บทความ ตำนาน พญานาคสองฝั่งโขง ๕ ตอน ( บทลงโทษตามประสาพญานาค)

วันที่ 16 ตค. พ.ศ.2548

 

            "การตัดสินต้องพิจารณาจากจุตินิมิตของนาคตนนั้นด้วยว่ามี ลักษณะเศร้าหมองหรือไม่ ต้องประกอบไปด้วย

           ๑. ความผิด ๒. กำลังจะหมดบุญ มีจุตินิมิตเกิดขึ้น"

             การลงโทษของพญานาคในลุ่มแม่น้ำ โขงนั้น มีหลายวิธี ตามลำดับดังนี้

            วิธีที่ ๑ สำหรับโทษเบา ให้ไปรับเวร มากขึ้นเป็นพิเศษ เช่น ให้เพิ่มเวลาในการตรวจ เข้าเวรยาม หรือเพิ่มเวลาในการเข้ารับใช้ หัวหน้าเขต จึงมีเวลาพักน้อยลง

             ดังคดีตัวอย่างคือ ครั้งหนึ่งนาคบริวาร ตนหนึ่ง มัวแต่แสดงความรักกับภรรยานาค สาวที่วิมานของตน จนลืมเวลาเข้าเวร ไม่ได้ มาเข้าเวรตามหน้าที่ ที่ตนเองต้องรับผิดชอบ หัวหน้าบริวารจึงทำโทษ โดยการเพิ่มเวลา ในการเข้าเวรมากขึ้น

             อีกคดีหนึ่ง นางนาคมาณวิกาสาวสวย ตนหนึ่ง เพลิดเพลินในการรับประทานอาหาร มากเกินไป ด้วยความเมาในรสอาหาร จึง เผลอหลับติดต่อกันเป็นเวลานานหลายวัน ไม่ได้ไปเข้าเวร หัวหน้าบริวารจึงสั่งลงโทษ โดยการเพิ่มเวลาในการเข้าเวรมากขึ้น 

            วิธีที่ ๒ สำหรับโทษหนักขึ้นมาอีก ให้ไปเฝ้าสถานที่ หรือพระพุทธรูป หรือ สถูปโบราณ พญานาคที่ถูกทำโทษจะต้องทำ ตามอย่างเคร่งครัด และห้ามหนีโดยเด็ดขาด เพราะเป็นจารีตที่ถูกกำหนดขึ้น ของสังคม พญานาค

             ถ้านาคที่ถูกทำโทษไม่ทำตามจะต้องถูก ขับออกจากเมือง ส่วนผู้ปกครองจะมอบหมาย ให้หัวหน้าเขตหรือผู้ช่วยหัวหน้าเขตคอย ตรวจตราเป็นระยะๆ ระหว่างที่ถูกกักบริเวณ โดยจะให้เจ้าหน้าที่คอยส่งอาหารให้ จนกว่า จะพ้นโทษ วิธีการส่งอาหารคือ พญานาค ที่มีหน้าที่ส่งอาหารจะคอย เนรมิตอาหารให้กับพญานาค ที่กำลังถูกลงโทษนั้น

       วิธีที่ ๓ สำหรับผู้ที่มีโทษ หนักขึ้นไปอีก จะถูกลงโทษให้ เข้าไปจำศีล หรือกักบริเวณ ที่ให้ทำเช่นนี้ เพื่อให้สงบสติ อารมณ์และสำนึกผิด การที่ จำศีลเช่นนี้ ผู้ที่ถูกลงโทษจะ ถูกบังคับให้อดอาหาร ถ้าหาก สามารถสงบสติอารมณ์ได้ มี จิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่าน ก็สามารถ อยู่ได้จนครบกำหนด ลักษณะการอยู่เช่นนี้ ก็คล้ายๆ กับกบ หรือปลาจำศีลในฤดูแล้ง หลัก การคือการเคลื่อนไหวร่างกาย จะต้องลดน้อยลง เป็นผลให้ การเผาผลาญอาหารลดต่ำลง สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องกิน อะไรตลอดฤดูร้อน

             แต่ถ้าหากว่า ไม่สามารถสงบสติอารมณ์ ของตนเองได้ ธาตุไฟก็จะแตกหรือตายเพราะอดอาหารในที่สุด การจำศีลเพื่อสำนึกผิดนี้ ต่างจากการจำศีลเพื่อเอาบุญ ของพญานาคราชโอฆินทรและบริวารที่ไปจำพรรษาที่แม่น้ำ โขง การจำศีลเพื่อเอาบุญนั้น นาคแต่ละตนสามารถกินอาหารได้ ถ้าต้องการกินและไม่ถูกกักบริเวณ


            ส่วนการจำศีลเพื่อให้ดวงแก้ว ดึงดูด มหาสมบัติเกิดขึ้นนั้น เป็นการจำศีลแบบ ระยะสั้น บางครั้ง ๑ วันบ้าง ๓ วัน บ้าง ๕ วันบ้าง ๗ วันบ้าง

             วิธีที่ ๔ เป็นการลงโทษที่ร้ายแรงที่สุด สำหรับนาคที่ทำความผิดมาก เช่น คดีนาค จอมเจ้าชู้ที่ผ่านมา การตัดสินต้องพิจารณา จากจุตินิมิตของนาคตนนั้นด้วยว่า มีลักษณะเศร้าหมองหรือไม่ ต้องประกอบไปด้วย

            ๑. ความผิด ๒. กำลังจะหมดบุญ มีจุตินิมิต เกิดขึ้น
           ถ้าจุตินิมิตชัดเจนก็จะต้องถูกส่งตัวไป ยมโลก โดยจะแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่นาค ซึ่งไป ช่วยกิจการพิเศษที่ยมโลก ในสายนาคอีกทีหนึ่ง (เจ้าหน้าที่ยมโลกโดยทั่วๆ ไป มาจากกุมภัณฑ์ แต่บางครั้ง เจ้าหน้าที่สายกุมภัณฑ์ไม่สะดวก ต้องส่งเจ้าหน้าที่นาคไปช่วย ในกรณีพานาคไปลงโทษ) หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ยมโลกก็จะพาไปหาพญายมราช พญายมราชจะตัดสินบุญบาป ไปตามหลักเกณฑ์ของยมโลกต่อไป ซึ่งแน่นอนทั้งหมดนี้ย่อมตกอยู่ภายใต้อำนาจกฎแห่งกรรม

 
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0262682000796 Mins