ความเสี่ยง 12 ประการที่คนไทยพึงหลีกเลี่ยง

วันที่ 25 พย. พ.ศ.2548

 

 1. บุหรี่

เรารู้อะไรเกี่ยวกับสารเคมีในบุหรี่บ้าง บริษัทผลิตบุหรี่แทบไม่ได้บอกอะไรไว้บนซองให้กับเราเลยว่ามีสารเคมีที่มีอยู่ในส่งต่อไปนี้ผสมอยู่ ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาเช็ดกระจก เชลแลค ลูกเหม็น ยาเบื่อหนู ปากกาเคมี แบตเตอรี ยาฆ่ามด ยาย้อมผม น้ำยาละลายน้ำแข็ง น้ำยาล้างเล็บ น้ำมันไฟแช็ค ขี้ผึ้ง น้ำยาชักเงา สเปรย์ฆ่าแมลง และน้ำยาฉีดศพ 2 ใน 10 คนสูบบุหรี่ เมื่อใครสักคนสูบบุหรี่เข้าไปในร่างกายไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ และตั้งใจหรือไม่ เขาได้พาสารเคมีที่มีอยู่ในสิ่งที่กล่าวมาเข้าไปทำอันตรายตนเองและคนอื่นที่สูดควันบุหรี่ของเขาด้วย

2. เหล้า เบียร์

คนไทยดื่มเหล้ามากขึ้นทุกที ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา คนไทยดื่มเหล้ามากขึ้น 2 เท่า ดื่มเบียร์มากขึ้น 7 เท่า ไม่ว่าจะดีใจ เสียใจ หรือไม่มีอะไรจะทำก็ยังดื่มเหล้าไม่เมาไม่เลิก จนติดอันดับดื่มสูงสุดอันดับ 7 ของโลก โดยผู้ดื่มอาจลืมหรือไม่ใส่ใจ เหล้า เบียร์ และแอลกอฮอล์เป็นยาเสพติดที่บั่นทอนทั้งร่างกายและจิตใจจนถึงกับทำให้เสียสติและเสียชีวิตได้

3. ยาเสพติด

ผลร้ายของยาเสพติดในระดับบุคคลเป็นที่เห็นได้ชัดเจนกันทั่วไป ในระดับชุมชน ประเทศ และระดับโลก ยาเสพติดเป็นปัญหาร้ายแรงอันดับแรกๆ ที่ต้องอาศัยความร่วมมือกันแก้ไข จากการสำรวจพบว่า 4 ใน 10 ของหมู่บ้านทั้งหมด มีปัญหาเรื่องยาเสพติด

4. การไม่ออกกำลังกาย

คนไทยไม่ถึง 1 ใน 3 ออกกำลังกาย แม้ว่าการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เป็นประจำจะทำให้เกิดประโยชน์ทางร่างกายและจิตใจต่อคนทุกเพศ ทุกวัย รวมทั้งคนพิการทางกายด้วย แต่ละปีมีคนมากกว่า 2 ล้านคนต้องเสียชีวิต โดยมีส่วนมาจากการไม่ออกกำลังกาย ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ผู้ใหญ่ราว 60 ถึง 85 เปอร์เซนต์ ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างเพียงพอที่จะทำให้สุขภาพดี ชีวิตที่ไม่ออกกำลังกายมีอัตราความเสี่ยงของโรคหัวใจเป็น 2 เท่า เบาหวาน และโรคอ้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ ความดันเลือดสูง กระดูกเสื่อม ความเครียด และความวิตกกังวล

5. กินอาหารที่เป็นอันตราย

พฤติกรรมการกินอาหารที่เป็นอันตรายของคนไทยมีหลายลักษณะ เช่น การกินอาหารที่มีรสเค็มหรือมีเกลือมากเกินไป การกินไขมันมากเกินไป การกินน้ำตาลมากเกินไป

6. กินอาหารที่ปนเปื้อน

ความที่คนไทยมีวิถีชีวิตเปลี่ยนไปใช้ชีวิตที่รีบเร่งมากขึ้น ปรุงอาหารด้วยตัวเองน้อยลง ทำให้ต้องพึ่งพาอาหารปรุงสำเร็จ อาหาารสำเร็จรูปนอกบ้าน รวมทั้งขนมต่างๆ อาหารหลายอย่างมีกรรมวิธีการผลิตและปรุงให้เก็บได้นานด้วยการใส่สารเคมีและสีสังเคราะห์ และไม่ระมัดระวังเรื่องความสะอาด อาหารที่ปนเปื้อนทั้งเชื้อโรคและสารเคมีจึงมีเพิ่มขึ้นมากมาย

7. มลพิษในสิ่งแวดล้อม

ในน้ำ อากาศ และดิน มีสารเคมีและโลหะหนักปนเปื้อน เพราะการปล่อยของเสียจากอาคาร บ้านเรือน โรงงาน เครื่องยนต์ และรถยนต์ ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมเป็นพิษ

 

ผลของAlcohol โดยทั่วๆไป ต่ออวัยวะต่างๆ

(Alcohol ตอนที่ ๓) :โดย นพ. สมนึก ศรีวิศาล FRCR, FRCPC St.Louis, MO

          ในร่างกายจะมีการควบคุมที่คอยปรับระดับความเข้มข้นในร่างกายให้ปกติสม่ำเสมอ
เช่น เมื่อมีเหงื่อออกมาก ร่างกายก็จะพยายามเก็บน้ำโดยที่ถ่ายปัสสาวะน้อยลง
แต่เมื่ออากาศเย็นเหงื่อออกน้อย ร่างกายจะขับน้ำออกมากขึ้นโดยออกเป็นปัสสาวะ
กลไกเหล่านี้ ควบคุมโดย บริเวณในสมองที่เราเรียกว่า Hypothalamus
เพราะความเข้มข้นของน้ำในร่างกายเป็นตัวควบคุมการหลั่งสารที่ออกมาควบคุม
ต่อมใต้สมองให้หลั่งฮอร์โมน ADH ซึ่งเป็นตัวคอยกักน้ำ ความเย็น
ก็เป็นตัวทำให้ ADH ออกน้อย ผลก็คือเราไม่เก็บน้ำ จึงถ่ายปัสสาวะบ่อย
Alcoholมีผลในทางเดียวกัน ทำให้ไม่มีการเก็บน้ำ
ฉะนั้นจะเห็นว่า พวกคอเหล้าจะไปเข้าห้องน้ำบ่อย เพราะเป็นผลทางสรีระวิทยาของร่างกาย
ที่ตอบสนองต่อ Alcoholนั่นเอง ผลที่ตามมาก็คือพวกคอเหล้าจะขาดน้ำและเกลือในร่างกาย
( จะกล่าวถึงเมื่อเราพูดถึง ตอนสร่างเมา - Hangover )

          เครื่องดื่มมึนเมา Alcohol นี้ มีคุณสมบัติเหมือนยา คือ ไปกดระบบสมอง
เหมือนเช่นยานอนหลับ หรือยาสลบ Alcohol ไม่ใช่เป็นสารกระตุ้นอย่างที่คิดกัน
แต่ดูคนที่ดื่ม Alcohol แล้วมีความรู้สึกเหมือนถูกกระตุ้น ทั้งนี้เพราะเมื่อดื่มแล้ว
ทำให้ผู้คนเป็นคนละคน พูดมากขึ้น กล้า( หน้าด้าน หรือ ความอายลดลง)
ทั้งนี้เพราะ Alcohol ไปกดศูนย์สมองบริเวณที่ควบคุมการตัดสินใจความผิดถูก
(ความยับยั้งสิ่งถูกผิด) คือไม่ทำอะไรที่ผิดหรือไม่ถูกต้อง เมื่อศูนย์นี้ถูกกดโดย
Alcohol ทำให้ "ปล่อย" ความยับยั้งหรือสิ่งที่กดเอาไว้ สิ่งที่ไม่เคยทำจึงออกมาทำให้
เหมือนว่าไปกระตุ้น แต่แท้จริงแล้วผลที่สำคัญของ Alcohol ต่อระบบสมอง
คือไปกดการทำงานของสมองให้ลดลง เอาไว้เมื่อถึงตอนพูดถึงผลต่อระบบสมอง
เราจะเห็นชัดเจนว่า ผลคือการกดการทำงานของระบบประสาททั้งระบบ

          ระดับของ Alcohol ในเลือดก็ขึ้นอยู่กับสภาวะอื่นด้วย เช่นการมีอาหารในกระเพาะ
ก็จะทำให้การดูดซึมของ Alcohol ช้าลง นอกจากนี้ การที่มีอาหารในกระเพาะ
ยังทำให้ Alcohol ออกไปยังลำไส้เล็กช้าลงด้วย ทำให้ตับมีโอกาสฟอก เอา
Alcohol ออกได้ทัน เมื่อเทียบกับเมื่อกระเพาะว่าง
Alcoholที่มีความดีกรีสูงเช่นพวกเหล้า
จะถูกดูดซึมได้เร็วกว่าพวกเบียร์ เพราะไม่มีน้ำหรือสารอื่นเช่นโซดาหรือน้ำหวานมาทำให้เจือจาง
ในความเข้มข้นที่สูงๆ Alcohol ยังสามารถทำให้กระเพาะระคายเคือง และสามารถทำให้กระเพาะเกร็งตัว
หยุดทำงาน ทำให้ Alcohol อยู่ในกระเพาะนาน แทนที่จะส่งไปยังลำไส้เล็ก
พบว่าพวกที่ดื่ม Alcohol ที่ดีกรีสูง ก็จะเมาเร็ว เครื่องดื่ม Alcohol ที่ร้อน
จะถูกดูดซึมได้เร็วกว่าที่ดื่มแบบเย็น ยังพบอีกว่า ชนิดของอาหารในกระเพาะ
ไม่มีผลต่ออัตราการดูดซึม Alcohol เคยได้ยินมาว่า เมื่อมีน้ำตาลในกระเพาะ
แล้วจะทำให้เมาง่ายเพราะดูดซึมเร็ว อันนี้ไม่เป็นความจริง

          อย่างที่กล่าวมาข้างบน อาการต่างๆที่ออกมา ขึ้นอยู่กับระดับของความเข้มของ
Alcohol ในเลือด คนตัวใหญ่ มีน้ำในร่างกายมากทำให้เกิดความเข้มน้อย
เมื่อเทียบกับคนน้ำหนักน้อย เพศชายมีกล้ามเนื้อมากกว่าเพศหญิง(เพศหญิงมี ไขมันมากกว่า)
กล้ามเนื้อมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่มาก ฉะนั้น ระดับ Alcohol ในร่างกาย ของเพศชาย
(เมื่อเทียบ น้ำหนักที่เท่ากันกับเพศหญิง) ก็จะต่ำกว่าเพศหญิง
ดังนั้น เพศหญิง จึงมีการตอบสนองต่อ Alcohol (เมาง่ายกว่า) มากกว่าเพศชาย

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010559519131978 Mins