ต้านอบายมุข

วันที่ 28 มีค. พ.ศ.2549

เหล้า น้ำทิพย์หรือน้ำพิษกันแน่

เมื่อปี ค.ศ. 1992 นักโบราณคดีได้ขุดพบภาชนะเก่าแก่คล้าย
หม้อมีอายุประมาณ 7 พันปี ณ โบราณสถานวิหารโกดิน
(Godin Tepe) ของชนเผ่าซูเมอเรียนส์ (Sumerians) ทางทิศตะวันตกของประเทศอิหร่านปัจจุบัน ภายในภาชนะ
มีคราบเศษผงติดอยู่ เมื่อนักโบราณคดีเอาไปวิจัย พบว่าผงที่
ติดเป็นคราบนั้นเป็นผงเหล้าไวน์
เหล้าคืออะไร เหล้าเป็นสารเคมีกึ่งธรรมชาติกึ่งสังเคราะห์
ทั่วไปเรียกว่า แอลกอฮอล์ (Alcohol) มีชื่อทางเคมีว่า เอธานอล
(Ethanol) วิธีทำนั้นก็นำวัตถุที่เป็นแหล่งน้ำตาล เช่น ข้าว
ข้าวโพด ฯลฯ มาผสมกับตัวยีสต์ (Yeasyt) หมักโดยการปิด
ผาไม่ให้อากาศเข้า เรียกขบวนการนี้ว่า (Fermentation) จะ
ได้สารเอธานอล หรือ แอลกอฮอล์ และมีก๊าซผสมมาด้วย เมื่อ
หมักด้วยยีสต์ ปริมาณแอลกอฮอล์จะสูงเรื่อย ๆ จนถึงระดับ 14
% ตัวยีสต์จะเมาแอลกอฮอล์ตายไป การบวนการหมักจึงหยุด
ลงตรงนี้14 % นั้นยังไม่ถูกปากคน เพราะมันไม่อร่อย ต้องทำ
ให้เข้มข้นขึ้น โดยนำไปต้มกลั่น จึงจะถูกปากดีนักแลขั้นตอน
การเมาเหล้าได้มีการวิจัยถึงขั้นตอนของการเมาเหล้าไว้ดังนี้
1.โจโคส(Jocose) คือพูดจ้อ พูดมาก พูดขนาดลิงหลับ หรือ
ลิงยื่นกล้วยให้ แต่ไม่ได้สาระประโยชน์อะไร
2.เบลลิโคส พอเมามากหน่อยก็จะเริ่มพูดยั่วยวนกาวนประสาท
ผู้อื่น ท้าตีท้าต่อย
3.ลาครีโมส ขั้นต่อไปของการเมาก็คือ จะซึมเศร้าไม่เข้าท่า
น้ำตาไหล ร้องไห้ไม่อายคน
4.โคมาโตส ดื่มหนัก ๆ เข้า เมาหนัก ๆ เข้า หล้าจะกดศูนย์
ประสาทของการควบคุมการหายใจ จะเกิดอาการโคม่าตายไป
เพราะหล้าก็มี
เหล้ามีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจโดยตรง เช่น ทำให้
อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ การควบคุมตัวเองทำได้น้อยลง ขึ้นอยู่
กับระดับการดื่มด้วย มีผลต่อตับ กระเพาะอาหาร หัวใจ เป็นต้น

ความผิดทางคดียาเสพติดของเยาวชนไทย

 

ศาลเยาวชนเปิดเผยว่า คดียาเสพติดเป็นคดีที่เยาวชนทำความผิดมากที่สุดรองลงมาจากคดีลักทรัพย์ จี้ รัฐบาลต้องแก้ปัญหาที่รากเหง้ามิใช้เพียงแต่มุ่งปราบปรามอย่างเดียว

ศ.วิชา มหาคุณ ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กและเยาวชนและครอบครัว “ตุลาการเฉลิมพระเกียรติ”สำนักงานศาลยุติธรรมเปิดเผยถึงยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดปี 2549 ว่า การแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลที่ผ่านมามุ่งปราบปรามจนหลงลืมการแก้ปัญหาที่รากเหง้า ปัญหาจึงถูกกดทับไว้เหมือนหญ้าไม่ได้รับการถอนราก จึงทำให้ปัญหายาเสพติดหวนกลับมาอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและเยาวชน ซึ่งสังเกตจากคดีที่ปรากฏในศาลเยาวชนพบว่า ความผิดที่มีการกระทำมากที่สุด ได้แก่ คดียาเสพติด

ทางด้านศาลจังหวัดยะลาแผนกคดีเยาวชนพบว่า คดีที่เกิดขึ้น 100% จาก 131 คดี เป็นคดีที่เกี่ยวกับยาเสพติด เช่นเดียวกันที่ศาลเยาวชนกลาง กรุงเทพฯ อันดับ1 คดียาเสพติดมี 1,048 คดี คิดเป็น 26.10% อันดับ2 คดีลักทรัพย์มี 14% และอันดับ3 คดีสารระเหยมี 485 คดี คิดเป็น 12.08%

ศาตราจารย์วิชา กล่าวอีกว่า ยุทธศาสตร์ปี 2549 ของสถาบันพัฒนากระบวนการยุติธรรมเยาวชนแลครอบครัว ในการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด จะมุ่งเน้นยุทธศาสตร์การสร้างครอบครัวและชุมชนที่เข้มแข็งเนื่องจากปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับเด็กทั้งเรื่องยาเสพติดและสื่อลามกอนาจารรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ในเด็กและเยาวชนเพิ่มจำนวนขึ้นในขณะที่อายุน้อยลง ล้วนมีสาเหตุมาจากความอ่อนแอของครอบครัวและชุมชน

ดังนั้นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นี้จะให้การอบรมและความรู้แก่ชุมชนเพื่อกระตุ้นให้แกนนำในชุมชนเป็นนักบำบัดคนในครอบครัวรวมทั้งในชุมชนด้วยกันเอง โดยไม่ต้องรอพึ่งนักจิตวิทยาและนักบำบัดที่ส่งมาจากภาครัฐซึ่งขณะนี้สามารถสร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งได้แล้วถึง 100 ชุมชน ครอบคลุมเกือบทุกภูมิภาค ขณะนี้กำลังดำเนินการขยายเครือข่ายไปยังจังหวัดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งร่วมกันแก้ปัญหายาเสพติด

“ครอบครัวเป็นต้นตอหลักของปัญหาที่เกิดขึ้นในเด็กและเยาวชน อย่างเช่น กรณียาเสพติด เมื่อเด็กหรือเยาวชนอยู่ในชุมชนหรือครอบครัวที่มีผู้ค้าผู้เสพยาเสพติดก็จะเห็นเรื่องการหาเงินด้วยการทำผิดกฎหมายเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดา จำนวนเด็กที่มีปัญหาเหล่านี้จึงเพิ่มมากขึ้นตามมาด้วย”

ปัญหาต่างๆที่เกิดจากยาเสพติดสามารถแก้ปัญหาที่ถูกทางได้นั้นจึงต้องเริ่มต้นที่การสร้างครอบครัวที่อบอุ่นและชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อนำพาสู่สังคมที่ปลอดยาเสพติด

โดย..เตชนา- อนุธิดา



 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.031005664666494 Mins