ในบรรดาทาน ศีล ภาวนา ทานเป็นการทำบุญที่ทำได้ง่ายที่สุด ฉะนั้น เราจึงได้เน้นถึงการให้ทานในเล่มนี้ และความรู้เกี่ยวกับ "ทาน" ในพระไตรปิฎก อันได้รวบรวมมาเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจอย่างถ่องแท้ ก่อนที่จะได้ทราบถึงอานิสงส์ของการทำทานด้วยวัตถุทานแต่ละชนิด การทำทานในพระไตรปิฎกนั้นมีอยู่ ๔ อย่าง คือ
๑. บริจาคทาน : คือ การให้เพื่อลดกิเลสของเราให้เบาบางลง
๒. ปฎิการทาน : คือ การให้เพื่อตอบแทนบุญคุณ เช่น ให้การเลี้ยงดูพ่อแม่ เป็นต้น
๓. สังคหทาน : คือ การให้เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี เช่น เป็นเพื่อนกันก็ปรารภเหตุวันคล้ายวันเกิดของเพื่อน จึงซื้อของที่ระลึกให้ เป็นต้น
๔. อนุคคหทาน : คือ การให้เพื่ออนุเคราะห์ เช่น ให้ทานแก่คนขอทาน
(การให้ที่ประเสริฐสูงสุดคือ "การบริจาคทาน" เพราะเป็นการให้โดยไม่หวังผลตอบแทน ทำให้เกิดแต่ความบริสุทธิ์ในจิตใจ)
ประเภทของทานนั้นก็ยังแบ่งเป็น อามิสทาน กับ ธรรมทาน คือ
๑. อามิสทาน : การให้สิ่งของ
๒. ธรรมทาน : คือการให้ความรู้ที่เป็นไปเพื่อการเข้าถึง พระนิพพานในบรรดาการให้ทั้ง ๒ อย่างนี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า..
สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ
การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง
เพราะเป็นไปเพื่อการมีชีวิตที่สุขสมบูรณ์ตลอดกาล คือ การเข้าสู่ พระนิพพานปุพพเจตนากุศล : คือ บุญที่เกิดก่อนการลงมือทำ การทำบุญ เพียงแค่ตั้งใจ บุญก็เกิด "อามิสทาน"
การให้สิ่งของเป็นทาน แบ่งตามเจตนามี ๒ อย่าง คือ
๑. ปาฏิปุคคลิกทาน : คือ การให้เจาะจงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
๒. สังฆทาน : คือ การให้แก่หมู่คณะ
บรรดาเจตนาทั้ง ๒ อย่าง การให้สังฆทานมีอานิสงส์มากกว่า
การให้สิ่งของนั้น แบ่งตามความปราณีตของทาน มี ๓ ระดับ
๑. ทานทาส คือ ให้ของไม่ดีเท่าที่ตัวเองใช้
๒. ทานสหาย คือ ให้ของที่ดีเท่าที่ตัวเองใช้
๓.ทานสามี คือ การให้ของที่ดีกว่าที่ตัวเองใช้
บรรดาทานทั้ง ๓ อย่าง "ทานสามี" เป็นการให้ที่ประเสริฐที่สุด คนที่ไม่ได้ศึกษาธรรมะทางพระพุทธศาสนา ย่อมทำได้ยาก หรือไม่มีความคิดที่จะทำเลย เพราะการทำทานล้วนเป็นวิสัยของพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายและเหล่าพุทธบริษัท ๔
"ธรรมทาน" แบ่งออกเป็น
๑. วิทยาทาน คือ การให้ความรู้เป็นทาน
๑.๑ ให้ความรู้ในการใช้ชีวิตโลก
๑.๒ ให้ความรู้ในการเดินทางไปพระนิพพาน๒. อภัยทาน คือ การให้อภัยเป็นทาน ทาน จัดเป็นบารมีได้ ๓ ขั้นคือ
ขั้นที่ ๑. ทานบารมี : การให้ด้วยการสละทรัพย์ภายนอก
ขั้นที่ ๒. ทานอุปบารมี : การให้ที่ทำด้วยการสละอวัยวะเป็นทาน
ขั้นที่ ๓. ทานปรมัตถบารมี : การให้ด้วยการสละชีวิตเป็นทาน
เหตุที่จะทำให้ผลของทานกุศลปรากฏได้ในภพชาติปัจจุบัน คือ ทิฎฐธัมมเวทนัยกรรมนั้น ต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
๑. วัตถุสัมปทา : ปฏิคาหก ผู้รับทานนั้นเป็นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์
๒. ปัจจยสัมปทา : วัตถุสิ่งของที่นำมาถวาย เป็นสิ่งที่ได้มาซึ่งความบริสุทธิ์
๓. เจตนสัมปทา : ผู้ถวายทานถึงพร้อมด้วยเจตนาอันแรงกล้า ในกาลทั้ง ๓
๔. คุณาติเรกสัมปทา : พระอนาคามีหรือพระอรหันต์ผู้รับทานนั้น ถึงพร้อมด้วยคุณพิเศษคือเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ