โครงสร้างค่าสอนในพระพุทธศาสนา หัวข้อธรรมในพระพุทธศาสนามีทั้งหมด 84,000 ข้อ ทั้ง 84,000 ข้อนี้ สรุปแล้วมีความมุ่งหมายประการเดียวคือ สอนให้ ไม่ประมาท ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการนำคำสั่งสอนมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เราเขียนเป็นโครงสร้าง
คำสอน ได้ดังนี้ 


                 4. ลักษณะคำสอนในพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาสอนให้ใช้ปัญญาไตร่ตรองธรรมตามความเป็นจริงตามเหตุตามผลเสียก่อนแล้วจึงลงมือปฏิบัติ ดังนั้น ลักษณะคำสอนในพระพุทธศาสนาจึงถือการกระทำเป็นใหญ่ คือ สอนให้เชื่อในกฎแห่งกรรมว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว การที่คนจะดีหรือชั่วย่อมขึ้นกับการกระทำของผู้นั้นเอง ไม่มีใครสามารถบันดาลให้ผู้อื่นเป็นคนดีหรือชั่วได้


เมื่อถือการกระทำเป็นหลักในการวินิจฉัยความดีความชั่วของคน จึงเป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคนที่จะต้องสร้างความดีเอาไว้เป็นที่พึ่งของตนเอง ดังนั้น เมื่อเราเรียนรู้ธรรมอันใดไป ธรรมอันนั้นจะเกิดประโยชน์แก่เราได้ก็ต่อเมื่อเราได้ลงมือปฏิบัติตามธรรมนั้น ๆ ถ้าใครเรียนรู้แล้วไม่นำไปปฏิบัติก็เหมือนกับคนอ่านตำราว่ายน้ำ แม้จะท่องจำได้ทั้งหมด แต่ไม่เคยทดลองว่ายน้ำเลย ถ้าเขากระโดดลงแม่น้ำเมื่อใดเขาย่อมจมน้ำ ตำราว่ายน้ำที่เคยท่องได้จนคล่องปาก ย่อมไม่อาจช่วยเขาได้


               คําสอนในลัทธิศาสนาอื่น ๆ ทั่วโลก มักอยู่ในลักษณะที่เรียกว่า เทวนิยม คือนิยมให้เคารพเทพยดาหรือพระเป็นเจ้า ผู้ใดปรารถนาความสุขความสมหวังก็จะต้องอ้อนวอนขอพรจากเทพยดาหรือพระเป็นเจ้าที่ตนเชื่อถือ


             5. ที่พึ่งของชาวพุทธ เพื่อหวังความสุข มนุษย์จึงต้องแสวงหาที่พึ่ง ที่พึ่งของชาวพุทธไม่ใช่พระเจ้าหรือพระพรหมใด ๆ แต่ชาวพุทธจะสร้างที่พึ่งขึ้นด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเอง โดยชาวพุทธพิจารณา อย่างนี้ว่า


           ประการแรก ความสุขที่แท้จริงนั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความสงบ เช่น ประเทศชาติใดวุ่นวาย ประเทศชาตินั้นย่อมไม่มีความสุข หรือคนใดกาย วาจา ใจ กระวนกระวาย คนนั้นย่อมไม่มีความสุข ดังนั้น ถ้าใครปรารถนาความสุข คนนั้นจะต้องทำความสงบให้เกิดขึ้นก่อน


           ประการที่สอง ความสงบจะเกิดได้ ก็ต่อเมื่อคนเลิกการเบียดเบียนกันเอง


           ประการที่สาม คนจะเลิกเบียดเบียนกันได้ต่อเมื่อต่างคนต่างมีศีล 5 เป็นอย่างน้อย


           ฉะนั้น ชาวพุทธจึงมีหน้าที่ประจำตัวประการแรกคือ ต้องรักษาศีล 5 อย่างเคร่งครัด แล้วยึดเอาความสงบที่เกิดจากการรักษาศีลไว้เป็นที่พึ่ง ให้เกิดความสุข ถ้าชาวพุทธคนใดยังรักษาศีลไม่ได้ ก็ถือว่าเขาผู้นั้นยังเป็นคนกำพร้าไร้ที่พึ่งอยู่นั่นเอง


             6. ศีล คืออะไร ศีล แปลว่า ปกติ  ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องมีลักษณะปกติของมันเอง เช่น ปกติของม้าต้องยืนไม่มีการนอน ถ้าม้านอนก็เป็นการผิดปกติแสดงว่าม้าป่วย

ฤดูฝน ตามปกติจะต้องมีฝนตก ถ้าฤดูฝนกลับแล้ง ฝนไม่ตกแสดงว่าผิดปกติอะไร คือปกติของคน


              6.1 ปกติของคนต้องไม่ฆ่า สัตว์หลายชนิด เช่น เสือ หมี สิงโต ฯลฯ ย่อมฆ่ากันเป็นปกติ ส่วนคนจะต้องไม่ฆ่า ถ้าวันไหนมีการฆ่า วันนั้นก็ผิดปกติ เพื่อรักษาปกติของคนไว้ ศีลข้อที่ 1 จึงเกิดขึ้นมาว่าคนจะต้องไม่ฆ่า
              6.2 ปกติของสัตว์เวลากินอาหารมันจะต้องแย่งกันถึงเวลาอาหารที่ไรสุนัขมักจะกัดกันทุกทีขโมยกันแต่คนเราไม่เป็นอย่างนั้นเพื่อรักษาความปกติของคนไว้ ศีลข้อที่ 2 จึงเกิดขึ้นว่า
คนจะต้องไม่ลักขโมย ไม่แย่งชิง ไม่คดโกง ไม่ทำลายทรัพย์สินผู้อื่น
            6.3 ปกติของสัตว์ ในฤดูผสมพันธุ์จะแย่งเพศกัน สัตว์ตัวผู้ถึงกับต่อสู้กันจนตายไปข้างหนึ่งก็มี แต่ปกติของคนแล้วจะไม่แย่งคู่ครองของใคร พอใจเฉพาะคู่ครองของตน ถ้าใครไปแย่งเข้าก็ผิดปกติ เพื่อรักษาความปกติของคนไว้ ศีลข้อที่ 3 จึงเกิดขึ้นว่า


คนจะต้องไม่ประพฤติล่วงในกาม
                6.4 ปกติแล้วคนเราพูดกันตรงไปตรงมาเสมอ ใครโกหกหลอกลวงก็ผิดปกติไป เพื่อรักษาความปกติของคนไว้ ศีลข้อที่ 4 จึงเกิดขึ้นว่า


คนจะต้องไม่โกหกหลอกลวง
                6.5 ปกติแล้วสัตว์มีกำลังร่างกายแข็งแรงมากกว่าคน แต่กำลังของสัตว์เป็นกำลังที่บังคับทิศทางไม่ค่อยได้ เพราะไม่มีสติคอยควบคุมมีแต่ความป่าเถื่อนตามอารมณ์ ดังนั้นสัตว์จึงไม่สามารถเปลี่ยนกำลังกายให้เป็นกำลังความดีได้ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย แม้มีกำลังกายมากแต่มันไม่เคยออกแรงไปหาอาหารมาเลี้ยงพ่อแม่ของมันแต่กว่าคนอย่างได้
                 ส่วนคนแม้มีกำลังกายน้อยกว่าสัตว์ แต่อาศัยสติอันแจ่มใส ช่วยเปลี่ยนกำลังกายน้อย ๆ นั้นให้เกิดเป็นกำลังความดี เช่น มีกตัญญกตเวทีจึงสามารถเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ได้ ฯลฯ
                 สติเป็นของเหนียวแน่นคงทน แม้อดอาหารทั้งวัน สติก็ยังดีทำงานทั้งเดือนไม่ได้พักสติก็ยังดี ป่วยนอนบนเตียงทั้งปี สติก็ยังดี แต่สติกลับฟันเฟือนไปทันที ถ้าเสพย์สุรายาเมาเข้าไป สุราเพียงครึ่งแก้วอาจทำให้ผู้ดื่มสติฟั่นเฟือนถึงกับลืมตัว กล้าทำร้ายผู้มีพระคุณได้ หมดความสามารถในการเปลี่ยนกำลังกายให้เป็นกำลังความดี ดังนั้น ผู้ใดเสพย์สุราหรือของมึนเมา จึงมีสภาพผิดปกติ คือ มีสภาพใกล้สัตว์เข้าไปทุกขณะ เพื่อรักษาความปกติของคนไว้ ศีลข้อที่ 5 จึงเกิดขึ้นว่า


                   คนจะต้องไม่เสพย์ของมึนเมาให้โทษ
ศีลทั้ง 5 ข้อ คือ ไม่ฆ่า ไม่ลัก ไม่ล่วงในกาม ไม่หลอกลวง ไม่เสพย์ของมึนเมา จึงเป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นมาโดยสามัญสำนึก
และเกิดขึ้นพร้อมกับโลก เพื่อรักษาความปกติสุขของโลกไว้
(ศีล 5 ได้มีมาก่อนพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับเข้ามาไว้ในพระพุทธศาสนาและทรงชี้แจงถึงความจำเป็นของการมีศีลให้ทราบ) นอกจากนี้ ศีลยังใช้เป็นเครื่องวัดความเป็นคนได้อีกด้วย
                  ครั้งใดเรามีศีลครบ 5 ข้อตลอดทั้งวันทั้งคืน แสดงว่าครั้งนั้น
เรามีความเป็นคนครบบริบูรณ์ 100%
                   ถ้ามีศีลเหลือ 4 ข้อ ความเป็นคนเหลือ 80% ใกล้สัตว์เข้าไป 20%
                   ถ้ามีศีลเหลือ 3 ข้อ ความเป็นคนเหลือ 60% ใกล้สัตว์เข้าไป 40% (เขียวเริ่มงอก หางเริ่มออก)
                   ถ้ามีศีลเหลือ 2 ข้อ ความเป็นคนเหลือ 40% ใกล้สัตว์เข้าไป 60% (เขี้ยวเป็นคืบ หางเป็นศอก)
                   ถ้ามีศีลเหลือ 1 ข้อ ความเป็นคนเหลือ 20% ใกล้สัตว์เข้าไป 80% (เขี้ยวลากดิน หางพื้นเอว)
                  ถ้าศีลทุกข้อขาดหมด ก็หมดความเป็นคน หมดความสงบ หมดความสุข ถึงยังมีชีวิตอยู่ก็เหมือนคนตายแล้ว ความดีใด ๆ ไม่อาจ บังเกิดขึ้นมาได้อีก เป็นสัตว์ในร่างคน มีชีวิตอยู่ก็เพียงเพื่อจะทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นเท่านั้น คนชนิดนี้คือคนประมาทแท้ๆ


                     7. วิธีรักษาศีลตลอดชีพ เพื่อรักษาความเป็นคนของตนไว้ให้ดี ชาวพุทธจึงจำเป็นต้องรักษาศีลยิ่งชีวิต การจะรักษาศีลให้ได้เช่นนั้น จำต้องอาศัยสติปัญญาและกำลังเข้าช่วย จึงจะรักษาไว้ได้โดยง่าย ก่อนอื่นเราต้องพิจารณาว่า

 


ศีล แปลว่า ปกติ
คนผิดศีล คือ คนผิดปกติ

 


                      บัดนี้ได้มีคนผิดศีลซึ่งเป็นคนผิดปกติ จนกระทั่งกลายเป็นปกตินิสัย มีจำนวนมากขึ้น ทำให้คนหลายคนเห็นคนผิดศีลกลายเป็คนปกติไป เมื่อความเห็นวิบัติไปเช่นนี้ ประเทศชาติบ้านเมืองที่เคยร่มเย็นตลอดมา จึงต้องพลอยวิบัติ มีการฆ่าฟันกัน โกงกัน ผิดลูกผิดเมียกันฯลฯ จนประชาชนนอนตาไม่หลับ สะดุ้งผวา หวาดระแวงกันไปทั้งเมืองแล้ว เราจะรอคอยให้ผู้ใดมาดับความทุกข์ ความวิบัติครั้งนี้


                     เราชาวพุทธแต่ละคนนี้แหละคือผู้ดับ
                     เราจะดับทุกข์ด้วยการรักษาศีล ถึงคนอื่นไม่ช่วยรักษาเราก็จะรักษาเพียงลำพัง ถ้าประเทศไทยเปรียบเป็นหม้อน้ำใหญ่ที่กำลังเดือดพล่าน เพราะฟื้น 43 ล้านหุ้น (คือ ประชาชนที่มีอยู่ปัจจุบัน 43 ล้านคนกระทบกระทั่งกันเพราะขาดศีล) ถ้าตัวเรามีศีลเมื่อใด ก็เหมือนกับดึงพื้นออกจากกองไฟ 1 หุ้น แม้น้ำในหม้อจะยังเดือดพล่านอยู่ แต่ก็ไม่ใช่เพราะเราเมื่อแต่ละคนดึงตนเองออกจากกองทุกข์โดยไม่เกี่ยงงอนกันดังนี้ ในไม่ช้าไฟทุกข์ย่อมดับมอดลงเอง ประเทศชาติก็จะคืนสู่สภาพปกติสุขได้


                      เราจะถือศีลตลอดชีวิตเพื่อเป็นตอกย้ำความคิดที่จะรักษาศีลให้มั่นคงตลอดชีวิต จำต้องหาวิธีการที่เหมาะ ซึ่งมีอยู่วิธีหนึ่งคือวิธีปลุกพระ ทุก ๆ เช้าก่อนออกจากบ้าน ให้เอาพระเครื่องที่แขวนคออยู่ใส่ในมือพนมไว้หรือพนมมืออยู่หน้าที่บูชา แล้วสมาทานศีล 5 โดยว่าดังนี้


ปาณาติปาตา เวระมณี
ข้าฯจะไม่ฆ่า
อะทินนาทานา เวระมณี ข้าฯจะไม่ลัก
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี ข้าฯจะไม่ประพฤติล่วงในกาม
มุสาวาทา เวระมณี
ข้าฯจะไม่หลอกลวง
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี
ข้าฯจะไม่เสพย์ของมึนเมาให้โทษ


                    เมื่อสมาทานศีลจบแล้วต้องตั้งใจรักษาไว้อย่างดี ให้ข้ามวันข้ามคืน นี้เป็นการ ปลุกพระ คือ ปลุกตัวของเราเองให้เป็นพระ ทำอย่างนี้ทุกวัน ย่อมสามารถรักษาศีลได้ตลอดชีพ ชายก็กลายเป็นพ่อพระหญิงก็กลายเป็นแม่พระ ไปถึงไหนก็เย็นถึงนั่น แต่ถ้าไม่ตั้งใจปลุกพระไปถึงไหนก็ร้อนถึงนั่น เพราะเราได้กลายเป็นพระเพลิงเผาทั้งตัวเองและผู้อื่น

                    8. หัวใจพระพุทธศาสนา ได้กล่าวแล้วว่า กรรมคือการกระทำต่าง ๆ นั้น ถ้าใครทำแล้วย่อมไม่ได้ผล ใครทำดี ย่อมได้ดี ให้ผลเป็นความสุข ใครทำชั่ว ย่อมได้ชั่ว ให้ผลเป็นความทุกข์ ผู้หวังความสุขจึงต้องละความชั่ว ทำแต่ความดี และยึดความดีนั้นไว้เป็นที่พึ่ง ถ้าพระพุทธศาสนาสอนเพียงเท่านี้ก็ไม่นับว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์ แต่ที่อัศจรรย์ก็คือยังสอนให้ยกใจให้สูง ใจจะได้สะอาดขึ้นอีกด้วย คำสอนประการสุดท้ายนี้ไม่มีสอนในศาสนาอื่น ๆ หลักการปฏิบัติที่สมบูรณ์ในพุทธศาสนาจึงมีดังนี้

 


ละความชั่วทั้งปวง
บำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม
ทําใจของตนให้ผ่องใส

 


                   หลักสามประการนี้เรียกว่า หัวใจพระพุทธศาสนา ที่เป็นหัวใจเพราะคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีรายละเอียดทั้งหมด 84,000 พระธรรมขันธ์นั้น เมื่อย่นย่อลงแล้วจะเหลือเพียงเท่านี้ (ดูโครงสร้างคำสอนในพระพุทธศาสนา)ก่อนอื่นต้องเข้าใจด้วยว่า คนเราสามารถสร้างกรรม การกระทำ) ไม่ว่าจะกรรมดี หรือกรรมชั่วก็ตาม ได้เพียง 3 ทาง ไม่เกินไปกว่านี้คือ


                   ทางกาย เรียกว่า กายกรรม เช่น เดิน กิน นั่ง นอน แบกหาม ชกต่อย กราบไหว้ ฯลฯ
                   ทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม เช่น พูด ด่า ชม เทศน์ สวดมนต์ ร้องเพลง บ่น ฯลฯ
                   ทางใจ เรียกว่า มโนกรรม เช่น คิด พิจารณา ตัดสินใจ ดีใจ เสียใจ เมตตา แค้นเคือง พยาบาท รักใคร่ ฯลฯ ๆ
                   8.1 ละความชั่วทั้งปวง ความหมายในหัวใจพระพุทธศาสนา ข้อนี้คือ เว้นจากการทำชั่วทุก ๆ ทาง ทั้งทางกาย วาจา ใจ ทุก อย่างที่เราทำ พูด คิด แล้วทำให้เราเป็นคนเลว คนชั่ว เราจะต้องเลิกให้หมด
                  ทางกาย ต้องเลิกฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ล่วงผิดในกาม ฯลฯ
                  ทางวาจา ต้องเลิกพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ
                  ทางใจ ต้องเลิกโลภอยากได้ของเขา ปองร้ายเขา เห็นผิดทํานองคลองธรรม ฯลฯ จะเห็นว่า การปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนในข้อนี้คือ ต้องถือศีลอย่างเคร่งครัดนั่นเอง


                  การรักษาศีลมีอยู่หลายระดับ ทำนองเดียวกับการทำผลไม้รสเปรี้ยวให้หวาน เช่น มะขาม ถ้าจะทำให้หวาน มีวิธีคือ จิ้มน้ำตาล...
ไม่หวานนัก มีรสเปรี้ยวมากกว่าหวาน เชื่อม.... หวานเพิ่มขึ้น ยังมีรสเปรี้ยวเหลือบ้าง แช่อิ่ม... หวานกลมกล่อมไม่มีรสเปรี้ยวเลย น่ารับ
ประทาน แต่การทำต้องใช้เวลาและความสามารถเพิ่มมากขึ้น
                  ผู้ฝึกรักษาศีลใหม่ ๆ มักจะเผลอสติง่ายเวลาถูกยุงกัดมักเผลอตัวเสื้อมือ เมื่อนึกได้จึงไม่ตบยุง อย่างนี้จัดว่ายังเป็นศีลง่อนแง่น ผิวเผินเหมือนกับมะขามจิ้มน้ำตาล
                  ตั้งใจรักษาศีลต่อไปอีกระยะหนึ่งก็ดีขึ้นอีกระดับหนึ่ง ยุงกัดก็เพียงรู้สึกรำคาญบ้าง แต่ไม่คิดทำร้าย อย่างนี้ศีลเริ่มเชื่อม ซึมซาบ
เข้าไปในใจบ้างแล้ว
                 เมื่อรักษาต่อไปอีกไม่ละลด มดไต่ ไรตอม ยุงกัด ฯลฯ ก็ไม่เก็บมาเป็นอารมณ์ ใจไม่คิดฆ่า ไม่คิดลัก ไม่คิดล่วงผิดในกาม ไม่คิดหลอกลวงใครเลย ไม่มีเลย แสดงว่าศีลเข้าไปแช่อิ่มอยู่ในกายในใจแล้วเหมือนมะขามแช่อิ่ม อย่างนี้เป็นศีลในระดับที่สามารถละความชั่วได้ทั้งกาย วาจา ใจ ตามต้องการแล้ว 


                8.2 บำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม ความหมายในหัวใจพระพุทธศาสนาข้อนี้ คือ ให้ประพฤติชอบหรือทำความดีด้วย กาย วาจา ใจทุกอย่างที่ทำให้ผู้ทำ พูด คิด แล้วเป็นความดีงาม ต้องตั้งใจทำให้ครบ


                ทางกาย ขวนขวายในการสร้างกุศลต่าง ๆ เช่น ทำทาน แสดงความเคารพอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ฟังเทศน์ อ่านหนังสือธรรม ฯลฯ

                ทางวาจา เช่น เจรจาแต่ถ้อยคำที่อ่อนหวาน เกิดประโยชน์เกิดความสามัคคี เป็นสุภาษิต เทศนาธรรมตามโอกาส สวดมนต์
สนทนาธรรม ฯลฯ
                 ทางใจ เช่น ตามระลึกถึงบุญที่ได้กระทำมาดีแล้ว คิดสร้างบุญใหม่ต่อไปอีก อบรมใจไม่ฟุ้งซ่าน ตรึกตรองธรรมที่ได้เรียนรู้มา ฯลฯรวมความว่า การปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาข้อที่ 2 นี้คือพยายามรวมกระแสใจให้แน่วแน่อยู่ในความดีทุกอิริยาบถ เมื่อฝึกชำนาญแล้วใจก็จะหยุดนิ่ง ไม่กระวนกระวายไปคิดกระทำชั่วอีก ใจหยุดอยู่ในอารมณ์เดียวเป็น สมาธิเพื่อให้การปฏิบัติธรรมในข้อนี้ บรรลุเป้าหมายโดยเร็ว จำเป็นต้องฝึกนั่งสมาธิอย่างสม่ำเสมอด้วย


                 8.3 ทำใจของตนให้ผ่องใส ความหมายในหัวใจพระพุทธศาสนาข้อนี้คือ ทำใจของตนเองให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง มีโลภ
โกรธ หลง เป็นต้น สำหรับในข้อนี้ต้องสังเกตด้วยว่า มุ่งชำระใจตนเองไม่ใช่ใจผู้อื่นส่วนประกอบที่สำคัญของคนมีอยู่ 2 ส่วน คือ กาย กับ ใจขณะมีชีวิต ใจทำหน้าที่บงการให้กายทำอย่างนั้น ให้พูดอย่างนี้ ให้ทำตัวเป็นพาล ให้ทำตัวเป็นพระ ให้ทำบาป ให้ทำบุญ ฯลฯ

เมื่อเวลาตาย ร่างกายสลาย บุญบาปที่ตัวทำไว้ทั้งสิ้นก็รวมเก็บไว้ในใจ ใจก็สละร่างเดิมแล้วไปเกิดในภพใหม่ เวียนตายเวียนเกิดเวียนทุกข์เวียนสุขไปจนกว่าจะหมดกิเลสเข้านิพพาน รวมความว่า

 


ในชาตินี้คนจะดีหรือชั่วก็เพราะใจ
ตายแล้วจะไปนรก สวรรค์ หรือกลับมาเป็นคนอีกก็เพราะใจ
จะหมดกิเลส บรรลุนิพพาน เป็นผู้ไม่ประมาทได้ก็เพราะใจ

 


                    ฉะนั้น ผู้ใดปรารถนาความสุข จึงต้องฝึกฝนทำใจให้สะอาดบริสุทธิ์จนถึงที่สุด
                    การปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนาในข้อสุดท้ายนี้ จึงเป็นการนำเอาอำนาจสมาธิที่ฝึกได้จากข้อที่แล้วมาใช้ให้เป็นประโยชน์ คือ
                    8.3.1 ฝึกสมาธิให้ใจสงบหยุดนิ่งจนกระทั่งเกิดความสว่างภายใน และเห็นนิมิตองค์พระได้ชัดเจน จนกระทั่งเข้าถึงธรรมกายแล้วความสว่างอย่างยิ่งภายในจะทำให้เกิดปัญญาเหนือธรรมดา
                    8.3.2 อาศัยปัญญาที่เกิดขึ้นนั้น ส่องดูความไม่ดี หรือกิเลสภายในตัว เมื่อพบแล้วก็ทำลายทิ้งเสีย จิตใจก็สะอาดผ่องใสขึ้นไปตามลำดับ ครั้นกำจัดกิเลสได้หมดเด็ดขาด ก็เป็นผลให้ไม่ย้อนกลับมาทำชั่วพูดชั่ว คิดชั่วอีกตลอดไป บรรลุจุดสูงสุดของพุทธศาสนา คือ เป็นผู้ไม่ประมาท แล้วเข้านิพพาน ได้รับความสุขอย่างยิ่งเป็นที่สุด


                     9. นึกถึงชาติ ศาสน์ กษัตริย์ พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ ถ้าเรียนรู้แล้วไม่นำไปปฏิบัติก็จะไม่ได้รับประโยชน์จากการนับถือพุทธศาสนา ในฐานะที่เป็นชาวพุทธ เราจึงควรฝึกนึกถึง ชาติศาสน์ กษัตริย์ ในทางที่ถูก


                     นึกถึงชาติ คือ การนึกถึงความสุขของคนทั้งชาติ คนทั้งชาติจะอยู่เป็นสุขได้ก็เพราะบ้านเมืองสงบ บ้านเมืองจะสงบได้ก็เพราะคนในชาติมีศีล ไม่รังแกกัน และทำงานตามหน้าที่ของตนให้ดีเต็มความสามารถทุกเช้าก่อนออกจากบ้าน โปรดนึกถึงชาติด้วยการตั้งใจสมาทานศีลจากพระพุทธรูป แล้วตั้งใจรักษาไว้ให้มั่น พร้อมกับทำงานอย่างมีสติรอบคอบ


                    นึกถึงศาสน์ คือ การนึกถึงความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ของตนเอง เราจะบริสุทธิ์ได้เพราะอบรมตนและประพฤติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทุกคืนก่อนเข้านอนโปรดนึกถึงศาสน์ ด้วยการ สวดมนต์บูชา


พระรัตนตรัย นั่งสมาธิแล้วแผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย พร้อมทั้งพิจารณาเนือง ๆ ว่าเรามีกรรมเป็นของตน เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว


                     นึกถึงกษัตริย์ คือ การนึกถึงความเสียสละเพื่อส่วนรวมเพราะความเสียสละเป็นคุณธรรมอย่างยิ่งของกษัตริย์ ชาวไทยทั้งชาติ
จึงอัญเชิญผู้เสียสละขึ้นเป็นกษัตริย์ เช่น อัญเชิญนายทองด้วงขึ้นเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทรงพระนามว่า “พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” เพราะว่านายทองด้วงยอมพลีชีวิตเป็นเดิมพันนำชาวไทยรักษาชาติไว้ได้สําเร็จ


                    ทุกวันอย่าให้ผ่านไปเปล่า โปรดนึกถึงกษัตริย์ ด้วยการเสียสละกำลังกาย กำลังทรัพย์ ฯลฯ เพื่อส่วนรวม ให้อภัยแก่กันและกันและแนะนำกันในทางที่ถูกที่ควรตามแต่โอกาสจะอำนวย


10 กันยายน 2519

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0011635700861613 Mins