คำว่า “พรหมจรรย์” ในความหมายทางธรรม ?
คำว่า “พรหมจรรย์” ใครที่ได้ศึกษาพระพุทธศาสนาจะเข้าใจความหมายดี โดยเฉพาะคนรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย แต่คนรุ่นใหม่อย่างพวกเรานั้นไม่ค่อยคุ้นหู คำนี้สักเท่าใดนัก
ในโลกนี้มีทั้ง "เพศชาย" และ "เพศหญิง" ในเมื่อเราถูกกําหนดมาให้มีครอบครัว แล้วเราจะประพฤติพรหมจรรย์ไปทําไมกัน....
คำว่า “พรหมจรรย์” ในทางโลก หมายถึง ความบริสุทธิ์ของหญิงสาว แต่ความหมายในพระพุทธศาสนามี 2 นัย คือ "การไม่ยุ่งเกี่ยวกับเมถุนธรรม” ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ
แต่ในความหมายที่กว้างขึ้น หมายถึง การทำความดีทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา เจริญมรรคมีองค์ 8 ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งหมดรวมอยู่ในค่าว่า "พรหมจรรย์" ทั้งสิ้น
การไม่ยุ่งเกี่ยวกับเมถุนธรรม เรื่องทางเพศก็เป็นหนึ่งในนั้น อยู่ที่ว่าเราจะเอาความหมายแบบเฉพาะเจาะจง หรือความหมายแบบกว้าง ๆ
หลายคนกังวลว่า การไม่ยุ่งเกี่ยวกับกามนั้นจะห้ามไปถึงเรื่องการมีความรัก การกระทำของคนเรามี 3 ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ กล่าวง่าย ๆ คือ “ท่า พูด คิด” โดยการเน้นลำาดับ เช่น ควบคุมจากกายก่อน ร่างกายไม่ยุ่ง แล้วควบคุมวาจา จากนั้นควบคุมทางใจ ท่าเป็นขั้นตอนไปอย่างนี้
เพราะฉะนั้น ถ้าในแง่ของพระสงฆ์ ศีลของพระสงฆ์เน้นตรง “กาย” กับ “วาจา” เป็นหลัก เพราะเรื่องทางใจวัดกันได้ยาก แม้แต่พระโสดาบัน ความรู้สึกทางความรักต่าง ๆ ก็ยังคงมีอยู่
ยกตัวอย่างนางวิสาขาเป็นพระโสดาบันตั้งแต่อายุ 7 ปี แต่ก็ยังแต่งงาน มีลูกมากถึง 20 คน
พระโสดาบันละสังโยชน์ คือ "กิเลส" จ่าแนกอย่างละเอียดได้ 10 อย่าง พระโสดาบันละได้ 3 อย่าง คือ "สักกายะทิฏฐิ" ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน "วิจิกิจฉา" ความลังเลยสงสัยในพระรัตนตรัย
ซึ่งพระโสดาบันไม่มีเลยเพราะเข้าถึงพระรัตนตรัยภายในแล้ว พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ภายใน ไม่มีความลังเลสงสัยใด ๆ อีกศรัทธาในพระรัตนตรัย มั่นคง ไม่มีวันคลอนแคลน และ "สีลัพพตปรามาส” ไม่มีความงมงายใด ๆ ยึดมั่นแต่พระรัตนตรัยเท่านั้น
พระโสดาบันละได้ 3 ขั้น แต่ "กามราคะ" ยังละไม่ได้ เพียงเบาบางลงเท่านั้น ไม่ใช่ว่าหมดไปเลย พระสกิทาคามีก็คล้ายกับพระโสดาบัน แต่กิเลสข้อที่เหลือเบาบางลงไป
พระอนาคามี ก่อนจะเป็นพระอรหันต์สามารถละกามราคะได้ ไม่มีเรื่องทางเพศมาเกี่ยว ไม่ว่าด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจก็ตาม ยิ่งถ้าเป็นพระอรหันต์แล้วละได้หมดร้อยเปอร์เซ็นต์
เจริญพร