สัมมาสมาธิ

วันที่ 28 พค. พ.ศ.2557

 

สัมมาสมาธิ

 

       การฝึกสมาธิเพื่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่า ผู้ฝึกหรือผู้ปฏิบัติย่อมต้องการที่จะฝึกหรือปฏิบัติ
ในแนวทางที่ถูกต้อง นอกจากจะฝึกหรือปฏิบัติได้ถูกต้องแล้ว จำเป็นจะต้องทราบว่าวัตถุประสงค์ของการฝึกหรือปฏิบัติเพื่ออะไร ทั้งนี้การฝึกสมาธิในแนวทางที่ถูกต้องในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าสัมมาสมาธิและสัมมาสมาธินั้น โดยความหมายทั่วไป หมายถึงการตั้งจิตมั่นชอบ ซึ่งในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงสัมมาสมาธิไว้หลายแห่ง โดยได้อธิบายความหมาย ตลอดจนลักษณะของสัมมาสมาธิไว้ ดังนี้สัมมาสมาธิเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌานมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่เธอเข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เห็นธรรมเอก
ผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าถึงตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอเข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.1

         จากความที่ยกนำมากล่าวนี้ แ ดงว่าสัมมาสมาธิ จะมีความสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม
เมื่อเข้าถึงปฐมฌาน จนกระทั่งถึงจตุตถฌานแล้ว จะมี ภาวะที่ไม่สุข ไม่ทุกข์ และเป็นอุเบกขาจนมีสติบริสุทธิ์นอกจากนี้ ในพระไตรปิฎกยังกล่าวถึงลักษณะของสัมมาสมาธิไว้ดังนี้

        1. ลักษณะของสัมมาสมาธิคือการที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน2


        2.สัมมาสมาธิ มีความตั้งมั่นแห่งจิตโดยชอบเป็นลักษณะ3


        ส่วนในพระอภิธรรมปิฎก4 ได้กล่าวถึงลักษณะของจิตที่เป็นสัมมาสมาธิว่าสัมมาสมาธิ มีใน มัยนั้น เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิตความไม่ส่ายไปแห่งจิตความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์สมาธิพละความตั้งใจชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสัมมาสมาธิมีใน มัยนั้นจากลักษณะของสัมมาสมาธิที่กล่าวนี้ ในพระไตรปิฎกยังแสดงให้เห็นว่าสัมมาสมาธิมีคุณูปการแก่ผู้ฝึกหรือผู้ปฏิบัติ โดยเมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านและมีความตั้งมั่นแห่งจิตแล้ว ย่อมขจัดมิจฉาสมาธิ ตลอดจนกิเลสได้ดังความใน พราหมณสูตร 5 กล่าวถึงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ตอนหนึ่งว่า "สัมมาสมาธิที่บุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด"


          จากความข้างต้น แสดงให้ทราบว่าสัมมาสมาธิสามารถขจัดมิจฉาสมาธิ ตลอดจนกิเลส และ
ความฟุ้งซ่านสามารถทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าสู่เป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพานได้ ดังความในปปัญจสูทนี
อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาก์ กล่าวไว้ดังนี้สัมมาสมาธิ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาสมาธิ กิเลส
ที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาสมาธิและความฟุ้งซ่านนั้นได้ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ และย่อมตั้งมั่นสัมปยุตธรรมทั้งหลายไว้โดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าสัมมาสมาธิ6

         รูปได้ว่า การจะฝึกสมาธินั้น บุคคลจะต้องยึดหลักการฝึกแบบสัมมาสมาธิ กล่าวคือ ฝึกเพื่อ
การทำให้ใจสงบ ระงับจากกาม ปราศจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และไม่ฟุ้งซ่าน จนกระทั่งใจตั้งมั่น ไม่ซัดส่ายก็จะสามารถทำให้การฝึกและปฏิบัติของบุคคลนั้นถูกต้อง ตรงต่อพระพุทธธรรมคำ อน จนสามารถบรรลุถึงเป้าหมาย คือพระนิพพานได้ ทั้งนี้ การที่ใจจะไม่ฟุ้งซ่าน ใจจะต้องไม่คิดหรือตรึกในสิ่งที่จะทำให้ใจเกิดราคะโทสะ โมหะ ซึ่งในพระไตรปิฎก ได้กล่าวถึงลักษณะของใจฟุ้งซ่านว่า จะมีลักษณะที่ซัดส่ายไปข้างนอกคือซัดส่ายไปในอารมณ์ คือกามคุณ ทำให้มีความพอใจในกามคุณ 5 อย่าง คือ รูป รสกลิ่น เสียงสัมผัสซึ่งทำให้ใจระคนปนเจือไปด้วยความตรึกไปในกาม1

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชา MD 101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมาธิ

 
 
 

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0057918151219686 Mins