ติรัจฉานภูมิ
ติรัจฉานภูมิ คือ โลกของสัตว์ผู้ไปโดยขวาง คือเวลาจะไปไหน มาไหน ต้องไปโดยอาการขวางลำตัว ต้องคว่ำอกไป เช่นสุนัข แมว หนู ไก่ เป็ด งู ปลา เป็นต้น นอกจากร่างกายต้องไปอย่างขวางๆ แล้วจิตใจยังขวางอีกด้วย คือขวางจากมรรคผลนิพพาน แม้จะทำความดีเท่าไรก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผล
นิพพานในชาตินั้นได้ อย่างมากที่สุดก็เพียงไป วรรค์เท่านั้น
ติรัจฉานภูมิ หรือโลกของสัตว์เดรัจฉานนี้ ไม่ต้องเสวยทุกขเวทนาแรงกล้าอย่างสัตว์นรก เปรตอสุรกาย ยังพอจะมีความน่าชื่นชมยินดีอยู่บ้าง เพราะมีอกุศลเบาบาง แม้จะต้องประสบความลำบากอย่างไรก็ยังมีความน่ายินดีอยู่ 3 ประการ คือ การกิน การนอน และการ ืบพันธุ์ ด้วยเหตุนี้ ติรัจฉานภูมิจึง มีความหมายได้อีกอย่างหนึ่งว่า เป็นโลกของสัตว์ที่มีความยินดีในเหตุ 3 ประการสัตว์เดรัจฉานมี 4 จำพวก ได้แก่
1. อปทติรัจฉาน คือสัตว์เดรัจฉานที่ไม่มีเท้า ได้แก่ งู ปลา ไส้เดือน เป็นต้น
2. ทวิปทติรัจฉาน คือสัตว์เดรัจฉานที่มี 2 เท้า ได้แก่ ไก่ เป็ด แร้ง กา เป็นต้น
3. จตุปทติรัจฉาน คือสัตว์เดรัจฉานที่มี 4 เท้า ได้แก่สุนัข แมว ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น
4. พหุปทติรัจฉาน คือสัตว์เดรัจฉานที่มีมากกว่า 4 เท้าขึ้นไป ได้แก่ มด ปลวก ตะขาบ เป็นต้นสัตว์เดรัจฉานที่มีชีวิตอยู่ในภูมิเดียวกับมนุษย์ เราสามารถเห็นได้ด้วยตาเนื้อ ไม่เหมือนกับสัตว์ในอบายภูมิอื่นๆ เช่น เปรต อสุรกาย ที่เป็นอทิ มานกาย คือมีกายไม่ปรากฏสัตว์เดรัจฉานไม่มีที่อยู่ของตนโดยเฉพาะ เที่ยวไปๆ มาๆ อยู่บนพื้นปฐพีนี้ มีความเป็นอยู่ลำบากกว่ามนุษย์มากมาย มีภัยรอบด้าน
ทั้งภัยจากมนุษย์ ภัยจากสัตว์ใหญ่อื่นๆ ภัยจากความอดอยาก ภัยจากที่อยู่อาศัย เป็นต้น
่วนสัตว์เดรัจฉานอีกประเภทหนึ่ง เป็นสัตว์เดรัจฉานชั้นดี อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ เป็นพวก
กายละเอียด ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตามนุษย์
เหตุที่ทำให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานส่วนใหญ่มาจากกิเล ตระกูลโมหะ คือความไม่รู้ตามความเป็นจริงเช่น หลงยึดติดกับบุคคล หรือทรัพย์สมบัติ เป็นต้น บ้างก็เพราะเคยทำอกุศลกรรมไว้ในชาติก่อนเมื่อพ้นกรรมจากนรกแล้ว เศษกรรมก็นำให้มาเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือบางพวกเมื่อใช้กรรมในนรกแล้วต้องไปเกิดเป็นเปรตและอสุรกายก่อน เมื่อเศษกรรมเบาบางลงจึงมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน และมักจะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานซ้ำๆ อยู่หลายชาติ เป็นชนิดเดิมบ้าง บางทีก็เปลี่ยนชนิด มีโอกาสทำกุศลกรรมน้อยมาก
จากหนังสือ DOU
วิชา GL 101 จักรวาลวิทยา
กลุ่มวิชาเป้าหมายชีวิต