วิถีความรู้แบบพุทธ

วันที่ 20 สค. พ.ศ.2567

 

2567_08_20_b_03.jpg

 

 

วิถีความรู้แบบพุทธ



วิชชาที่ ๑ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

               พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ พระองค์ได้ทำใจให้หยุดนิ่ง จนกระทั่งใจอ่อน นุ่มนวล ควรแก่การงาน บริสุทธิ์ ผ่องใส แล้วเกิดความเห็นแจ้งรู้แจ้งขึ้นจึงเอาความเห็นแจ้งรู้แจ้งนั้นไประลึกชาติตั้งแต่หนหลังว่าเคยเกิดเป็นคนชื่อโน้น ในตระกูลนั้น มีความทุกข์อย่างนั้น

 

2567_08_20_03.JPG

 

มีความสุขอย่างนี้ เห็นเรื่องราวของตนเองมากมาย ทั้งที่เคยตกทุกข์ได้ยาก และเจริญรุ่งเรือง เห็นอย่างแจ่มแจ้ง เรียกว่า “วิปัสสนา” รู้อย่างแจ่มแจ้ง เรียกว่า “วิชชา” ชา(ญา) แปลว่า รู้ วิ แปลว่า แจ่มแจ้ง วิชชา แปลว่า รู้อย่างแจ่มแจ้ง อวิชชา คือ ความไม่รู้แจ้งก็หมดไป เหมือนลูกไก่จากเดิมอยู่ในกระเปาะไข่มองไม่เห็นอะไรเลย พอเจาะกระเปาะไข่ออกมาได้ก็เห็นอย่างแจ่มแจ้ง รู้อย่างแจ่มแจ้ง

 

วิชชาที่ ๒ จุตูปปาตญาณ

               หลังจากบรรลุวิชชาที่ ๑ แล้วพระองค์ทรงทำสมาธิต่อจนใจหยุดนิ่ง อ่อน นุ่มนวล ควรแก่การงาน บริสุทธิ์ ผ่องใสยิ่งขึ้นไปอีก แล้วน้อมจิตไปสู่วิชชาที่ ๒ คือ จุตูปปาตญาณ ได้แก่ เห็นการจุติและการอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย เห็นว่าสัตว์ที่ทำชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ติเตียนพระอริยเจ้า ตายแล้วไปสู่อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เห็นว่าสัตว์ที่ทำดีด้วยกาย วาจา ใจไม่ติเตียนพระอริยเจ้า ตายแล้วไปสู่สุคติโลกสวรรค์

 

2567_08_20_04.JPG

 

วิชชาที่ ๓ อาสวักขยญาณ

               จากนั้นก็ทำสมาธิต่อจนจิตอ่อน นุ่มนวล ควรแก่การ บริสุทธิ์ ผ่องใส ตั้งมั่น หยุดนิ่งมากขึ้นไปอีก แล้วน้อมจิตไปสู่วิชชาที่ ๓ คือ อาสวักขยญาณ ได้เห็นอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เห็นอย่างแจ่มแจ้งด้วยใจที่ใสสว่างไม่มีอะไรปิดบัง อวิชชาคือความไม่รู้ก็หมดสิ้นไป กิเลสที่มีอยู่ในจิตใจก็หมดสิ้นไปจึงได้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

2567_08_20_05.JPG

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.012298846244812 Mins