๘. การใช้มงคลชีวิตเป็นแม่บทในการตัดสิน

วันที่ 12 สค. พ.ศ.2567

2567-08-14%20b.jpg

 

๘. การใช้มงคลชีวิตเป็นแม่บทในการตัดสิน

 

       คราวนี้ถ้ามาเจอเรื่องอีกแบบหนึ่ง  ถ้ามีใครเอา “รูปโป๊” มาติดไว้ที่หน้าวัด หรือติดไว้ที่ศาลาวัดแห่งใดแห่งหนึ่ง จะติดสินใจทำอย่างไร


       คนมาวัดถ้าเป็นประเภทที่เอาบุญเป็นหลักใหญ่  เห็นรูปโป๊แล้วบางทีแกก็เฉยๆ  อย่างดีก็แค่บ่นๆ  แหม!  ไม่รู้ว่าใครเอารูปโป๊มาติดไว้ แต่เราไม่ไปยุ่งด้วยหรอก เพราะว่าเรามาทำบุญทำทานของเรา วัตถุทานของเราก็บริสุทธิ์ เจตนาของเราก็บริสุทธิ์ พระที่ท่านรับก็เป็นผู้บริสุทธิ์ เราเองก็บริสุทธิ์ เราได้บุญเยอะแล้ว จะต้องไปยุ่งอะไรกับไอ้ภาพโป๊ภาพนั้น ตักบาตรเสร็จเราก็กลับบ้าน ไม่เอาเรื่องเอาราวกับใคร


         อย่างนี้รูปโป๊มันก็อยู่ที่ศาลานั้นต่อไป


       อีกพวกหนึ่งเอากรรมเป็นตัวตัดสิน  กรรมใครก็กรรมมัน  วัวใครก็เข้าคอกคนนั้น  ใครทำบุญก็ได้บุญ ใครทำบาปก็ได้บาป ใครทำดีก็ได้ดี ใครทำชั่วก็ได้ชั่ว คนที่เอารูปชั่วรูปโป๊มาติด มันก็ได้บาปของมันไป ส่วนเรามาวัดมาฟังเทศน์ฟังธรรม มาเอาบุญ เราก็ได้บุญของเรา วันนี้เราฟังเทศน์จบเรียบร้อยแล้วศีลก็รับแล้ว บาตรก็ตักแล้ว เราได้บุญแล้ว กลับบ้านของเราดีกว่า แล้วก็กลับบ้านไป


         รูปโป๊ก็ติดอยู่ที่ศาลนั้นต่อไป


       ก็ข้าไม่ได้เอามาติดนี่  เอ็งคิดเองก็บาป ข้าไม่ได้ติดข้าไม่บาป ข้าได้แต่บุญเข้าทำนองใครมาปล้นเมืองไทยก็ช่างหัวมัน ข้าก็ยังสบาย ใครเป็นนายกก็เป็นไปข้าก็ยังสบาย จนกระทั่งเขาขายบ้านขายเมืองถึงได้มาร้องเอะอะ เฮ้ย ๆ ทำไมเอาบ้านเอาเมืองไปขาย ช้าไปเสียแล้ว เขาขายหมดเสียแล้ว


         อีกพวกหนึ่งเอาอนัตตามาตัดสิน     ทุกอย่างมันเป็นอนัตตารูปโป๊นี้ก็อนัตตาไม่มีอะไรหรอก มันไม่มีตัวมีตน มองปลงเสียแล้ว ปลงตกแล้ว


         รูปโป๊ก็ยังอยู่ที่ศาลาต่อไป


        ในกรณีอย่างนี้  ทางพระพุทธศาสนาก็มีหลัก “มงคลชีวิต” มาพิจารณาตัดสินว่าจะทำอย่างไรดี


         มงคลชีวิต มี ๓๘ ประการ คือ


            ๑) ไม่คบคนพาล
            ๒) คบบัณฑิต
            ๓) บูชาบุคคลที่ควรบูชา
            ๔) อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
            ๕) มีบุญวาสนามาก่อน
            ๖) ตั้งตนชอบ
            ๗) เป็นพหูสูต
            ๘) มีศิลปะ
            ๙) มีวินัย
          ๑๐) มีวาจาสุภาษิต
          ๑๑) บำรุงบิดามารดา
          ๑๒) เลี้ยงดูบุตร
          ๑๓) สงเคราะห์ภรรยา (สามี)
          ๑๔) ทำงานไม่คั่งค้าง
          ๑๕) บำเพ็ญทาน
          ๑๖) ประพฤติธรรม
          ๑๗) สงเคราะห์ญาติ
          ๑๘) ทำงานไม่มีโทษ
          ๑๙) งดเว้นจากบาป
          ๒๐) สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
          ๒๑) ไม่ประมาทในธรรม
          ๒๒) มีความเคารพ
          ๒๓) มีความถ่อมตน
          ๒๔) มีความสันโดษ
          ๒๕) มีความกตัญญู
          ๒๖) ฟังธรรมตามกาล
          ๒๗) มีความอดทน
          ๒๘) เป็นคนว่าง่าย
          ๒๙) เห็นสมณะ
          ๓๐) สนทนาธรรมตามกาล
          ๓๑) บำเพ็ญตบะ
          ๓๒) ประพฤติพรหมจรรย์
          ๓๓) เห็นอริยสัจ
          ๓๔) ทำพระนิพพานให้แจ้ง
          ๓๕) จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
          ๓๖) จิตไม่โศก
          ๓๗) จิตปราศจากธุลี
          ๓๘) จิตเกษม


        จาก “รูปโป๊” ที่ติดไว้ที่หน้าวัดหรือที่บนศาลา เราก็มาพิจารณากัน เริ่มจากข้อแรกก่อนเลยทีเดียว


        “ของนี้เป็นมงคลหรือไม่เป็นมงคล"


       ถ้าไม่เป็นมงคลฉีกทิ้งไปเลย ถ้าเป็นมงคลเอาไว้ เราไล่ไปเลยตั้งแต่มงคลที่ ๑ ไล่ไปเรื่อยๆ ทีละมงคล


     ทั้งหมดนี้คือการตัดสินที่หลวงพ่อใช้อยู่ แน่นอน การตัดสินที่ง่ายที่สุด  คือฟังผู้บังคับบัญชาหรือถามเจ้านาย แต่ในชีวิตของเรา ไม่ใช่ว่าทุกเรื่องจะสามารถถามเอาจากใครๆ ได้ทุกอย่าง เพราะหากไม่ใช่เรื่องงาน หรือเรื่องที่ต้องรับผิดชอบร่วมกับผู้บังคับบัญชาหรือนายแล้ว เราย่อมต้องตัดสินใจเองเกือบทั้งหมดยิ่งเรามีตำแหน่งหน้าที่ทางสังคมมาก ก็ยิ่งมีภาระในการตัดสินใจมาก


      แม่บทกฎเกณฑ์ในการตัดสินใจที่หลวงพ่อเทศน์ในวันนี้ก็คงทำให้พวกเราทุกคนมี  “หลัก” ในการตัดสินใจได้ถูกต้องและมีแต่ผลในทางข้างดีในทุก ๆ เรื่อง


       อย่างไรก็ตาม  สำหรับผู้ที่ฝึกสมาธิมาดีมากแล้ว  ก็ยังมีวิธีตัดสินใจอีกวิธีหนึ่งคือ...


 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010835846265157 Mins