วิภังคสูตร ความหมายของอริยมรรคมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า สัมมาทิฏฐิ คือ ความรู้ในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค สัมมาสังกัปปะคือ ความคิดในการออกจากกาม ความคิดในการไม่พยาบาทความคิดในการไม่เบียดเบียน สัมมาวาจา คือ ไม่พูดเท็จไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ สัมมากัมมันตะ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดพรหมจรรย์ (ให้ประพฤติพรหมจรรย์) สัมมาอาชีวะ คือ ละการเลี้ยงชีพที่ผิด ดำรงอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ สัมมาวายามะ คือ สร้างความพอใจในการปรารภความเพียรให้เกิดขึ้น จากนั้นก็พยายามปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว สัมมาสติ คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิตธรรมในธรรมเนืองๆ เพื่อกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย สัมมาสมาธิ คือ การสงัดจากกามและอกุศลธรรมจนบรรลุปฐมฌานทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน วิภังคสูตร จบ
...อ่านต่อ
นึกกำหนดนิมิต เป็น “ดวงแก้วกลมใส” ขนาดเท่าแก้วตาดำ ใสบริสุทธิ์ ปราศจากรอยตำหนิใดๆ ขาวใสเย็นตาเย็นใจ ดังประกายของดวงดาว ดวงแก้วกลมใสนี้ เรียกว่า บริกรรมนิมิต นึกสบายๆ นึกเหมือนดวงแก้วนั้นมานิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นึกไปภาวนาไป อย่างนุ่มนวลเป็นพุทธานุสติว่า “สัมมาอะระหัง” หรือค่อยๆ น้อมนึกดวงแก้วกลมใสให้ค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกาย ตามแนวฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฐานที่ ๑ เป็นต้นไป น้อมนึกอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ ไปพร้อมๆ กับคำภาวนา
...อ่านต่อ
สัมมากัมมันตะ คือ ประกอบการงานชอบ งานของพระ คือ ไม่ฆ่า ไม่ลัก ไม่ประพฤติผิดในกาม
...อ่านต่อ
สัมมาวาจา คือ กล่าววาจาชอบ ได้แก่ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดเท็จ คือ ไม่กล่าวคำที่ไม่จริงทั้ง ๆ ที่รู้ ไม่พูดส่อเสียด คือ ไม่เอาความข้างนี้ไปบอกข้างโน้น เอาความข้างโน้นมาบอกข้างนี้ ให้เขาทะเลาะกัน ไม่พูดคำหยาบ คือ ไม่พูดคำว่า กู บ้าง ถึง บ้าง ด่าผู้มีพระคุณของฝ่ายตรงข้ามบ้าง เป็นต้น คำหยาบเหล่านี้ถ้าพูดแล้วใจจะเศร้าหมอง ปากจะเหม็นเพราะเป็นวิบากกรรมที่จะมีผลของกรรมตามมา ไม่พูดเพ้อเจ้อ คือ ไม่พูดคำที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่ปรากฏ ว่าเอง เออเอง ปั้นน้ำเป็นตัว การพูดอย่างพระ ต้องพูดในทางตรงกันข้าม คือ พูดแต่ค่าจริง คำที่ไพเราะอ่อนหวาน น่าฟัง น่าเลื่อมใส คำที่ทำให้คนสมัครสมานสามัคคีกัน รักใคร่ปรองดองกัน คำที่มีเหตุมีผลมีหลักฐานรองรับ
...อ่านต่อ
พระคิดอยู่ ๒ อย่าง ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ คือ มีความเห็นถูกตรง ได้แก่ เห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ๒. สัมมาสังกัปปะ มี ๓ อย่าง คือ ๒.๑ ดำริในการออกจากกาม กาม คือ การครองเรือน ความกำหนัด ความใคร่ ความผูกพันทางจิตใจ ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ที่เราถูกต้อง ๒.๒ ดำริในการไม่พยาบาท ไม่จองเวรใคร ไม่อาฆาต ไม่ผูกโกรธ ไม่จองล้าง ไม่จองผลาญ ๒.๓ ดำริในการไม่เบียดเบียน ไม่คิดที่จะตีใคร ด่าใคร เอาเรื่องใคร
...อ่านต่อ
วันนี้เรามีโอกาสมาบวช ถือว่ามีบุญมากที่ได้มาห่มผ้ากาสาวพัสตร์ จะบวชสั้นหรือบวชยาวก็ตาม เราจะต้องตั้งใจศึกษา เรียนรู้ ทำความเข้าใจธรรมะแล้วนำไปปฏิบัติซึ่งการออกจากบ้าน ออกจากเรือนมาบวชก็เพื่อความไม่กังวลไม่ห่วงใย ไม่เดือดร้อนใจ เป็นอิสระ ไม่มีเครื่องเหนี่ยวรั้ง ออกจากกรงขัง ออกจากเครื่องผูกมัด เครื่องมัดทางกายและใจ
...อ่านต่อ
ฟังธรรมที่พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตแสดงไว้ดีแล้ว นั้นเป็นการฟังอันยอดเยี่ยมเพื่อก้าวล่วงโสกะ ปริเทวะ เพื่อดับสูญทุกข์แห่งโสมนัสโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมอันถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งพระนิพพาน ถ้าเคยได้ยินได้ฟังแล้วก็จะทำให้เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น สามารถขจัดความสงสัยที่มีอยู่ให้หมดไป ทำให้มีความเห็นถูก ทำให้จิตผ่องใส
...อ่านต่อ
เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นครู พระธรรมเป็นบทเรียน พระสงฆ์เป็นนักเรียน เราจะต้องปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสอนให้ละชั่วด้วยกาย วาจา ใจ จะได้ไม่ไปอบาย ทำดีด้วยกาย วาจา ใจ จะได้ไปสุคติ ทำใจให้ผ่องใส จะได้ไปนิพพาน
...อ่านต่อ
เห็นอย่างแจ่มแจ้ง เรียกว่า “วิปัสสนา” รู้อย่างแจ่มแจ้ง เรียกว่า “วิชชา” ชา(ญา) แปลว่า รู้ วิ แปลว่า แจ่มแจ้ง วิชชา แปลว่า รู้อย่างแจ่มแจ้ง อวิชชา คือ ความไม่รู้แจ้งก็หมดไป เหมือนลูกไก่จากเดิมอยู่ในกระเปาะไข่มองไม่เห็นอะไรเลย พอเจาะกระเปาะไข่ออกมาได้ก็เห็นอย่างแจ่มแจ้ง รู้อย่างแจ่มแจ้ง
...อ่านต่อ
พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ ที่รู้เพราะพระองค์ทำใจที่สับสนวุ่นวาย ฟุ้งซ่านให้หยุดนิ่งได้ พอหยุดนิ่งใจก็ใส พอใจใสก็เห็นแจ้งรู้แจ้งในสิ่งทั้งปวง อุปมาเหมือนน้ำที่หลากมาเวลาฝนตก น้ำนั้นมีความขุ่นมาก แม้เอารถยนต์ใส่ลงไปก็มองไม่เห็น เมื่อไม่เห็นก็ไม่รู้ว่าใต้น้ำมีรถอยู่ แต่ถ้าทำน้ำนั้นให้สงบ ให้หยุด ให้นิ่งโดยการตักมาใส่แก้วไว้ พอผ่านไปหลาย ๆ วัน หลาย ๆ ปีน้ำนั้นจะใส แม้เอาเมล็ดงาใส่ลงไปก็จะเห็น ใจของมนุษย์เรา เช่นเดียวกัน ถ้าขุ่นมัวจะไม่เห็น ถ้าใสจะเห็นอย่างแจ่มแจ้ง
...อ่านต่อ

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร


ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล