วรธัมโมวาท
(สมเด็จพระญาณสังวร)
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วันเด็กแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๙
วันสำคัญอีกวันหนึ่งของชาติ คือวันเด็กแห่งชาติ ที่ผู้ใหญ่คือคณะรัฐมนตรีประกาศยอมรับความสำคัญของเด็ก ด้วยการให้จัดเฉลิมฉลองเป็นประจำทุกปีในวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม
เคยกล่าวมาแล้วหลายครั้ง ว่าเด็กเป็นอนาคตของชาติ จริงดังที่รู้กันและกล่าวถึงกันอยู่ตลอดมา เด็กเป็นอนาคตของชาติ นับเป็นความสำคัญอย่างยิ่งของเด็ก แต่ผู้ใหญ่เป็นอนาคตของเด็ก
ผู้ใหญ่จึงเป็นความสำคัญที่สุดของชาติ เห็นได้ชัดเจนเป็นลำดับดังนี้ อนาคตชองชาติอยู่ในมือของเด็กและอนาคตของเด็กอยู่ในมือของผู้ใหญ่ นั่นก็เท่ากับชาติอยู่ในมือของผู้ใหญ่ในชาตินั่นเอง ผู้ใหญ่เป็นแบบอย่าง อย่างไรให้เด็กดูให้เด็กรู้ให้เด็กเห็น จนฝังจิตฝังใจ จนรับไว้เป็นนิสัยใจคอการปฏิบัติของเด็กไปโดยไม่รู้ตัวเป็นอนาคตของเด็ก นั่นก็คือเป็นอนาคตของชาติด้วย
ผู้ใหญ่ในปัจจุบันเป็นอย่างไร อนาคตของชาติจะเป็นเช่นนั้น โดยมีเด็กในปัจจุบันนั่งเองเป็นผู้สืบสาน เด็กในปัจจุบันที่จะเป็นอนาคตของชาติ หรือเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต ก็คือเป็นผู้ที่รับสิ่งที่พบเห็นเป็นการพูดการทำของผู้ใหญ่ไว้เป็นแบบอย่าง คิดตามพูดตามทำตามตั้งแต่ยังเป็นเด็กจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่ คือเป็นอนาคตของชาตินั่นเอง
กล่าวโดยสรุป ยุคสมัยปัจจุบันเป็นยุคที่เรามองโลกทั้งใย เด็กๆ ทุกคนถือว่าเป็นสมบัติของมนุษยชาติ เด็กยังเป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง เปรียบเหมือนผ้าข้าว เอาสีอะไรไปใส่ย่อมเป็นสีนั้น จึงขอฝากเด็กๆ ไว้กับผู้ใหญ่ ฝากอนาคตของชาติไว้กับเด็กๆ เพราะเขาเป็นความหวังของประชาชนการศึกษาถึงโลกในใจของเด็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดของพวกเขาเป็นหนึ่งในแบบฝึกหัดที่สำคัญที่สุดของผู้ใหญ่
ขออำนวยพร
ความหมายตราสัญลักษณ์วันเด็กแห่งชาติ
แนวความคิด
"ความสามัคคี" ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงดำรัสไว้ว่า "ประเทศชาติบ้านเมืองของเรานั้น จะเจริญก้าวหน้าได้ คนในชาติ ต้องมีความสามัคคี"
ตราสัญลักษณ์นี้ใช้ตัวแทนเด็ก 4 คน จาก 4 ภาค เป็นตัวแทนของเด็กไทยในผืนแผ่นดินไทยเดียวกัน ภายใต้คำขวัญวันเด็กที่ว่า อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
สาร
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
เนื่องในโอกาส “วันเด็กแห่งชาติ” ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๙
-------------------------------------------------------------
เนื่องในโอกาส “วันเด็กแห่งชาติ” ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ วันเสาร์ที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๙ ผมขอส่งความระลึกถึงและความปรารถนาดีมายังเด็กไทย และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านเด็กและเยาวชนด้วยความจริงใจ
ทุกคนในโลกนี้ล้วนแต่เคยผ่านชีวิตความเป็นเด็กมาแล้วด้วยกันทั้งสิ้น จึงต้องรู้ว่าเด็กต้องการอะไร คิดและรู้สึกอย่างไร และมีปฏิกิริยาเช่นไรในสภาวการณ์ต่างๆ แต่กลับเป็นเรื่องน่าประหลาดใจที่เมื่อเวลาผ่านไป เมื่อคนเรายิ่งเติบโตใหญ่ขึ้น ช่องว่างและความเข้าใจระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ก็ยิ่งห่างไกลกันออกไปทุกที
เด็กควรเข้าใจผู้ใหญ่หรือว่าผู้ใหญ่ต่างหากที่ควรเข้าใจเด็ก คำตอบที่ดีที่สุดน่าจะเป็นทั้งสองฝ่ายต่างต้องเข้าใจซึ่งกันและกัน แต่ผู้ใหญ่ควรจะรู้ว่า ไม่มีผู้คนในยุคสมัยใดที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็วเท่ากับยุคสมัยนี้ และสิ่งนี้เองที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนของเราอย่างกว้างขวาง ดังนั้น หากเรามุ่งหวังให้เด็กในวันนี้เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีพลังอย่างเต็มที่ในวันข้างหน้า เราก็ต้องเข้ามาให้การดูแลเอาใจใส่เด็กในวันนี้ให้ดี ไม่เพียงแต่ความเข้าใจเท่านั้น แต่รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมด้านโภชนาการ ด้านสุขภาพเด็ก การศึกษา การส่งเสริมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมการเตรียมการประกอบอาชีพ การให้โอกาส และรวมไปถึงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในสังคมในด้านต่างๆ ด้วย
ผมไม่อยากเห็นเราทำผิดหรือก่อให้เกิดความผิดพลาดแก่สังคมของเรา โดยการละทิ้งเด็กๆ ซึ่งเป็นอนาคตของประเทศ การใส่ใจให้เวลาและร่วมกันแก้ไขปัญหาให้แก่เด็ก คือ การสร้างอนาคตของประเทศไทย ซึ่งเราจะต้องร่วมด้วยช่วยกันตั้งแต่บัดนี้ เพื่อพัฒนาเด็กๆ ของเราไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเพราะเรื่องของเด็กเป็นเรื่องที่ไม่อาจรีรอได้อีกต่อไป และการทำให้เด็กได้รับ การพัฒนาอย่างรอบด้านก็คือการสร้างครอบครัวที่เข้มแข็ง มีความรัก ความอบอุ่น ความปลอดภัย และมีสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ในโอกาสวันเด็กแห่งชาติปีนี้ ผมได้ให้คำขวัญแก่เด็กๆ ว่า “อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด” เพราะการอ่านและการคิดทำให้เกิดปัญญาที่เข้มแข็ง ผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเด็กไทยทุกคนจะเป็นคนที่ขยันอ่านและขยันคิด ขณะเดียวกัน ผู้ปกครองหรือครอบครัวก็ควรช่วยกันส่งเสริมการศึกษาของเด็ก แนะนำให้เด็กรู้จักการเลือกอ่านและคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล คิดอย่างสร้างสรรค์ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาบ้านเมืองให้ก้าวหน้ารุ่งเรืองต่อไป
สุดท้ายนี้ ผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและอำนาจศักดิ์สิทธิ์ในสากลที่ทุกท่านเคารพนับถือ โปรดดลบันดาลให้เด็กและเยาวชนไทย ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและดูแลเด็กและเยาวชนทุกคน จงประสบแต่สรรพสิ่งมิ่งมงคลและจตุรพิธพรชัย เจริญด้วยสติปัญญาและพลานามัยสัมฤทธิผลในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการตลอดไป
จากคำกล่าวที่ว่า อนาคตของประเทศชาติ จะเป็นอย่างไรต่อไป ส่วนหนึ่งต้องขึ้นอยู่กับ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมาย เด็ก หมายถึง คนที่มีอายุยังน้อย ยังเล็ก เด็กชาย คือ คำนำเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์ เด็กหญิง คือ คำนำเรียกเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์ |
ความเป็นมาของวันเด็กสากล เมื่อปีพุทธศักราช 2498 ได้เกิดปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขึ้น โดยองค์การสห การจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติในแต่ละประเทศขณะนั้นมีรูปแบบที่คล้ายคลึง |
|
|
การจัดงานวันเด็กในประเทศไทย ปีพุทธศักราช 2498 อันเป็นปีที่ทั่วโลกเริ่มจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติกันขึ้นตามความเห็นคล้อยตามกับองค์การสหประชาชาติที่นำปัญหาเรื่องเด็กมาร่างเป็นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของเด็กขึ้นมา ประเทศไทยได้รับข้อเสนอของนาย วี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์กรสมาพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ประเทศไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเด็กให้มากขึ้น ดังที่นานาประเทศกำลังทำอยู่ ขณะนั้นสภาวัฒนธรรมแห่งชาติยังมิได้ถูกยุบเลิกไปแล้ว คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติจึงนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อพิจารณา ในที่สุดที่ประชุมได้เห็นชอบ นำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม พ.ศ.2498 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีรับหลักการให้จัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการรับไปดำเนินการ ส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดงานั้น ได้อนุมัติเงินจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำเนินการ ดังนั้นในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2498 ประเทศไทยจึงมีงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากนั้นเป็นต้นมาทางราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติสำหรับประเทศไทย และจัดติดต่อกันมาจนถึงปี พ.ศ.2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้นมีความเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่เพื่อความเหมาะสมด้วยเหตุผลว่า ในเดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทยเราเป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็ก ๆ ไม่สะดวกในการมาร่วมงาน ประการต่อไปก็คือ วันจันทร์เป็นวันปฎิบัติงานของผู้ปกครองจึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้ ตลอดจนการจราจรก็ติดขัด จึงเห็นว่าควรจะเปลี่ยนไปเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมเสียทุกสิ่งทุกอย่างได้สะดวกสบายขึ้น และมีความเหมาะสมมากกว่า จากข้อเสนอดังกล่าว คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอมา ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 จึงประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ปี พ.ศ.2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว งานวันเด็กแห่งชาติได้เริ่มจัดขึ้นมาใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ.2508 และจัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลาได้ 38 ปีแล้ว (งดจัดในปี พ.ศ.2507 หนึ่งปี) |
วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
|
|
อ้างอิง 1. ธนากิต. ประเพณี พิธีมงคล และวันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2539. |
2. ธนากิต. วันสำคัญไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2541 |