โลกทัศน์ของชาวพุทธ

วันที่ 26 กย. พ.ศ.2547

 

 

พระเทพโสภณ (ประยูร มีฤกษ์)

 

.....บทความแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียว สถานภาพชัดเจนของพระพุทธศาสนาในโลกยุคร่วมสมัย คือโลกทัศน์สมัยใหม่ ในฐานะพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาและเป็นนักการศึกษาในโลกสมัยใหม่รูปหนึ่ง ผูกพันเชิงวัฒนธรรมกับประวัติศาสตร์ และผู้กล้าพิสูจน์ว่า พระพุทธศาสนาสนับสนุนให้ชาวโลกมีโลกทัศน์ใหม่ โลกทัศน์ที่จะบรรเทาปัญหาและสิ่งโต้เถียงกันในยุคที่มีอยู่อันเดียวในโลกนี้ให้เบาบางลงไป

โดยในบทความแรก ได้แนะนำความคิดในความเปลี่ยนระดับพื้นฐานในโลกทัศน์ ถ้าโลกนี้จะเจริญยิ่งขึ้นในภายหน้า

บทความที่สอง เป็นปาฐกถาแสดงในการประชุมสุดยอดของผู้นำศาสนาและจิตวิญญาณเพื่อสันติภาพแห่งโลกในปีสหัสวรรษ ที่ได้แสดงให้เห็นว่า หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เกี่ยวกับความสงบภายในที่ต้องเริ่มต้นขึ้นก่อนแรกนั้น เป็นคำสอนที่สนับสนุนสันติภาพระหว่างประเทศที่นำไปปฏิบัติได้ นั่นคือ จากมุมมองของชาวพุทธ ไม่มีสงครามที่ชอบธรรม ยิ่งกว่านั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ด้วยท่วงทีการเจรจาระดับระหว่างประเทศที่จริงว่า จากความคิดของมนุษย์แท้ ๆ แล้ว สิ่งที่เราต่อสู้กันมีค่าน้อยกว่าชีวิตมนุษย์มากนัก

บทความสุดท้าย การเผยแผ่พระพุทธศาสนา มุ่งให้เป็นการทำงานเพื่อสันติภาพ ความปรองดอง และความเจริญรุ่งเรืองในทุกระดับชั้น เริ่มแต่จิตใจของปัจเจกชน จนถึงเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นและระดับชาติ จนถึงขั้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กล่าวโดยย่อ คือเพื่อทำงานท้าทายสำหรับโลกทัศน์หรือการมองดูโลกใหม่ที่ครอบคลุมสิ่งทั้งมวล ที่พรั่งพร้อมด้วยวิธีการทั้งปวงที่เราหาได้

“ พุทธทัศนะเรื่องจัดการศึกษาเพื่อความสมดุล ” การบูรณาการเทคโนโลยีกับจิตใจของมนุษย์เข้าด้วยกันในช่วงรอยต่อแห่งประวัติศาสตร์ปัจจุบัน ที่ดูเหมือนว่ามนุษย์ทุกวันนี้ดูเหมือนทำดียิ่งขึ้นในการพัฒนาทางด้านวัตถุ แต่ไม่ดีขึ้นในการพัฒนาทางด้านจิตใจ แม้ว่าจะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลและสรรค์สร้างสิ่งมากมายอันเกิดจาก ความสำเร็จในเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์ แต่ยังไม่ได้มีความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีทางจิต นั่นคือการเจริญกรรมฐาน

ความน่าเชื่อถือของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการแบ่งช่วงพัฒนาการแห่งความคิดมนุษย์ออกเป็น ๓ ยุคด้วยกันคือ ยุคเทววิทยา ยุคอภิปรัชญา ยุคปฏิฐานหรือยุควิทยาศาสตร์ ในการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่สมดุล พระพุทธศาสนาใช้ “ ภาวนา ” โดยทั่วไปแปลว่า “ การพัฒนา ” ซึ่งมี ๔ ประการที่รวมการพัฒนาทางเทคโนโลยีและการพัฒนาทางจิตเข้าไว้ด้วย คือ ๑ . การพัฒนาทางกาย ( กายภาวนา ) ๒ . การพัฒนาสังคม ( สีลภาวนา ) ๓ . การพัฒนาจิต ( จิตตภาวนา ) ๔ . การพัฒนาปัญญา ( ปัญญาภาวนา ) ด้วยการสมาคมกับคนดี ฟังพระสัทธรรม การทำไว้ในใจหรือไตร่ตรองโดยแยบคาย การปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม

ได้ข้อสังเกตส่งท้ายว่า ในพระพุทธศาสนามีโลกทัศน์ใหม่เกี่ยวกับการพัฒนาให้สมดุล มีพื้นฐานอยู่บนโลกทัศน์แบบองค์รวม ตามกฎปฏิจจสมุปบาท ที่ทุกสิ่งทุกอย่างอาศัยกันและกันเกิดขึ้น และสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

ในโลกนี้มีคน ๓ ประเภทคือ คนตาบอด คือคนผู้ที่มีปัญญาบอด ไม่มีความรู้ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่มีความรู้ในทางธรรม คนตาเดียว คือคนผู้ที่รู้เฉพาะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านเดียว และคนสองตา ได้แก่ผู้ที่ประดับด้วยความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนฯ และมีความรู้ในพระพุทธศาสนาสำหรับชีวิตด้วย

พุทธทัศนะสลายความขัดแย้ง ” เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ขององค์การ สหประชาชาติที่ผู้นำศาสนาและจิตวิญญาณ ได้รับโอกาสสำคัญยิ่งที่จะทำงานใกล้ชิดยิ่งขึ้นทั้งในระดับนานาชาติ ระดับภูมิภาคและท้องถิ่น เพื่อให้ได้มาซึ่งสันติภาพแห่งโลก

ในพระพุทธศาสนา คำว่าสันติภาพหรือสันติ หมายรวมถึงความสงบทั้งด้านภายในและภายนอก พระพุทธเจ้าทรงพร่ำสอนพระสาวกให้เป็นผู้รักความสงบที่แท้ สันติภาพและ ความอดทนแก่พุทธสาวกอย่างเข้มแข็งยิ่ง ให้มีขันติธรรม และให้มีการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขกับศาสนิกชนอื่นได้

“ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพของโลก ” สิ่งจำเป็นของงานเผยแผ่ต้องมีเมตตา กิจกรรมก็ต้องเริ่มจากจิตใจที่เปี่ยมด้วยกรุณาปรารถนาจะช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ด้วยแสงแห่งพระธรรม ความกรุณาจึงเป็นคุณธรรมสำคัญของนักเผยแผ่ศาสนา ใช้เผยแผ่อย่างสันติ เพื่อประโยชน์สุขของมนุษย์ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ

สำหรับสาระโดยละเอียด ท่านที่สนใจ ขอรายละเอียดได้ที่

โทร . ๐๒ – ๒๒๑ – ๘๘๙๒ , ๐๒ – ๒๒๔ - ๘๒๑๔

 

สุพัฒนะ.

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.015249335765839 Mins